ข้ามไปเนื้อหา

ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพหมู่ในการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 12 ที่ประเทศรัสเซียในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015
การทดสอบข้อเขียนในการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 11 ที่ประเทศโปแลนด์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014
การมอบรางวัลเหรียญทองภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศในพิธีเปิดการประชุมสหภาพภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศที่มอสโก ประเทศรัสเซีย ในเดือนสิงหาคม พ.ศ 2015
ผู้ชนะเลิศเหรียญทองของการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 12 ในพิธีเปิดการประชุมการประชุมสหภาพภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศที่มอสโก ประเทศรัสเซียในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015
การวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในการทดสอบการออกภาคสนามของการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 11 ที่ประเทศโปแลนด์ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2014
การเก็บข้อมูลสำหรับการทำแผนที่ในการทดสอบการออกภาคสนามของการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 12 ที่ประเทศรัสเซียในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2015

ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (อังกฤษ: International Geography Olympiad, อักษรย่อ: iGeo) คือการแข่งขันภูมิศาสตร์ประจำปีสำหรับนักเรียนอายุ 16 ถึง 19 ปีจากทั่วทุกมุมโลก นักเรียนที่เป็นตัวแทนประเทศมาจากการคัดเลือกนักเรียนหลายพันคนที่ให้ความสนใจต่อการเข้าร่วมในภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับชาติของตน ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศทดสอบความสามารถของผู้เข้าร่วมการแข่งขันทุกคนจากแบบรูปและกระบวนการเชิงพื้นที่ แบบทดสอบของภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศประกอบด้วย 3 ส่วน คือ แบบทดสอบข้อเขียน แบบทดสอบมัลติมีเดีย และแบบทดสอบการออกภาคสนามที่มุ่งเน้นการสังเกตเพื่อใช้ในการทำแผนที่และการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์ การแข่งขันนี้ยังมีการนำเสนอโปสเตอร์แบบกลุ่ม การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และให้นักเรียนใช้เวลาในการทำความรู้จักเพื่อนต่างชาติและสำรวจเมืองของประเทศเจ้าภาพ

ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศจัดขึ้นโดยคณะทำงานเฉพาะกิจโอลิมปิกของสหภาพภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Geographic Union: IGU) ซึ่งเป็นผู้ผลิตแบบทดสอบอิงกับองค์กรท้องถิ่นและและคณะกรรมการระหว่างประเทศ

หลังจากการแข่งขันภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งแรกใน ค.ศ. 1996 การแข่งขันได้รับการสนับสนุนให้มีการจัดขึ้นทุกสองปี แต่ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นทำให้ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 การแข่งขันได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีแทนที่การจัดทุกสองปีเช่นเดียวกับการแข่งขันหลักของโอลิมปิกวิชาการอื่น ๆ

ประวัติความเป็นมาและความสำเร็จในระดับชาติ

[แก้]

ระหว่างการประชุมใหญ่ของสหภาพภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศใน ค.ศ. 1994 ที่ปราก สาธารณรัฐเช็ก ผู้แทนจากโปแลนด์และเนเธอร์แลนด์ได้ประกาศถึงแนวคิดเกี่ยวกับการแข่งขันภูมิศาสตร์หรือภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศสำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 15 ถึง 19 ปี การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นใน ค.ศ. 1996 ที่เดอะเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีห้าประเทศเข้าร่วม ต่อมาได้มีจำนวนผู้เข้าร่วมการแข่งขันเพิ่มขึ้นเป็น 24 ประเทศในการแข่งขันที่คาร์เธจ ประเทศตูนิเซียใน ค.ศ. 2008

ก่อน ค.ศ. 2012 โอลิมปิกวิชาการเป็นผู้จัดขึ้นทุกสองปีและมีการจัดภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับภูมิภาคแทรกในปีที่มีการแข่งขันในบางภูมิภาค[1] ประกอบด้วยภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Regional Geography Olympiads: APRGO) ซึ่งจัดขึ้นใน ค.ศ. 2007 ที่ซินจู๋ ประเทศไต้หวัน[2][3] ค.ศ. 2009 ที่สึกูบะ ประเทศญี่ปุ่น[4] และ ค.ศ. 2011 ที่เมริดา ประเทศเม็กซิโก[5] และภูมิศาสตร์โอลิมปิกระดับภูมิภาคยุโรปกลาง (Central European Regional Geography Olympiads : CERIGEO) ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศจัดการแข่งขันขึ้นเป็นประจำทุกปีซึ่งสอดคล้องกับการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการอื่น ๆ

ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศล่าสุดจัดขึ้นที่ฮ่องกง ระหว่างเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ค.ศ. 2019 มีประเทศเข้าร่วม 43 ประเทศ

