ข้ามไปเนื้อหา

คุยกับผู้ใช้:Potapt/กรุ 6

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ความเห็นล่าสุดเมื่อ: 3 ปีที่แล้ว โดย Potapt ในหัวข้อ ภาษาทิเบต
กรุ 1 กรุ 4 กรุ 5 กรุ 6 กรุ 7

สวัสดีคะรบกวนสร้างบทความละครไฟหิมะช่อง7หน่อยค่ะ

เนื่องจากละครไฟหิมะออนมาเป็นอาทิตย์แล้วรบกวนสร้างบทความนี้หน่อยค่ะ--ซาลียา เขียวเล็ก (คุย) 18:06, 22 เมษายน 2562 (ICT)

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลตามนี้ให้หน่อยครับ

  • เนเธอร์แลนด์ Frenkie de Jong
  • เนเธอร์แลนด์ Kjell Scherpen
  • บราซิล Vinícius José Paixão de Oliveira Júnior
  • เยอรมนี Jann-Fiete Arp

ขอบคุณล่วงหน้าครับ --Wutzwz (คุย) 20:31, 29 เมษายน 2562 (ICT)

  • แฟร็งกี เดอ โยง
  • กีแย็ล สแคร์เปิน
  • วีนีซียุส โฌแซ ไปเชา จี โอลีเวย์รา ฌูนีโยร์
  • ยัน-ฟีเทอ อาร์พ

--Potapt (คุย) 20:53, 29 เมษายน 2562 (ICT)

ขอบคุณ

ขอบคุณครับ --Wedjet (คุย) 19:42, 2 พฤษภาคม 2562 (ICT)

w

ชารล์ส ดับบลิว. นิมิทซ์ บทความนี้ควรใช้ว่า ชารล์ส ดับเบิลยู. นิมิทซ์ น่าจะเหมาะกว่าไหมคะ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 171.5.238.26 (พูดคุย | ตรวจ) 23:45, 4 พฤษภาคม 2562 (ICT)

ถ้ายึดตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ก็ต้องเป็น "ดับเบิลยู" ครับ แต่ที่ผิดยิ่งกว่าคือ "ชารล์ส" เพราะตัวสะกดภาษาอังกฤษคือ "Chester" --Potapt (คุย) 02:34, 5 พฤษภาคม 2562 (ICT)

ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ เดี๋ยวผมจัดการให้นะครับ แก้ไข เรื่องฟุตบอล มามากโข --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Paybig (พูดคุยหน้าที่เขียน) 01:17, 6 พฤษภาคม 2562 (ICT)

ครับ-Potapt (คุย) 01:51, 6 พฤษภาคม 2562 (ICT)

ทับศัพท์

สวัสดีครับ คุณ Potapt รบกวนขอความช่วยเหลือเรื่องการทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลในบทความ ผู้เล่นในยูฟ่าเนชันส์ลีก 2019 รอบสุดท้าย หน่อยครับผม ขอบคุณมากครับ --Wutzwz (คุย) 22:49, 16 พฤษภาคม 2562 (ICT)

ได้ครับ --Potapt (คุย) 23:36, 16 พฤษภาคม 2562 (ICT)
@Potapt: รบกวนในหน้า ผู้เล่นในโคปาอเมริกา 2019 อีกหน้านึงด้วยนะครับ ขอบพระคุณมากครับผม --Wutzwz (คุย) 15:24, 18 พฤษภาคม 2562 (ICT)

เข้าใจ

ผมเพิ่งจะเข้าใจความรู้สึกว่าเห็นคุณกดย้อนรัว ๆ ก็วันสองวันนี้เองครับ 5555 เฮ้อ --Wedjet (คุย) 16:35, 20 พฤษภาคม 2562 (ICT)

555 เจออะไรมาเหรอครับ --Potapt (คุย) 01:00, 21 พฤษภาคม 2562 (ICT)
ย้อนผู้ก่อกวนรอแอดมินน่ะครับ มันมาก --Wedjet (คุย) 01:17, 21 พฤษภาคม 2562 (ICT)
อ๋อ... 5555 ถ้ายังไหวก็ทำไปครับ --Potapt (คุย) 01:21, 21 พฤษภาคม 2562 (ICT)

ทับศัพท์คำว่า hertz

คือ ราชบัณฑิตบัญญัติคำว่า hertz ไว้ว่า "เฮิรตซ์"[1] ซึ่งนั่นทำให้ผมสงสัยว่าทำไมชื่อ Heinrich Hertz ถึงสะกดเป็น "ไฮน์ริช แฮทซ์" ทำไมถึงไม่ใช้ตามที่บัญญัติไว้? --Prem4826 (คุย) 22:09, 31 พฤษภาคม 2562 (ICT)

  • hertz ที่อยู่ในเพจศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตนั้นหมายถึงหน่วยวัดอย่างเดียวครับ ไม่ได้หมายรวมถึงนามสกุลบุคคล (ถึงแม้ว่า hertz จะมีที่มาจากนามสกุล Hertz ก็ตาม) สังเกตได้จาก hertz ที่เป็นชื่อหน่วยวัดจะขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก แสดงว่าเป็นคำนามทั่วไป ไม่ใช่ชื่อเฉพาะ และสื่อความหมายต่างไปจากศัพท์ที่มา
  • Heinrich เป็นชื่อภาษาเยอรมัน และทับศัพท์ตามการออกเสียงในภาษาเยอรมันเป็น "ไฮน์ริช" อยู่แล้ว จึงควรทับศัพท์นามสกุล Hertz ตามการออกเสียงในภาษาเยอรมันด้วย จะได้ไม่เป็นหัวมังกุท้ายมังกร ชื่ออื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันนี้ เช่น คูลอมบ์ กับ ชาร์ล-โอกุสแต็ง เดอ กูลง, แอมแปร์ กับ อ็องเดร-มารี อ็องแปร์
  • ปาสกาล กับ แบลซ ปัสกาล ทับศัพท์ตามการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศสทั้งคู่ แต่ "ปาสกาล" สะกดตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดให้ถอดเสียงสระ a เป็น "-า" เสมอไม่ว่าจะมีเสียงพยัญชนะใดปิดท้ายก็ตาม ส่วน "ปัสกาล" สะกดตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส พ.ศ. 2553 ซึ่งกำหนดให้ถอดเสียงสระ [a] เป็น "-ะ" โดยลดรูปเป็นไม้หันอากาศ เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะไม่ก้อง (voiceless - ในที่นี้คือ [s]) และเป็น "-า" เมื่อตามด้วยเสียงพยัญชนะก้อง (voiced - ในที่นี้คือ [l]) ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ปรากฏในเพจศัพท์บัญญัตินั้นมาจากฉบับ พ.ศ. 2549 จึงยังไม่ได้เปลี่ยนมาใช้ตัวสะกดตามหลักเกณฑ์ฉบับ พ.ศ. 2553 แต่ถึงแม้จะไม่เปลี่ยน ก็ยังถือเป็นกรณีเดียวกับ "ไฮน์ริช แฮทซ์" อยู่ดี เพราะ "แบลซ" เป็นตัวสะกดตามหลักเกณฑ์ฉบับ พ.ศ. 2553 ครับ --Potapt (คุย) 07:39, 1 มิถุนายน 2562 (ICT)
อธิบายเข้าใจง่ายมากครับ ขนาดผมไม่มีความรู้ทางด้านภาษาเยอรมันและฝรั่งเศสยังพอเข้าใจเลยครับ ขอบคุณสำหรับคำตอบและความรู้เพิ่มเติมครับ :) --Prem4826 (คุย) 12:25, 2 มิถุนายน 2562 (ICT)

รบกวนช่วยเปลี่ยนชื่อหน้า แบ็กแรล หน่อยครับ

คำว่า "becquerel" ในที่นี้เป็นหน่วย ไม่ใช่ชื่อคนเพราะฉะนั้นเอาตามที่บัญญัติไว้ว่า becquerel = เบ็กเคอเรล[2] --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Prem4826 (พูดคุยหน้าที่เขียน) 16:16, 2 มิถุนายน 2562 (ICT)

แจ้งแอดมินไว้ที่นี่แล้วครับ --Potapt (คุย) 18:40, 2 มิถุนายน 2562 (ICT)

มอบดาว

ดาวอึดไม่รู้จักเหนื่อย
นับถือใจคุณมาก ๆ ครับ ผมเข้าไปแทรกไม่ทันเลยทีเดียว Wedjet (คุย) 22:54, 2 มิถุนายน 2562 (ICT)

ช่วยทับศัพท์หน่อยครับ

ทับศัพท์ชื่อนักแสดงอินเดียหน่อยได้ไหมครับ ตามนี้ครับ

  • อินเดีย Kriti Sanon
  • อินเดีย Anushka Sharma

ถ้าทับศัพท์ได้แล้วช่วยแจ้งหน่อยนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ --Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 14:06, 3 มิถุนายน 2562 (ICT)

@บุญพฤทธิ์ ทวนทัย: สวัสดีครับ
  • Kriti = กฤติ
  • Anushka = อนุษกา
  • Sharma = ศรรมา
ส่วน Sanon ยังไม่แน่ใจว่าควรทับศัพท์ยังไง ขอเวลาตรวจสอบก่อนครับ --Potapt (คุย) 17:12, 3 มิถุนายน 2562 (ICT)

โอเครครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 17:21, 3 มิถุนายน 2562 (ICT)

@บุญพฤทธิ์ ทวนทัย: น่าจะเป็น "ไสนอน" ครับ --Potapt (คุย) 01:33, 4 มิถุนายน 2562 (ICT)

Eilish

สวัสดีค่ะ แต่เธอบอกว่าการออกเสียงที่ถูกต้องคือ อายลิช ไม่ใช่เหรอคะ(คุย) 01:50, 30 มิถุนายน 2562 (ICT) ดิฉันพึ่งเริ่มใช้หากผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยนะคะ Napasorn Ruangpung (คุย) 01:52, 30 มิถุนายน 2562 (+07)ตอบกลับ

เคยดูอยู่คริปหนึ่งเธอบอกว่าต้องออกเสียงว่าอายลิชไม่ใช่ไอลิช แต่ตอนนี้หาคริปนั้นไม่เจอแล้วค่ะ Napasorn Ruangpung (คุย) 09:58, 30 มิถุนายน 2562 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์

สวัสดีครับ ผมขอรบกวนคุณ Potapt ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลตามนี้ให้หน่อยครับ

  • บราซิล Gabriel Teodoro Martinelli Silva
  • อิตาลี Moise Bioty Kean
  • ฝรั่งเศส Tanguy Ndombele Alvaro

ขอบคุณมากๆครับ --JMKTIN (คุย) 22:02, 2 กรกฎาคม 2562 (ICT)

เดี๋ยวขอเวลาค้นเพิ่มก่อนนะครับ ส่วนใหญ่ไม่ใช่ชื่อที่พบอยู่ปกติในภาษานั้น เลยไม่ค่อยแน่ใจว่าออกเสียงยังไง --Potapt (คุย) 04:42, 3 กรกฎาคม 2562 (ICT)
ได้ครับผม --JMKTIN (คุย) 09:53, 3 กรกฎาคม 2562 (ICT)
@JMKTIN:
  • กาบรีแยล เตโอดอรู มาร์ชีแนลี ซิลวา
  • โมอีเซ บีโอตี เกน
  • ต็องกี อึนดอมเบเล อาลวาโร
--Potapt (คุย) 00:53, 5 กรกฎาคม 2562 (ICT)
ขอบคุณมากครับ --JMKTIN (คุย) 15:04, 5 กรกฎาคม 2562 (ICT)

มรดกโลก

ทำไมบางรายชื่อถึงเป็นรายการคะ เช่น รายการแหล่งมรดกโลกในประเทศกัมพูชา แต่ของไทยของพม่าและหลายประเทศเป็น รายชื่อแหล่งมรดกโลกไม่ใช่รายการแหล่งมรดกโลก มันน่าจะเป็นรายชื่อแหล่งมรดกโลกให้เหมือนกันทั้งหมดนะคะ หรือว่าแอดมินเขาย้ายยังไม่หมด--2403:6200:8863:86A8:4178:EBB8:DA39:D0D7 12:48, 10 กรกฎาคม 2562 (ICT)

ดูจากวิกิพีเดีย:ชื่อบทความ#บทความที่เป็นการรวบรวมรายการแล้ว คิดว่าน่าจะใช้ "รายชื่อ" ครับ --Potapt (คุย) 00:02, 11 กรกฎาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

ช่วยทับศัพท์ชื่อบุคคล

สวัสดีครับ ไม่ทราบว่าขอให้ช่วยทับศัพท์ชื่อบุคคลในบทความรางวัลโวแทร็ง ลูดกับภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศให้ได้หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ --Geonuch (คุย) 19:17, 17 กรกฎาคม 2562 (ICT)

ได้ครับ --Potapt (คุย) 19:28, 17 กรกฎาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณครับ --Geonuch (คุย) 19:58, 17 กรกฎาคม 2562 (ICT)
@Geonuch: เสร็จหมดแล้วนะครับ ยกเว้นชื่อ Chang-Chin Wang ผมไม่ถนัดภาษาจีน และหาชื่อที่เขียนด้วยตัวอักษรจีนไม่เจอ เลยถอดเสียงไม่ได้ครับ --Potapt (คุย) 07:12, 18 กรกฎาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณมากครับ ขอรบกวนอีกเรื่องหนึ่งคือชื่อของ Yi-Fu Tuan ถ้าทับศัพท์เป็นภาษาอังกฤษจะออกเสียงว่าอย่างไรครับ เพราะอาจารย์ Tuan ระบุว่าตัวเองเป็นเป็น Chinese-American เลยว่าจะใช้ชื่อแบบชาวอเมริกันมากกว่าชาวจีน (เช่น Xi Jinping) ครับ --Geonuch (คุย) 11:27, 18 กรกฎาคม 2562 (ICT)
ผมลองหาคลิปในยูทูบแล้ว ไม่พบการออกเสียงชื่ออาจารย์ Yi-Fu Tuan เลยครับ แต่ถ้าลากการออกเสียงตามภาษาจีนให้เข้ากับเสียงที่มีในภาษาอังกฤษก็น่าจะเป็น "อี-ฟู ทวน" หรือ "อี-ฟู ทวาน" ประมาณนี้ครับ--Potapt (คุย) 18:49, 18 กรกฎาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณมากครับ --Geonuch (คุย) 20:23, 18 กรกฎาคม 2562 (ICT)

ขอเชิญเข้าร่วมประชุม Thailand's Movement Strategy Salon

Thailand's Movement Strategy Salon 2019 เป็นงานประชุมภายในเพื่อหารือทิศทางกลยุทธของวิกิมีเดีย (Movement Strategy) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม 2562 ในกรุงเทพมหานคร งานประชุมนี้เปิดโอกาสให้การสนทนาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับ Movement Strategy เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม วัตถุประสงค์ของงานประชุมโดยละเอียดมีต่อไปดังนี้

  1. เปิดโอกาสให้ผู้ใช้ในประเทศไทยมีส่วนร่วมในทิศทางกลยุทธของวิกิมีเดีย (Movement Strategy)
  2. แสดงความเห็นและวิพากษ์วิจารณ์ scoping documents ที่จัดเตรียมโดย working groups ทั้ง 9 กลุ่ม โดยยึด local context หรือบริบทของชุมชนวิกิมีเดียประเทศไทยเป็นสำคัญ
  3. แสดงความเห็นเกี่ยวกับอนาคตของวิกิมีเดียและวิกิมีเดียประเทศไทยในอีก 11 ปีข้างหน้า (Wikimedia 2030)
  4. เป็นเวทีให้ผู้ใช้พบปะ แบ่งปันความคิดและประสบการณ์

เนื่องจากคุณ Potapt เป็นหนึ่งในผู้ที่มีความเคลื่อนไหวมากที่สุดในวิกิพีเดียภาษาไทย ผมจึงขอเชิญชวนท่านเข้าร่วมประชุม Thailand's Movement Strategy Salon 2019 ในวันและเวลาดังต่อไปนี้

  • วันที่: 31 สิงหาคม 2562
  • เวลา: 9.00-17.00
  • สถานที่: สยาม เขตปทุมวัน กทม. (สถานที่จะมีการแจ้งให้ทราบภายหลัง)
  • จำนวนผู้เข้าร่วม: 8-10

ผู้เข้าร่วมงานทุกท่านจะได้รับทุนสนับสนุนเพื่อเป็นค่าเดินทางและค่าที่พักหนึ่งคืน หากท่านสนใจเข้าร่วมโปรดตอบตกลงผ่านทางอีเมล athikhun.suw@student.mahidol.edu ภาย ในวันที่ 13 สิงหาคม 2562 หากเกินเวลาที่กำหนดผมจะโอนสิทธิ์ไปยังผู้ที่ได้รับเชิญลำดับถัดไปทันที ขอบคุณมากครับ --Athikhun.suw (คุย) 14:56, 8 สิงหาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์

เห็นคุณสันทัดเรื่องการทับศัพท์ ช่วยรบกวนตรวจสอบการทับศัพท์พม่าในบทความ เนปยีดอ หน่อยค่ะ บางคำทับศัพท์ไม่ตรงบัณฑิตยสภาแบบใหม่ เช่น ပညာ ปะญา ปญา กลายเป็นปี่นหญ่า สระอี มาจากไหนไม่ทราบ ช่วยดูให้หน่อยค่ะ ฉันผิดเองหรือเปล่าก็ไม่ทราบเลยไม่กล้าแก้ไข--2403:6200:8863:86A8:F8D7:C0E8:787B:8AF0 18:55, 12 สิงหาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

ผมตรวจสอบดูแล้ว คำว่า ပညာ ถ้าดูจากรูปเขียนควรจะทับศัพท์ว่า "ปะญา" แต่ในการออกเสียงจริง คนพม่าออกเสียงว่า "ปยีนญา" (pyin-nya) ครับ ปัญหาคือคำจำนวนหนึ่งในภาษาพม่าออกเสียงไม่ตรงตามรูปเขียน อย่างคำว่า သင်္ကြန် (สงกรานต์) ออกเสียงตามรูปเขียนว่า "ตี้นจาน" แต่ปกติจะออกเสียงกร่อนพยางค์หน้าเป็น "ตะจาน" --Potapt (คุย) 03:10, 13 สิงหาคม 2562 (ICT)

ขอบคุณมากค่ะที่เข้าไปดูให้ --2403:6200:8863:178:91C1:1EDA:5861:B554 06:44, 13 สิงหาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อบุคคล

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ทับศัพท์ชื่อบุคคลตามนี้หน่อยครับผม

  • เนเธอร์แลนด์ Max Emilian Verstappen
  • ออสเตรเลีย Daniel Ricciardo
  • เดนมาร์ก Kevin Jan Magnussen
  • รัสเซีย Daniil Vyacheslavovich Kvyat
  • ฟินแลนด์ Valtteri Viktor Bottas

ขอบคุณครับ --JMKTIN (คุย) 22:14, 21 สิงหาคม 2562 (ICT)

  • มักซ์ เอมีลียัน แฟร์สตัปเปิน
  • แดเนียล ริคาร์โด
  • เควิน ยัน เมานุสเซิน
  • ดานีอิล เวียเชสลาโววิช เควียต
  • วัลต์เตรี วิกโตร์ โบตตัส

--Potapt (คุย) 00:27, 22 สิงหาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์

ตรวจการ ทับศัพท์พม่าใน ปัลลัง หน่อยค่ะ --2403:6200:8863:178:70F6:6AA0:C0F6:C230 04:02, 3 กันยายน 2562 (ICT)

พรุ่งนี้นะครับ --Potapt (คุย) 05:53, 3 กันยายน 2562 (ICT)

การออกเสียง

ขอถามครับ บทความ ราชวงศ์ตองอู တောင်ငူခေတ်, [tàuɴŋù kʰɪʔ] ออกเสียงว่า เต่าง์หงู่คิ หรือเปล่าครับ เห็นมีคนไปแก้ และบทความ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ด้วยครับ --ไทๆ (คุย) 23:15, 5 กันยายน 2562 (ICT)

จะเขียนคำอ่านแบบนั้นก็ถูกครับ ขึ้นอยู่กับการตีความ --Potapt (คุย) 02:44, 6 กันยายน 2562 (ICT)

Community Insights Survey

RMaung (WMF) 21:33, 6 กันยายน 2562 (+07)ตอบกลับ

Reminder: Community Insights Survey

RMaung (WMF) 22:09, 20 กันยายน 2562 (+07)ตอบกลับ

สวัสดี

สวัสดี สหายนายพลเเกรนท์ (คุย) 09:31, 30 กันยายน 2562 (+07)ตอบกลับ

สอบถามการทับศัพท์ Greta Thunberg

IPA ของชื่อนี้คือ ออกเสียง: [²ɡrɛːta ²tʉːnbærj] ( ฟังเสียง) ถูกต้องแล้วใช่ไหมครับ ถ้าเป็นเช่นนั้น ตัว ʉː ไม่ได้ออกเสียงเป็น "อุ" หรอครับ ตามคำอธิบายในวิกิภาษาอังกฤษ ตอนนี้ผมเห็นว่าทับศัพท์เป็น "เกรียตา ทืนแบร์ย" --Prem4826 (คุย) 22:18, 1 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

