ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน)
Rail Technology Research and Development Agency (Public Organization)
ภาพรวมสถาบัน
ก่อตั้ง14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564; 3 ปีก่อน (2564-07-14)
ประเภทองค์การมหาชน
สำนักงานใหญ่เลขที่ 111 ชั้น 10 ถนนริมคลองบางกะปิ แขวงบางกะปิ แขวงบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10310
บุคลากร42 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี318,853,600 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารสถาบัน
  • จุลเทพ ขจรไชยกูล, ผู้อำนวยการ
  • ว่าง, รองผู้อำนวยการ
  • ว่าง, รองผู้อำนวยการ
ต้นสังกัดสถาบันกระทรวงคมนาคม
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสถาบัน

สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) (อังกฤษ: Rail Technology Research and Development Agency (Public Organization) ชื่อย่อ RTRDA) หรือ สทร. เป็นองค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยถือว่าเป็นองค์การมหาชนแห่งแรกของกระทรวง มีหน้าที่ในการบริหารจัดการด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี การต่อยอดเทคโนโลยี การวิจัยและการส่งเสริมอุตสาหกรรมทางต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำในระบบการขนส่งทางราง

ประวัติ

[แก้]

สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) ริเริ่มจัดตั้งตามมติคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562

ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งและพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งในคราวการประชุมในวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ต่อมาสถาบันได้รับการจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564[3] ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมีผลวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 โดยมีเหตุผลในการจัดตั้ง ดังต่อไปนี้

โดยที่ประเทศไทยจำเป็นต้องพัฒนาและลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางรางอย่างต่อเนื่อง แต่ยังต้องพึ่งพาองค์ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีระบบรางจากต่างประเทศเป็นหลัก ดังนั้น เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบรางได้อย่างยั่งยืนและลดการพึ่งพาต่างประเทศ จึงสมควรจัดตั้งหน่วยงานในประเทศให้มีหน้าที่ศึกษา วิจัย เปรียบเทียบเทคโนโลยีระบบราง และประเมินความต้องการด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อใช้ในการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ การบริหารจัดการงานวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบรางและการขนส่งทางราง ตลอดจนการรับ แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และส่งเสริมอุตสาหกรรมในระบบการขนส่งทางราง รวมถึงการบูรณาการความร่วมมือและประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบราง

สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) เป็นสถาบันหลักด้านการวิจัยและพัฒนาและเทคโนโลยีระบบราง บูรณาการความเชี่ยวชาญและทรัพยากรจากทุกภาคส่วน เพื่อยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและสร้างอุตสาหกรรมระบบรางของประเทศ[1]

อำนาจและหน้าที่

[แก้]

สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้[4]

  1. จัดทำยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีระบบรางของประเทศเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา
  2. วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางรวมทั้งสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบราง และร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
  3. วิจัยและพัฒนามาตรฐานระบบรางและระบบการทดสอบด้านระบบราง ดำเนินการทดสอบด้านระบบราง และรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพสำหรับใช้ประกอบการยื่นคำของใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง
  4. ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้านการวิจัยและนวัตกรรม และการรับ แลกเปลี่ยน ถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง และเป็นศูนย์กลางในการรับ แลกเปลี่ยน และถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบราง
  5. พัฒนาบุคลากรด้านระบบรางและจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อให้การรับรองความรู้และทักษะให้แก่บุคลากรด้านระบบราง
  6. จัดทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีระบบราง เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยและนวัตกรรม หน่วยงาน ผู้เชี่ยวชาญ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีระบบราง

หน่วยงานในสังกัด

[แก้]

สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) มีโครงสร้างหน่วยงาน ดังต่อไปนี้[5]

อ้างอิง

[แก้]