การแข่งขันครั้งต่อไปของภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศจะจัดขึ้นที่อิสตันบูล ประเทศตุรกีในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2020

ประเทศสมาชิก

[แก้]

ประเทศที่เข้าร่วมภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศใน ค.ศ. 2018 ประกอบด้วย[6][7][8]

ชื่อประเทศที่ใช้เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้โดยสหภาพภูมิศาสตร์ระหว่างประเทศ ตามรายชื่อประเทศในภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ค.ศ. 2017 ที่เบลเกรด

ครั้งที่จัด

[แก้]
ครั้งที่ ปี (ค.ศ.) ประเทศเจ้าภาพ เมืองเจ้าภาพ ผู้ชนะเลิศระดับบุคคล ทีมอันดับหนึ่ง ทีมอันดับสอง ทีมอันดับสาม ประเทศ จำนวนผู้เข้าร่วม หมายเหตุ
1 1996  เนเธอร์แลนด์ เดอะเฮก  เบลเยียม

สเตเฟิน ปัตเตวส์

 โปแลนด์  สโลวีเนีย  เบลเยียม 5 20
2 1998  โปรตุเกส ลิสบอน  โปแลนด์

กาตาชือนา กฟีแยตซิญสกา

 โปแลนด์  สโลวีเนีย  เบลเยียม 5 20
3 2000  เกาหลีใต้ โซล  โปแลนด์

อาดัม บีลิสกี

 โปแลนด์  เนเธอร์แลนด์  เกาหลีใต้ 13 52
4 2002  แอฟริกาใต้ เดอร์บัน  โรมาเนีย

ฟลอริน ออลเตอานู

 โรมาเนีย  โปแลนด์  เบลารุส 12 48
5 2004  โปแลนด์ กดัญสก์  โปแลนด์

มาแชย์ แคร์มานอวิตช์

 โปแลนด์  เอสโตเนีย  โรมาเนีย 16 64
6 2006  ออสเตรเลีย บริสเบน  โปแลนด์

ยัตแซก ปรุคญัก

 โปแลนด์  เอสโตเนีย  โรมาเนีย 23 92
7 2008  ตูนิเซีย คาร์เธจ  โรมาเนีย

บาร์บู ยอน อาเลกซันดรู

 โรมาเนีย  เอสโตเนีย  ออสเตรเลีย 24 96
8 2010 จีนไทเป ไทเป  โรมาเนีย

บาร์บู ยอน อาเลกซันดรู

 สิงคโปร์  ออสเตรเลีย  โปแลนด์ 27 108
9 2012  เยอรมนี โคโลญ  สิงคโปร์

แซมิวเอล ฉั่ว

 สิงคโปร์  โรมาเนีย  โปแลนด์ 31 124
10 2013  ญี่ปุ่น เกียวโต  สิงคโปร์

แดเนียล หว่อง

 สิงคโปร์  โครเอเชีย  สิงคโปร์ 32 128
11 2014  โปแลนด์ กรากุฟ  สหรัฐอเมริกา

เจมส์ มัลเลิน

 สิงคโปร์  ออสเตรเลีย  โรมาเนีย 36 144
12 2015  รัสเซีย ตเวียร์ จีนไทเป

Chang-Chin Wang

 โปแลนด์  โรมาเนีย จีนไทเป 40 159
13 2016  จีน ปักกิ่ง  ไทย

วุฒิภัทร กีรติไพศาล

 ออสเตรเลีย  สิงคโปร์  ไทย 45 173
14 2017  เซอร์เบีย เบลเกรด  โรมาเนีย

วิกตอร์ เวสกู

 โปแลนด์  โรมาเนีย  สหรัฐอเมริกา 41 160
15 2018  แคนาดา นครเกแบ็ก  รัสเซีย

อะเลน คอสปานอฟ

 โรมาเนีย สิงคโปร์  สหรัฐอเมริกา 43 165
16 2019  ฮ่องกง ฮ่องกง  สหรัฐอเมริกา

Albert Zhang

 อินโดนีเซีย  สหรัฐอเมริกา  บริเตนใหญ่ 43 166
17 2020  ตุรกี อิสตันบูล  รัสเซีย

Rustam Bigildin

 รัสเซีย  สิงคโปร์  ญี่ปุ่น 46 180 online
18 2022  ฝรั่งเศส ปารีส  คาซัคสถาน

Sanzhar Khamitov

 สิงคโปร์  ลิทัวเนีย  ไต้หวัน 54 209 online
19 2023  อินโดนีเซีย บันดุง  ไทย

ภัสกาญ ลีวงศ์เจริญ

 โรมาเนีย  สิงคโปร์  ฮังการี 45 177
20 2024  ไอร์แลนด์ ดับลิน  โรมาเนีย

David-Mihai Dumitrescu

 สหรัฐอเมริกา  ออสเตรเลีย  อินโดนีเซีย 46 183
21 2025  ไทย กรุงเทพมหานคร
22 2026  ตุรกี อิสตันบูล
23 2027  ลัตเวีย แย็ลกาวา
24 2028  ออสเตรเลีย เมลเบิร์น