เนื่องจากตอนนี้ยังไม่มีหลักการทับศัพท์สวีเดนทั้งในวิกิพีเดีย ในที่อื่น ๆ หรือในทางราชการที่จะเอามาใช้อ้างอิงได้ ในที่นี้จึงทับศัพท์ตามการออกเสียงไปก่อนครับ เสียงสระ /ʉː/ ในภาษาสวีเดนไม่มีเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย (ไม่ตรงกับทั้งอู /uː/ และอือ /ɯː~ɨː/) ผมดูจากบรรดาเพจหรือวิดีโอสอนภาษาสวีเดนโดยคนไทยแล้ว พบว่าบางแห่งเทียบเป็น "อู" บางแห่งเทียบเป็น "อือ" บางแห่งเทียบเป็น "อิว" ผมเห็นว่าควรถอดเสียงโดยใช้ "อือ" เพราะตำแหน่งเกิดเสียงสระ /ʉː/ ในภาษาสวีเดนใกล้เคียงกับสระอือ /ɯː/ ในภาษาไทยมากกว่าสระอู /uː/ และเมื่อฟังคลิปการออกเสียงคำต่าง ๆ แล้วส่วนตัวได้ยินไปทาง "อือ" มากกว่า "อู" นอกจากนี้ ในภาษาสวีเดนก็มีสระ "อู" /uː/ อยู่แล้ว ถ้าสามารถทำได้ก็ควรถอดเสียง /ʉː/ โดยใช้รูปสระอื่น (ที่ไม่ใช่ "อู") เพื่อแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างเสียงสระทั้งสอง สำหรับตัวอย่าง "Australian choose" ที่ให้ไว้ในหน้า Help:IPA/Swedish นั้นก็หมายถึงเสียงของรูปเขียน -oo ในสำเนียงออสเตรเลีย ไม่ได้หมายถึงเสียงของรูปเขียน -oo ในสำเนียงบริติชหรืออเมริกันซึ่งคนไทยนิยมนำมาใช้ถอดเสียงทับศัพท์ครับ
อนึ่ง หน้า Help:IPA/... ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษนั้นเป็นไกด์ไลน์การออกเสียงอย่างคร่าว ๆ สำหรับผู้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก ภาษาอังกฤษก็เหมือนกับภาษาไทยตรงที่ไม่มีรูปเขียนที่ใช้แทนหรือมีเสียงที่ตรงกับเสียงทุกเสียงในภาษาอื่น ๆ เพราะฉะนั้นหัวตารางจึงเขียนว่า "English approximation" ซึ่งหมายถึงเสียงที่ใกล้เคียงในภาษาอังกฤษ ไม่ได้หมายถึงเสียงที่มีลักษณะทาง phonetic เหมือนกันหรือเทียบเท่ากันได้โดยตรง อย่างหน้า en:Help:IPA/Thai รุ่นปัจจุบัน เทียบสระเอือในภาษาไทยกับ -ure ในภาษาอังกฤษ ซึ่งไม่ตรงกันแน่นอนเพราะภาษาอังกฤษ (สำเนียงบริติชและอเมริกัน) ไม่มีหน่วยเสียงสระ "เอือ" /ɯa/ อย่างภาษาไทย และถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่ออกเสียงคำว่า pure เป็น "เพียว" ไม่ใช่ "เพือ" ประเด็นคือผมมองว่าในการถอดเสียงภาษาอื่น ๆ ควรนำเสียงในภาษานั้นมาเทียบกับเสียงในภาษาไทยโดยตรง ไม่ควรเทียบเสียงผ่านภาษาอังกฤษ เพราะมันอาจจะเพี้ยนเป็นทอด ๆ ได้ครับ
ขอถามหน่อยครับ ผมเห็นวิกิพีเดียภาษาอังกฤษถอดเสียง Greta เป็น [²ɡreːta] โดยสระในพยางค์แรกคือ eː แต่ที่คุณยกมานี้เป็นสระ ɛː ไม่ทราบว่ามาจากแหล่งไหนครับ เพราะถ้าออกเสียง [²ɡrɛːta] จริงอาจจะต้องเปลี่ยนตัวสะกดใหม่ --Potapt (คุย) 01:33, 2 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
เป็นสระ eː ถูกแล้วครับ ผมเขียนผิดเองครับ ตอนแรกดูจากในตารางแล้วคิดว่าเป็นตัวเดียวกัน ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ --Prem4826 (คุย) 10:06, 2 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

หน่วยเสียงสัทอักษรสากล

เราสองคนมีข้อถกเถียงเรื่องความถูกต้องของหน่วยเสียงหลายอัน ทั้งยังต่างฝ่ายต่างคิดว่าตัวเองถูก เพื่อความสะบายใจผมจะไม่เข้าไปก้าวก่ายในส่วนที่คุณไม่เห็นด้วยเพื่อป้องกันการย้อนไปย้อนมา แต่ขอความร่วมมือ หากคุณหวงบทความเหล่านี้มาก กรุณาเติมเต็มบทความเหล่านี้เพื่อให้บทความสมบูรณ์และทำให้ดูน่าเชื่อถือกว่านี้ด้วย --สมศักดิ์ แซ่อึ้ง : (ฝากข้อความ) 19:25, 2 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

@Somsak Ung: ผมเคยบอกคุณไปแล้วนะครับเรื่องงานค้นคว้าต้นฉบับ ดังนั้นขอความร่วมมือเช่นกัน กรุณาอย่าตีความยัดเยียดอะไรให้ผมเกินกว่าที่ผมเคยพูดไป ส่วนเรื่องการเติมเต็มบทความให้สมบูรณ์ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งครับ และผมก็ไม่ได้เริ่มสร้างบทความเหล่านั้นด้วยซ้ำ ถ้าคุณเห็นว่าบทความไหนไม่มีความสำคัญพอที่จะเป็นบทความโดด ๆ ได้ด้วยตัวเอง ก็แจ้งลบตามที่เห็นสมควรครับ --Potapt (คุย) 19:30, 2 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
สำหรับเรื่องงงานค้นคว้าต้นฉบับที่คุณว่ามานั้นโอเคผมยอมรับในจุดนี้ เมื่อกี๊ผมเจออ้างอิงอยู่สองอย่างคือ [3] และ [4] ซึ่งทางราชบัณฑิตยสถานอ้าง [l] เท่ากับ และ จริง ดังนั้น การที่ภาษาไทยกลางทั้งสำเนียงถิ่นกรุงเทพและอยุธยาออกเพี้ยนเป็น [ɾ] อาจเป็นสิ่งที่ทางราชบัณฑิตยสถานไม่ได้ต้องการก็เป็นได้ อนึ่งผมก็ไม่ทราบว่าคุณใช้ภาษาใดเป็นภาษาหลัก เพราะโดยทั่วไปมีแต่คนที่พูดสำเนียงเมืองหลวงจริงๆที่ออกเสียง และ เป็น [ɾ] แต่ที่แน่ๆ ผมคิดว่าสองอ้างอิงนี้ ก็เหมาะแก่การแป่ะบนบทความอื่นๆอยู่นะ--สมศักดิ์ แซ่อึ้ง : (ฝากข้อความ) 19:44, 2 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
ผมว่ามันเริ่มมาจากการที่คุณแบ่งภาษาไทยกลางเป็นสำเนียงต่าง ๆ เช่น สำเนียงเมืองหลวง สำเนียงกรุงเทพ ฯลฯ ไม่ทราบว่าการแบ่งเหล่านี้ได้มาจากระเบียบวิธีวิจัยแบบไหน หรือมีเอกสารอะไรอ้างอิง การใช้ ล ถ่ายเสียง [l] ในภาษาเหล่านั้น มันมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ล ในภาษาไทย ออกเสียง [l] สิ่งนี้เป็นข้อเท็จจริงที่เป็นที่ทราบกันทั่วไป ราชบัณฑิตยสภาไม่ได้กำหนดหรือบังคับ เอกสารอื่น ๆ ก็ระบุตามนี้ เช่น บทความภาษาไทยที่ลงใน Journal of the International Phonetic Association และตัวผมเองก็ออกเสียง ล เป็น [l] และไม่เคยได้ยินคนพูดภาษาไทยคนไหนออกเสียงเป็น [ɾ] โดยธรรมชาติ --Potapt (คุย) 19:54, 2 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
เอาเหอ่ะ ถ้าคุณยังยืนกรานและหวงแหนบทความไม่ชอบให้ใครไปแตะต้อง ผมก็จะไม่จุ้นจ้านนะ แต่ผมอยากให้คุณเข้าใจก่อนว่าไอพีเอเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เขาถึงแบ่งวิธีใช้เป็นสองแบบคือแบบ [tʃʰ] กับ // ทีนี้ผมก็ไม่ทราบอีกต่างหากว่าคุณหน่ะพูดสำเนียงถิ่นไหนกันแน่เพราะถ้าหน่วยเสียงใกล้กันมาก บางทีก็แยกกันไม่ค่อยออกจริงๆอย่างผมเองพูดสำเนียงถิ่นกรุงเทพ แต่ตอนไปอยู่ไต้หวันใหม่ๆ ผมออกเสียงตัว ㄑ[tɕʰ] เป็น ㄘ[tsʰ] จนมีเพื่อนคนยุนนานเขาถามผมว่าทำไมพูดเสียงตัว ㄑ ไม่ออก ทั้งที่ ตัวนี้มันคือ "ช" เขาเลยให้ผมพูด "ชอช้าง" ผมก็พูด "ʃอʃ้าง" เขาก็มึนๆ เลยบอกให้ผมพูดทั้ง "ฉ", "ช", "ฌ" ปรากฏผมพูดเป็น ㄘ[tsอtsิ่ง] ㄕ[ʃ] ㄔ[tʃʰอกะเtʃʰอ] เขาเลยย้อนผมมาว่า นี่เธอมาอยู่ไต้หวันแค่สองเดือนทำไมเธอพูดเหมือนคนไต้หวันจัง? เพราะภาษาไต้หวันกับภาษาแต้จิ๋วไม่มีเสียงเพดานแข็ง ที่บ้านเธอพูดไทยจริงเหรอ แบบนี้ทำเอาผมเหวอได้เหมือนกันนะคุณ แล้วยิ่ง [ɾ] กับ [l] หน่ะเมื่อก่อนผมก็คิดเหมือนคุณ เพราะยิ่งคล้ายเข้าไปใหญ่ คนไทยภาคกลางและภาคใต้ออกเสียง [ɾ](ในภาษาเกาหลีเทียบตรงกับตัว ลิอืม ㄹ) แน่นอนครับ ดูจากข่าวในพระราชสำนัก และรายการกระจกหกด้านได้เลย เสียงนี้ไม่มีในภาษาแต้จิ๋วแน่นอน สังเกตุได้จากแอนนา ชวนชื่น ในคลิปนี้ได้ [5] ในช่วงสัมภาษณ์ที่เขาหลุดพูดสำเนียงกรุงเทพจริงๆ เขาจะออกเป็น [ɾ] แต่เวลาทำตลกสำเนียงคนแต้จิ๋วเขาจะออก "ล" เป็น [l] แยกออกจากกันชัดเจน คนไทยภาคกลางและภาคใต้จะมีปัญหาในการออกเสียงตัวนี้เพราะมันคือเสียงเอาปลายลิ้นรูดเหงือก ในขณะที่คนต่างชาติเกือบหมดหรือแม้กระทั่งคนอีสานเอง เรากลับล้อว่าพูด "ล" ไม่ชัด ทั้งที่เขาออกเป็นเสียง [l] ซึ่งต้องเอากลางลิ้นกดเพดานแข็งเพื่อให้ลมออกข้าง บางทีอาจจะยากเกินไปสำหรับคุณถ้าคุณหูไม่ดีพอที่จะแยก --สมศักดิ์ แซ่อึ้ง : (ฝากข้อความ) 23:09, 2 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
  • เอาเหอ่ะ ถ้าคุณยังยืนกรานและหวงแหนบทความไม่ชอบให้ใครไปแตะต้อง ผมก็จะไม่จุ้นจ้านนะ
จุ้นจ้านมาเลยครับ ถ้าคุณหลักฐานอ้างอิงชัดเจนสำหรับเนื้อหาต่าง ๆ ที่คุณใส่ลงไปและมันไม่เข้าข่ายงานค้นคว้าต้นฉบับ
  • แต่ผมอยากให้คุณเข้าใจก่อนว่าไอพีเอเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก
ก่อนอื่นอยากทราบว่า "หน่วยเสียงสัทอักษรสากล" หมายถึงอะไรครับ
  • เขาถึงแบ่งวิธีใช้เป็นสองแบบคือแบบ [tʃʰ] กับ //
เขาในที่นี้คือใครครับ หมายถึงภาษาอะไรหรือหมายถึงในภาพรวม ถ้าแบ่งแบบ [tʃʰ] กับ /tʃ/ แล้ว เรียกว่ามีสองแบบจริงหรือครับ ในเมื่ออีกเสียงหนึ่งเป็นหน่วยเสียงย่อย อีกเสียงหนึ่งเป็นหน่วยเสียง และบางภาษาก็มีเสียง [t͡ʃʼ] ด้วยนะครับ ทั้งนี้ tʃ เกี่ยวข้องอะไรกับเสียงหยุด ริมฝีปาก ไม่ก้อง ครับ
  • ทีนี้ผมก็ไม่ทราบอีกต่างหากว่าคุณหน่ะพูดสำเนียงถิ่นไหนกันแน่
ตอนนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าผมพูดสำเนียงไหน เพราะคุณแบ่งซับซ้อนคาบเกี่ยวกันไปหมด ภาษาไทยที่ผมพูดถึงอยู่นี่หมายถึงภาษาไทยมาตรฐานในสมัยปัจจุบัน บทความ Thai ใน Journal of the International Phonetic Association ให้นิยามว่า Standard Thai is spoken by educated speakers in every part of Thailand, used in news broadcasts on radio and television, taught in school, and described in grammar books and dictionaries. ก็ตามนี้นะครับ ไม่เกี่ยวกับว่าจะมาจากสำเนียงไหนหรือยุคสมัยไหน ถ้าคุณจะเขียนแจกแจงในบทความว่ามันเป็นสำเนียงนั้นสำเนียงนี้ หรือเสียงนั้นแปรเป็นเสียงนี้ ก็ใส่เอกสารอ้างอิงด้วยครับ
  • เพราะถ้าหน่วยเสียงใกล้กันมาก บางทีก็แยกกันไม่ค่อยออกจริงๆ
ถ้าใกล้เคียงกันมากจนแยกไม่ค่อยออกแบบนี้ ไม่ได้หมายความว่าเสียงพวกนั้นเป็นสมาชิกของหน่วยเสียงเดียวกันหรือครับ
  • สังเกตุได้จากแอนนา ชวนชื่น ในคลิปนี้ได้ ในช่วงสัมภาษณ์ที่เขาหลุดพูดสำเนียงกรุงเทพจริงๆ เขาจะออกเป็น [ɾ] แต่เวลาทำตลกสำเนียงคนแต้จิ๋วเขาจะออก "ล" เป็น [l] แยกออกจากกันชัดเจน
ผมพอจะได้ยิน [l] กับ [ɾ] แต่ก็ไม่เห็นว่าจะสนับสนุนประเด็นอื่นที่คุณยกมาก่อนหน้านี้ตรงไหน เพราะคุณยังไม่ได้อธิบายเลยว่าการแบ่งสำเนียงตามคุณนั้นมีที่มายังไง
  • คนไทยภาคกลางและภาคใต้ออกเสียง [ɾ] แน่นอนครับ ดูจากข่าวในพระราชสำนัก และรายการกระจกหกด้านได้เลย
ใช่ครับ ข่าวในพระราชสำนักและรายการกระจกหกด้านมีการออกเสียง [ɾ] และ [r] แต่สองเสียงนี้เป็นรูปแปรของหน่วยเสียง /r/ ที่เขียนแทนด้วยตัว "ร" ในภาษามาตรฐานครับ ไม่ใช่เสียงของตัว "ล"
  • คนไทยภาคกลางและภาคใต้จะมีปัญหาในการออกเสียงตัวนี้เพราะมันคือเสียงเอาปลายลิ้นรูดเหงือก ในขณะที่คนต่างชาติเกือบหมดหรือแม้กระทั่งคนอีสานเอง เรากลับล้อว่าพูด "ล" ไม่ชัด ทั้งที่เขาออกเป็นเสียง [l] ซึ่งต้องเอากลางลิ้นกดเพดานแข็งเพื่อให้ลมออกข้าง
การพูด "ล" ไม่ชัดหมายถึงอะไรครับ หมายถึงออกเสียง [l] ไม่ชัดหรือเปล่า ถ้าใช่ ผมไม่เคยได้ยินใครล้อนะ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีปรากฏการณ์แบบนี้ด้วย เคยได้ยินแต่การรณรงค์ให้ออกเสียง "ร" เป็น [r] หรือ [ɾ] แต่ก็ไม่ได้เป็นผลสำเร็จอะไรเท่าไหร่ เพราะผู้พูดส่วนใหญ่ออกเสียงเป็น [l] เป็นต้น
  • บางทีอาจจะยากเกินไปสำหรับคุณถ้าคุณหูไม่ดีพอที่จะแยก
เวลาผมพูดภาษาอื่นที่มีการจำแนกความต่างระหว่าง /l/ กับ /ɾ/ ที่ผ่านมาก็ไม่มีปัญหาในการสื่อสารทั้งพูดและฟัง เพราะแยกออกว่าเสียงไหนเป็นเสียงอะไร หรือถ้าผมหูไม่ดีจริง แต่อย่างน้อยคงมีคนอื่นรับรู้ได้บ้าง ไม่ทราบมีบทความหรือเอกสารอ้างอิงสิ่งที่คุณบอกมาทั้งหมดไหมครับ --Potapt (คุย) 01:04, 3 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
@Somsak Ung: (ขออนุญาตแทรก) เวลา debate ในวิกิพีเดีย ถ้าคุณให้เหตุผลว่า เอามาจากตำรา A จะฟังขึ้นมากกว่า จากประสบการณ์ส่วนตัวของฉัน หรือ ฉันมั่นใจว่าหูฉันได้ยินมาถูก นะครับ ฝากไว้ด้วยครับ ถ้าเอา subjective มาถกกันมันก็จะไม่จบเสียทีครับ --Wedjet (คุย) 07:45, 3 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
@Potapt:, @Wedjet: "Standard Thai is spoken by educated speakers in every part of Thailand, used in news broadcasts on radio and television, taught in school, and described in grammar books and dictionaries." ขอบคุณครับสำหรับประโยคนี้ หากถ้าเราใช้ประโยคนี้เป็นเกณฑ์กลาง ราชบัณฑิตยสถาน ถือเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในการจุ้นจ้านและถือตัวว่าตัวเองคือภาษาไทยมาตรฐานแต่ผู้เดียวโดยไม่จำเป็นต้องยึดหลักความเป็นจริงท่ามกลางความหลากหลายที่เกิดขึ้นในประเทศ ถ้าเป็นเช่นนั้นผมคิดว่าหากเป็นจำพวกหน่วยเสียงย่อยอื่นทุกเสียงสามารถตัดทิ้งได้เลย เพราะราชบัณฑิตยสถานไม่ยอมรับหน่วยเสียงย่อย ในจุดนี้ผมขอแย้งคุณ Potapt และสำหรับบทความทั้งหมดผมคิดว่าเราไม่ควรใช้คำว่า "ภาษาไทย" หรือ "ภาษาไทยมาตรฐาน" ผมคิดว่าควรเปลี่ยนเป็นคำว่า "ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดเป็นเสียง..." ส่วนอีกเรื่องที่ผมแย้งคือ ราชบัณฑิตยสถานไม่รับรองหน่วยเสียงย่อยทุกเสียงครับ แม้แต่กระทรวงศึกษาธิการประเทศไต้หวัน เขาก็ยังกำหนดชัดเจนว่าพูดจีนกลางมาตรฐานที่ใช้ในไต้หวัน ㄓㄔㄕㄖ ยังต้องเป็น ʈʂ, ʈʂʰ, ʂ และ ʐ เหมือนกับที่ใช้ในลวานผิ่งทุกประการ เพียงแต่ประชาชนไต้หวันไม่สามารถปฏิบัติได้จริง ดั้งนั้นในส่วนภาษาไทยกลางที่เราใช้ ผมขอแย้งกับคุณ Potapt ที่ว่า [ɾ] และ [r] คือ "ร" เพราะที่จริงเราใช้ [r] กับ [ɹ̠] ซึ่งอันหลังก็คือตรงกับ "r" ในภาษาอังกฤษ แล้วก็ที่คุณ Potapt กวนตีนผมคำว่า "เขา" กรุณาดูบทความนี้ได้ครับ en:Phonetic transcription ตรง "Narrow versus broad transcription" ซึ่งอันที่จริงคุณก็ใช้เป็นอยู่แล้วหนิ ไม่น่าจะมาถกให้เป็นประเด็นซ้ำนะ ในช่วงนี้ผมจะไม่เข้าไปจุ้นจ้านเพิ่มเติมเพราะไม่อยากทะเลาะเบาะแว้งเรื่องการแก้วนไปวนมากับคุณก่อน จนกว่าคุณจะให้ข้อสรุป
อีกเรื่องนึงคือ เราควรจะกำหนดเกี่ยวกับราชบัณฑิตยสถานในวิกิพีเดียอย่างไร เพราะวิกิพีเดียยังถือความเป็นกลางอยู่ ในขณะที่ราชบัณฑิตไม่ จากผลพวงการแผลงเป็นไทยและอ้างแบบน้ำขุ่นๆว่า "ภาษาไทยมาตรฐานมาจากภาษาถิ่นกรุงเทพ" อย่างในรัฐบาลจีนก็อ้างว่าภาษาจีนมาตรฐานคือจีนปักกิ่งท่ามกลางเสียงคัดค้านของคนปักกิ่งว่าตัวเองคือพูดจีนกลางแบบชาวแมนจูและตนพูดแตกต่างจากสิ่งที่รัฐบาลกำหนด และพึ่งวิจัยที่ให้ข้อสรุปแล้วว่าคนที่พูดจีนกลางแบบมาตรฐานรัฐบาลจีนแดงกำหนดที่จริงแล้วมาจากลวานผิ่ง ซึ่งอยู่รอบนอกปักกิ่งและเป็นคนฮั่น?
ส่วนคุณ Horus ผมจะพยายามหาอ้างอิง (ที่หลายๆอันก็ดูไม่น่าเชื่อถือนัก) มาตามที่คุณว่าก็แล้วกัน เพราะวิกิพีเดียเน้นอ้างอิงอย่างเดียวต่อให้หลายๆงานวิจัยจะได้ผลวิจัยที่คลาดเคลื่อนและมั่วก็ตาม อย่างไรเสียคุณอยู่ฟิวด์จำพวกสาธารณสุขหนิ แต่ถ้าคุณสนใจจริงๆ ก็ลองเข้าไปไล่ดูทีละอันก็ได้--สมศักดิ์ แซ่อึ้ง : (ฝากข้อความ) 15:02, 3 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
@Somsak Ung: ใน "ฟีลด์ของผม" เขาจะมี database สำหรับเทียบอ้างอิงหลาย ๆ อัน เพราะฉะนั้นคุณก็เปลี่ยนจากหางานวิจัยที่ "คลาดเคลื่อนและมั่ว" ไปเป็นสรุปผลการวิจัยหลาย ๆ วิจัยสิครับ แล้วอีกอย่างงานวิจัยปกติก็จะแบ่งเป็นพวก mainstream กับ fringe อยู่แล้ว คิดว่าคุณเองคงแยกแยะระหว่างทั้งสองในฟีลด์ภาษาศาสตร์ได้เหมือนกัน --Wedjet (คุย) 20:06, 3 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ
@Somsak Ung:
  • ขอบคุณครับสำหรับประโยคนี้ หากถ้าเราใช้ประโยคนี้เป็นเกณฑ์กลาง ราชบัณฑิตยสถาน ถือเป็นผู้อ้างสิทธิ์ในการจุ้นจ้านและถือตัวว่าตัวเองคือภาษาไทยมาตรฐานแต่ผู้เดียวโดยไม่จำเป็นต้องยึดหลักความเป็นจริงท่ามกลางความหลากหลายที่เกิดขึ้นในประเทศ
อะไรของคุณครับ วารสารฉบับนี้ไม่ได้มีไว้บัญญัติหลักไวยากรณ์นะครับ ผู้เขียนบทความ Thai ในวารสารฉบับนั้นคือนักภาษาศาสตร์ที่ทำการวิจัยโดยใช้ผู้พูดภาษาไทยเป็นผู้บอกภาษา ราชบัณฑิตยสถานไม่ได้ส่งบทความไป ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วย แล้วประโยคนั้นก็อธิบายสภาพความเป็นจริงซึ่งก็เห็น ๆ กันอยู่ บทความภาษาอื่นในวารสารก็ตั้งชื่อแนวนี้ เช่น "French" หรือ "Brazilian Portuguese" โดยจำกัดขอบเขตการศึกษาไว้ที่สำเนียงใดสำเนียงหนึ่ง ไม่ได้ปัดตกหรือไม่ยอมรับสำเนียงอื่น ถ้าใครอยากส่งบทความเกี่ยวกับสำเนียงอื่นก็ส่งแยกไป
  • ถ้าเป็นเช่นนั้นผมคิดว่าหากเป็นจำพวกหน่วยเสียงย่อยอื่นทุกเสียงสามารถตัดทิ้งได้เลย เพราะราชบัณฑิตยสถานไม่ยอมรับหน่วยเสียงย่อย
ช่วยอธิบายนิยามของหน่วยเสียงย่อยตามความเข้าใจของคุณก่อนดีกว่าครับ ตอนสร้างบทความคุณยังเรียกมันว่า "คำหลากเสียง" หรือ "คำต่างหน่วยเสียงความหมายร่วม" อยู่เลย ตกลงมันคืออะไรครับ ที่ผมถามไปข้างบนก็ยังไม่เคลียร์เลย
  • สำหรับบทความทั้งหมดผมคิดว่าเราไม่ควรใช้คำว่า "ภาษาไทย" หรือ "ภาษาไทยมาตรฐาน" ผมคิดว่าควรเปลี่ยนเป็นคำว่า "ราชบัณฑิตยสถาน กำหนดเป็นเสียง..."
ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีใครกำหนดหรือยังไงก็แล้วแต่ หรือมาจากสำเนียงไหนก็แล้วแต่ ภาษาไทยมาตรฐานในปัจจุบันก็เป็นตามประโยคที่ผมยกมาจากบทความนั้นครับ หรือในหลักสูตรการศึกษาทุกวันนี้บรรจุเรื่องภาษาไทยถิ่นทุกถิ่น (ทั้งการออกเสียง คำศัพท์ โครงสร้างประโยค ฯลฯ) ให้นักเรียนทั่วประเทศเรียนแล้วครับ
  • ดั้งนั้นในส่วนภาษาไทยกลางที่เราใช้ ผมขอแย้งกับคุณ Potapt ที่ว่า [ɾ] และ [r] คือ "ร" เพราะที่จริงเราใช้ [r] กับ [ɹ̠] ซึ่งอันหลังก็คือตรงกับ "r" ในภาษาอังกฤษ
คุณเป็นคนยกตัวอย่างข่าวในพระราชสำนักกับกระจกหกด้านขึ้นมาเองนี่ครับ ซึ่งผู้ประกาศและผู้บรรยายเขาก็ออกเสียงไม่ [ɾ] ก็ [r] อย่างที่ผมว่า และผมก็ไม่ได้บอกว่า "ร" ในการออกเสียงจริงมีแค่สองเสียงนี้ ผมเขียนว่า "เพราะผู้พูดส่วนใหญ่ออกเสียง [ตัว "ร"] เป็น [l] เป็นต้น" คุณเข้าใจความหมายของ "เป็นต้น" ไหมครับ
  • แล้วก็ที่คุณ Potapt กวนตีนผมคำว่า "เขา" กรุณาดูบทความนี้ได้ครับ en:Phonetic transcription ตรง "Narrow versus broad transcription" ซึ่งอันที่จริงคุณก็ใช้เป็นอยู่แล้วหนิ ไม่น่าจะมาถกให้เป็นประเด็นซ้ำนะ
เอ้า ทีแรกผมก็ว่าผมเข้าใจนะ แต่คุณเขียนมาว่า แต่ผมอยากให้คุณเข้าใจก่อนว่า... ก็แปลว่า ผมยังไม่เข้าใจใช่ไหมครับ ในเมื่อผมยังไม่เข้าใจและคุณเข้าใจมากกว่า ผมก็ถามให้คุณอธิบายอยู่นี่ไง เพราะหลายประเด็นที่คุณทั้งใส่ในบทความและอธิบายมาก่อนหน้านี่มันคลาดเคลื่อนไปจากที่ผมเคยเรียนรู้มาก่อนครับ จะว่าไป technical term, wording หรือนิยามที่คุณใช้หลายจุดก็ไม่เหมือนที่ใช้ในแวดวงภาษาศาสตร์ด้วย (หรือคุณอาจจะไปเรียนมาจากเมืองนอกเลยไม่คุ้นกับศัพท์บัญญัติภาษาไทยก็ไม่ทราบ) พอผมถามเพื่อให้รู้แน่เผื่อจะเป็นองค์ความรู้ใหม่หรือมาจากสำนักที่ผมไม่รู้จักมาก่อน แทนที่คุณจะอธิบายตอบ กลับโบ้ยให้ผมไปหาอ่านเอง (ซึ่งก็ไม่เห็นจะไขคำตอบได้ตรงไหน) แล้วยังมาด่ากลับอีก ผู้รู้จริงเขาทำกันแบบนี้หรือครับ ตกลงฝ่ายไหนรู้หรือไม่รู้ครับ งง
  • ในช่วงนี้ผมจะไม่เข้าไปจุ้นจ้านเพิ่มเติมเพราะไม่อยากทะเลาะเบาะแว้งเรื่องการแก้วนไปวนมากับคุณก่อน จนกว่าคุณจะให้ข้อสรุป
คนที่ต้องให้ข้อสรุปคือคุณครับ ไม่ใช่ผม ต้องให้บอกอีกกี่รอบครับ ถ้ามีบทความ เอกสาร ตำรา ฯลฯ มาอ้างอิง ก็เอามาแสดงครับ จบ
  • อีกเรื่องนึงคือ เราควรจะกำหนดเกี่ยวกับราชบัณฑิตยสถานในวิกิพีเดียอย่างไร เพราะวิกิพีเดียยังถือความเป็นกลางอยู่ ในขณะที่ราชบัณฑิตไม่ จากผลพวงการแผลงเป็นไทยและอ้างแบบน้ำขุ่นๆว่า "ภาษาไทยมาตรฐานมาจากภาษาถิ่นกรุงเทพ"
ภาษาไทยมาตรฐานจะมาจากถิ่นไหนหรือใครกำหนด (?) แล้วมันยังไงครับ ในเมื่อมันเป็นรูปแบบที่ใช้ตามความเป็นจริงในปัจจุบัน ผมไม่ได้บอกนะครับว่าวิกิพีเดียห้ามเผยแพร่ข้อมูลภาษาถิ่นหรือสำเนียงอื่น ผมบอกให้ใส่รายการอ้างอิงที่ไม่ใช่งานค้นคว้าต้นฉบับมากำกับ และผมก็จะไม่เดือดร้อนด้วยถ้าอยู่ ๆ หน่วยงานไหนจะไปเลือกเอาสำเนียงอื่นที่ไม่ใช่กรุงเทพฯ มาเป็นสำเนียงมาตรฐาน แต่คุณไปเปลี่ยนข้างนอกให้มันเป็นข้อเท็จจริงให้ได้ก่อน แล้วค่อยมาเปลี่ยนในวิกิพีเดีย
  • วิกิพีเดียเน้นอ้างอิงอย่างเดียวต่อให้หลายๆงานวิจัยจะได้ผลวิจัยที่คลาดเคลื่อนและมั่วก็ตาม
ไหนขอดูบทความหรืองานวิจัยที่ไม่คลาดเคลื่อนและมั่วครับ
--Potapt (คุย) 20:14, 3 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์อาหาร

