จังหวัดของประเทศญี่ปุ่น
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
จังหวัด 都道府県 โทโดฟูเก็ง | |
---|---|
หมวดหมู่ | เขตการปกครองระดับแรกของรัฐเดี่ยว |
ที่ตั้ง | ประเทศญี่ปุ่น |
จำนวน | 47 จังหวัด |
ประชากร | น้อยที่สุด: ทตโตริ – 560,517 คน มากที่สุด: โตเกียว – 13,843,403 คน |
พื้นที่ | เล็กที่สุด: คางาวะ – 1,861.7 km2 (718.8 sq mi) ใหญ่ที่สุด: ฮกไกโด – 83,453.6 km2 (32,221.6 sq mi) |
หน่วยการปกครอง | กิ่งจังหวัด, อำเภอ |
เขตการปกครองของ ประเทศญี่ปุ่น |
---|
ระดับจังหวัด |
จังหวัด 都道府県 โทโดฟูเก็ง |
ระดับกิ่งจังหวัด |
|
ระดับเทศบาล |
|
ระดับต่ำกว่าเทศบาล |
|
ประเทศญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 47 จังหวัด หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า โทโดฟูเก็ง (ญี่ปุ่น: 都道府県; โรมาจิ: todōfuken, อังกฤษ: Prefectures) ซึ่งเป็นเขตการปกครองระดับแรกของประเทศ อันได้แก่
- โทะ (ญี่ปุ่น: 都; โรมาจิ: to) 1 แห่ง ได้แก่ มหานครโตเกียว
- โด (ญี่ปุ่น: 道; โรมาจิ: dō) 1 แห่ง ได้แก่ จังหวัดฮกไกโด
- ฟุ (ญี่ปุ่น: 府; โรมาจิ: fu) 2 แห่ง ได้แก่ จังหวัดโอซากะ และจังหวัดเกียวโต
- เค็ง (ญี่ปุ่น: 県; โรมาจิ: ken) 43 แห่ง
อนึ่ง เขตการปกครองในมหานครโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京都; โรมาจิ: โทเกียวโตะ) มีการจัดเขตการปกครองท้องถิ่นพิเศษจากจังหวัดอื่น กล่าวคือ ฝั่งตะวันตก ซึ่งเป็นย่านชานเมือง มีเขตการปกครองดังเช่นจังหวัดอื่น แต่ฝั่งตะวันออก อันเป็นย่านเมืองเศรษฐกิจและมีประชากรหนาแน่น จำเป็นต้องมีการปกครองที่คล่องตัวตอบสนองกับเมืองใหญ่ จึงมีเขตพิเศษ (ญี่ปุ่น: 特別区; โรมาจิ: โทกูเบ็ตสึกุ) จำนวน 23 เขต หรือเรียกว่า "เขตทั้งยี่สิบสาม" (ญี่ปุ่น: 23 区; โรมาจิ: นิจูซังกุ) ซึ่งมีสิทธิในการใช้สิทธิเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเขตของตนเอง
รายชื่อจังหวัด
[แก้]เรียงตามรหัสไอเอสโอ
[แก้]ฮกไกโด | โทโฮะกุ | คันโต | ชูบุ |
---|---|---|---|
1. ฮกไกโด |
2. อาโอโมริ |
8. อิบารากิ |
15. นีงาตะ |
คันไซ | ชูโงกุ | ชิโกกุ | คีวชูและโอกินาวะ |
24. มิเอะ |
31. ทตโตริ |
40. ฟูกูโอกะ |
เรียงตามตัวอักษร
[แก้]ตรา | จังหวัด | ตรา | เมืองหลวง | ภูมิภาค | เกาะ หลัก |
ประชากรก | พื้นที่ข[1] | ความ หนาแน่นค |
ISO | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัดกิฟุ | 岐阜県 | กิฟุ | 岐阜市 | ชูบุ | ฮนชู | 2,023,000 | 10,621.29 | 191.4 | 9 | 42 | JP-21 | 058 | ||
