การตัดศีรษะ
การตัดศีรษะ คือ การแยกศีรษะออกจากร่างกายโดยสิ้นเชิง ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความตายในที่สุด เพราะทำให้สมองขาดเลือดหล่อเลี้ยงอ็อกซิเจน และทำให้อวัยวะถูกพรากจากระบบประสาทอัตโนมัติอันจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย
ภาวะศีรษะถูกตัดโดยเจตนานั้น อาจเกิดขึ้นในการฆ่าแบบฆาตกรรมหรือการฆ่าเพื่อลงโทษ โดยอาจดำเนินการด้วยของมีคม เช่น มีด ขวาน หรืออุปกรณ์อย่างอื่น เช่น กิโยตีน[1] ส่วนภาวะศีรษะขาดโดยอุบัติเหตุนั้น อาจเป็นผลมาจากการระเบิด[2] อุบัติเหตุในอุตสาหกรรม การแขวนคอประหารอย่างไม่ถูกต้อง หรือความบาดเจ็บอย่างอื่นที่รุนแรง ในปัจจุบันกฎหมายของหลายประเทศ เช่น กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย และเยเมน ให้ใช้การตัดศีรษะเป็นวิธีลงโทษประหารชีวิต แต่ในทางปฏิบัติแล้วซาอุดีอาระเบียเป็นแห่งเดียวที่ยังประหารชีวิตด้วยวิธีเช่นนี้เป็นปกติ[3] นอกจากนี้ ยังปรากฏภาวะศีรษะขาดจากการฆ่าตัวตายโดยแขวนคอ[4] โดยให้รถไฟทับ[5][6] หรือโดยใช้กิโยตีน[7]
น้อยครั้งที่คำนี้จะใช้หมายถึงการแยกศีรษะออกจากร่างกายศพ ซึ่งอาจทำเพื่อนำศีรษะไปใช้เป็นเครื่องประดับ หรือเพื่อเสียบประจาน หรือเพื่อให้กำหนดตัวผู้ตายได้ยาก หรือเพื่อเหตุผลประการอื่น ๆ ที่รู้ในวงจำกัด[8][9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Definition of HEADSMAN". สืบค้นเมื่อ 25 February 2017.
- ↑ "Blows Head Off with Dynamite?". The Rhinelander Daily News. 2 April 1937. p. 7. สืบค้นเมื่อ 29 September 2014 – โดยทาง Newspapers.com.
- ↑ Weinberg, Jon (Winter 2008). "Sword of Justice? Beheadings Rise in Saudi Arabia". Harvard International Review. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2014. สืบค้นเมื่อ 26 August 2017.
- ↑ Tracqui, A.; Fonmartin, K.; Géraut, A.; Pennera, D.; Doray, S.; Ludes, B. (1 December 1998). "Suicidal hanging resulting in complete decapitation: a case report". International Journal of Legal Medicine (ภาษาอังกฤษ). 112 (1): 55–57. doi:10.1007/s004140050199. ISSN 1437-1596. PMID 9932744. S2CID 7854416.
- ↑ Dinkel, Andreas; Baumert, Jens; Erazo, Natalia; Ladwig, Karl-Heinz (January 2011). "Jumping, lying, wandering: Analysis of suicidal behaviour patterns in 1,004 suicidal acts on the German railway net". Journal of Psychiatric Research. 45 (1): 121–125. doi:10.1016/j.jpsychires.2010.05.005. PMID 20541771.
- ↑ De Giorgio, Fabio; Polacco, Matteo; Pascali, Vincenzo L.; Oliva, Antonio (October 2006). "Death Due to Railway-Related Suicidal Decapitation". Medicine, Science and the Law (ภาษาอังกฤษ). 46 (4): 347–348. doi:10.1258/rsmmsl.46.4.347. ISSN 0025-8024. PMID 17191639. S2CID 41916384.
- ↑ "Guillotine death was suicide". BBC News. 24 April 2003. สืบค้นเมื่อ 26 September 2008.
- ↑ Francis Larson. Severed: a history of heads lost and heads found Liveright, 2014.
- ↑ Fabian, Ann (1 December 2014). "Losing our Heads (review of Larson's "Severed" Chronicle of Higher Education". สืบค้นเมื่อ 1 December 2014.