สวัสดีครับ อยากขอความช่วยเหลือในการทับศัพท์คำเกี่ยวกับอาหารดังนี้ครับ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ --Geonuch (คุย) 16:21, 10 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

  • Bhang ภางค์ (ฮินดี)
  • Borhani โบร์ฮานี (เบงกอล)
  • Chaas ฉาศ (คุชราต), ฉาฉ (ฮินดี)
  • Dahi ดฮี (ฮินดี)
  • Doogh ดูก (เปอร์เซีย)
  • Lassi ลัสสี (ฮินดี)
  • Pilaf พีลาฟ (อังกฤษอเมริกัน)

--Potapt (คุย) 01:45, 11 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

ขอเชิญท่านร่วมแสดงความคิดเห็นในอภิปราย วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/ขอความเห็นเกี่ยวกับคณะอนุญาโตตุลาการ ครับ ขอบคุณครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 16:03, 11 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้

ย้อนมาเป็นภาษาอังกฤษ ทำไมครับ???

@Bigdas: นั่นสิครับ ย้อนเป็นภาษาอังกฤษทำไม ???? --Potapt (คุย) 16:47, 14 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

สวัสดีย้อนภาษาอังกฤษเพื่ออะไรครับ

เพื่ออะไร???

@Bigdas: นั่นสิครับ เมื่อไหร่คุณจะตอบสักที --Potapt (คุย) 19:07, 14 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

นั่นคุณก็ทำภาษาไทยเอาเองแล้วกันครับ ตารางทำเนียบแชมป์ ครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Bigdas (พูดคุยหน้าที่เขียน) 19:09, 14 ตุลาคม 2562 (ICT)

@Bigdas: ก็ทำอยู่นี่ครับ แล้วคุณย้อนกลับทำไม --Potapt (คุย) 19:10, 14 ตุลาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรยุโรปและอเมริกาใต้

ทำเนียบทีมชนะเลิศในแต่ละปี ปี1981 Clube de Regatas do Flamengo ช่วยแปลเป็นภาษาไทยหน่อยได้ไหมครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Mjpodo (พูดคุยหน้าที่เขียน) 17:03, 3 พฤศจิกายน 2562 (ICT)

Lars Ulrich

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อ Lars Ulrich (มือกลอง Metallica) ในภาษาเดนมาร์ก ด้วยคับ (ไม่แน่ใจว่าทับศัพท์เป็น ลาร์ส อูลเลก หรือ อูลริก) นอกจากผมจะติด ลาส์ เออร์ริก ในอังกฤษมากกว่า --Sard112 (คุย) 05:32, 8 พฤศจิกายน 2562 (+07)ตอบกลับ

ถ้าดูจากคำอ่านที่ระบุในบทความ en:Lars Ulrich Lars Ulrich ถอดเสียงตามภาษาอังกฤษ /ˈʊlrɪk/ ได้ว่า "ลาร์ส/ลาส อุลริก" และถอดเสียงตามภาษาเดนมาร์ก [laːs ˈulˀʁæk] ได้ว่า "ลาส อุลเร็ก" ครับ (Ulrich ออกเสียงค่อนข้างสั้น คิดว่าควรใช้รูปสระสั้นและไม้ไต่คู้กำกับ และในที่นี้สมมุติใช้รูป ร แทนเสียง ʁ) --Potapt (คุย) 06:21, 8 พฤศจิกายน 2562 (+07)ตอบกลับ

ช่วยแก้ไขมอดูล

ตามในลิงก์นี้เลยครับ คุยเรื่องมอดูล:Location map#ช่วยแก้ไข คือ ช่วยเปลี่ยนข้อความ ' is located in ' เป็น 'ตั้งอยู่ใน' ครับ --BeckNoDa (คุย) 12:58, 8 พฤศจิกายน 2562 (+07)ตอบกลับ

ผมก็แก้ไม่ได้เหมือนกัน ต้องให้แอดมินแก้ครับ --Potapt (คุย) 23:38, 8 พฤศจิกายน 2562 (+07)ตอบกลับ

รบกวนช่วยเฝ้าดูการก่อกวน

สวัสดีครับคุณ Potapat ผมเห็นคุณย้อนการก่อกวนของ 2001:44C8:4286:9E6:1:1:B44:FA9C ซึ่งมีการเพิ่มชื่อบุคคล "ประดู่ คำหงสา" ขอบคุณมากๆ นะครับ ผู้ใช้รายนี้มีลักษณะการก่อกวนต่อเนื่องยาวนานดังแสดงใน วิกิพีเดีย:การก่อกวนต่อเนื่องยาวนาน/ไอพี_2001:44c8:4xxx ดังนั้นถ้าเจอพฤติกรรมลักษณะดังกล่าวอีก ต้องรบกวนเพิ่มไอพีผู้ก่อกวนในหน้าดังกล่าวหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ :D -- Sirakorn (คุย) 00:29, 25 ธันวาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

ได้ครับ --Potapt (คุย) 03:53, 25 ธันวาคม 2562 (+07)ตอบกลับ

สุขสันต์วันปีใหม่ ๒๕๖๓


ภาพโดย: ผู้ใช้:Tris T7
ไฟล์:PornPeeMai.ogg
ไชโย ไชโย ไชโย 2020
สุขสันต์วันปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๓
ขอให้คุณ Potapt/กรุ 6 มีความสุข ร่ำรวยเงินทอง สุขภาพแข็งแรง มีแรงในการทำบทความในวิกิพีเดียภาษาไทย
ไปนานตลอดกาลนะครับ Happy New Year 2020 ครับ ขอขอบคุณทุกท่าน มา ณ ที่นี้นะครับ


ด้วยความปรารถนาดีจาก
--ร้อยตรี โชคดี (คุย) 12:28, 1 มกราคม 2563 (+07)ตอบกลับ


ขอบคุณและสวัสดีปีใหม่ครับ --Potapt (คุย) 23:25, 1 มกราคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลตามนี้ให้หน่อยครับ

  • นอร์เวย์ Erling Braut Håland
  • ฝรั่งเศส Dayot Upamecano
  • โปรตุเกส Gedson Carvalho Fernandes
  • โปรตุเกส Florentino Ibrain Morris Luís
  • บราซิล Bernard Anício Caldeira Duarte
  • เนเธอร์แลนด์ Tahith Chong

ขอบคุณครับ --JMKTIN (คุย) 10:35, 4 มกราคม 2563 (+07)ตอบกลับ

  • Erling Braut Håland = อาร์ลิง เบราต์ โฮลัน
  • Dayot = ดาโย, Upamecano ผมหาคลิปที่เจ้าตัวออกเสียงไม่เจอ ได้ยินผู้พูดฝรั่งเศสคนอื่นออกเสียงสองแบบระหว่าง อูว์ปาเมกาโน กับ อูปาเมกาโน แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะใช้แบบแรกครับ
  • Gedson Carvalho Fernandes = แฌดซัน การ์วัลยู ฟือร์นังดึช
  • Florentino Ibrain Morris Luís = ฟลูเร็งตีนู อีบราอิง มอริช ลูวิช
  • Bernard Anício Caldeira Duarte = แบร์นาร์ อานีซียู กัลเดย์รา ดูวาร์ชี
  • Tahith Chong = ตาฮิต โชง
--Potapt (คุย) 02:49, 5 มกราคม 2563 (+07)ตอบกลับ

มีนาคม 2563

คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่การแก้ไขล่าสุดของคุณในหน้า เอวแซบียู ได้ลบเนื้อหาออกไปเกือบหมด หรือได้ทำหน้าดังกล่าวว่าง ซึ่งกรณีแบบนี้ทำให้ผู้ใช้อื่นไม่แน่ใจถึงเจตนาของคุณ และเนื่องจากการก่อกวนที่มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นการก่อกวนได้

  • ในกรณีที่คุณได้ตั้งชื่อผิด หรือต้องการเปลี่ยนชื่อบทความนั้น ควรใช้วิธีเปลี่ยนชื่อโดยคลิกที่ป้าย เปลี่ยนชื่อ แทนการสร้างบทความใหม่ ซึ่งวิธีนี้จะย้ายประวัติการแก้ไขของบทความไปยังชื่อใหม่
  • ในกรณีที่หน้าดังกล่าวได้ซ้ำซ้อนกับอีกบทความที่มีเนื้อหาสมบูรณ์กว่า คุณอาจเลือกที่จะทำเป็นหน้าเปลี่ยนทางแทน
  • ในกรณีที่คุณต้องการแจ้งลบนั้น ให้คงเนื้อหาเดิมไว้ และเพิ่มโค้ด {{ลบ|สาเหตุที่แจ้งลบ}} ที่ส่วนบนสุดของบทความ

หากมีเจตนาอื่น คุณอาจเลือกใส่แม่แบบแสดงข้อความที่เหมาะสม หรือใช้หน้าพูดคุยในการอภิปราย ในอนาคตคุณควรระบุข้อความสั้นๆแจ้งให้ผู้ใช้อื่นรับทราบสิ่งที่คุณทำก่อนบันทึกการแก้ไขด้วยการใส่คำอธิบายอย่างย่อ ข้อความนี้เป็นข้อความแจ้งอัตโนมัติโดยบอตคุง โปรแกรมอัตโนมัติ หากคุณมีข้อสงสัย หรืออย่างไร กรุณาสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือ --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 07:45, 8 มีนาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ศัพท์พม่า

พอดีผมสร้างบทความใหม่ ปฏิทินพม่า‎ ถ้าคุณว่างก็ไปตรวจคำพม่าในนั้นได้นะครับ เพราะบางคำศัพท์ก็ไม่มันใจเท่าไรว่าสะกดถูกตามหลักเกณฑ์ภาษาไหม --ไทๆ (คุย) 07:56, 28 มีนาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

โอเคครับ --Potapt (คุย) 19:15, 28 มีนาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ดาวแห่งชีวิต

ดาวแห่งชีวิต
ขอมอบให้สำหรับผู้มีส่วนร่วมในผลงานเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลหรือบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินครับ --B20180 (คุย) 17:47, 31 มีนาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

--ขอบคุณครับ Potapt (คุย) 18:10, 31 มีนาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ยูทู หรือ ยูทูบ

ตามหลักเกณฑ์ราชบัณฑิตสภาไม่ทราบว่า Youtuber ทับศัพท์เช่นไรครับ ก่อนหน้านี้ ผมใช้ชื่อบทความว่า ยูทูบเบอร์ (อิงตามสื่อต่าง ๆ) แต่คุณ Warongkorn ได้เปลี่ยนเป็นชื่อ ยูทูเบอร์ จนเมื่อวานเพจคำไทยในเฟซบุ๊กได้โพสต์ว่า คำนี้สะกดได้ว่า ยูทูบเบอร์ จึงอยากถามผู้รู้อย่างคุณอีกทีครับ --ร้อยตรี โชคดี (คุย) 18:06, 7 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ขอบอกตามตรงว่าไม่แน่ใจเหมือนกันครับ หลักเกณฑ์การทับศัพท์กำหนดว่า "ถ้าเป็นคำที่เกิดจากการเติมปัจจัย เช่น -er, -ing, -ic, -y และการทับศัพท์โดยไม่ซ้อนพยัญชนะอาจทำให้ออกเสียงผิดไปจากภาษาเดิมมาก ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์ต้นอีกหนึ่งเพื่อให้เห็นเค้าคำเดิม" ถ้าดูจากการเติมปัจจัย -er เพียงอย่างเดียว คำนี้จะต้องเติม บ เข้าไปอีกตัว และในขณะเดียวกัน หลักเกณฑ์ฯ ก็ให้ตัวอย่างคำทับศัพท์ Snoopy [ซึ่งมีเสียงสระ uː (อู) เหมือนกับคำว่า YouTuber] ว่า สนูปปี โดยซ้อนพยัญชนะ ป ด้วย แต่ส่วนตัวผมไม่รู้สึกว่าตัวสะกด "สนูปี" หรือ "ยูทูเบอร์" จะทําให้ออกเสียงผิดไปจากภาษาเดิมมาก เพราะสระ uː (อู) ในภาษาอังกฤษไม่ใช่สระในกลุ่มที่ต้องมีพยัญชนะปิดท้ายเสมออย่างสระ ʊ (อุ) หรือ ʌ (อะ) --Potapt (คุย) 18:30, 7 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ขอบคุณความคิดเห็นของคุณมากครับผม --ร้อยตรี โชคดี (คุย) 18:42, 7 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ช่วยเขียน

สวัสดี, พูดคุยกับผู้ใช้: Potapt คุณช่วยเขียนบทความสั้น ๆ โดยนักปั้นแกะสลักชื่อดังจากสเปน ชื่อคือ Patxi Xabier Lezama Perier, [[6]] ขอแสดงความนับถือและขอขอบคุณ--85.84.33.91 01:15, 17 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ

OK. --Potapt (คุย) 01:19, 17 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ

มาซิโดเนีย

ขอความช่วยเหลือ ฝากทับศัพท์ในส่วนของ ประเทศนอร์ทมาซิโดเนีย#เมืองในประเทศ และชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ Oliver Spasovski (มาซิโดเนีย: Оливер Спасовски) นะครับ ขอบคุณมาก!--ร้อยตรี โชคดี (คุย) 15:56, 27 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ

โอเคครับ --Potapt (คุย) 18:23, 27 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ

+Ilinden–Preobrazhenie (บัลแกเรีย: Илинденско-Преображенско, Ilindensko-Preobražensko) และ Kruševo (มาซิโดเนีย: Крушевска) ขอบคุณล่วงหน้าครับ --ร้อยตรี โชคดี (คุย) 22:54, 27 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ

@ร้อยตรี โชคดี: อีลินแดน–แปรออบราแชนีแอ, กรูแชวอ --Potapt (คุย) 00:09, 29 เมษายน 2563 (+07)ตอบกลับ

คำเชิญจากโครงการวิกิประเทศลาว

--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 19:28, 4 พฤษภาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

Paybig

สวัสดีครับ ผมรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับ Paybig และหุ่นเชิดทั้งหมดไว้ที่ วิกิพีเดีย:การก่อกวนต่อเนื่องยาวนาน/Paybig ถ้าคุณ Potapt สะดวกก็ขอเชิญร่วมให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการก่อกวนของผู้ใช้ที่หน้าดังกล่าวครับ --Geonuch (คุย) 13:32, 10 พฤษภาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