จังหวัดกุมมะ | 群馬県 | มาเอบาชิ | 前橋市 | คันโต | ฮนชู | 1,984,000 | 6,362.28 | 310.2 | 7 | 35 | JP-10 | 027 | ||
จังหวัดเกียวโต | 京都府 | เกียวโต | 京都市 | คันไซ | ฮนชู | 2,596,000 | 4,612.20 | 565.9 | 6 | 26 | JP-26 | 074 | ||
จังหวัดคางาวะ | 香川県 | ทากามัตสึ | 高松市 | ชิโกกุ | ชิโกกุ | 984,000 | 1,876.78 | 520.5 | 5 | 17 | JP-37 | 087 | ||
จังหวัดคาโงชิมะ | 鹿児島県 | คาโงชิมะ | 鹿児島市 | คีวชู | คีวชู | 1,661,000 | 9,187.06 | 179.4 | 8 | 43 | JP-46 | 099 | ||
จังหวัดคานางาวะ | 神奈川県 | โยโกฮามะ | 横浜市 | คันโต | ฮนชู | 9,119,000 | 2,416.11 | 3,778.2 | 6 | 33 | JP-14 | 045 | ||
จังหวัดคูมาโมโตะ | 熊本県 | คูมาโมโตะ | 熊本市 | คีวชู | คีวชู | 1,793,000 | 7,409.46 | 241.2 | 9 | 45 | JP-43 | 096 | ||
จังหวัดโคจิ | 高知県 | โคจิ | 高知市 | ชิโกกุ | ชิโกกุ | 716,000 | 7,103.63 | 102.5 | 6 | 34 | JP-39 | 088 | ||
จังหวัดชิงะ | 滋賀県 | โอตสึ | 大津市 | คันไซ | ฮนชู | 1,406,000 | 4,017.38 | 351.8 | 3 | 19 | JP-25 | 077 | ||
จังหวัดชิซูโอกะ | 静岡県 | ชิซูโอกะ | 静岡市 | ชูบุ | ฮนชู | 3,684,000 | 7,777.35 | 475.8 | 5 | 35 | JP-22 | 054 | ||
จังหวัดชิบะ | 千葉県 | ชิบะ | 千葉市 | คันโต | ฮนชู | 6,214,000 | 5,157.57 | 1,206.8 | 6 | 54 | JP-12 | 043 | ||
จังหวัดชิมาเนะ | 島根県 | มัตสึเอะ | 松江市 | ชูโงกุ | ฮนชู | 699,000 | 6,707.89 | 103.5 | 5 | 19 | JP-32 | 085 | ||
จังหวัดซางะ | 佐賀県 | ซางะ | 佐賀市 | คีวชู | คีวชู | 821,000 | 2,440.69 | 341.4 | 6 | 20 | JP-41 | 095 | ||
จังหวัดไซตามะ | 埼玉県 | ไซตามะ | さいたま市 | คันโต | ฮนชู | 7,273,000 | 3,797.75 | 1,912 | 8 | 63 | JP-11 | 048 | ||
โตเกียว | 東京都 | โตเกียว[2] | 新宿区 | คันโต | ฮนชู | 14,625,000 | 2,194.03 | 6,168.1 | 1 | 39 | JP-13 | 03x 042 | ||
จังหวัดทตโตริ | 鳥取県 | ทตโตริ | 鳥取市 | ชูโงกุ | ฮนชู | 564,000 | 3,507.14 | 163.6 | 5 | 19 | JP-31 | 085 | ||
จังหวัดโทกูชิมะ | 徳島県 | โทกูชิมะ | 徳島市 | ชิโกกุ | ชิโกกุ | 763,000 | 4,146.75 | 182.3 | 8 | 24 | JP-36 | 088 | ||
จังหวัดโทจิงิ | 栃木県 | อุตสึโนมิยะ | 宇都宮市 | คันโต | ฮนชู | 1,964,000 | 6,408.09 | 308.2 | 5 | 26 | JP-09 | 028 | ||
จังหวัดโทยามะ | 富山県 | โทยามะ | 富山市 | ชูบุ | ฮนชู | 1,073,000 | 4,247.58 | 251.2 | 2 | 15 | JP-16 | 076 | ||
จังหวัดนางาซากิ | 長崎県 | นางาซากิ | 長崎市 | คีวชู | คีวชู | 1,372,000 | 4,130.98 | 333.4 | 4 | 21 | JP-42 | 095 | ||
จังหวัดนางาโนะ | 長野県 | นางาโนะ | 長野市 | ชูบุ | ฮนชู | 2,104,000 | 13,561.56 | 154.8 | 14 | 77 | JP-20 | 026 | ||
