สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本建築, Nihon kenchiku) มีลักษณะทั่วไปคือโครงสร้างไม้ที่ยกสูงจากพื้นดินเล็กน้อย หลังคากระเบื้องหรือสาน มีทางเข้าออกเป็นประตูบานเลื่อน (ฟุซุมะ) ซึ่งสามารถปิดกั้นขึ้นมาเป็นห้องแทนผนัง ทำให้สามารถจัดการเปลี่ยนแปลงการใช้งานห้องได้ ส่วนเฟอร์นิเจอร์จำพวกโต๊ะและเก้าอี้สูงไม่พบใช้จนถึงราวคริสต์ศตวรรษที่ 20 อย่างไรก็ตามสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมีการเปลี่ยนแปลงโดยผสมผสานสถาปัตยกรรมตะวันตก สถาปัตยกรรมโมเดิร์น สถาปัตยกรรมโพสต์-โมเดิร์น เข้ามาใช้ทั้งแนวคิดและเทคนิคการก่อสร้าง
สถาปัตยกรรมญี่ปุ่นที่เก่าแก่ที่สุดคือบ้านหลุมและโกดังในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ต่อมาเมื่อได้รับอิทธิพลจากจีนฮั่นผ่านทางเกาหลี จึงเริ่มมีกความซับซ้อนในการก่อสร้างมากขึ้น เมื่อศาสนาพุทธเข้ามาในญี่ปุ่น ราวคริสต์ศตวรรษ 6 มีผลอย่างมากให้มีการสร้างวัดพุทธที่ใช้เทคนิคการสร้างจากไม้ที่ซับซ้อน การก่อตั้งเมืองหลวงถาวรแห่งแรกที่เมืองนาระ ได้รับอิทธิพลมากจากถังและสุย มีลักษณะแปลนถนนแบบตาราง ลอกแบบมาจากฉางอัน เมืองหลวงของจีนในขณะนั้น เมื่อการก่อสร้างอาคาารมีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้เกิดระบบการวัดขึ้น รวมถึงการออกแบบสวนที่เน้นความเงียบสงบ การเข้ามาของพิธีชงชาญี่ปุ่นยิ่งเน้นย้ำถึงความเรียบง่ายและถ่อมตนในการออกแบบ
ในยุคการปฏิวัติเมจิเมื่อปี ค.ศ. 1868 มีผลอย่างมากต่อการเปปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นสองประการ ประการแรกคือชินบุทซุ บุนริ กฎหมายที่ออกบังคับให้แยกศาสนาพุทธออกจากศาสนาชินโต และแยกขาดวัดพุทธออกจากศาลเจ้าชินโต ซึ่งอยู่ร่วมกันมาเป็นพันปี[1] อีกประการหนึ่งคือเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลตะวันตกอย่างหนักเพื่อแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาแล้ว สิ่งนี้ส่งผลให้ทั้งรูปแบบและสถาปนิกถูกนำเข้ามาปรับเข้ากับสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นมากขึ้น และยังมีอิทธิพลจากนักเรียนญี่ปุ่นที่ศึกษาต่อด้านสถาปัตยกรรมจากต่างประเทศนำสถาปัตยกรรมสากลเข้ามา
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
[แก้]ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น ได้แก่ ยุคโจมง, ยุคยะโยอิ และยุคโคฟุง ตั้งแต่ 5000 ปีก่อนคริสตกาลจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่แปด
ในยุคแรกคือยุคโจมง บ้านเรือมีลักษณะเป็นบ้านหลุมที่มีหลุมตื้น ๆ บนพื้นดินที่ตอกให้แน่น หลังคาทำมาจากหญ้าออกแบบเพื่อเก็บน้ำฝนในโหลเก็บน้ำ ต่อมาเมื่ออากาศหนาวเย็นลงและมีฝนตกหนักขึ้น ทำให้ประชากรลดจำนวนลงส่งผลให้ผู้คนมีความสนใจในพิธีกรรมและความเชื่อขึ้นมา มีการค้นพบหินวงกลมร่วมศูนย์กลางเป็นครั้งแรกในยุคนี้[2]
ในยุคยะโยอิ ชาวญี่ปุ่นเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับชาวจีนยุคฮั่นและได้รับอิทธิพล เทคนิคการก่อสร้างต่าง ๆ เข้ามา[2] บ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างแบบยกพื้นซึ่งต้องสร้างโดยใช้เครื่องมือโลหะ เริ่มพบมีการสร้างครั้งแรกในยุคนี้[3] นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่าการสร้างอาคารยกสูงแบบนี้เป็นผลมาจากการที่ได้ติดต่อกับชาวออสโตรนีเชียนกลุ่มที่ปลูกข้าว จากชายฝั่งของจีนหรือไต้หวันมากกว่าที่จะมาจากชาวฮั่น[4][5]
ยุคโคฟุงเป็นครั้งแรกที่มีการก่อสร้างเนินฝังศพที่ประกอบด้วยโถงหลายห้อง เชื่อกันว่าได้รับอิทธิพลจากเนินฝังศพลักษณะเดียวกันที่พบในแหลมเกาหลี[6] ในยุคนี้ สุสานแบบ “รูกุญแจ” หรือ “โคฟุง” มักสร้างขึ้นโดยใช้ประโยชน์จากลักษณะผืนดินที่มีอยู่แล้วมาขุดคูให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจนมีผืนดินลักษณะรูปรูกุญแจขึ้น (รูปวงกลมเชื่อมกับสามเหลี่ยม) โถงภายในบรรจุศพและเครื่องใช้ตามความเชื่อ ส่วนเนินมักตกแต่งด้วยเครื่องตกแต่งดินเผา เรียกว่า “ฮะนิวะ” ในยุคถัด ๆ มาเนินเริ่มตั้งอยู่บนพื้นเรียบ และมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นมาก ตัวอย่างสุสานที่พบเช่นที่นารา, โอซะกะ และ “ไดเซ็ง-โคฟุง” สุสานของจักรพรรดินินโทคุ พื้นที่ 32 เฮกตาร์ (79 เอเคอร์) ตกแต่งด้วยฮะนิวะที่เชื่อกันว่ามีมากถึง 20,000 ชิ้น[2]