คำอ่าน

เห็นมีผู้เพิ่มคำอ่านจังหวัดของ รัฐชาน ไม่ทราบว่าถูกต้องหรือไม่ --171.5.230.99 02:30, 11 พฤษภาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ที่เขาลงเป็นคำอ่านตามภาษาไทใหญ่น่ะครับ ไม่ใช่ภาษาพม่า ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าชื่อภาษาไทยควรเรียกตามภาษาพม่าหรือภาษาไทใหญ่ --Potapt (คุย) 02:53, 11 พฤษภาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

แอลัน​ เชพเพิร์ด​

อ่านดูดีๆครับ​ เขาเป็นนักบินอวกาศที่อายุมากที่สุด​ คืออายุ... ปี AekwatNs (คุย) 23:04, 26 พฤษภาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ขอโทษครับผมหาข้อมูลมาใหม่แล้ว​ อายุ47 ถูกแล้วครับ​ ขอโทษ​จริงๆ​ครับ AekwatNs (คุย) 23:40, 26 พฤษภาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์

รบกวนทับศัพท์คำว่า Oneiric Diary หน่อยครับ ขอบคุณครับ --RidJasper (คุย) 12:26, 9 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

"โอไนริกไดอะรี" ครับ --Potapt (คุย) 17:10, 9 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณครับ --RidJasper (คุย) 18:11, 9 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

สงสัยเรื่องการแทนเสียง e และ ц ในภาษาบัลแกเรีย

ผมขอเรียนปรึกษาเรื่องการแทนเสียงหน่อยครับ เพื่อที่จะใช้เป็นมาตรฐานในการปรับปรุงบทความในอนาคตครับ

1. พอดีผมเทียบเสียง e ตามหน้า https://en.wikipedia.org/wiki/Bulgarian_alphabet และหน้า https://en.wikipedia.org/wiki/Help:IPA/Bulgarian ซึ่งแทนเสียง e เป็น /ɛ/ ตามหลักสัทธศาสตร์ ซึ่งในหน้า 2 หน้านี้ ให้ออกเสียงเหมือนกับตัว e ใน best หรือในคำว่า edge

2. ц พอเทียบใกล้เคียงสุดจะได้ Ts ทีนี้ในภาษาไทย ให้เทียบเป็น ตซ ใช่ไหมครับ

ทีนี้หากผมเข้าใจอะไรผิด โปรดชี้แนะผมด้วยครับ และผมจะได้ปรับบทความที่กำลังปรับปรุงและสร้างใหม่ให้ออกเสียงตามหลักมาตรฐานเดียวกันครับ ขอบพระคุณครับ Timekeepertmk (คุย) 10:56, 21 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

สวัสดีครับ
ก่อนอื่นคือ หน้า Help:IPA/... ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีไว้เพื่อช่วยให้ผู้พูดภาษาอังกฤษสามารถเทียบเคียงได้อย่างคร่าว ๆ ว่าเสียงในภาษาต่าง ๆ ออกเสียงใกล้เคียงกับเสียงใดในภาษาอังกฤษ ไม่ได้มีไว้เพื่อกำหนด "ให้ออกเสียง ... ในภาษา ... เหมือนกับตัว ... ในภาษาอังกฤษ" นะครับ อาจจะมีเสียงบางเสียงที่มีความใกล้เคียงกับเสียงสระหรือพยัญชนะในภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ฯลฯ มากกว่าเสียงสระหรือพยัญชนะภาษาอังกฤษก็เป็นได้ แต่เนื่องจากมันเป็นวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เขาจึงนำคำภาษาอังกฤษมาเป็นตัวอย่างครับ
1. เสียง /ɛ/ ไม่ว่าจะในภาษาบัลแกเรียหรือในภาษาอังกฤษ ไม่ตรงกับทั้งสระเอและสระแอในภาษาไทยครับ เวลาออกเสียงนี้ ระดับลิ้นจะอยู่ระหว่างเสียงสระเอกับเสียงสระแอในภาษาไทยอีกที เนื่องจากความแตกต่างระหว่างเสียง "เอ" กับเสียง "แอ" ไม่มีผลต่อความหมายของคำในภาษาบัลแกเรีย (ต่างจากในภาษาไทย) บางครั้งเขาจะออกเสียง /ɛ/ ใกล้เคียงกับ "เอ" แต่บางครั้งก็ออกเสียงใกล้เคียงกับ "แอ" โดยไม่รู้ตัวครับ (ลองฟังคลิปการออกเสียงคำที่มีรูปสระ e ในเว็บ Forvo) ในการเลือกใช้รูปสระไทยแทนเสียงนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละภาษา เช่น หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษและเยอรมันให้ถอดเสียงเป็น "เ-" หรือ "เ-็" ส่วนหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสให้ถอดเสียงเป็น "แ-" หรือ "แ-็" แต่เนื่องจากปัจจุบันไม่มีใครจัดทำหลักการทับศัพท์ภาษานี้ไว้ (ไม่ว่าจะเป็นราชบัณฑิตยสภา หน่วยงานอื่น หรือบุคคลทั่วไป) ก็คงต้องเลือกรูปสระไทยกันเอาเองครับ ถ้าลองเปรียบเทียบตำแหน่งและระดับเสียงสระในภาษาบัลแกเรีย ภาษาอังกฤษ (อเมริกัน) ภาษาฝรั่งเศส และภาษาไทยดูจะพบว่า
  • สระ /ɛ/ ในภาษาอังกฤษ (อเมริกัน) มีระดับลิ้นสูงกว่าสระ /ɛ/ ในภาษาบัลแกเรียเล็กน้อย จึงมีลักษณะค่อนไปทางเสียงสระเอมากกว่า
  • สระ /ɛ/ ในภาษาบัลแกเรียมีตำแหน่งและระดับลิ้นใกล้เคียงกับสระ /ɛ/ ในภาษาฝรั่งเศสมาก และหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศสถอดเสียงนี้โดยใช้ "แอ"
  • สระ /ɛ/ ในภาษาบัลแกเรียมีระดับลิ้นค่อนมาทางสระแอ /ɛ/ ในภาษาไทยมากกว่าสระเอ /e/ จึงน่าจะถอดเสียงโดยใช้ "แอ" ครับ
2. เสียง /ts/ รูปแบบที่ผมเสนอมีรายละเอียดเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยครับ
ตำแหน่งภายในคำ อักษรไทย ตัวอย่าง
เมื่ออยู่ต้นคำและตามด้วยพยัญชนะ цру - รู; цвят - วิยัต
เมื่ออยู่ต้นคำและตามด้วยสระ/กึ่งสระ цел - แล; цял - ซิยัล
เมื่ออยู่ระหว่างสระ ตซ деца - แดตซา; ръцe - เริ; цици - ซิตซี
เมื่ออยู่ท้ายพยางค์หรือท้ายคำ ตส месец - แมแซตส์; убиец - อูบิแอตส์
การเลือกใช้ตัวอักษรไทยต่างกันตามตำแหน่งภายในคำแบบนี้ ผมได้จากการสังเกตคำทับศัพท์ภาษากลุ่มสลาวิกในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของราชบัณฑิตยสภา แต่บางคำก็ไม่ได้เป็นไปตามนี้นะครับ เพราะปัจจุบันยังไม่มีหลักเกณฑ์การทับศัพท์รองรับจึงยังไม่เป็นระบบอย่างแท้จริง (ยกเว้นภาษารัสเซีย แต่หลักเกณฑ์ฉบับปัจจุบันก็ไม่ได้กล่าวถึงเสียงนี้ไว้ละเอียดนัก)
3. เสียง /p t k/ ในภาษาบัลแกเรียเป็นเสียงไม่พ่นลม (unaspirated) เทียบได้กับ ป ต ก ในภาษาไทย สังเกตได้จากในหน้า Help:IPA/Bulgarian เขายกตัวอย่างคำ speak, style, skill ในภาษาอังกฤษ หากเสียง /p t k/ ตามด้วยเสียง /s/ มักจะออกเสียงไม่พ่นลมเป็น ป ต ก โดยธรรมชาติครับ
4. เสียงสระอื่น ๆ ขอเสนอให้ใช้ตามนี้ครับ ไม่ทราบว่าคุณคิดเห็นอย่างไร
สระ ไม่มีพยัญชนะท้าย มีพยัญชนะท้าย
а /a/ –า –ั
е /ɛ/ แ–
о /ɔ/ –อ
у /u/ –ู –ุ
и /i/ –ี –ิ
ъ /ɤ/ เ–อ เ–ิ
  • ในภาษาบัลแกเรียไม่มีการแยกความต่างระหว่างเสียงสั้น-ยาวอย่างในภาษาไทย แต่ปกติจะไม่ออกเสียงเป็นเสียงยาวเหมือนสระยาวในภาษาไทย เมื่ออยู่ในพยางค์ที่มีตัวสะกดจึงน่าจะใช้รูปสระสั้นไปเลย ยกเว้น แ– กับ –อ ถ้าจะทำให้เป็นสระสั้นก็ต้องใส่ไม้ไต่คู้ ไม่แน่ใจว่าจะทำให้รูปเขียนดูรกหรือไม่
  • สระ ъ (เออ) ในพยางค์ที่ไม่เน้นหนัก อาจออกเสียงเป็น อา/อะ [ɐ] และสระ о (ออ) และ у (อู) ในพยางค์ที่ไม่เน้นหนัก อาจออกเสียงเป็น โอ [o] แต่ในที่นี้เลือกถอดเสียงแบบเดียวให้เหมือนกันหมด เพื่อลดความยุ่งยาก เพราะความแตกต่างเหล่านี้ไม่มีผลต่อความหมาย และบางครั้งจึงอาจสืบค้นไม่พบว่าพยางค์ใดเป็นพยางค์ที่เน้นหนัก เนื่องจากโดยทั่วไปไม่มีการใช้เครื่องหมายแสดงพยางค์ที่เน้นหนักภายในคำ (ยกเว้นในพจนานุกรม) --Potapt (คุย) 23:04, 21 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอบพระคุณมากๆนะครับ อธิบายเข้าใจง่ายมากเลยครับสำหรับ 1 - 3 ส่วนข้อ 4 และข้อ 5 ผมเห็นด้วยตามที่คุณเสนอมาครับ ส่วนสระ ъ ให้ยึดเสียง เออ อย่างเดียวตามที่กล่าวครับ เพราะไม่อย่างนั้นน่าจะยุ่งยากแน่ๆ ดังนั้นผมจะใช้เกณฑ์ตามที่คุณเสนอมาในการสร้างและแก้ไขบทความนะครับ อีกคำถามหนึ่งครับที่นี้อย่างยุทธการที่เวลเบิซด์ จริงๆแล้วควรเป็น ยุทธการที่แวลเบิชด์หรือยุทธการที่แวลเบิซด์ (Велбъжд) ดีครับ ขอบคุณครับ --Timekeepertmk (คุย) 23:44, 21 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ
ผมว่า ж ถ้าถอดเสียงโดยใช้ ช จะใกล้เคียงกว่า ซ ครับ --Potapt (คุย) 00:16, 22 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ
รับทราบครับผม ขอบคุณมากครับ ไว้ติดขัดปัญหาอะไร ผมจะมาขอคำชี้แนะในภายหลังครับ ขอบคุณครับ --Timekeepertmk (คุย) 00:20, 22 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

Hesychasm หรือ ἡσυχασμός

เนื่องจากผมจำเป็นต้องแปลบทความ https://en.wikipedia.org/wiki/Hesychasm เพื่อประกอบกับบทความของพระเจ้าซาร์อีวัน อาแลกซันเดอร์แห่งบัลแกเรีย เลยอยากเรียนถามว่าในกรณีนี้เราควรถอดคำอ่านตามภาษาอังกฤษหรือภาษากรีกดีครับ เพราะผมพยายามหาคำนี้ในภาษาไทยก็หาไม่ได้ครับ และถ้าสมมติจะถอดเป็นภาษากรีกควรสะกดแบบไหนครับ ขอบคุณครับ --Timekeepertmk (คุย) 22:10, 24 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

เท่าที่ผมเข้าใจจากการอ่านในบทความนั้นคือ คำว่า Hesychasm ในภาษาอังกฤษแผลงมาจากคำว่า hesychia และ hesychazo ในภาษากรีก ส่วน ἡσυχασμός เป็นคำในภาษากรีกสมัยใหม่ ไม่ใช่ภาษากรีกโบราณ เลยไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับประเพณีนี้ที่มีมาตั้งแต่โบราณโดยตรงครับ คิดว่าถ้าใช้ภาษาอังกฤษ (เฮซิแคซึม ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ปัจจุบัน) จะดูเป็นกลางกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ค่อยแน่ใจนะครับ --Potapt (คุย) 22:47, 24 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำมากๆครับ --Timekeepertmk (คุย) 23:25, 24 มิถุนายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลคนนี้ให้หน่อยครับ

  • ฝรั่งเศส Tanguy-Austin Nianzou Kouassi

ขอบคุณมากครับ --JMKTIN (คุย) 21:35, 3 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

"ต็องกี-โอสตีน นีย็องซู กัวซี" ครับ --Potapt (คุย) 22:39, 3 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

รบกวนตรวจสอบพระนามพระมหากษัตริย์บัลแกเรียให้หน่อยครับ

สวัสดีครับ รบกวนตรวจสอบพระนามพระมหากษัตริย์บัลแกเรียให้หน่อยครับ

  1. Георги II Тертер = แกออร์กีที่ 2 แตรแตร ?
  2. Ивайло = อีวายลอ หรือ อีวัยลอ

พระนาม 2 อันด้านบนควรถอดเสียงแบบไหนดีครับ ขอบพระคุณครับ --Timekeepertmk (คุย) 00:03, 5 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

สวัสดีครับ
  • แกออร์กีที่ 2 แตร์แตร์ (ร ที่เป็นพยัญชนะท้าย ใส่ทัณฑฆาตกำกับ)
  • อีวัยลอ
--Potapt (คุย) 00:17, 5 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ไฟล์:Map of Thai Motorway Route 7.png

รบกวนคุณ Potapt ถ้าว่าง ๆ อัปเดตเส้นทางของทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ให้ด้วยนะครับ (ไฟล์:Map of Thai Motorway Route 7.png) ขอบคุณมากครับ --BeckNoDa (คุย) 19:28, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ได้ครับ ขอบคุณที่เตือนมาครับ --Potapt (คุย) 19:54, 18 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

DFL-Ligapokal

ช่วย ตรวจสอบ DFL-Ligapokal หน่อยสิครับ ว่าผ่านไหม Annop Nakabut (คุย) 14:09, 20 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

คุณควรแปลเป็นภาษาไทยครับ ถ้าจะใช้โปรแกรมแปลก็แก้ไขและเกลาสำนวนให้เรียบร้อยด้วย --Potapt (คุย) 20:21, 20 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ผมแก้ใหม่แล้วนะครับ รบกวนโปรดช่วยตรวจสอบอีกครั้ง ว่าผ่านหรือเปล่าครับ Annop Nakabut (คุย) 00:04, 21 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ผมไม่รู้จะเทียบเนื้อหาที่คุณเขียนไว้กับอะไรเพราะมันไม่ตรงกับเนื้อหาในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เลยแปลให้ใหม่แล้วครับ --Potapt (คุย) 03:33, 21 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

บทความองค์กรท้องถิ่น

สวัสดีครับ ขอทราบความเห็นของคุณเกี่ยวกับการเขียนบทความองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ, เทศบาลนคร, เมือง, ตำบล, อบต.) ว่าเนื้อหาส่วนการปกครอง ภาษี เศรษฐกิจ กฎหมาย การเลือกตั้งท้องถิ่น ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนถ้าอาศัยข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว (ที่ไม่ใช่แหล่งอ้างอิงเป็นรายงานตีพิมพ์ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ฯลฯ) พวกนี้ครับ เนื่องจากปัญหาที่พบคือเนื้อหาซ้ำซ้อนกันในส่วนจำนวนหมู่บ้าน ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สถานที่ในท้องถิ่น ทำนองนี้ ขอบคุณครับ --Horus (พูดคุย) 20:34, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ผมไม่ค่อยเข้าใจคำถามครับ รบกวนยกตัวอย่างหรืออธิบายเพิ่มได้ไหมครับ --Potapt (คุย) 20:41, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ผมมองว่าเนื้อหามันซ้ำซ้อนกันอยู่ระหว่างหน่วยปกครองส่วนภูมิภาคกับท้องถิ่น และเคยคุยกับผู้ใช้อีกท่านหนึ่งว่า อยากให้องค์การท้องถิ่นมีเนื้อหาที่จำเพาะกับมันให้มากขึ้น เช่น tax, law, election ทีนี้ผมไม่แน่ใจว่าข้อมูลพวกนี้หาได้ง่ายหรือยากแค่ไหน เลยสอบถามคุณว่าคิดเห็นอย่างไรครับ (พวกแหล่งอ้างอิง online ที่ไม่ใช่เอกสาร printed เพราะคิดว่าถ้าต้องให้ลงพื้นที่ค้นข้อมูลน่าจะไม่ practical) --Horus (พูดคุย) 20:43, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ถ้าเป็นหัวข้อเศรษฐกิจ (เช่น อาชีพประชากร) ผมคิดว่าหาข้อมูลในเว็บไซต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ไม่ยากนัก แต่ถ้าเป็นหัวข้อภาษี กฎหมาย และการเลือกตั้งท้องถิ่นนี้ผมไม่แน่ใจว่าจะหาได้ง่ายในอินเทอร์เน็ตหรือไม่ เท่าที่เห็นเวลามีการสร้างบทความว่าด้วย อปท. ผู้ใช้หลายคน (รวมทั้งผม) ก็จะเอาข้อมูลมาจากเว็บไซต์ อปท. เป็นหลัก แต่เว็บไซต์ อปท. แต่ละเว็บไซต์มีระดับความละเอียดของเนื้อหาต่างกัน บางเว็บไซต์อาจมีข้อมูลมาก บางเว็บไซต์อาจมีข้อมูลน้อยหรืออาจจะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องพวกนี้เลย และบางเว็บไซต์ อปท. ที่มีข้อมูลภาษี กฎหมาย และการเลือกตั้งท้องถิ่น มักจะเป็นการลงข้อมูลครั้งเดียวจบ ไม่ค่อยอัปเดต จึงต้องหาข้อมูลเพิ่มจากเว็บไซต์อื่น เช่น เว็บไซต์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา (ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้ง กฎหมายควบคุมอาคาร เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติ อบต. ฯลฯ) แต่ราชกิจจานุเบกษาก็ไม่ได้มีครบทุกอย่าง (เช่น จำนวนผู้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่น) ดังนั้นแหล่งข้อมูลจะกระจัดกระจายและมักอยู่ในรูปของตัวเลข ตารางเอ็กเซล ทำนองนี้ คิดว่าถ้าจะเขียนให้เป็นย่อหน้า อาจต้องใช้เวลาค้นหา รวบรวม และเรียบเรียงพอสมควร ถ้าใส่มาเป็นตารางหรือไล่เป็นข้อ ๆ อย่างเดียว อาจจะมีลักษณะไม่เป็นสารานุกรมครับ
ส่วนเนื้อหาด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สถานที่ในท้องถิ่น ในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขอบเขตเดียวกับเขตปกครองส่วนภูมิภาค ผมว่าจริง ๆ แล้วสามารถโยงให้เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เหมือนกัน (ถ้าชื่อบทความใช้ตามองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เพียงแต่ต้องเลือกใช้ถ้อยคำที่จะแสดงให้เห็นว่าในบทความนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเด่นเหนือกว่าเขตปกครองส่วนภูมิภาค --Potapt (คุย) 21:37, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ที่ผมอ่านดูในย่อหน้าแรกคือข้อมูล (ออนไลน์) หายาก แต่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้ ถูกไหมครับ ข้อสอง ผมยังลังเลอยู่เรื่องกรณีบทความท้องถิ่นที่กินพื้นที่หลายตำบล (ถ้าพื้นที่เท่ากันพอดีก็ไม่ค่อยมีปัญหา) เพราะถ้ามีแต่ภูมิศาสตร์ หมู่บ้าน สถานที่ในท้องถิ่น มันจะ redundant ครับ --Horus (พูดคุย) 21:40, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ใช่ครับ ข้อมูลหายาก แต่ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้เลย แต่ผมไม่กล้ายืนยันว่าจะเป็นไปได้ทุก อปท. นะครับ เพราะตัวผมเองเวลาสร้างบทความท้องถิ่นก็ไม่ได้สนใจหัวข้อเหล่านั้นเท่าไหร่เลยไม่ค่อยได้สืบค้นด้านนี้มากนัก กรณีบทความท้องถิ่นที่กินพื้นที่หลายตำบล สมมุติว่ามีการสร้างบทความเกี่ยวกับตำบลต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ อปท. นั้น เนื้อหาบางส่วนอาจ overlap กับบทความ อปท. (เช่น สถานที่) แต่คิดว่าส่วนใหญ่ไม่น่าจะซ้ำกันครับ ส่วนหมู่บ้าน ถ้ามีบทความตำบลรองรับอยู่แล้ว ก็ควรเอาออกไปจากบทความ อปท. --Potapt (คุย) 21:58, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณครับ คิดว่าผมเห็นตรงกับคุณ ว่าแต่เห็นให้ตำบลเปลี่ยนทางไปเทศบาลเมือง มีความเห็นอย่างไรหรือครับ ผมคิดว่าจะใช้ตำบลแล้วส่วน การปกครอง ก็เขียนถึงเทศบาลเมืองเอา --Horus (พูดคุย) 22:33, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
"ตำบลไทรม้า" กับ "เทศบาลเมืองไทรม้า" เป็นเขตปกครองส่วนภูมิภาคและเขตปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีทั้งชื่อและอาณาเขตเดียวกัน ผมเปลี่ยนทางไปเทศบาลเพื่อให้สอดคล้องกับเทศบาลเมืองและเทศบาลนครที่มีลักษณะเดียวกันนี้ (เช่น เทศบาลเมืองบ้านหมี่, เทศบาลเมืองสามควายเผือก, เทศบาลนครอ้อมน้อย) กรณีตำบลที่มีชื่อและอาณาเขตเดียวกันกับเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนคร หากจะใช้ชื่อบทความว่า "ตำบล..." อย่างบทความตำบลที่มีอาณาเขตเดียวกันกับเทศบาลตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ผมคิดว่าในแง่ความถูกต้องไม่น่ามีปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าควรรีไรต์เนื้อหาใหม่ให้เน้นหนักไปทางตำบลเพื่อแสดงให้เห็นว่าตำบลเด่นกว่าเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครเท่านั้น แต่ตามความเห็นส่วนตัว (ไม่มีอ้างอิง) ผมคิดว่า เมื่อเทศบาลตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครแล้ว หลาย ๆ แห่ง ความเป็นเทศบาลจะเริ่มเด่นกว่าความเป็นตำบล เช่น "ตำบลชะอำ" กับ "เทศบาลเมืองชะอำ" มีชื่อและอาณาเขตเดียวกัน แต่ปัจจุบัน "ตำบลชะอำ" ไม่มีกำนันผู้ใหญ่บ้านตามการปกครองส่วนภูมิภาคแล้ว ประกอบกับตัวเทศบาลก็มีความเป็นเมืองชัดเจน ดังนั้น "เทศบาลเมืองชะอำ" จึงมีความโดดเด่นกว่า (แต่ก็ยังมีเทศบาลเมืองที่ยังไม่ได้ยกเลิกตำแหน่งกำนันผู้ใหญ่บ้านเช่นกัน) --Potapt (คุย) 23:09, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
อย่างนี้ในบทความอำเภอที่เหนือกว่าชะอำ ในส่วนการปกครองจะเขียนว่าเป็นตำบลชะอำ หรือเทศบาลเมืองชะอำ หรือใส่ทั้งคู่ครับ --Horus (พูดคุย) 23:16, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ใส่ไว้ทั้งคู่ (ในคนละส่วนกัน) ครับ เพราะตำบลชะอำยังมีอยู่ ที่จริงควรจะสร้างบทความ "ตำบลชะอำ" กับ "เทศบาลเมืองชะอำ" แยกกัน เพราะเป็นหน่วยคนละหน่วยกัน (อย่างใน Wikidata: ตำบลชะอำ Q18155904, เทศบาลเมืองชะอำ Q927810) แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าสร้างบทความแยกกันในวิกิพีเดีย ด้วยความที่มีชื่อและอาณาเขตเดียวกัน เนื้อหาจะซ้ำซ้อนกันทำให้บทความไม่โดดเด่นเพียงพอ ก็เลยต้องรวมบทความหน่วยหนึ่งเข้ากับบทความของอีกหน่วย --Potapt (คุย) 23:25, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
เข้าใจแล้วครับ ในอุดมคติคือเหมือนกับ กรุงเทพมหานคร กับ กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) สินะครับ --Horus (พูดคุย) 23:28, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ครับ เนื้อหาในบทความ อปท. ต่าง ๆ ในอุดมคติควรจะเป็นอย่างในกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) แต่ถ้าจะเขียนให้มีน้ำมีเนื้อเท่ากันนั้นคงยาก เพราะ อปท. ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ประวัติความเป็นมาหรือเรื่องราวอะไรมากมาย --Potapt (คุย) 23:32, 29 กรกฎาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์