จังหวัดนาระ | 奈良県 | นาระ | 奈良市 | คันไซ | ฮนชู | 1,357,000 | 3,690.94 | 369.8 | 7 | 39 | JP-29 | 074 | ||
จังหวัดนีงาตะ | 新潟県 | นีงาตะ | 新潟市 | ชูบุ | ฮนชู | 2,297,000 | 12,583.96 | 183.2 | 9 | 30 | JP-15 | 025 | ||
จังหวัดฟูกูชิมะ | 福島県 | ฟูกูชิมะ | 福島市 | โทโฮกุ | ฮนชู | 1,924,000 | 13,784.14 | 138.8 | 13 | 59 | JP-07 | 024 | ||
จังหวัดฟูกูอิ | 福井県 | ฟูกูอิ | 福井市 | ชูบุ | ฮนชู | 802,000 | 4,190.52 | 187.8 | 7 | 17 | JP-18 | 077 | ||
จังหวัดฟูกูโอกะ | 福岡県 | ฟูกูโอกะ | 福岡市 | คีวชู | คีวชู | 5,096,000 | 4,986.51 | 1,023.4 | 12 | 60 | JP-40 | 092 | ||
จังหวัดมิยางิ | 宮城県 | เซ็นได | 仙台市 | โทโฮกุ | ฮนชู | 2,326,000 | 7,282.29 | 320.5 | 10 | 35 | JP-04 | 022 | ||
จังหวัดมิยาซากิ | 宮崎県 | มิยาซากิ | 宮崎市 | คีวชู | คีวชู | 1,096,000 | 7,735.22 | 142.8 | 6 | 26 | JP-45 | 098 | ||
จังหวัดมิเอะ | 三重県 | สึ | 津市 | คันไซ | ฮนชู | 1,822,000 | 5,774.49 | 314.5 | 7 | 29 | JP-24 | 059 | ||
จังหวัดยามางาตะ | 山形県 | ยามางาตะ | 山形市 | โทโฮกุ | ฮนชู | 1,114,000 | 9,323.15 | 120.4 | 8 | 35 | JP-06 | 023 | ||
จังหวัดยามางูจิ | 山口県 | ยามางูจิ | 山口市 | ชูโงกุ | ฮนชู | 1,396,000 | 6,112.54 | 229.9 | 4 | 19 | JP-35 | 083 | ||
จังหวัดยามานาชิ | 山梨県 | โคฟุ | 甲府市 | ชูบุ | ฮนชู | 825,000 | 4,465.27 | 187 | 5 | 27 | JP-19 | 055 | ||
จังหวัดวากายามะ | 和歌山県 | วากายามะ | 和歌山市 | คันไซ | ฮนชู | 957,000 | 4,724.65 | 204 | 6 | 30 | JP-30 | 075 | ||
จังหวัดอากิตะ | 秋田県 | อากิตะ | 秋田市 | โทโฮกุ | ฮนชู | 986,000 | 11,637.52 | 87.9 | 6 | 25 | JP-05 | 018 | ||
จังหวัดอาโอโมริ | 青森県 | อาโอโมริ | 青森市 | โทโฮกุ | ฮนชู | 1,326,000 | 9,645.64 | 135.7 | 8 | 40 | JP-02 | 017 | ||
จังหวัดอิชิกาวะ | 石川県 | คานาซาวะ | 金沢市 | ชูบุ | ฮนชู | 1,135,000 | 4,186.21 | 275.8 | 5 | 19 | JP-17 | 076 | ||
จังหวัดอิบารากิ | 茨城県 | มิโตะ | 水戸市 | คันโต | ฮนชู | 2,904,000 | 6,097.39 | 478.6 | 7 | 44 | JP-08 | 029 | ||
จังหวัดอิวาเตะ | 岩手県 | โมริโอกะ | 盛岡市 | โทโฮกุ | ฮนชู | 1,266,000 | 15,275.01 | 83.8 | 10 | 33 | JP-03 | 019 | ||
จังหวัดเอฮิเมะ | 愛媛県 | มัตสึยามะ | 松山市 | ชิโกกุ | ชิโกกุ | 1,405,000 | 5,676.19 | 244.2 | 7 | 20 | JP-38 | 089 | ||
จังหวัดโอกายามะ | 岡山県 | โอกายามะ | 岡山市 | ชูโงกุ | ฮนชู | 1,914,000 | 7,114.33 | 270.2 | 10 | 27 | JP-33 | 086 | ||