หลังสิ้นสุดยุคโคฟุง เนินฝังศพค่อย ๆ ลดความนิยมลงไปพร้อมกับการเข้ามาของศาสนาพุทธในญี่ปุ่น ซึ่งมีพิธีศพที่เป็นที่นิยมกว่า[2]
-
บ้านยกพื้น ในโยชิโนการิ, จังหวัดซากะ (คริสต์ศตวรรษที่ 2 - 3)
-
บ้านหลุม ในโยชิโนการิ
-
อาคารยกพื้น ในโยชิโนการิ
สถาปัตยกรรมอาซูกะและนาระ
[แก้]ญี่ปุ่นในยุคอาซูกะเป็นช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธเข้ามายังญี่ปุ่น จึงส่งผลอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางสถาปัตยกรรมของยุคอาซูกะ วัดพุทธกลายมาเป็นศูนย์กลางของการบูชาและพิธีกรรม ส่วนพิธีกรรมกับหลุมศพเนินแบบเดิมนั้นไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป[2] นอกจากนี้ ศาสนาพุทธยังนำแนวคิดการบูชา “คามิ” เข้ามายังญี่ปุ่น ทำให้ศาสนาชินโตเกิดการสร้างศาสนสถานถาวรขึ้นเพื่อบูชาคามิ อันนำมาสู่สถาปัตยกรรมชินโตที่พบในการสร้างศาลเจ้าชินโต
ตัวอย่างสถาปัตยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดคือวัดโฮรีวจิ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนาระ สร้างขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 7 เพื่อเป็นวัดส่วนพระองค์ในเจ้าชายโชโตกุ ประกอบด้วยอาคารต่าง ๆ 41 หลัง โดยมีอาคารสำคัญคือคนโด (金堂, Kon-dō โถงทองคำ) และเจดีย์ (โท) สูงห้าชั้น ตั้งอยู่ใจกลางบริเวณในพื้นที่เปิดที่ล้อมด้วยระเบียงมุงหลังคา (ไคโร) อาคาร “คนโด” นั้นสร้างขึ้นแบบจีน มีความสูงสองชั้น ใช้การก่อสร้างแบบ “เสาต่อคาน” (post-and-beam construction) และมีหลังคากระเบื้องแบบจั่วปั้นหยา (hipped-gabled) ที่เรียกว่า “อิริโมยะ[7][8]
ยุคเฮอัน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคคามากูระ และยุคมูโรมาจิ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคอะซุชิ - โมโมยามะ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคเอโดะ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคเมจิ, ไทโช และโชวะตอนต้น
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคโชวะตอนปลาย
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ยุคเฮเซ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Stone, Jacqueline (December 1993). "Review of Of Heretics and Martyrs in Meiji Japan: Muslim and Its Persecution by James Edward Ketelaar". Harvard Journal of Asiatic Studies. 53 (2): 582–598. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 23, 2011. สืบค้นเมื่อ June 13, 2011.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "Japanese architecture". Britannica.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2011. สืบค้นเมื่อ May 17, 2011.
- ↑ Itoh (1973), p. 10
- ↑ Arbi, Ezrin; Rao, Sreenivasaiah Purushothama; Omar, Saari (November 21, 2013). "Austronesian Architectural Heritage and the Grand Shrines at Ise, Japan". Journal of Asian and African Studies. 50 (1): 7–24. doi:10.1177/0021909613510245.
- ↑ Robbeets, Martine (January 1, 2017). "Austronesian influence and Transeurasian ancestry in Japanese". Language Dynamics and Change. 7 (2): 210–251. doi:10.1163/22105832-00702005.
- ↑ Keyhole-shaped tombs in Korean Peninsula Hideo Yoshii (Kyoto University) "Archived copy" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-07-28.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Bussagli (1989), pp. 163-165
- ↑ แม่แบบ:Jaanus2