รางวัล

[แก้]

ประเทศที่ได้รับรางวัลมากที่สุด

[แก้]
อันดับ ประเทศ อันดับหนึ่ง สอง และสาม ปีที่ชนะเลิศ (จำนวนทีมที่เข้าร่วม) ปีที่ได้รองชนะเลิศ
(จำนวนทีม)
ปีที่ได้อันดับสาม
(จำนวนทีม)
1  โปแลนด์ 7, 1, 1 1996 (5), 1998 (5), 2000 (13), 2004 (12), 2006 (23), 2015 (40), 2017 (41) 2002 (12) 2012 (31)
2  โรมาเนีย 4, 3, 2 2002 (12), 2008 (24), 2013 (32), 2018 (43) 2012 (31), 2015 (40), 2017 (41) 2006 (23), 2014 (36)
3  สิงคโปร์ 3, 2, 1 2010 (27), 2012 (31), 2014 (36) 2016 (45), 2018 (43) 2013 (32)
4  ออสเตรเลีย 1, 2, 1 2016 (45) 2010 (27), 2014 (36) 2008 (24)
5  เอสโตเนีย 0, 3, 0 2004 (12), 2006 (23), 2008 (24)
6  สโลวีเนีย 0, 2, 0 1996 (5), 1998 (5)
7 (ร่วม)  โครเอเชีย 0, 1, 0 2013 (32)
7 (ร่วม)  เนเธอร์แลนด์ 0, 1, 0 2000 (13)
9 (ร่วม)  เบลเยียม 0, 0, 2 1996 (5), 1998 (5)
9 (ร่วม)  สหรัฐอเมริกา 0, 0, 2 2017 (41), 2018 (43)
11 (ร่วม)  ไทย 0, 0, 1 2016 (45)
11 (ร่วม) จีนไทเป 0, 0, 1 2016 (45)
11 (ร่วม)  เบลารุส 0, 0, 1 2002 (12)
11 (ร่วม)  เกาหลีใต้ 0, 0, 1 2000 (13)

ประเทศที่ได้รับรางวัลระดับบุคคลมากที่สุด

[แก้]
ครั้ง ประเทศ ครั้งที่ชนะ ผู้ชนะเลิศ (ปี)
1  โรมาเนีย 5 David-Mihai Dumitrescu (2024), วิกตอร์ เวสกู (2017), บาร์บู ยอน อาเลกซันดรู (2010, 2008), ฟลอริน ออลเตอานู (2002)
2  โปแลนด์ 4 ยัตแซก ปรุคญัก (2006), มาแชย์ แคร์มานอวิตช์ (2004), อาดัม บีลิสกี (2000), กาตาชือนา กฟีแยตซิญสกา (1998)
3  สิงคโปร์ 2 แดเนียล หว่อง (2013), แซมิวเอล ฉั่ว (2012)
3  ไทย 2 ภัสกาญ ลีวงศ์เจริญ (2023), วุฒิภัทร กีรติไพศาล (2016)
5 (ร่วม) จีนไทเป 1 Chang-Chin Wang (2015)
5 (ร่วม)  สหรัฐอเมริกา 1 เจมส์ มัลเลิน (2014)
5 (ร่วม)  เบลเยียม 1 สเตเฟิน ปัตเตวส์ (1996)
5 (ร่วม)  รัสเซีย 1 อะเลน คอสปานอฟ (2018)

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.geoolympiad.org/fass/geoolympiad/what-is-igeo/index.shtml
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-16. สืบค้นเมื่อ 2018-08-22.
  3. https://spock.nehs.hc.edu.tw/newsletter/1205/B.htm[ลิงก์เสีย]
  4. http://japan-igeo.com/english/pdf/result.pdf
  5. http://www.gtansw.org.au/files/geog_bulletin/2012/2_GTA%20Bulletin%201%202012-2_Asia%20Pacific%20Olympiad.pdf[ลิงก์เสีย]
  6. "Home | IGEO 2018". Université Laval. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-29. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
  7. "2018년 제19회 전국지리올림피아드 추진 계획(안)" (ภาษาเกาหลี). The Korean Geographical Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-18. สืบค้นเมื่อ 9 May 2018.
  8. "Final Report | IGEO 2018" (PDF). International Geographical Union= 1 July 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]