จังหวัดโอกินาวะ | 沖縄県 | นาฮะ | 那覇市 | คีวชู | หมู่เกาะ รีวกีว |
1,446,000 | 2,282.59 | 628.7 | 5 | 41 | JP-47 | 098 | ||
จังหวัดโอซากะ | 大阪府 | โอซากะ | 大阪市 | คันไซ | ฮนชู | 8,826,000 | 1,905.32 | 4,639.9 | 5 | 43 | JP-27 | 06x | ||
จังหวัดโออิตะ | 大分県 | โออิตะ | 大分市 | คีวชู | คีวชู | 1,175,000 | 6,340.76 | 184 | 3 | 18 | JP-44 | 097 | ||
จังหวัดไอจิ | 愛知県 | นาโงยะ | 名古屋市 | ชูบุ | ฮนชู | 7,505,000 | 5,173.07 | 1,446.9 | 7 | 54 | JP-23 | 052 | ||
ฮกไกโด | 北海道 | ซัปโปโระ | 札幌市 | ฮกไกโด | ฮกไกโด | 5,373,000 | 83,424.44 | 68.6 | 66 | 180 | JP-01 | 011–016 | ||
จังหวัดฮิโรชิมะ | 広島県 | ฮิโรชิมะ | 広島市 | ชูโงกุ | ฮนชู | 2,835,000 | 8,479.65 | 335.5 | 5 | 23 | JP-34 | 082 | ||
จังหวัดเฮียวโงะ | 兵庫県 | โคเบะ | 神戸市 | คันไซ | ฮนชู | 5,547,000 | 8,401.02 | 659.1 | 8 | 41 | JP-28 | 073 |
หมายเหตุ: ก ข้อมูลปี 2015; ข หน่วย ตร.กม.; ค หน่วย คน/ตร.กม.
จังหวัดในอดีตของญี่ปุ่น
[แก้]จังหวัดที่เปลี่ยนแปลงระหว่างทศวรรษ 1880 และสงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]จังหวัด | ชื่อภาษาญี่ปุ่น | ปีที่เปลี่ยนแปลง | การเปลี่ยนแปลง |
---|---|---|---|
คานาซาวะ | 金沢県 | 1869 | เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดอิชิกาวะ |
เซ็นได | 仙台県 | 1871 | เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดมิยางิ |
โมริโอกะ | 盛岡県 | 1872 | เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดอิวาเตะ |
นาโงยะ | 名古屋県 | 1872 | เปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดไอจิ |
นูกาตะ | 額田県 | 1872 | ยุบไปรวมกับจังหวัดไอจิ |
นานาโอะ | 七尾県 | 1872 | ยุบไปรวมกับจังหวัดอิชิกาวะและจังหวัดชิงกาวะ |
อิรูมะ | 入間県 | 1873 | ยุบไปรวมกับจังหวัดคูมางายะและจังหวัดคานางาวะ |
อิมบะ | 印旛県 | 1873 | ยุบไปรวมกับจังหวัดชิบะ |
คิซาราซุ | 木更津県 | 1873 | ยุบไปรวมกับจังหวัดชิบะ |
อุตสึโนมิยะ | 宇都宮県 | 1873 | ยุบไปรวมกับจังหวัดโทจิงิ |
อาซูวะ | 足羽県 | 1873 | ยุบไปรวมกับจังหวัดสึรูงะ |
คาชิวาซากิ | 柏崎県 | 1873 | ยุบไปรวมกับจังหวัดนีงาตะ |
อิจิโนเซกิ→มิซูซาวะ→อิวาอิ | 一関県→水沢県→磐井県 | 1875 | ยุบไปรวมกับจังหวัดอิวาเตะและจังหวัดมิยางิ |
โอกิตามะ | 置賜県 | 1875 | ยุบไปรวมกับจังหวัดยามางาตะ |
ชินจิ | 新治県 | 1875 | ยุบไปรวมกับจังหวัดอิบารากิและจังหวัดชิบะ |
ซากาตะ→สึรูโอกะ | 酒田県→鶴岡県 | 1876 | ยุบไปรวมกับจังหวัดยามางาตะ |
ไทระ→อิวาซากิ | 平県→磐前県 | 1876 | ยุบไปรวมกับจังหวัดฟูกูชิมะและจังหวัดมิยางิ |
