ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์
เจ้าหญิงมูนาในปี พ.ศ. 2507
เจ้าหญิงพระชายาแห่งจอร์แดน
ดำรงพระอิสริยยศ25 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 - 21 ธันวาคม 2515
เจ้าหญิงพระชนนีแห่งจอร์แดน
ดำรงพระอิสริยยศ7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
(25 ปี 281 วัน)
ประสูติ25 เมษายน พ.ศ. 2484 (83 ปี)
เชลมอนดิสตัน ซัฟฟอล์ก สหราชอาณาจักร
แอนทัวเนตต์ เอวริล การ์ดิเนอร์
พระสวามีสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ (2504–2515)
พระบุตรสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2
เจ้าชายฟัยศ็อล บิน ฮุซัยน์
เจ้าหญิงอาอิชะฮ์ บินต์ อัลฮุซัยน์
เจ้าหญิงซัยน์ บินต์ อัลฮุซัยน์
พระนามเต็ม
มูนา อัลฮุซัยน์
ราชวงศ์ฮัชไมต์ (อภิเษกสมรส)
พระบิดาวอลเตอร์ เพอร์ซี การ์ดิเนอร์
พระมารดาดอริส อีลิซาเบท ซัตตัน
ศาสนาอิสลาม

เจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ (อาหรับ: منى الحسين; ประสูติ 25 เมษายน พ.ศ. 2484) เป็นพระราชชนนีในสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน เป็นอดีตพระราชชายาพระองค์ที่สองในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ เป็นชาวสหราชอาณาจักรโดยพระชาติกำเนิด และทรงเปลี่ยนพระนามเป็น มูนา อัลฮุซัยน์ เมื่อทรงเข้าพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ต่อมาทรงหย่าเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2515

พระประวัติ

[แก้]

เจ้าหญิงมูนามีพระนามเดิมว่า แอนทัวเนตต์ "โทนี" แอวริล การ์ดิเนอร์ เป็นธิดาของวอลเตอร์ เพอร์ซี การ์ดิเนอร์ (Walter Percy Gardiner) กับดอริส อลิซาเบธ ซัตตัน (Doris Elizabeth Sutton) พระชนกเป็นนายทหารระดับสูงของสหราชอาณาจักรประจำการอยู่ลองมาร์สตัน (Long Marston) ในมณฑลวอริกเชอร์ (Warwickshire) ช่วงปี ค.ศ. 1960[1] พระองค์เข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนบอร์น (Bourne School) กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งได้รับการดูแลจากกองบริการการศึกษาของครอบครัวชาวสหราชอาณาจักร (British Families Education Service) ที่จะดูแลการศึกษาของบุตรหลานชาวสหราชอาณาจักรในโพ้นทะเล ภายหลังเมื่อสหราชอาณาจักรถอนตัวจากมลายา โรงเรียนก็ปิดตัวลง[ต้องการอ้างอิง]

อภิเษกสมรส

[แก้]

เจ้าหญิงมูนามีพระปฏิสันถารกับสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดนครั้งแรกเมื่อคราวที่พระองค์ทรงงานเป็นผู้ช่วยเลขานุการของกองภาพยนตร์เรื่อง ลอเรนซ์แห่งอาราเบีย ที่สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ทรงอนุญาตให้ใช้กองกำลังทหารส่วนพระองค์มาร่วมแสดง และบางครั้งพระองค์ก็เสด็จเยี่ยมเพื่อทอดพระเนตรความคืบหน้าในการผลิตภาพยนตร์นี้ บางแห่งก็ว่าสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์พบกับพระองค์เมื่อคราที่วอลเตอร์ พระชนกมาเป็นที่ปรึกษาด้านการทหารในจอร์แดน[1]

ทั้งสองได้ทำการอภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 ณ อัมมาน ประเทศจอร์แดน ทั้งนี้พระองค์ได้เข้ารีตศาสนาอิสลามตามรัฐธรรมนูญจอร์แดนว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ที่องค์รัชทายาทต้องมีพระชนกและพระชนนีเป็นมุสลิมทั้งสองฝ่าย[2] และทรงใช้พระนามว่า "มูนา" (อาหรับ: منى) พระองค์ประสูติการพระราชโอรส-ธิดา 4 พระองค์ได้แก่

  1. สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน (30 มกราคม พ.ศ. 2505)
  2. เจ้าชายฟัยศ็อล บินฮุซัยน์ (11 ตุลาคม พ.ศ. 2506)
  3. เจ้าหญิงอะอิชะฮ์ บินต์ฮุซัยน์ (23 เมษายน พ.ศ. 2511)
  4. เจ้าหญิงซัยน์ บินต์ฮุซัยน์ (23 เมษายน พ.ศ. 2511)

แต่ต่อมาสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ทรงหย่ากับพระองค์เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2515 พระองค์จึงมีพระอิสริยยศเป็น เจ้าหญิงมูนาแห่งจอร์แดน และยังคงประทับอยู่ในประเทศจอร์แดนเพื่อปฏิบัติพระกรณียกิจ[ต้องการอ้างอิง]

พระกรณียกิจ

[แก้]

เจ้าหญิงมูนาทรงให้การอุปถัมภ์ดูแลกิจการพยาบาลจอร์แดน ทรงจัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาพยาบาลในพระอุปถัมภ์เจ้าหญิงมูนา (Princess Muna Scholarship Fund for Nursing)[3] และในปีพ.ศ. 2505 ทรงก่อตั้งวิทยาลัยการพยาบาลเจ้าหญิงมูนา (Princess Muna College of Nursing) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยการพยาบาลและวิชาชีพสุขภาพเจ้าหญิงมูนา (Princess Muna College of Nursing and Allied Health Professions)[4]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Ewing, Richard (5 February 1999). "Prince's secretary mum who married a king". Coventy Evening Telegraph. สืบค้นเมื่อ 29 June 2013.
  2. Chapter VI Part I, Article 28th of The Jordanian Constitution
  3. Princess Muna Scholarship Fund for Nursing เก็บถาวร 2009-01-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Kafd.jo. Retrieved on 28 July 2015.
  4. "Princess Muna College". jrms.gov.jo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]