เนื่องจาก วิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ#เปลี่ยนชื่อบทความ “ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์” เป็น “ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี” และจากการใช้คำในภาษาไทยโดยทั่วไป (เช่น เว็บการท่องเที่ยวสิงคโปร์ของรัฐเป็นภาษาไทย และ เอกสารของสถาทูตไทย ณ สิงคโปร์) มีการใช้เป็นชื่อ “ชางงี” หมดเลย จึงขอรบกวนปรึกษากรณีหน้า ท่าอากาศยานจางีสิงคโปร์ ควรเปลี่ยนชื่อกลับเป็น “ชางงี” หรือไม่ครับ ขอบคุณมากครับ —Chainwit. (คุย) 01:58, 1 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ผมถอดเสียง Changi เป็น "จางี" ตามภาษามลายู ไม่ได้ถอดเสียงตามภาษาอังกฤษหรือภาษาจีน แต่ผมก็ไม่มีปัญหาอะไรครับถ้าจะเปลี่ยนกลับเป็น "ชางงี" --Potapt (คุย) 03:34, 1 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
อนึ่ง ถ้าไม่มีประกาศของทางการกำหนดไว้ ผมว่าตามการเรียงคำแบบภาษาไทยน่าจะเป็น "ชางงีสิงคโปร์" มากกว่า "สิงคโปร์ชางงี" --Potapt (คุย) 03:41, 1 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
อ่าาา รับทราบครับ ขอบคุณมากครับ —Chainwit. (คุย) 16:35, 5 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

รบกวนสอบถามการทับศัพท์ครับ

สวัสดีครับ ตอนนี้ผมกำลังแปลบทความ Kitch-iti-kipi ซึ่งผมไปอ่านเกณฑ์ราชบัณฑิตเขาบอกว่าวิสามานยนามให้ถอดตามต้นฉบับ ผมเลยทับศัพท์ตามตัวอักษรและตามการออกเสียงว่า คิตช์-อิตี-คิปี แบบนี้ถูกหลักไหมครับ ขอบคุณครับ --Timekeepertmk (คุย) 19:39, 5 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ถูกครับ และที่ไม่ใช้ขีดยาวเพราะไม่ได้เป็นการเชื่อมชื่อสองชื่อขึ้นไปครับ --Potapt (คุย) 19:55, 5 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณมาก ๆ ครับ :) --Timekeepertmk (คุย) 20:59, 5 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

สอบถามการทับศัพท์ภาษาต่าง ๆ

ในกรณีภาษาต่าง ๆ ที่ไม่มีบัญญัติไว้ในราชบัณฑิตยฯ เช่น ภาษาอาร์มีเนีย (เช่น จิทเซร์นาคาเบร์ด) ภาษาอูรดู (เช่น มัสยิดบาดชาฮี หรือภาษาเปอร์เซีย (เช่น ดาร์-อี เมหร์) ให้ใช้หลักการใดในการทับศัพท์แทนครับ รบกวนขอหลักและก็ข้อแนะนำด้วยครับ ผมน่าจะได้เขียนเกี่ยวกับภาษาพวกนี้อีกพอตัวเลย ขอบคุณมากครับ —Chainwit. (คุย) 23:24, 8 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ที่ผมแก้ไขไปนั้นไม่มีหลักการทับศัพท์ครับ (ลองค้นในอินเทอร์เน็ตดูแล้วไม่พบว่ามีการกำหนดไว้ไม่ว่าจากราชบัณฑิตยสถานหรือจากคนอื่น) แต่โดยทั่วไปก็เป็นการถอดเสียงตามที่ออกในภาษานั้น ๆ อยู่แล้ว ผมจดโน้ตส่วนตัวไว้อยู่ว่าเสียงไหนเทียบกับตัวอักษรไทยตัวไหน ขอเวลาเรียบเรียงสักพักแล้วจะเอาลงในหน้าทดลองเขียนครับ --Potapt (คุย) 18:20, 9 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ถ้าสนใจและมีเวลา คุณ Potapt จะเขียนเป็น guideline หรือ essay ได้นะครับ --Horus (พูดคุย) 18:24, 9 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ผมคิดไว้ว่าจะเสนอหลักการถอดเสียงสำหรับบางภาษาอยู่เหมือนกันครับ แต่กำลังศึกษาเพิ่มอยู่เพื่อให้ครอบคลุมที่สุดเท่าที่จะทำได้ --Potapt (คุย) 18:27, 9 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณมากครับ —Chainwit. (คุย) 09:58, 10 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

รบกวนในการทับศัพท์

สวัสดีครับ ผม Matable รบกวนช่วยทับศัพท์หน่อยครับ

  • Mantes-Gassicourt

Matable (คุย) 12:17, 13 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ม็องต์-กาซีกูร์ ครับ --Potapt (คุย) 16:06, 13 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

รบกวนการออกเสียงในภาษาเยอรมันครับ

สวัสดีครับ ตอนนี้ผมกำลังแปลบทความนาอูรูอยู่ครับ เลยมีเรื่องจะสอบถามว่า คำว่า "Nawodo" และ "Onawero" ถ้าเป็นภาษาเยอรมันจะออกเสียงว่าอะไรครับ ขอบคุณครับ --Timekeepertmk (คุย) 22:19, 18 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ผมค้นในพจนานุกรมการออกเสียงที่มีอยู่แล้ว ไม่พบสองคำนี้ครับ คงเป็นคำยืมจากภาษานาอูรูอีกทีนึง ถ้าออกเสียงแบบภาษาเยอรมันน่าจะออกเสียงตรงตัวเป็น "นาโวโด" และ "โอนาเวโร" ครับ --Potapt (คุย) 00:08, 19 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอโทษที่บอกไม่ละเอียดครับ เป็น ชื่อที่คนเยอรมันเรียกนาอูรูในสมัยเข้ามาปกครองครับ ขอบคุณมากครับ --Timekeepertmk (คุย) 01:04, 19 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

รบกวนทับศัพท์

รบกวนทับศัพท์

  • Yuehua Entertainment (จีน: 乐华娱乐) (เกาหลี: 위에화 엔터테인먼트)
  • Arrival
  • Reminiscence

ขอบคุณครับ --RidJasper (คุย) 18:10, 21 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

  • เยฺว่หฺวาเอนเตอร์เทนเมนต์
  • อาร์ไรวัล
  • เรมินิสเซนซ์

หมายเหตุ คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ผมสะกดตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ฉบับ พ.ศ. 2532 ของราชบัณฑิตฯ บางพยางค์อาจออกเสียงไม่ตรงกับเสียงในภาษาต้นฉบับเท่าไหร่ครับ--Potapt (คุย) 18:27, 21 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ขอถามในนี้ต่อนะครับ คำว่า "Record" นี่ ทับศัพท์เป็น เรคคอร์ด เรเคิด หรือว่าแบบอื่นอ่ะครับ และในกรณีมีตัว s จะใส่ ส ตรงไหนครับ ขอบคุณครับ --RidJasper (คุย) 02:54, 11 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ
  • or ในคำว่า record ที่เป็นคำนาม (ไม่ใช่คำกริยา) สำเนียงบริติชออกเสียง ออ /ɔː/ ส่วนสำเนียงอเมริกันออกเสียง เออร์ /ər/ ดังนั้น เป็นไปได้ทั้ง เรคอร์ด และ เรเคิร์ด ครับ แต่ในกรณีคำนี้ ดูเหมือนว่าในวิกิพีเดียภาษาไทยจะนิยมถอดเสียงตามสำเนียงอเมริกันมากกว่า
  • รูป e ในคำนี้ ภาษาอังกฤษออกเสียง /ɛ/ ซึ่งปกติถือเป็นสระที่มีพยัญชนะท้ายเสมอ แต่หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษฉบับปัจจุบันเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดการถอดเสียงโดยคำนึงถึงรูปเขียนประกอบกันไปด้วย ถ้าอิงตามหลักเกณฑ์ฉบับนี้ คำว่า record น่าจะได้เป็น เรคอร์ด (บริติช) หรือ เรเคิร์ด (อเมริกัน) โดยไม่ต้องซ้อนพยัญชนะ ค หรือ ก
  • ถ้าเติม s เป็น records จะถอดเสียงได้เป็น เรคอดส์ (บริติช) หรือ เรเคิดส์ (อเมริกัน) โดยตัด ร์ ออก ไม่เขียนเป็น เรคอร์ดส/เรเคิร์ดส เพราะหลักเกณฑ์กำหนดให้ใส่ทัณฑฆาต ( ์) ไว้ที่พยัญชนะตัวสุดท้าย และไม่เขียนเป็น เรคอร์ดส์/เรเคิร์ดส์ เพราะตามอักขรวิธีภาษาไทย พยางค์หนึ่ง ๆ จะมีทัณฑฆาตได้เพียงตัวเดียวครับ
--Potapt (คุย) 03:21, 11 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ
รบกวนทับศัพท์ One-reeler ขอบคุณครับ --RidJasper (คุย) (ส่วนร่วม) 14:49, 30 พฤศจิกายน 2563 (+07)ตอบกลับ
ถ้าเป็นคำนามทั่วไป ทับศัพท์ว่า "วันรีลเลอร์" ถ้าเป็นชื่อเฉพาะ ทับศัพท์ว่า "วัน-รีลเลอร์" ครับ --Potapt (คุย) 21:06, 30 พฤศจิกายน 2563 (+07)ตอบกลับ
One-reeler / Act IV ทับศัพท์เป็น วัน-รีลเลอร์ / แอ็กโฟร์ ไหมครับ พอดีเป็นชื่ออัลบั้มอ่ะครับ ขอบคุณครับ --RidJasper (คุย) (ส่วนร่วม) 22:59, 16 ธันวาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
@RidJasper: ขอโทษที่ตอบช้าครับ ชื่ออัลบั้มถือเป็นชื่อเฉพาะ ดังนั้น ทับศัพท์เป็น วัน-รีลเลอร์ และ แอ็กต์โฟร์ ครับ --Potapt (คุย) 02:40, 18 ธันวาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ชื่อในภาษา/อักษรของอินเดียในส่วนนำบทความเกี่ยวกับรัฐของอินเดีย

พอดีเห็นคุณนำชื่อในภาษาทางการของรัฐต่าง ๆ มาใส่ในส่วนนำของบทความรัฐในประเทศอินเดีย (พร้อมย้อนที่ผมลบออกด้วย) ตรงนี้ผมขอรบกวนปฏิบัติตามนโยบายจากภาษาอังกฤษ en:WP:INDICSCRIPT ที่ระบุว่า “Avoid the use of Indic scripts in the lead sections or infoboxes. Instead, use International Phonetic Alphabet pronunciation guides, which are more international. Exceptions are articles on the script itself, articles on a language that uses the script, and articles on texts originally written in a particular script.” นะครับ ขอบคุณมากครับ อนึ่ง ถ้ามีความคิดเห็นเพิ่มเติมอย่างไร ยินดีรับฟังครับ —Chainwit. (คุย) 01:19, 29 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

@Chainwit.: นั่นเป็นข้อปฏิบัติในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษนี่ครับ แต่ในวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่ได้มีกำหนดไว้ วิกิพีเดียภาษาอื่นก็ใส่ เช่น fr:Bengale-Occidental, es:Haryana, de:Himachal Pradesh, ms:Tamil_Nadu ดูเหมือนว่าปัญหาในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษคือไม่รู้ว่าควรใส่ภาษาและอักษรอะไรบ้าง แต่ในวิกิพีเดียภาษาไทยมีปัญหาเดียวกันด้วยเหรอครับ ถ้าใส่แต่ภาษากับอักษรทางการ กับภาษาที่ไทยรับมาใช้ มันก็ไม่ได้มีจำนวนมากจนดูรกแต่อย่างใด --Potapt (คุย) 02:06, 29 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
อ่าา ผมเองก็ดูแต่ใน enwiki, เห็นด้วยกับที่คุณเสนอมาครับ ขอบคุณมาก ๆ ครับ ^^ Chainwit. (คุย) 12:37, 29 สิงหาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลให้หน่อยครับ

  • บราซิล Gabriel dos Santos Magalhães
  • เบลเยียม Timothy Castagne
  • ฝรั่งเศส Illan Stéphane Meslier
  • ฝรั่งเศส William Alain André Gabriel Saliba

ขอบคุณมากครับ --JMKTIN (คุย) 22:55, 2 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ

  • กาบรีแยล ดุส ซังตุส มากัลไยส์
  • ตีมอตี กัสตาญ
  • อีล็อง สเตฟาน เมลีเย
  • วีลียาม อาแล็ง อ็องเดร กาบรีแยล ซาลีบา
--Potapt (คุย) 00:23, 3 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อในบทความ โดนนี ฟัน เดอ เบก

สวัสดีครับ ช่วงนี้ผมกำลังขยายบทความ โดนนี ฟัน เดอ เบก จาก enwiki ซึ่งเป็น GA ผมอาจมีแผนเสนอบทความนี้ให้เป็น GA ตามภาษาอังกฤษ เลยจะมาสอบถามเรื่องทับศัพท์ชื่อเหล่านี้ที่ปรากฏในบทความนี้ครับ

  • เนเธอร์แลนด์ Nijkerkerveen
  • เนเธอร์แลนด์ Veensche Boys
  • เนเธอร์แลนด์ KNVB Cup
  • ฟินแลนด์ Joona Toivio
  • เนเธอร์แลนด์ John Heitinga
  • ฝรั่งเศส Yaya Sanogo
  • เนเธอร์แลนด์ Riechedly Bazoer
  • เซอร์เบีย Nemanja Gudelj
  • เนเธอร์แลนด์ Abdelhak Nouri
  • เดนมาร์ก Lasse Schöne
  • เนเธอร์แลนด์ Algemeen Dagblad
  • เนเธอร์แลนด์ Davy Klaassen
  • ฝรั่งเศส Yoan Cardinale
  • เนเธอร์แลนด์ Gerdina (มารดาของโดนนี)

--Mr.CN (คุย) 15:13, 4 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ

  • ไนแกร์เกอร์เฟน
  • เฟนสเคอโบยส์
  • เคเอ็นวีบีคัพ (อังกฤษ KNVB Cup) / กาเอ็นเฟเบเบเกอร์ (ดัตช์ KNVB Beker)
  • โยนา โตยวิโย
  • โจน ไฮติงคา
  • ยายา ซาโนโก
  • รีเชดลี บาซูร์
  • แนมาญา กูแดลย์
  • อับเดอลัก นูรี
  • แลสเซอ เชอเนอ
  • อัลเคอเมนดัคบลัด
  • เดวี กลาสเซิน
  • ยออาน การ์ดีนาล
  • แคร์ดีนา
--Potapt (คุย) 17:56, 4 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณมาก ๆ เลยครับ --Mr.CN (คุย) 18:58, 4 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ
ยินดีครับ --Potapt (คุย) 18:59, 4 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ

โปรดตรวจสอบอีเมลของคุณ!

สวัสดี Potapt/กรุ 6: โปรดตรวจสอบอีเมลของคุณ! เรื่อง: "The Community Insights survey is coming!" หากคุณมีคำถามใด ๆ โปรดส่งอีเมลไปที่ surveys@wikimedia.org.

(English: Please check your email and spam! Subject is "The Community Insights survey is coming!" If you have questions, email surveys@wikimedia.org.)

Sorry for the inconvenience, you can read my explanation here.

MediaWiki message delivery (คุย) 00:18, 26 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ดาวการทหาร

ดาวการทหาร
ขอมอบให้สำหรับผู้มีส่วนร่วมในบทความที่เกี่ยวข้องกับการทหาร อย่างมีนัยยะสำคัญครับ --B20180 (คุย) 04:23, 29 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณครับ --Potapt (คุย) 04:28, 29 กันยายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ปรึกษาการถอดเสียงภาษา Pohnpei

เนื่องจากผมกำลังร่างบทความนันมาดอลที่เป็นมรดกโลกในไมโครนีเซีย ทีนี้ผมเจอปัญหาการเทียบเคียงเสียง ดังนี้ครับ โดยผมใช้ en:Pohnpeian language JSTOR และ omniglot ประกอบครับ

  1. พยัญชนะ pw และ mw ควรเทียบเป็นอะไรดีครับ เช่น Madolenihmw (มาดอเลนีมว์ ??)
  2. สระผสมอย่าง /ei/ /ou/ และ /oa/ เทียบเคียงเป็นเสียงแบบไหนดีครับ