วากามัตสึ | 若松県 | 1876 | ยุบไปรวมกับจังหวัดฟูกูชิมะ |
ชิกูมะ | 筑摩県 | 1876 | ยุบไปรวมกับจังหวัดนางาโนะและจังหวัดกิฟุ |
สึรูงะ | 敦賀県 | 1876 | ยุบไปรวมกับจังหวัดอิชิกาวะและจังหวัดชิงะ |
ชิงกาวะ | 新川県 | 1876 | ยุบไปรวมกับจังหวัดอิชิกาวะ |
ซาไก | 堺県 | 1881 | ยุบไปรวมกับจังหวัดโอซากะ |
อาชิงาระ | 足柄県 | 1876 | ยุบไปรวมกับจังหวัดคานางาวะและจังหวัดชิซูโอกะ |
คูมางายะ | 熊谷県 | 1876 | ยุบไปรวมกับจังหวัดกุมมะและจังหวัดไซตามะ |
ไอกาวะ | 相川県 | 1876 | ยุบไปรวมกับจังหวัดนีงาตะ |
ฮามามัตสึ | 浜松県 | 1876 | ยุบไปรวมกับจังหวัดชิซูโอกะ |
ฮาโกดาเตะ | 函館県 | 1886 | ยุบไปรวมกับจังหวัดฮกไกโด |
ซัปโปโร | 札幌県 | 1886 | ยุบไปรวมกับจังหวัดฮกไกโด |
เนมูโระ | 根室県 | 1886 | ยุบไปรวมกับจังหวัดฮกไกโด |
โตเกียว | 東京府 | 1943 | ปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นมหานครโตเกียว (東京都) |
ดินแดนที่เสียไปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
[แก้]ดินแดน | จังหวัด | ฝ่ายสัมพันธมิตร | สถานะปัจจุบัน[3] | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
จังหวัด | ชื่อภาษาญี่ปุ่น | เมืองหลวง | ประเทศ | ชื่อ | เมืองหลวง | ||
ญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ | โอกินาวะ | 沖縄県 | นาฮะ | สหรัฐ[4] | ญี่ปุ่น | จังหวัดโอกินาวะ | นาฮะ |
คาราฟูโตะ | 樺太庁 | โทโยฮาระ | สหภาพโซเวียต | รัสเซีย | ส่วนหนึ่งของซาฮาลิน | ยุจโน-ซาฮาลินสค์ | |
เกาหลี | เฮอังเหนือ | 平安北道 | ชิงงิชู | สหภาพโซเวียต | เกาหลีเหนือ | พย็องอันเหนือ | ชินอึยจู |
เฮอังใต้ | 平安南道 | เฮโจ | พย็องอันใต้ | พย็องซ็อง | |||
คังเกียวเหนือ | 咸鏡北道 | รานัง | ฮัมกย็องเหนือ | รานัม | |||
คังเกียวใต้ | 咸鏡南道 | คังโก | ฮัมกย็องใต้ | ฮัมฮึง | |||
โคไก | 黃海道 | ไคชู | ฮวังแฮ | แฮจู | |||
โคเง็ง[5] | 江原道 | ชุนเซ็ง | คังว็อน | ชุนช็อน[6] | |||
สหรัฐ | เกาหลีใต้ | คังว็อน | |||||
ชูเซเหนือ | 忠清北道 | เซชู | ชุงช็องเหนือ | ช็องจู | |||
ชูเซใต้ | 忠清南道 | ไทเด็ง | ชุงช็องใต้ | แทจ็อน | |||
เคกิ | 京畿道 | เคโจ | คย็องกี | โซล | |||
เคโชเหนือ | 慶尚北道 | ไทกีว | คย็องซังเหนือ | แทกู | |||
เคโชใต้ | 慶尚南道 | ฟูซัง | คย็องซังใต้ | ปูซาน | |||
เซ็นระเหนือ | 全羅北道 | เซ็นชู | ช็อลลาเหนือ | ช็อนจู | |||
เซ็นระใต้ | 全羅南道 | โคชู | ช็อลลาใต้ | ควังจู | |||
ไต้หวัน | โฮโกะ | 澎湖庁 | มาโก | สหรัฐ | ไต้หวัน | เผิงหู | หม่ากง |
คาเร็งโก | 花蓮港庁 | คาเร็งโก | ฮวาเหลียน | ฮวาเหลียน | |||
ชินจิกุ | 新竹州 | ชินจิกุ | ซินจู๋ | ซินจู๋ | |||
ไทจู | 台中州 | ไทจู | ไถจง | ไถจง | |||
ไทโฮกุ | 台北州 | ไทโฮกุ | ไทเป | ไทเป | |||
ไทนัน | 台南州 | ไทนัน | ไถหนัน | ไถหนัน | |||
ไทโต | 台東庁 | ไทโต | ไถตง | ไถตง | |||
ทากาโอะ | 高雄州 | ทากาโอะ | เกาสฺยง | เกาสฺยง | |||
คันโต[7] | 関東州 | ไดเร็ง | สหภาพโซเวียต[8] | จีน | ส่วนหนึ่งของต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง | ||
นันโย[9] | 南洋庁 | โคโรรุ | สหรัฐ[10] | ปาเลา | เงรุลมุด | ||
หมู่เกาะมาร์แชลล์ | มาจูโร | ||||||
ไมโครนีเชีย | ปาลีกีร์ | ||||||
สหรัฐ | หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา | ไซปัน |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "全国都道府県市区町村別面積調 (10月1日時点) [Areas of prefectures, cities, towns and villages (October 1)]" (PDF). Geospatial Information Authority of Japan. Ministry of Land, Infrastructure, Transport, and Tourism. October 1, 2020. p. 5. สืบค้นเมื่อ 18 March 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 都庁は長野市. Tokyo Metropolitan Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 19, 2014. สืบค้นเมื่อ April 12, 2014. Shinjuku is the location of the Tokyo Metropolitan Government Office. But Tokyo is not a "municipality". Therefore, for the sake of convenience, the notation of prefectural is "Tokyo".
- ↑ ตารางนี้ไม่ได้แสดงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากสงคราม เมืองหลวงเดิมของจังหวัดของญี่ปุ่นไม่จำเป็นต้องเทียบเท่ากับเมืองหลวงในปัจจุบัน
- ↑ บริหารโดยรัฐบาลกองทัพสหรัฐแห่งหมู่เกาะรีวกีว ส่งคืนให้ญี่ปุ่นในปี 1972
- ↑ เนื่องจากเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นสองประเทศ ทำให้โคเง็ง (คังว็อน) เคกิ (คย็องกี) และโคไก (ฮวังแฮ) ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ในขณะที่ทั้งสองประเทศมีจังหวัดคังวอนเป็นของตัวเองนั้น จังหวัดคย็องกีส่วนที่อยู่ในเกาหลีเหนือและจังหวัดฮวังแฮส่วนที่อยู่ในเกาหลีใต้ถูกรวมกับจังหวัดอื่น
- ↑ ชุนเซ็ง (ชุนช็อน) อยู่ในเขตเกาหลีใต้ในปัจจุบัน
- ↑ เช่าจากราชวงศ์ชิง ซึ่งต่อมาคือสาธารณรัฐจีนและแมนจูกัว
- ↑ หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง สหภาพโซเวียตเข้าครอบครองและในปี 1955 ได้ยกให้สาธารณรัฐประชาชนจีน
- ↑ ดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ
- ↑ จากนั้นบริหารในฐานะดินแดนในภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