ขอบพระคุณครับ --Timekeepertmk (คุย) 17:40, 4 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ผมแทบไม่รู้จักภาษานี้เลย เดี๋ยวขอศึกษาก่อนแป๊บนึงครับ --Potapt (คุย) 17:55, 4 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
หลังจากศึกษามาคร่าว ๆ แล้วขอเสนอหลักการตามนี้ครับ
  • รูป mw และ pw ในภาษา Pohnpei ออกเสียง /mʷ/ และ /pʷ/ ตามลำดับ สัญลักษณ์ ʷ แสดงการออกเสียงแบบห่อปาก ไม่ได้แสดงว่าออกเสียงควบกล้ำ ว /w/ อย่างชัดเจน (ปากห่อในลักษณะใกล้เคียงกับเวลาเราออกเสียง และ ในคำว่า โม้, มั่ว, ปู่, โป้ง เป็นต้น ในขณะที่เวลาเราออกเสียง และ ในคำว่า ม่าน หรือ ปีน ปากจะไม่ห่อ) ในการถอดเสียงจึงอาจไม่ต้องใส่รูป ก็ได้ แต่เนื่องจากภาษานี้ยังมีหน่วยเสียง /m/ และ /p/ ซึ่งไม่ห่อปากอยู่ด้วย และเทียบอักษรไทยได้กับ และ ผมจึงคิดว่าควรถอดเสียง mw และ pw เป็น มว และ ปว เพื่อแยกความแตกต่างจากกัน
  • หมายเหตุท้ายตารางเสียงพยัญชนะในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษระบุว่า "/mʷ/ และ /pʷ/ เมื่ออยู่หน้าสระจะออกเสียงห่อปาก แต่เมื่ออยู่ในตำแหน่งท้ายพยางค์จะมีหน่วยเสียงย่อยเป็นเสียงไม่ห่อปาก" ในเมื่อสามารถออกเสียงไม่ห่อปากได้ด้วยในตำแหน่งท้ายพยางค์ ผมจึงคิดว่าควรถอดเสียง mw และ pw ในตำแหน่งดังกล่าวเป็น และ เพื่อไม่ให้ตัวสะกดดูรุงรังเกินไป
  • เพิ่มเติม d ในภาษานี้ออกเสียง /t/ เทียบเคียงได้กับ "ต" ส่วน t หรือ tt (ตามอักขรวิธีเก่า) ออกเสียง /t̻/ หรือ /tʃ/ ซึ่งใกล้เคียงกับ "จ" ดังนั้น Nan Madol ถ้าถอดเสียงตามภาษา Pohnpei จะได้เป็น "นันมาโตล"
พยัญชนะ ตำแหน่ง
ต้นพยางค์ ระหว่างสระ ท้ายพยางค์
อักษรไทย ตัวอย่าง อักษรไทย ตัวอย่าง อักษรไทย ตัวอย่าง
mw มว mworopw = โรป มว ngilamwahu = งิลัมวาว mwahmw = มวา
rahnmwahu = ราน-มวาว Temwen = เจ็ว็ pwedimwomw = ปเวติมโว
pw ปว pwudopwud = ปวูโดปวุด ปว aipwonso = อายินโซ aupwahpw = เอาปวา
pweltoal = ว็ลจ็อล Pweipwei = ปเวยิย์ kiripw = กิริ
d deitimw = เย์จิม duhdu = ตูตู rakied = รากิเย็
t, tt takai = าไก mwatal = มวาจั ketket = เก็เก็
? Kitti = กิจี Nett = เน็
  • รูป oa แทนเสียงสระเดี่ยว ออกเสียง /ɔ/ เทียบเคียงได้กับ "ออ" (เสียงสั้น) ผมไม่แน่ใจว่าทำไม Omniglot ถึงถอดเสียงเป็น /oa/ เพราะแหล่งข้อมูลอื่นถอดเสียงเป็น /ɔ/ หมด
  • รูป o ออกเสียง /o/ เทียบเคียงได้กับ "โอ" (เสียงสั้น) ทีแรกผมเห็นว่าภาษานี้เป็นภาษาตระกูลเดียวกับภาษามลายู ซึ่งหลักเกณฑ์การทับศัพท์ให้ถอดเสียง /o/ เป็นสระโอะลดรูปเมื่อมีพยัญชนะท้าย แต่ดูแล้วน่าจะอ่านยากและต้องใช้ยัติภังค์ช่วยแยกพยางค์ เช่น pwudopwud = ปวูดปวุด/ปวู-ดปวุด เลยคิดว่าควรใส่รูป ไว้ด้วยเพื่อช่วยให้อ่านสะดวกขึ้น เช่น pwudopwud = ปวูดปวุด
  • รูปสระที่เรียงกันสองตัวขึ้นไป Omniglot ระบุว่าเป็นสระประสม ส่วนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษระบุว่าที่จริงมีเสียง /j/ ย หรือ /w/ ว แทรกอยู่ระหว่างกลาง (ขึ้นอยู่กับสระ) เช่น ai ออกเสียง อายี, lou ออกเสียง โลวู, toai ออกเสียง จอยี ผมลองฟังคลิปที่เจ้าของภาษาออกเสียงแล้ว พบว่าออกเสียงค่อนข้างรวบ จึงคิดว่าน่าจะถอดเสียงแบบสระประสมไปเลย แต่ปรากฏว่าหากถอดเสียงเช่นนี้ก็จะเขียนเป็นอักษรไทยให้อ่านสะดวกได้ยากอีกถ้าสระที่เรียงต่อกันนั้นมีพยัญชนะปิดท้าย (เช่น meir = เมย์ร?, เมยร์?) เลยแบ่งเป็นว่า ถ้าสระที่เรียงต่อกันนี้ไม่มีพยัญชนะปิดท้าย ให้ถอดเสียงแบบสระประสม แต่ถ้ามีพยัญชนะปิดท้าย ให้ถอดเสียงแยกกันโดยแทรก หรือ เข้าไปด้วย (แม้ในภาษาต้นฉบับจะออกเสียงเหมือนกันไม่ว่าจะมีหรือไม่มีพยัญชนะปิดท้ายก็ตาม)
สระ ไม่มีพยัญชนะท้าย มีพยัญชนะท้าย
อักษรไทย ตัวอย่าง พยัญชนะท้ายเป็น /r/ พยัญชนะท้ายเป็นพยัญชนะอื่น
อักษรไทย ตัวอย่าง อักษรไทย ตัวอย่าง
ai ไ– kaikai = –ายี kair = กายีร์ –ายิ ainkot = อายินโกจ
au เ–า Saudel = เต็ล –าวู taur = จาวูร์ –าวุ niaul = นียาวุ
ei เ–ย์ tehnmei = เจนย์ เ–ยี meir = ยีร์ เ–ยิ meideipw = เมย์ยิ
eu เ–ว leu = , วู (เลี่ยงคำว่า เลว ในภาษาไทย) เ–วู Saudeleur = เซาเตวูร์ เ–วุ keus = วุ
ou โ–ว์ soulopou = ว์โลว์ โ–วู ? โ–วุ soumw = วุ
oa (สระเดี่ยว) –อ koaros = กโรส –อ tumpwoar = จุมปวร์ –็อ tehnioas = เจนิย็อ
oai –็อย toai = จ็อย –อยี ? –อยิ pwoaik = ปวอยิ
คงต้องกราบขอบพระคุณเป็นอย่างมากจริง ๆ ครับ สำหรับคำอธิบายการออกเสียงพร้อมแนบแนวทางการถอดเสียงสำหรับภาษาเล็ก ๆ ภาษาหนึ่ง ถ้ายังไงผมขออนุญาต copy คำตอบเก็บไว้ในหน้าผู้ใช้ส่วนตัวได้ไหมครับ ไว้เป็นแนวทางสำหรับการสะกดชื่อบทความชื่อภาษานี้ในอนาคตครับ --Timekeepertmk (คุย) 08:23, 5 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
อีกหนึ่งคำถาม Kanamwayso ผมสามารถถอดออกมาเป็น กานัมวาโซ ถูกไหมครับ โดยตัดตัว y ไม่ออกเสียง (∅) ไม่รู้ว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ --Timekeepertmk (คุย) 11:55, 5 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ได้ครับ ไม่ต้องขอบคุณอะไรมากมายก็ได้นะครับ เพราะผมสนใจหัวข้อแนวนี้อยู่แล้วและยินดีช่วยเท่าที่พอจะมีความรู้อยู่บ้าง :) ส่วนชื่อ Kanamwayso ผมไม่แน่ใจนะครับว่าเป็นชื่อในภาษา Pohnpei หรือเปล่า เพราะตัว y ไม่มีอยู่ในชุดตัวอักษร Pohnpei ตามระบบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แต่ก็มีบางระบบในอดีตใช้ตัว y แทนตัว i นอกจากนี้ ตัว y ในภาษาที่อยู่ใกล้เคียงกันอย่างภาษา Chuuk, Kosrae และ Yap ก็ล้วนออกเสียงเป็น ย /j/ เลยคิดว่าถ้าถอดเสียงเป็น "กานัมไวโซ" น่าจะได้อยู่ครับ --Potapt (คุย) 00:13, 6 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณมากครับ --Timekeepertmk (คุย) 05:35, 6 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

เชิญร่วมโครงการวิกิภาคอีสาน

เนื่องจากบทความเกี่ยวกับภาคอีสานในวิกิพีเดียภาษาไทยมีมากเลยครับ แถมเป็นภูมิภาคที่มีเรื่องน่าสนใจเลย โครงการนี้จึงเกิดขี้นครับ--Sir.B.T. (cn.Dr.Man) (คุย) 18:10, 4 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล #2

สวัสดีครับคุณ Potapt รบกวนทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลเหล่านี้ให้หน่อยครับ ขอบคุณครับ --Mr.CN (คุย) 21:32, 4 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

สวัสดีครับ
  • Arnau Puigmal — อาร์เนา ปุดจ์มัล (ภาษากาตาลา)
  • Ondřej Mastný — อ็อนด์เชย์ มัสต์นี
  • Martin Svidersky — มาร์ติน สวิเดร์สกี
  • Isak Hansen-Aarøen — อีซัก ฮันเซิน-โอเรอเอิน
  • Matěj Kovář — มาเจย์ กอวาช
  • Aliou Traoré — อาลียู ทราออเร
  • Stade Malherbe Caen — สตาดมาแลร์บก็อง
ชื่อตัวและชื่อสกุลข้างล่างนี้บางชื่อเป็นชื่อที่รับมาจากภาษาอื่น ไม่ได้มีอยู่แต่ดั้งเดิมในภาษาที่เกี่ยวข้อง ตอนนี้ผมยังหาคลิปหรือคำอ่านออกเสียงไม่พบเลยถอดเสียงตามที่คิดว่าน่าจะเป็นนะครับ ในอนาคตหากปรากฏคำอ่านหรือคลิปที่เจ้าของชื่อออกเสียง อาจจะต้องเปลี่ยนตัวสะกดครับ
  • Hannibal Mejbri — อานีบาล แมจบรี
  • Anthony Elanga — แอนโทนี เอลังกา
  • Noam Emeran — นออาม เอเมอราน
  • Łukasz Bejger — วูกัช แบย์แกร์
--Potapt (คุย) 02:28, 5 ตุลาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

Jong94

สวัสดีครับ ตอนนี้ผู้จัดการโครงการได้ดำเนินการตรวจสอบหุ่นเชิดให้แล้ว (ซึ่งก็เกี่ยวข้องกัน) และกำลังรอผู้ดูแลระบบบล็อก และผมขอแจ้งว่าขณะนี้ไม่มีผู้ตรวจสอบผู้ใช้ในวิกิพีเดียภาษาไทยเพราะท่านหนึ่งได้ลาออกไปทำให้ผมถูกระงับสิทธิชั่วคราวจนกว่าจะหาคนใหม่มาแทน ถ้าต้องการตรวจสอบโดยเร็วให้ทำการแจ้งที่เมทาวิกิตามตัวอย่างนี้ ขอบคุณและขออภัยที่ล่าช้าครับ --Geonuch (คุย) 20:46, 14 พฤศจิกายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ไม่เป็นไรครับ ขอบคุณครับ --Potapt (คุย) 20:49, 14 พฤศจิกายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ปรึกษาการถอดเสียงชื่อเมืองหลวงของรัฐในประเทศไมโครนีเซีย

ขอปรึกษาปรึกษาการถอดเสียงชื่อเมืองหลวงของรัฐในประเทศไมโครนีเซีย ซึ่งมีเมืองอยู่ 2 เมืองที่ชื่อคล้ายกันมากคือ

  • รัฐ Yap เมืองหลวงชื่อ Colonia (อันนี้ถอดเสียงว่าโคโลเนีย จะดีไหมครับ)
  • รัฐ Pohnpei เมืองหลวงชื่อ Kolonia (อันนี้ถอดเสียงว่าโกโลเนีย จะดีไหมครับ)

ขอบคุณมากครับ --Timekeepertmk (คุย) 21:47, 16 พฤศจิกายน 2563 (+07)ตอบกลับ

  • Colonia ของ Yap ชื่อเมืองนี้ไม่ใช่คำที่มีอยู่เดิมในภาษาแยป แต่เป็นคำในภาษาสเปน (รวมถึงชื่อ Kolonia ของ Pohnpei ด้วย แต่มาเปลี่ยนตัวสะกดเป็น k ตามอักขรวิธีภาษาเยอรมันในภายหลัง) ผมลองหาวิดีโอสอนตัวอักษรภาษาแยปและวิดีโอที่เจ้าของภาษาออกเสียงชื่อเมืองนี้แล้วแต่ไม่เจอเลย คิดว่าถอดเสียงตามภาษาอังกฤษเป็น "โคโลเนีย" ไปก่อนก็ได้ครับ
  • Kolonia ของ Pohnpei ถ้าถอดเสียงตามภาษาโปนเปย์ตามที่เคยคุยกันไว้ข้างบนก็จะได้ว่า "โกโลเนีย" ครับ
--Potapt (คุย) 23:11, 16 พฤศจิกายน 2563 (+07)ตอบกลับ
อ่าขอบคุณมากครับ งั้นผมจะยึดตามนี้เป็นพื้นฐานครับ --Timekeepertmk (คุย) 23:22, 16 พฤศจิกายน 2563 (+07)ตอบกลับ

สุขสันต์วันส้วมโลก ๒๕๖๓



เนื่องในวันส้วมโลก ประจำปี พ.ศ. 2563

ขอให้ท่านมีความสุขกับการใช้สุขาของท่าน เพราะส้วมคือสถานที่สำคัญที่จำเป็นต้องใช้ทุกช่วงชีวิตของทุกคน

"ส้วมสาธารณะวิถีใหม่เพื่อทุกคน
The New Normal Public Toilet for All"

--ร้อยตรี โชคดี (คุย) 22:12, 19 พฤศจิกายน 2563 (+07)ตอบกลับ



สุขสันต์วันส้วมโลกครับ --Potapt (คุย) 23:32, 19 พฤศจิกายน 2563 (+07)ตอบกลับ

ผู้ใช้:BotKung/เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่

สวัสดีครับ ขอแจ้งว่าขณะนี้บอตของผมกำลังดำเนินการเปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ที่คั่งค้างอยู่ใน ผู้ใช้:BotKung/เปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ ตามที่ได้มีการตั้งข้อสังเกตใน discord ถึงการที่ BotKung หยุดทำงานไป และเนื่องจากข้อจำกัดของโปรแกรมที่บอตใช้กับปัญหาทางสุขภาพของผม การเปลี่ยนชื่อหมวดหมู่ที่กำลังทำอยู่อาจไม่ได้ทำรวดเดียวแบบ BotKung (แต่ก็ยังเร็วกว่าใช้มือ) จึงมาแจ้งให้ทราบครับ --Geonuch (คุย) 18:20, 13 ธันวาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ขอบคุณมากนะครับ ขอให้หายเร็ว ๆ ครับ --Potapt (คุย) 19:49, 13 ธันวาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

ขอช่วยเหลือคำแปล

สวัสดีครับ ขอรบกวนพิจารณาตรวจสอบบทความ สากลที่สี่ เพื่อตรวจการทับศัพท์วิสามานยนามต่าง ๆ รวมทั้งขอสอบถามเรื่องคำว่า tendency ในชื่อองค์การสายคอมมิวนิสต์ ไม่แน่ใจว่าจะแปลเป็นคำว่าอะไรหรือทับศัพท์ไปเลย ขอบคุณครับ --Horus (พูดคุย) 21:45, 15 ธันวาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

เดี๋ยวขอผมอ่านบทความก่อนนะครับ --Potapt (คุย) 05:36, 16 ธันวาคม 2563 (+07)ตอบกลับ
@Horus: ขอโทษที่ตอบช้าครับ ผมคิดว่าควรแปล tendency ว่า "แนวโน้ม" เพราะถ้าใช้ "กลุ่มย่อย" "กลุ่มแยก" หรือ "องค์ก(า)ร" คำเหล่านี้ไม่สื่อถึงการเคลื่อนไหวอย่างคำว่า "แนวโน้ม" เว้นแต่ว่าถ้า tendency หนึ่ง ๆ มีชื่อภาษาไทยกำหนดไว้แล้วก็อาจใช้ตามนั้น ผมเห็นเว็บไซต์ของ International Marxist Tendency เรียกตัวเองเป็นภาษาไทยว่า "องค์กร" แต่ภาษาอื่นในเว็บเดียวกัน เท่าที่เห็นก็ใช้คำที่แปลว่า tendency (แนวโน้ม) และ current (กระแส) ทั้งนี้ทั้งนั้น ผมไม่คิดว่าจำเป็นต้องทับศัพท์ เพราะคำนี้ไม่ใช่ชื่อเฉพาะหรือศัพท์เฉพาะทาง เห็นได้จากการที่ภาษาอื่นต่างก็แปลคำนี้เป็นคำในภาษาของตัวเอง (ไม่นับชื่อองค์การที่ทับศัพท์ภาษาอังกฤษทุกคำในชื่อ) เพียงแต่การใช้คำว่า tendency ในความหมายนี้ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในภาษาไทย --Potapt (คุย) 02:40, 18 ธันวาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

สอบถามเพิ่มเติม

https://www.google.com/maps/place/Thep+Prathan+Thani+Village,+Bang+Khae+Nuea,+Bang+Khae,+Bangkok+10160/@13.7066576,100.3932358,15z/data=!3m1!4b1!4m13!1m7!3m6!1s0x30e297b680131d09:0x40100b25de29010!2sBang+Khae+Nuea,+Bang+Khae,+Bangkok+10160!3b1!8m2!3d13.7230485!4d100.4003284!3m4!1s0x30e297ce3c93949b:0x33d6b0fa11fdc32e!8m2!3d13.7066582!4d100.4020116

เนื่องจากบ้านผมอยู่ในหมู่บ้านเทพประทานธานี มันขึ้นเป็นบางแคเหนือครับ ซึ่งมันจะไม่ตรงกับที่ทางคุณให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ ผมเลยอยากสอบถามว่าควรยึดอันไหนเป็นหลักครับ

label ในแผนที่กูเกิลไม่ค่อยตรงตามความเป็นจริงนะครับ ไม่ทราบว่าทะเบียนบ้านหรือบัตรประชาชนระบุว่าอยู่ในแขวงบางแคเหนือด้วยหรือเปล่าครับ --Potapt (คุย) 23:43, 21 ธันวาคม 2563 (+07)ตอบกลับ

รบกวนทับศัพท์ครับ

Majorat ในภาษาฝรั่งเศสทับศัพท์ว่าอย่างไรครับ ขอบคุณครับ --Timekeepertmk (คุย) 14:43, 1 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ

"มาฌอรา" ครับ --Potapt (คุย) 20:34, 1 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณครับ และสวัสดีปีใหม่ครับ --Timekeepertmk (คุย) 21:21, 1 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ
สวัสดีปีใหม่เช่นกันครับ --Potapt (คุย) 21:43, 1 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ

มัดเราะซะฮ์ซ็องกอเร

ขอบคุณที่ช่วยทับศัพท์ Madrasah ให้นะครับ แต่ตัว Sankore ผมคิดว่าไม่น่าจะทับศัพท์เป็นฝรั่งเศส (“ซ็องกอเร”) รึเปล่าครับ อ้างจาก 1, บีบีซี, ของยูเนสโก ดูจะออกเสียงไปทางซันโกเรมากกว่านะครับ ถึงแม้มาลีจะเป็นประเทศที่พูดฝรั่งเศส แต่ผมว่าชื่ออย่างนี้น่าจะเป็นชื่อภาษาพื้นเมืองมากกว่านะครับ (รวมถึง Djinguereber ด้วย) คิดเห็นอย่างไรครับ ขอบคุณมากครับ —Chainwit. (คุย) 11:09, 4 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ผมเห็นด้วยว่าถ้าเป็นไปได้น่าจะทับศัพท์ตามภาษาพื้นเมืองมากกว่าครับ แต่ก่อนอื่นต้องรู้ชัดเจนก่อนว่าภาษาพื้นเมืองนั้นเป็นภาษาอะไรถึงจะถอดเสียงได้ถูก ภาษาพื้นเมืองที่เกี่ยวข้องน่าจะเป็น Koyra Chiini, Fula และ Bambara ถ้าออกเสียง Sankoré ตามภาษาเหล่านี้ เป็นไปได้ว่าจะออกเสียงว่า "ซังโกเร" หรือ "ซังกอเร" แต่ผมลองค้นดูแล้วไม่พบว่าชื่อ Sankoré กับ Djinguereber มาจากภาษาอะไร และในภาษานั้นสะกดอย่างไร (é, dj, gu ที่ออกเสียง /g/ ในชื่อทั้งสองนี้เป็นอักขรวิธีภาษาฝรั่งเศส ไม่ใช่อักขรวิธีที่แท้จริงของภาษาเหล่านี้) หากตัวสะกดต่างจาก Sankoré กับ Djinguereber ไป ก็อาจออกเสียงต่างไปอีกก็ได้ครับ
วิดีโอที่คุณยกตัวอย่างมานั้นอยู่ในบริบทภาษาอังกฤษ มีแนวโน้มว่าเขาจะออกเสียงตาม phonology ของภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาพื้นเมืองครับ อย่างวิดีโอแรกกับวิดีโอของยูเนสโก ออกเสียง k (ต้นพยางค์) ในชื่อ Sankoré เป็น ค อย่างภาษาอังกฤษ แต่ในภาษาฝรั่งเศสและในภาษาพื้นเมืองแอฟริกามักจะออกเสียงค่อนไปทาง ก มากกว่า ระหว่างภาษาฝรั่งเศสกับภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศสมีความเกี่ยวข้องมากกว่าครับ เพราะนอกจากจะเป็นภาษาทางการแล้ว ยังเป็นภาษากลาง (lingua franca) ภาษาหนึ่งในพื้นที่อีกด้วย --Potapt (คุย) 21:47, 4 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ
โอ้ เข้าใจแล้วครับ ขอบคุณมากครับ — Chainwit. (คุย) 11:55, 5 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ

สอบถามและทับศัพท์

ชื่อรายการประกาศรางวัล เช่น American Music Awards จะเขียนเป็น รางวัลอเมริกันมิวสิก หรือทับศัทท์เป็น อเมริกันมิวสิกอะวอร์ด ดีครับ และถ้าหากเขียนแบบทับศัพท์ รบกวนทับศัพท์ Award กับ Awards ขอบคุณครับ --RidJasper (คุย) (ส่วนร่วม) 18:25, 6 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ชื่อนี้ผมคิดว่าทับศัพท์ทั้งชื่อไปก็ได้ครับ ให้เหมือนกับชื่อบทความเวิลด์มิวสิกอะวอดส์; Award = อะวอร์ด, Awards = อะวอดส์ --Potapt (คุย) 20:07, 6 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ

สงสัยการถอดเสียง fakau'a (okina) ในภาษาตองงา

เนื่องจากว่าผมไปฟังตามวีดีโอในยูทูปที่เขาพูดภาษาตองงากันครับ ไม่รู้ว่าผมตั้งธงไว้ในใจหรือไม่แต่เวลาผมได้ยิน ʻa ผมได้ยินว่า อะ ครับ แม้ว่าจะไม่ใช่อะแบบในภาษาไทย เช่นเดียวกับ ʻi ผมก็ได้ยินว่า อิ นะครับ เช่นในวีดีโอนี้ ช่วงวินาทีที่ 13 ช่วง 10.57 ส่วน ʻo ได้ยินว่า โอะ แต่ก็ลังเลกับ โอ เหมือนกันครับ วินาที 40 รบกวนไขข้อข้อใจให้ผมหน่อยครับ ขอบคุณครับ

ปล. ผมจะสร้างบทความ ʻAta กับ ʻAtā ปกติตัวขีดบน (จำชื่อไม่ได้ครับ) ทำให้เสียงยาวขึ้น แต่ภาษาไทยคงจะไม่สามารถระบุแบบนั้นได้แน่ ถ้าตั้งชื่อภาษาไทยเหมือนกัน แล้ววงเล็บแก้ความกำกวมจะเหมาะสมกว่าหรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ --Timekeepertmk (คุย) 00:09, 15 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ

okina ใช้แทนเสียงหยุด เส้นเสียง [ʔ] ซึ่งเป็นเสียงพยัญชนะต้นเสียงหนึ่ง เพียงแต่มันไม่มีรูปเขียนเป็นตัวอักษรละตินตามปกติอย่าง p, t, s, ... (เพราะภาษาตะวันตกส่วนใหญ่ไม่มีหน่วยเสียงนี้จึงไม่จำเป็นต้องหาตัวอักษรละตินมาใช้แทนเสียง) ส่วนที่คุณได้ยินว่าเป็นเสียงสั้นนั้น เป็นเสียงสั้นจริงครับ แต่มันไม่ได้สั้นเพราะมี okina (อย่างน้อยเท่าที่ผมเคยอ่านมาก็ไม่เคยมีการกล่าวเช่นนี้นะครับ) แต่สั้นเพราะว่ามันไม่ใช่พยางค์ที่มีขีดบน (macron) ซึ่งออกเสียงยาวเหมือนกับเสียงสระยาวของไทยและสามารถใช้รูปสระยาวไทยแทนได้โดยไม่มีปัญหา พยางค์ที่ไม่มีขีดบนนั้นออกเสียงสั้นกว่าสระยาวของภาษาไทย แต่ภาษาไทยก็ไม่มีรูปสระที่สามารถใช้แทนเสียงสระสั้นในภาษาตองงาได้ ถึงแม้จะใช้รูปสระสั้นไทยก็ไม่ตรงเสียทีเดียว เพราะเสียงสระสั้นในภาษาไทยที่จริงมีเสียงหยุด เส้นเสียง ปิดท้ายอยู่ด้วยครับ (เช่น นะ [náʔ], ดุ [dùʔ], โปะ [pòʔ]) ในขณะสระสั้นในภาษาตองงาไม่มีเสียงพยัญชนะปิดท้าย (เช่น tuʻu [tuu]) ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกรูปสระสั้นหรือรูปสระยาวของภาษาไทยไป "สมมุติ" ใช้แทนเสียงสระสั้นนั้น (ทำนองเดียวกับหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเดิมใช้รูปสระสั้นไทยแทนสระเสียงสั้นญี่ปุ่น แต่หลักเกณฑ์ใหม่เปลี่ยนมาใช้รูปสระยาวไทยแทนสระเสียงสั้นญี่ปุ่นด้วย ยกเว้นเสียง อิ)
อย่าง Tuʻi Tonga Fefine ทุกพยางค์ออกเสียงสั้นหมด คุณอาจจะเลือกสะกดเป็น ตูอีโตงาเฟฟีเน (ไม่คำนึงถึงความสั้นยาวของสระในภาษาตองงา), ตุอิโตะงะเฟะฟิเนะ (คำนึงถึงความสั้นยาวของสระในภาษาตองงา) หรือ ตูอิโตงาเฟฟิเน (ไม่คำนึงถึงความสั้นยาวของสระในภาษาตองงา ยกเว้นเสียง [i]-[ii] ทำนองเดียวกับการทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่น) ฯลฯ ก็แล้วแต่ครับ แต่ไม่ควรจะเป็น ตูอิโตงาเฟฟีเน เพราะพยางค์ ʻi กับพยางค์ fi ออกเสียงสั้นเหมือนกัน จึงควรใช้รูปสระ (ยาวหรือสั้น) เหมือนกันครับ ทีนี้คุณอาจมองว่าในเมื่อเป็นเสียงสระสั้นก็ใช้รูปสระสั้นแทนไปก็สิ้นเรื่อง แต่ในบางภาษามันซับซ้อนกว่านั้นครับ เช่น ภาษาฟินแลนด์ ซึ่งมีการแยกเสียงสระสั้นยาวเช่นกัน แต่มีสระนอกเหนือไปจาก อะ อิ อุ เอะ โอะ เช่นคำว่า ötökkä, terve, pöly, töitä, Kymenlaakso ถ้าถอดเสียงโดยคำนึงถึงความสั้นยาวก็จะได้เป็น เออะเติ็กแกะ, เต็รเวะ, เปอะลึ, เต็ยแตะ, กึเม็นลากโซะ ซึ่งผมมองว่าอาจจะเอาไปใช้งานจริงได้ยาก หรือแม้กระทั่งหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาญี่ปุ่นเดิมที่ให้ใช้รูปสระสั้นไทยแทนเสียงสระสั้นญี่ปุ่น ผมก็เคยเห็นคนบ่นว่าทับศัพท์แล้วมีรูป อะ อุ โอะ (ภายในคำ) เยอะ ทำให้อ่านสะดุดหรืออ่านยาก ในฐานะที่คุณสนใจเนื้อหาเกี่ยวกับโอเชียเนีย คุณน่าจะคุ้นเคยกับคำในภาษาแถบนั้นมากกว่าและคงตัดสินใจได้ดีกว่าผมว่าจะใช้แบบไหนครับ แต่อยากให้ลองมองภาพรวมของภาษาในแถบนั้นทั้งหมดด้วยครับ สำหรับ ʻAta และ ʻAtā ถ้าถอดเสียงแบบคำนึงถึงความสั้นยาวในภาษาตองงา ก็จะเป็น อะตะ และ อะตา แต่ถ้าไม่ ก็จะเป็น อาตา, อาตา (วงเล็บแก้ความกำกวมได้) ครับ --Potapt (คุย) 02:29, 15 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ขอบคุณสำหรับคำอธิบายมาก ๆ ครับ ส่วนจะเลือกใช้แบบไหน ตอนนี้ก็ให้เป็นไปตามปัจจุบันแบบนี้ไปก่อนครับ แต่เสียงสระยาวดูเหมาะสมกว่ามาก ๆ ครับ ขอบคุณอีกครั้งครับ :) --Timekeepertmk (คุย) 19:39, 15 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ

มกราคม 2564

คุณอาจไม่ได้ตั้งใจ แต่การแก้ไขล่าสุดของคุณในหน้า หมวดหมู่:แคว้นล็องก์ด็อก-รูซียง ได้ลบเนื้อหาออกไปเกือบหมด หรือได้ทำหน้าดังกล่าวว่าง ซึ่งกรณีแบบนี้ทำให้ผู้ใช้อื่นไม่แน่ใจถึงเจตนาของคุณ และเนื่องจากการก่อกวนที่มากขึ้น ทำให้ผู้ใช้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นการก่อกวนได้

  • ในกรณีที่คุณได้ตั้งชื่อผิด หรือต้องการเปลี่ยนชื่อบทความนั้น ควรใช้วิธีเปลี่ยนชื่อโดยคลิกที่ป้าย เปลี่ยนชื่อ แทนการสร้างบทความใหม่ ซึ่งวิธีนี้จะย้ายประวัติการแก้ไขของบทความไปยังชื่อใหม่
  • ในกรณีที่หน้าดังกล่าวได้ซ้ำซ้อนกับอีกบทความที่มีเนื้อหาสมบูรณ์กว่า คุณอาจเลือกที่จะทำเป็นหน้าเปลี่ยนทางแทน
  • ในกรณีที่คุณต้องการแจ้งลบนั้น ให้คงเนื้อหาเดิมไว้ และเพิ่มโค้ด {{ลบ|สาเหตุที่แจ้งลบ}} ที่ส่วนบนสุดของบทความ

หากมีเจตนาอื่น คุณอาจเลือกใส่แม่แบบแสดงข้อความที่เหมาะสม หรือใช้หน้าพูดคุยในการอภิปราย ในอนาคตคุณควรระบุข้อความสั้นๆแจ้งให้ผู้ใช้อื่นรับทราบสิ่งที่คุณทำก่อนบันทึกการแก้ไขด้วยการใส่คำอธิบายอย่างย่อ ข้อความนี้เป็นข้อความแจ้งอัตโนมัติโดยบอตคุง โปรแกรมอัตโนมัติ หากคุณมีข้อสงสัย หรืออย่างไร กรุณาสอบถามได้ที่เลขาชาววิกิพีเดีย ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือ --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 06:04, 31 มกราคม 2564 (+07)ตอบกลับ

โปรดเมตตาเด็กตาดำ ๆ ด้วยค่ะ..🙇🏻‍♀

สวัสดีค่ะ ไม่ทราบว่าพอจะให้ชื่อผู้ใช้ที่เป็นชื่อ-สกุลได้ไหมคะ ขออนุญาตเอาชื่อ-สกุลไปอ้างอิงโครงงานได้ไหมคะ Sulfer.555 (คุย) 01:21, 3 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

ต้องขอโทษด้วยแต่ผมไม่สะดวกที่จะเปิดเผยชื่อครับ และถึงได้ชื่อผมไปก็คงไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าจำเป็นต้องอ้างอิง ผมว่าคุณนำแหล่งที่มาที่กำกับเนื้อหาไปใช้อ้างอิงโดยตรงจะเหมาะสมกว่า ให้ผมช่วยอย่างอื่นดีกว่าครับ ถ้าผมสามารถช่วยได้ก็ยินดีครับ --Potapt (คุย) 08:53, 3 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

ปรึกษาการถอดเสียง ou ในภาษาตองงา

เนื่องจากฟังบทสนทนาภาษานี้พอสมควรแล้วพบว่า พอฟังเสียง ou ในภาษานี้แล้วแปลกกว่าตัวอื่น ปกติ ou ควรอ่านว่าโออู แต่ในความเป็นจริงแล้วเวลาที่ผมได้ยิน ou มักออกมาเป็น โอ(ว์) ตลอดครับ เช่น Tupou (ตูโปว์) Niuafoʻou (นีอัวโฟโอว์) ไม่ทราบว่าคุณคิดเห็นอย่างไรครับ ควรใช้ ou แทนว่า โออู หรือ โอว์ หรืออื่น ๆ ดีครับ ขอบคุณครับ --Timekeepertmk (คุย) 01:41, 20 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

แหล่งข้อมูลส่วนใหญ่จะบอกว่าภาษานี้ (และภาษาโอเชียเนียอื่น ๆ) ไม่มีสระประสม สระเรียงกันสองตัวถือว่าอยู่คนละพยางค์ แต่ผมเจอบทความหนึ่งชื่อ Some Notes on Tongan Phonology ระบุว่า "When two like vowels, or the sequences /ei/, /ai/, /ae/, /ao/, /oi/, /oe/, or /ou/, are adjacent, they are pronounced as a single syllable, that is, a long vowel or a diphthong, if the stress falls on the first of the two elements." สรุปคือ ในกรณีที่เป็นสระเหมือนกันเรียงต่อกัน หรือสระเรียงที่ประกอบด้วย /ei/, /ai/, /ae/, /ao/, /oi/, /oe/, /ou/ ถ้าไม่ลงเสียงหนัก (stress) ที่สระตัวแรก จะออกเสียงสระทั้งสองรวมกันเป็นสระยาวหรือสระประสม (แต่ถ้าลงเสียงหนักที่สระตัวที่สอง จะออกเสียงแยกกันคนละพยางค์) ou ในคำที่คุณยกตัวอย่างมาน่าจะเข้าลักษณะนี้ครับ ถ้าจะถอดเสียงเป็น โ-ว์ ก็ได้ แต่ผมไม่แน่ใจว่าเราสามารถตรวจสอบได้เสมอไปหรือเปล่าว่า สระ /ei/, /ai/, /ae/, /ao/, /oi/, /oe/, /ou/ ในแต่ละคำ ลงเสียงหนักที่สระตัวแรกหรือสระตัวที่สอง เพราะในภาษานี้ไม่มีเครื่องหมายแสดงพยางค์ที่ลงเสียงหนักด้วย --Potapt (คุย) 04:17, 20 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

ลบบทความทำไม

สวัสดีครับ สอบถาม รายชื่อตำบลเรียงตามจำนวนประชากร จังหวัดกำแพงเพชร ทำไมถึงถูกลบ เพราะบทความที่เกี่ยวกับประชากรจังหวัด ประเทศต่างๆ ทำไมไม่ถูกลบ ผมคิดว่าบทความพวกนี้อาจมีประโยชน์ได้ แต่แก้ไขกี่รอบก็ถูกลบ บทความมีความผิดตรงไหน รบกวนชี้แจงด้วยครับ Thotsaphon Nack
เนื้อหาไม่เป็นสารานุกรม อีกทั้งเคยสุ่มตรวจแล้วพบข้อมูลไม่ถูกต้อง บอกให้แก้ก็ไม่แก้ ที่จริงบอกไปหลายรอบแล้วนะครับ --Potapt (คุย) 21:16, 22 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ
ไม่เป็นสารานุกรมยังไงครับ แหล่งอ้างอิงก็มี ข้อมูลก็ถูกคัดกรองมาแล้ว ข้อมูลไม่ถูกต้องยังไง ช่วยอธิบายด้วยครับ มั่นใจว่าข้อมูลถูต้อง ถ้าตรวจสอบจริงครับ รบกวนเช็คอีกที ค่อยลบ ขอบคุณครับ Thotsaphon Nack
ก็ใส่ข้อมูลมาเยอะขนาดนั้นแต่ไม่มีเนื้อหาที่เป็นความเรียงอธิบายเลยไงครับ เวลาคุณเขียนรายงานคุณควรใส่ตารางข้อมูลดิบอย่างเดียวไหมครับ อีกอย่างหน้าที่ใส่ไปนั่นคือหน้าจังหวัดหรืออำเภอ ก็ควรจะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับจังหวัดหรืออำเภอโดยรวม ไม่ใช่อยู่ ๆ ไปใส่ข้อมูลประชากรตำบลแถมปีย้อนหลังอีก ส่วนเรื่องข้อมูลไม่ถูกต้องยังไงนี่เมื่อก่อนเคยปล่อยให้ทำเพราะขี้เกียจขัดศรัทธา พอพบก็บอกให้แก้ไปแล้วครับ แต่ก็เพิกเฉยเอง ช่วยไม่ได้ครับ เอามาอ้างไม่ได้แล้วครับ --Potapt (คุย) 21:55, 22 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

ไม่ความเรียงอธิบายยังไง ผมทำตามรายชื่อจังหวัดเรียงตามจำนวนประชากรทุกอย่าง เคยใส่อำเภอก็ถูกลบ คือจะไม่ให้แก้ไข จะเอาไปใส่ในตำบล ก็ลบ คืออะไร ลองตรวจสอบจังหวัดพิจิตรดูครับ ถ้าไม่เข้าใจข้อมูล ในการตรวจสอบ บอกมาได้เลยครับ เช่น ยกตัวอย่าง ประชากรตำบลบ้านบุ่ง ในแหล่งอ้างอิง คุณต้องกดเข้าไปใน อำเภอเมืองพิจิตร และเทศบาลตำบลวังกรด ต้องเอาทั้งสองมาบวกกัน ถึงจะได้ ประชากรตำบลบ้านบุ่งทั้งหมดครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Thotsaphon Nack (พูดคุยหน้าที่เขียน) 22:00, 22 กุมภาพันธ์ 2564 (ICT)

อ่านที่ผมเขียนไว้ใหม่อีกรอบนะครับ --Potapt (คุย) 22:01, 22 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อนักคณิตศาสตร์

สวัสดีครับ รบกวนช่วยทับศัพท์ชื่อนักคณิตศาสตร์ต่อไปนี้ให้ด้วยครับ

  • สหราชอาณาจักร Frank Plumpton Ramsey
  • โปแลนด์ Kazimierz Kuratowski
  • โปแลนด์ Andrzej Mostowski
  • รัสเซีย Andrei Nikolaevich Tikhonov
  • รัสเซีย Pavel Samuilovich Urysohn

ขอบคุณล่วงหน้าครับ --Prame tan (คุย) 23:51, 22 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

สวัสดีครับ
  • แฟรงก์ พลัมป์ตัน แรมซีย์
  • กาชีมีแยช กูราตอฟสกี
  • อันด์แชย์ มอสตอฟสกี
  • อันเดรย์ นีโคลาเอวิช ตีโฮนอฟ
  • ปาเวล ซามูอีโลวิช อูรืยซอน
--Potapt (คุย) 00:16, 23 กุมภาพันธ์ 2564 (+07)ตอบกลับ

รบกวนทับศัพท์ครับ

สวัสดีครับ รบกวนทัพศัพท์ชื่อ

  • Émile Cohl (ฝรั่งเศส)
  • Gebrüder Bing (เยอรมัน)

ขอบคุณครับ Timekeepertmk (คุย) 21:41, 4 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

สวัสดีครับ
  • เอมีล โกล
  • เกอบรือเดอร์บิง (เขียนติดกันเพราะไม่ใช่ชื่อ-นามสกุล)
--Potapt (คุย) 06:25, 5 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

การใช้ปีค.ศ.ในบางหน้า

สวัสดีครับ ไม่ได้นานมามาก ผมแก้ไขวิกิพีเดียโดยเปลี่ยนเป็นค.ศ.ให้เหมือนกันทั้งหน้า แต่หลายชั่วโมงผ่านมา โดนแก้ทั้งหมดกลายเป็นพ.ศ. ไม่เข้าใจว่าทำไมแก้นะครับ (คือว่า แก้ให้เป็นค.ศ.ให้กลมกลืนกันทั้งฉบับ ซึ่งถูกตามนโยบายวิกิพีเดีย แต่ก็ถูกแก้เป็นพ.ศ.) Ethan2345678 (คุย) 14:55, 14 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

@Ethan2345678: สวัสดีครับ ขอโทษที่ตอบช้า โดยทั่วไปในภาษาไทยอ้างอิงปีโดยใช้ พ.ศ. ครับ ยกเว้นบทความที่มีการอ้างถึงปีก่อน พ.ศ. 2484 ถึงจะเปลี่ยนเป็น ค.ศ. เพราะก่อนหน้าปีดังกล่าวไทยกับสากลใช้วันขึ้นปีใหม่คนละวันทำให้ไม่สามารถเทียบปี พ.ศ.–ค.ศ. ได้อย่างแม่นยำ หน้าที่ผมเปลี่ยนกลับเป็น พ.ศ. (ซึ่งไม่ใช่ทุกหน้าที่คุณเปลี่ยนเป็น ค.ศ.) คือหน้าผมที่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องใช้ ค.ศ. ครับ --Potapt (คุย) 03:12, 16 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ
ขอแนะนำอีกอย่างว่า บทความที่ไม่มีปัญหาการย้อนการแก้ไขระหว่าง ค.ศ. กับ พ.ศ. ไปมา ไม่จำเป็นต้องติดแม่แบบว่าบทความนั้นอ้างอิงคริสต์ศักราชก็ได้ครับ --Potapt (คุย) 03:14, 16 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

นะคับ Ethan2345678 (คุย) 10:51, 16 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

อะไรครับ --Potapt (คุย) 10:59, 16 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

จะไม่ติดแม่แบบถ้าการแปลงปีถูกต้องแล้วครับ Ethan2345678 (คุย) 11:39, 16 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

แก้ไขและอัพเดทข้อมูล วัดสุคันธาราม (กรุงเทพมหานคร)

ขออนุญาตเพิ่มเติมแก้ไขข้อมูลและรูปภาพในหน้า วัดสุคันธาราม (กรุงเทพมหานคร) ครับ

เนื่องจากข้อมูลบางข้อมูลเป็นข้อมูลเดิม และต้องการเพิ่มเติมภาพ สำหรับแม่แบบ กล่องข้อมูลพุทธสถาน

ข้อมูลทั้งหมดถูกอัพเดทในนาม วัดสุคันธาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โดยตรง และถูกต้อง

ถ้ามีการแก้ไขและอัพเดทข้อมูล ผิดกฎวิกิพีเดีย ขออภัยด้วยครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Varatchayo (พูดคุยหน้าที่เขียน) 21:17, 24 เมษายน 2564 (ICT)

Varatchayo (คุย) 21:02, 24 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

@Varatchayo: คำตอบตามที่ผู้ใช้อีกคนได้ชี้แจงไปนะครับ ทั้งนี้ผมไม่ได้เอาเนื้อหาออกไปอย่างเดียว แต่แก้ไขการใช้เครื่องหมายวรรคตอนด้วย ดูเพิ่มเติมที่วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน --Potapt (คุย) 03:43, 25 เมษายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ย้ายหน้าจลาจลไอแลนด์ปี 2564 เป็น 2021

หน้านั้นใช้ค.ศ.ทั้งหมดยกเว้นหัวข้อ ควรย้ายหน้าบทความเป็นค.ศ.มั้ยครับ Ethan2345678 (คุย) 12:01, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

รอปิดการอภิปรายก่อน อย่าเพิ่งไปแก้ไขอะไรครับ --Potapt (คุย) 15:21, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ขอเชิญคุณ Potapt เข้าห้องอภิปรายศักราชด้วยครับ —-Ethan2345678 (คุย) 15:53, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
ผมอ่านอยู่ครับ แต่ยังไม่มีความเห็น --Potapt (คุย) 16:17, 2 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

แก้หน้าคานเย เวสต์เป็นพ.ศ.ทำไม

การอภิปรายยังไม่จบครับ ทำไมไปเปลี่ยนครับ Ethan2345678 (คุย) 15:34, 7 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ผมไม่ได้เปลี่ยนเป็น ค.ศ. นี่ครับ --Potapt (คุย) 15:36, 7 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ผมแก้เป็นว่า “ทำไมเปลี่ยนเป็นพ.ศ.ทำไม” Ethan2345678 (คุย) 18:52, 7 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

อ่อ ครับ ทีแรกตั้งใจว่าจะทำให้คุณดูเฉย ๆ ว่าใส่ พ.ศ./ค.ศ. ก็ได้ แต่เห็นในบทความมีทั้งสองระบบซึ่งไม่ควรจะเป็นอย่างนั้นเลยคิดว่างั้นแก้ให้เป็นระบบเดียวไปเลยทีเดียวจบ ขอโทษครับที่เปลี่ยนก่อน --Potapt (คุย) 22:56, 7 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ไม่เป็นไรครับ อย่าไปเปลี่ยนหน้าที่เป็นพ.ศ. กับ ค.ศ. ผสมกันจนกว่าจะอภิปรายจบครับ ขอบคุณครับ Ethan2345678 (คุย) 18:22, 8 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

แล้วเมื่อไหร่คุณจะหยุดแก้อะไรหยุมหยิมจนมันไม่เป็นระบบจนกว่าจะอภิปรายจบซะทีล่ะครับ --Potapt (คุย) 18:59, 8 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ส่วนใหญ่ผมแก้เรื่องไวยากรณ์กับการเขียนอธิบายให้ชัดเจน Ethan2345678 (คุย) 08:38, 9 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ครับ บางบทความผมไม่มีปัญหาอะไร แต่ยกตัวอย่าง ในบางบทความคุณลบคำว่า "พ.ศ./ค.ศ." ออก แต่ส่วนอื่นของหน้ามันยังมีคำนั้นอยู่ หรือในบางบทความคุณแก้ไขระดับราชาศัพท์ แต่ส่วนอื่นยังใช้ราชาศัพท์ระดับเดิมอยู่ ทำให้เนื้อหาไม่เป็นระเบียบครับ --Potapt (คุย) 09:28, 9 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ภาษาเยอรมนีในบทความฟุตบอล

รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลภาษาเยอรมนีในบทความ เดเอ็ฟเอ็ล-ซูเพอร์คัพ ฤดูกาล 2020 และฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 นัดชิงชนะเลิศ ตรงหัวข้อการแข่งขันครับ ขอบพระคุณล่วงหน้ามาก ๆ ครับ Poonpun2016 (คุย) 20:28, 15 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ได้ครับ --Potapt (คุย) 12:48, 16 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

การเขียนเป็น พ.ศ.

ในความเห็นของผม ถ้าบทความไหนมีอ้างอิงเป็นค.ศ. ที่หน้าเชื่อถือดีแล้วครับ ก็ไม่ควรจะเปลี่ยนเป็นพ.ศ. ส่วนบทความที่มีอ้างอิงเป็นพ.ศ. หรือ ไม่มีอ้างอิง และ สามารถแปลงปีได้ ถึงจะใช้พ.ศ.ครับ Ethan2345678 (คุย) 10:51, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

@Ethan2345678: ถ้าอย่างนั้นเนื้อหาทั้งหน้าก็ต้องเขียนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดด้วยสิครับ เพราะอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษนี่ แล้วอีกอย่างตอนคุณเปิดอภิปรายทำไมไม่พูดถึงให้ชัดเจนครับ จนเขาปิดไปแล้วยังจะอะไรอีก --Potapt (คุย) 10:53, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ก็แค่แปลไทยครับ Ethan2345678 (คุย) 10:54, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

@Ethan2345678: ก็ใช่ไง แล้วยังไงต่อครับ --Potapt (คุย) 10:55, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

เรียบเรียงไวยากรณ์ครับ Ethan2345678 (คุย) 10:56, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

@Ethan2345678: เวลาคุณถามคนอื่นคุณซักไซ้ไล่เลียงเขาได้ แต่พอมีคนถามคุณบ้างคุณตอบห้วน ๆ จนจับใจความไม่ได้แบบนี้น่ะหรือ --Potapt (คุย) 10:58, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ขอโทษครับที่รบกวน Ethan2345678 (คุย) 11:01, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

@Ethan2345678: จะดีกว่านี้ถ้าคุยให้รู้เรื่องไปเลยครับ เพราะไม่อย่างนั้นคุณก็จะยกอะไรขึ้นมาเพื่อจะแก้อยู่เรื่อยไป --Potapt (คุย) 11:05, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

การใช้ศักราชให้สอดคล้องกับอ้างอิงและแม่แบบ

สวัสดีครับ ไม่ได้นานมามาก ผมเห็นหลายบทความที่ถูกแก้เป็น พ.ศ. ทั้งที่บทความไม่ได้มีความบกพร่องเรื่องศักราชครับ แม่แบบและอ้างอิงก็เป็นค.ศ.ครับ ดังนั้น สำหรับบทความที่ไม่มีอ้างอิงมากพอ หรือ ไม่มีอ้างอิง และ กล่าวถึงหลัง ค.ศ. 1942/พ.ศ. 2484 ถึงจะอนุโลมให้ใช้พ.ศ.ได้ครับ Ethan2345678 (คุย) 11:00, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

คุณจำได้หรือเปล่าครับว่าไม่กี่สัปดาห์ก่อนมีการอภิปรายอะไรไป (2 นาทีนี่เรียกว่านานมาก?) --Potapt (คุย) 11:02, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

จำได้ครับ แต่ผมยังอภิปรายไม่ครบครับ Ethan2345678 (คุย) 11:20, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

แล้วทำไมไม่ลงให้ครบครับ? จำได้ว่าเกือบเดือนเลยที่คุณไปแก้อะไรต่อมิอะไรทั้งที่มันไม่ใช่เรื่องเลย แต่กลับไม่ไปอภิปรายซะอย่างนั้น -- Just Sayori OK? (have a chat) 11:23, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ขอเชิญคุณ Potapt เข้าร่วมอภิปรายศักราชใหม่นะครับ Ethan2345678 (คุย) 13:00, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

@Ethan2345678: ดีนะครับ นึกจะเปิดก็เปิดขึ้นใหม่ทั้งที่การอภิปรายที่ตัวเองเริ่มขึ้นมาเพิ่งปิดไป --Potapt (คุย) 22:14, 17 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ขอให้หยุดแก้ไขเรื่องปีก่อน

ตอนนี้มีการอภิปรายครับ ขอให้หยุดแก้ไขเรื่องปีก่อนครับ Ethan2345678 (คุย) 11:12, 19 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

@Ethan2345678: บางหน้าไม่ดูด้วยล่ะครับว่าถูกแก้ระหว่างการอภิปรายครั้งที่แล้วเหมือนกันครับ มาบอกผมคนเดียวแต่ไม่บอกคนอื่นนี่แปลก ๆ นะ หึ ๆ --Potapt (คุย) 14:31, 19 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

สงสัยเรื่องประเทศเบลเยียม

มีข้อสงสัยเกี่ยวกับคำในภาษาไทยเกี่ยวกับบทความของประเทศเบลเยียมครับ

  • แคว้นวอลลูน เดิมใช้ว่า "เขตวัลลูน" ผมสงสัยว่าถอดเสียงเป็น "วอล" อย่างไร เนื่องจากในภาษาฝรั่งเศสเอง ก็ยังเป็น "วาโลนี"
  • เรื่องคำแปลไทยของ Community, Region, Provinces ตรงนี้หาคำตอบที่ถูกต้องที่สุดจากไหนดีครับ เพราะตอนแรกนั้นเป็น "ชุมชน, เขต, มณฑล" แต่เห็นว่าเพิ่งถูกเปลี่ยนเป็น "ประชาคม, แคว้น, จังหวัด" แทน ซึ่งจะต้องทำการเปลี่ยนทุกบทความที่ได้ผมเคยเขียนไปทั้งหมด

ขอบคุณครับ--Ekapoj yam (คุย) 22:23, 30 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

  • ผมทับศัพท์จากคำว่า Walloon ในภาษาอังกฤษ พจนานุกรม Lexico ให้คำอ่านว่า /wɒˈluːn/ เสียง /ɒ/ โดยปกติถอดเสียงโดยใช้สระออ ส่วนชื่อภาษาฝรั่งเศสคือ Wallon ทับศัพท์ว่า "วาลง" ซึ่งอันนั้นก็เป็นเรื่องของภาษาฝรั่งเศสครับ
  • เบื้องต้นผมใช้ตามเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ ยกเว้นคำว่า region ซึ่งในเว็บนั้นใช้ว่า "ภูมิภาค" แต่ผมเห็นว่าควรใช้ "แคว้น" มากกว่า เพราะ region ของฝรั่งเศสก็เรียกว่า "แคว้น" และลองค้นในกูเกิลก็พอมีผู้ใช้คำว่า "แคว้น" อยู่บ้าง ส่วนเรื่องเปลี่ยนคำในบทความต่าง ๆ เดี๋ยวผมจะช่วยทยอยเปลี่ยนด้วยครับ --Potapt (คุย) 22:36, 30 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
อีกอย่างคือ เมื่อเปลี่ยน "เขต" เป็น "แคว้น" แล้วจะได้เอาคำว่า "เขต" ไปใช้กับ arrondissement ซึ่งเป็นหน่วยปกครองย่อยของ "จังหวัด" ด้วยครับ --Potapt (คุย) 22:40, 30 พฤษภาคม 2564 (+07)ตอบกลับ
@Ekapoj yam: น่าจะเป็นเพราะว่าผู้สร้างไฟล์อัปโหลดรูปนั้นไว้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษแทนที่จะอัปโหลดไว้ที่คอมมอนส์ซึ่งเป็นคลังสื่อส่วนกลาง เลยใช้ได้เฉพาะในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษครับ --Potapt (คุย) 00:01, 1 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อนักมวย

สวัสดีตอนเที่ยง อยากให้คุณช่วยทับศัพท์ชื่อนักมวยคนนี้ให้ด้วย

(คาซัคสถาน) Генна́дий Генна́дьевич Голо́вкин

ขอบคุณครับ Ice 4402 (คุย) 11:42, 1 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

สวัสดีครับ นักมวยคนนี้เกิดในสมัยสหภาพโซเวียต พ่อเป็นคนรัสเซีย และชื่อทั้งสามเป็นชื่อในภาษารัสเซีย ไม่ใช่ภาษาคาซัค ดังนั้นผมคิดว่าควรทับศัพท์ตามภาษารัสเซีย (อักษรโรมัน - Gennady Gennadyevich Golovkin) เป็น "เกนนาดี เกนนาเดียวิช โกลอฟกิน" ครับ --Potapt (คุย) 20:47, 1 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ขอขอบคุณที่ช่วยทับศัพท์ครับ Ice 4402 (คุย) 08:01, 2 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับ พอดีผมได้สร้างหน้าผู้เล่นในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 และมีชื่อนักฟุตบอลที่ทับศัพท์ไว้บางส่วนแล้ว จึงอยากรบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลส่วนที่เหลือหน่อยครับ ขอบคุณมาก ๆ ครับผม --JMKTIN (คุย) 17:40, 2 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ได้ครับ --Potapt (คุย) 21:27, 2 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

FAC

ขอช่วยตรวจสอบการทับศัพท์ (และอาจรวมการแปล) ในหน้าชาวโตราจา ซึ่ง FAC ด้วยครับ ขอบคุณครับ Horus (พูดคุย) 19:35, 7 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ขอผมเคลียร์ที่ทำอยู่อีก 2-3 วัน แล้วจะเข้าไปดูครับ --Potapt (คุย) 19:38, 7 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

Update request for รถไฟใต้ดินบากู

Hello.

Can you update the article รถไฟใต้ดินบากู? After the opening of the《 8 Noyabr 》station on Line 3 on 29 May 2021, the metro network has now a total of 26 stations and a total length of 38.1 km (an increase of 1.4 km from 36.7 km).

Source: http://www.urbanrail.net/as/baku/baku.htm

Yours sincerely, 31.200.17.218 21:39, 7 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

Hi! Let me ask the user who created that article first to see if he wants to update it himself. Regards. --Potapt (คุย) 21:44, 7 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
Thank you. I also asked the user who created it. But not being sure if the user is active or not, I asked all four users who edited that article. 31.200.17.218 21:56, 7 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
The article has been updated by other users. You can check it. Yours sincerely, 31.200.9.67 23:46, 8 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

แปลชื่อหน่วยงานทหาร

สายัณห์สวัสดิ์ครับ ควรจะเรียงลำดับการแปลชื่อกรมทหารนี้อย่างไร ในลักษณะเป็นกำลังรบสามรูปแบบในกรมเดียวกัน

1st Marine Infantry Paratroopers Regiment

ขอบคุณครับ Ice 4402 (คุย) 22:08, 7 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ผมไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้นะครับ แต่คิดว่าน่าจะเป็น "กรมพลร่มทหารราบนาวีที่ 1" หรือไม่ก็ "กรมพลร่มนาวิกโยธินที่ 1" เข้าใจว่า Marine Infantry (แปลตรงตัวว่า "ทหารราบนาวี") ของฝรั่งเศสมีหน้าที่เหมือนกับนาวิกโยธิน (marines) แต่ขึ้นกับกองทัพบก ไม่ได้ขึ้นกับกองทัพเรือ ไม่แน่ใจว่าควรแปลตรงตัวหรือแปลเหมาไปเลยว่าเป็นนาวิกโยธิน --Potapt (คุย) 23:06, 7 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

ขอบคุณ​สำหรับ​ข้อมูล​ครับ​ Ice 4402 (คุย) 08:10, 8 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

สถานีบางยี่ขันอะอยู่หน้าตลาดอินดี้

ไม่ได้บอกว่าทุกคนต้องรู้จักนะ แต่สถานีมันติดตลาดอินดี้ ละเป็นตลาดใหญ่ ทำไมต้องไม่เขียนละ งงไรมึง เด็กเขมรปะ Kurino (คุย) 00:18, 10 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

บอกไปแล้วนี่ว่าทำไม ถ้าอ่านไม่เข้าใจเองคุณก็ควรจะถามตัวเองมากกว่าอะ --Potapt (คุย) 00:20, 10 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

อัคระ / อัครา / อาครา

รบกวนขอความคิดเห็นชื่อบทความเมือง อัครา (รวมถึงป้อมอัครา, อำเภออัครา, ฯลฯ) ครับว่าควรทับศัพท์จาก आगरा (āgrā) ว่าอะไรดี ถ้าถูกต้องตามหลักทับศัพท์ควรเป็น "อาครา" แต่ไม่เคยเห็นปรากฏใช้ที่ไหน ตอนนี้ผมใส่เป็น "อัครา" ไปก่อน (อย่างน้อยก็มีคนใช้) มีความเห็นเช่นไรครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ -- ผู้ใช้:Chainwit. 22:53, 16 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ

พจนานุกรมชื่อภูมิศาสตร์สากลของราชบัณฑิตยสถาน (ซึ่งพิมพ์ไว้หลายปีแล้ว) ใช้ว่า "อัคระ" คิดว่าคงเป็นการลากให้เข้ากับคำไทยที่มีอยู่เดิม แต่ดูเหมือนว่า etymology ของชื่อเมืองที่แท้จริงยังสรุปไม่ได้แน่ชัด ถ้าจะเปลี่ยน ผมคิดว่าควรใช้ตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ไปเลยดีกว่าครับ เพราะถ้าดูจากกูเกิล ถึงแม้จะมีผู้ใช้ว่า "อัครา" แต่ก็มีผู้ใช้ว่า "อัคระ" และ "อาครา" เช่นกัน --Potapt (คุย) 00:23, 17 มิถุนายน 2564 (+07)ตอบกลับ
งั้นเป็น "อาครา" นะครับ ขอบคุณมากครับ -- ผู้ใช้:Chainwit. 15:12, 4 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอล

สวัสดีครับ รบกวนคุณ Potapt ช่วยทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลตามนี้ให้หน่อยครับ

  • แซมเบีย Patson Daka
  • โปรตุเกส Bruno Lage - Bruno Miguel Silva do Nascimento
  • โปรตุเกส Nuno Albertino Varela Tavares
  • เบลเยียม Albert-Mboyo Sambi Lokonga
  • ฝรั่งเศส Ibrahima Konaté
  • เดนมาร์ก Thomas Frank

ขอบคุณครับ --JMKTIN (คุย) 11:24, 1 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

  • แพตสัน ดากา
  • บรูนู ลาฌึ - บรูนู มีแกล ซิลวา ดู นัชซีเม็งตู
  • นูนู อัลบือร์ตีนู วาแรลา ตาวารึช
  • อาลแบร์-อึมโบโย ซามบี โลกงกา
  • อีบราอีมา โกนาเต
  • ทอแมส ฟรังก์

--Potapt (คุย) 21:49, 1 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ "อะลิฟ" (?) ในภาษาอูรดู

รบกวนขอคำแนะนำในการทับศัพท์ภาษาอูรดูพวกที่มี "e" (อูรดู: پا) ตรงกลาง ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดคือเสียงอะลิฟ (?) ที่ตามหลักการทับศัพท์ภาษาอาหรับ ให้ใช้ "อ์" เช่น มะซาร์-อ์-ไกด์ (Mazar-e-Quaid; อูรดู: مزار قائد) กับ มีนาร์-อ์-ปากีสถาน (Minar-e-Pakistan; อูรดู: مینارِ پاکستان) แต่อยากทราบว่าจริง ๆ แล้วควรเป็น มะซาร์ไกด์ กับ มีนาร์ปากีสถาน หรือว่าเป็นการทับศัพท์อื่นไหมครับ ขอบคุณมากครับ -- ผู้ใช้:Chainwit. 15:29, 4 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

-e- ในที่นี้ไม่ได้มาจากตัวอะลิฟครับ แต่เป็นรูปอักษรโรมันของคำอนุภาค izāfat ซึ่งภาษาอูรดูรับมาจาก ezāfe ของภาษาเปอร์เซีย หน้าที่อย่างหนึ่งของคำอนุภาคนี้คือการเชื่อมคำนามหลักกับคำขยายที่ตามมา (ลักษณะคล้ายกับ of ในภาษาอังกฤษ) เช่น Minar-e-Pakistan = Tower of Pakistan; Mazar-e-Quaid = Tomb of the Leader; Mazar-e Sharif (เมืองในอัฟกานิสถาน) = Tomb of the Noble
ในการเขียน izāfat เป็นอักษรอูรดู (อักษรอาหรับ) ตามหลักนั้นจะเขียนแทนด้วยเครื่องหมาย zer ( ـِ ) โดยใส่ไว้ใต้พยัญชนะตัวสุดท้ายของคำนามหลัก แต่อักษรที่เป็น Arabic-based โดยทั่วไปไม่นิยมใส่เครื่องหมายแสดงเสียงสระสั้น (zer ก็เป็นหนึ่งในสระสั้น) แม้ว่าในการออกเสียงจริงจะออกเสียงสระสั้นนั้นด้วยก็ตาม (เช่น Pākistān โดยทั่วไปเขียนว่า پاکستان โดยไม่ใส่เครื่องหมายแสดงสระสั้น แต่ถ้าใส่ก็จะเขียนว่า پَاکِسْتَان ซึ่งพบน้อยมาก หรืออย่างที่คุณยกตัวอย่างมานี้ مزار قائد ไม่ใส่เครื่องหมายแสดงสระสั้น รวมทั้งไม่แสดง izāfat ด้วย ในขณะที่ مینارِ پاکستان ไม่ใส่เครื่องหมายสระสั้นเช่นกัน ยกเว้น ـِ ซึ่งแทน izāfat โดยใส่ไว้ใต้ตัว ر / r) ส่วนในการเขียนเป็นอักษรโรมันจะเก็บเสียงที่ออกจริงไว้ทั้งหมด จึงถอดเสียง izāfat เป็น -e- โดยไม่เขียนติดท้ายคำนามหลักเป็น mazāre หรือ mīnāre เพื่อแสดงให้เห็นว่าคำอนุภาคนี้ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคำนามนั้นอย่างแท้จริง
ในการออกเสียง หากคำนามหลักนั้นลงท้ายด้วยเสียงพยัญชนะ ในภาษาเปอร์เซียจะออกเสียง ezāfe เป็น เ- [e] (ดูเพิ่มในข้อ 7. และ 8. ของการทับศัพท์ภาษาเปอร์เซีย) ส่วนในภาษาอูรดูจะออกเสียง izāfat เป็น -ิ [ɪ] (ตามเครื่องหมาย zer ซึ่งมีค่าตั้งต้นเป็นเสียง -ิ) หรือ เ- [e(ː)] ก็ได้ (ผมเข้าใจว่านิยมออกเสียง "เ-" มากกว่า จึงถอดเป็นอักษรโรมันเป็น -e- แทนที่จะเป็น -i-) โดยย้ายพยัญชนะท้ายของคำนามหลักมาเป็นพยัญชนะต้นของ izāfat เช่น Minar-e-Pakistan = มีนาเรปากิสตาน (ไม่ใช่ มีนาร์เอปากิสตาน)
ถ้าถอดเสียง مزار قائد (Mazār-e-Quāid) และ مینارِ پاکستان (Mīnār-e-Pākistān) ตามข้างบนก็จะได้เป็น "มะซาเรกายด์" และ "มีนาเรปากิสตาน" ถ้าถามว่าทับศัพท์เป็น "มะซาร์กายด์" และ "มีนาร์ปากีสถาน" ได้ไหม ก็ได้อยู่ครับถ้าคุณตีความว่า มะซาร์, กายด์, มีนาร์ และ ปากีสถาน ทั้งหมดอยู่ในบริบทของภาษาไทยและใช้โครงสร้างไวยากรณ์ภาษาไทย (เรียงคำขยายตามหลังคำหลัก โดยไม่คั่นด้วยคำว่า "แห่ง") แต่ มะซาร์ และ มีนาร์ ไม่ใช่คำที่ผู้พูดภาษาไทยรู้จักกันทั่วไป เมื่อเห็น มะซาร์กายด์ และ มีนาร์ปากีสถาน อาจจะสับสนว่าเป็นคำทับศัพท์อูรดูหรือแปลเป็นไทยแล้ว เพราะฉะนั้นผมคิดว่าทับศัพท์ตามภาษาอูรดูทั้งชื่อให้เหมือนวิกิพีเดียภาษาอังกฤษไปเลยน่าจะเหมาะสมกว่าครับ --Potapt (คุย) 01:28, 5 กรกฎาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลในคอนคาแคฟโกลด์คัพ นัดชิง 2021 (2/8/64)

สวัสดีครับ คุณ Potapt รบกวนช่วยตรวจสอบการทับศัพท์ชื่อนักฟุตบอลในบทความ คอนคาแคฟโกลด์คัพ 2021 นัดชิงชนะเลิศ ให้หน่อยนะครับ ขอบคุณครับ --Mr.CN (คุย) 11:42, 2 สิงหาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

เดี๋ยวเข้าไปดูครับ --Potapt (คุย) 14:49, 2 สิงหาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

โรงเรียนในอำเภอชนแดน

พี่ลบรายชื่อโรงเรียนในอำเภอชนแดนทำไมหรอครับพอดีผมเป็นคนใส่เอง หนูเป็นคนเพชรบูรณ์ เลยอยากทราบ

@2001:FB1:3C:175:59F9:FCDF:9B22:3DE5: ควรเขียนให้เป็นรูปแบบสารานุกรมมากกว่านี้ครับ ไม่ใช่ในรูปแบบตารางฐานข้อมูล หน้านั้นเป็นหน้าของอำเภอชนแดนอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องบอกอีกว่าโรงเรียนแต่ละโรงอยู่ในอำเภออะไร อีกอย่างตอนที่คุณใส่รายชื่อ คุณได้เขียนทับเนื้อหาอื่นไปด้วยครับ --Potapt (คุย) 15:25, 3 สิงหาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ชอบลบมั่วๆทั้งที่เป็นความจริง

เป็นอะไรอ่ะครับชอบลบประวัติศาสตร์ทีมอื่น??? Zabie09587 (คุย) 23:04, 6 สิงหาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

@Zabie09587: ไหนขอดูหลักฐานอ้างอิงที่ว่าเศาะลาห์เป็นนักบัลเลต์ซิ --Potapt (คุย) 23:59, 6 สิงหาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ภาษาทิเบต

รบกวนสอบถามว่าพอมี resource ใดแนะนำในการทับศัพท์ทิเบตไหมครับ ตอนนี้ผมเทียบเอาจาก en:Help:IPA/Tibetan อยู่ แต่ดูแล้วไม่ค่อยถูกเท่าไหร่ รบกวนด้วยครับ 🥲 -- Chainwit. [ พูดคุย ] 22:45, 26 สิงหาคม 2564 (+07)ตอบกลับ

ถ้าเป็นคำอ่านที่เป็น IPA ผมค้นจากวิกิพจนานุกรมภาษาอังกฤษครับ ส่วนมากจะมีคนใส่ไว้ ส่วนการเลือกใช้ตัวอักษร ผมศึกษาคร่าว ๆ จากบล็อก https://phyblas.hinaboshi.com/20200105 ซึ่งน่าจะเป็นของคุณผู้ใช้:Phyblas (จริง ๆ คำทับศัพท์ควรจะถอดเสียงวรรณยุกต์ด้วยแต่ผมไม่ได้ใส่ลงไป เพราะรายละเอียดเยอะมาก เลยไม่แน่ใจว่าจะใส่ถูกหรือเปล่า) --Potapt (คุย) 23:10, 26 สิงหาคม 2564 (+07)ตอบกลับ