อุบัติการณ์และอุบัติเหตุบนเที่ยวบินการบินไทย
หน้าตา
การบินไทยมีอุบัติการณ์มากกว่าอุบัติเหตุ ซึ่งหมายถึงการทำการบินที่ผู้โดยสารบาดเจ็บเล็กน้อยหรือไม่บาดเจ็บเลย รวมถึงการขู่ว่ามีการวางระเบิด อย่างไรก็ตาม อุบัติการณ์และอุบัติเหตุของการบินไทยค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับสายการบินอื่นๆ ทั่วโลก
การบินไทยเสียเครื่องบินไป 8 ลำโดยมีลำหนึ่งสามารถซ่อมแซมได้แต่ไม่ได้ทำการซ่อม ในขณะที่ โคเรียนแอร์ เสียเครื่องบินไป 17 ลำ และ เจแปนแอร์ไลน์ 11 ลำ
ลำดับเหตุการณ์อุบัติการณ์
[แก้]- 26 ตุลาคม พ.ศ. 2529 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 620 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 300-600 ทะเบียน HS-TAE ของ การบินไทย บินจาก ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อากีโน ไป ท่าอากาศยานนานาชาติโอซากะ มีผู้โดยสารนำระเบิดมือเข้าไปและเกิดระเบิดบนเครื่องบิน บริเวณน่านฟ้า Tosa Bay ประเทศญี่ปุ่น บาดเจ็บ 62 คน สาเหตุคาดว่าเป็นผู้ก่อการร้ายต้องการรายได้จากประกันภัย[1]
- 27 มิถุนายน พ.ศ. 2532 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 915 เครื่องบิน โบอิง 747-2D7B ทะเบียน HS-TGB ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ผู้โดยสาร 340 คน ลูกเรือ 14 คนเกิดอุบัติเหตุปีกของเครื่องบินชนกับหางของเครื่องบินสายการบิน บริติชแอร์เวย์ Boeing 757 ทะเบียน G-BMRH ทำให้ปีกของเครื่องบินเสียหาย ส่วนของหางสายการบิน บริติชแอร์เวย์ ต้องทำการซ่อมแซม[2]
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 305[3] จาก ท่าอากาศยานดอนเมือง ไป ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง โดยสาย การบินไทย โดยเครื่องบิน แอร์บัส เอ 300-600[4] ถูกสลัดอากาศ 2 คนบังคับให้นำเครื่องไปยัง โกลกัตตา ประเทศอินเดีย มีผู้โดยสารทั้งหมด 221 คนเรื่องบินดำเนินการไป โกลกัตตา ตามที่สลัดอากาศต้องการก่อนกลับกรุงเทพ[5]
- 8 สิงหาคม พ.ศ. 2547 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 198 เครื่องบิน เอทีอาร์ 72-200 ทะเบียน HS-TRA ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ไป ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ล้อหน้าของเครื่องไม่สามารถกางได้ ต้องลงจอดฉุกเฉิน ทำให้ส่วนหัวของเครื่องไถลไปกับรันเวย์ ผู้โดยสาร 28 ราย[6] ลูกเรือ 4 ราย [7]
- 20 เมษายน พ.ศ. 2548 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 602 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-300 ทะเบียน HS-TEL ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ไป ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง เกิดอุบัติเหตุปีกของเครื่องบินชนกับเครื่องบิน สิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน 068 ทำให้ปีกของเครื่องบินเสียหาย ผู้โดยสาร 183 คน ต้องทำการเปลี่ยนเครื่องบินที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง[8][9]
- 1 มิถุนายน พ.ศ. 2548 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 971 เครื่องบิน แมคดอนเนลล์ ดักลาส เอ็มดี-11 ของ การบินไทย ทะเบียน HS-TME จาก ท่าอากาศยานซือริช ไป ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง กัปตันตัดสินใจนำเครื่องกลับไปที่ ท่าอากาศยานซือริช เนื่องจากระบบไฮโดรริกเสีย ทำให้ผู้โดยสารต้องรอการซ่อมเครื่อง[10]
- 26 ตุลาคม พ.ศ. 2548 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 981 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 340-600 ทะเบียน HS-TNA ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ไป ท่าอากาศยานเมลเบิร์น เกิดอุบัติการณ์ยางแตกขณะทำการลงจอดที่สนามบิน[11]
- 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2549– การบินไทย เที่ยวบินที่ 943 เครื่องบิน โบอิง 747-4D7 ทะเบียน HS-TGY ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัส ไป ท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟีอูมีชีโน เกิดอบัติเหตุปีกของเครื่องบินชนกับหางของเครื่องบินสายการบิน แอร์ฟรานซ์ ทำให้ปีกของเครื่องบินเสียหาย ในส่วนของ แอร์ฟรานซ์ หางของเครื่องบินหลุด ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต[12]
- 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550– การบินไทย เที่ยวบินที่ 999 เครื่องบิน โบอิง777-200ER ทะเบียน HS-TJW ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานเมลเบิร์น ได้รับการแจ้งว่านักบินทำการลดระดับต่ำกว่ามาตรฐานที่สามารถยอมรับได้ทางการบินหอบังคับการบินได้แจ้งให้บังคับเชิดเครื่องสูงขึ้นโดยทันที[13][14]
- 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 415 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-300 ทะเบียน HS-TEE ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ กัปตันตัดสินใจนำเครื่องลงฉุกเฉินที่ ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ เนื่องจากความดันภายในห้องโดยสารผิดปกติระบบแอร์เสีย ทำให้ผู้โดยสารต้องรอเปลี่ยนเครื่องบินลำใหม่[15]
- 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 การบินไทย เที่ยวบินที่ 8849 ทะเบียน HS-TLD เกิดอุบัติการณ์เนื่องจากรถลากจูงที่ใช้ระบบไฮโดรลิกล็อกล้อเครื่องบิน เพื่อที่จะออกไปยังรันเวย์เกิดเหตุขัดข้อง ระบบไม่ยอมคลายล็อกล้อเครื่องบินออก ส่งผลให้เครื่องล่าช้า ต่อมาเกิดการบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 ท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 เชียงใหม่[16][17]
- 8 มกราคม พ.ศ. 2553– การบินไทย เที่ยวบินที่ 030 ทะเบียน HS-TDD เครื่องบินแบบ โบอิง 737-4D7 ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานอุบลราชธานี เกิดอุบัติการณ์กระจกหน้าที่ห้องนักบินร้าวในระหว่างการบิน แต่สามารถนำเครื่องลงที่ ท่าอากาศยานอุบลราชธานี ได้ โดยมีผู้โดยสารบนเครื่องบิน 115 คน และการทำการบินขากลับล่าช้า 3 ชั่วโมง[18][19]
- 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553– การบินไทย เที่ยวบินที่ 116 เครื่องบิน โบอิง 747-4D7 ทะเบียน HS-TGB ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เกิดอุบัติการณ์เครื่องยนต์ไฟไหม้ขณะเครื่องทำการวิ่งขึ้นจึงได้ทำการลงฉุกเฉินที่ สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ[20]
- 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553– การบินไทย เที่ยวบินที่ 622 เครื่องบิน โบอิง 777-200 ทะเบียน HS-TJG ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ เกิดอุบัติการณ์ตกหลุมอากาศขณะทำการลดระดับลงที่ ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ เมือง โอซะกะ แต่สามารถนำเครื่องลงได้หลังจากนั้น 15 นาทีอย่างปลอดภัย ผู้โดยสารบาดเจ็บทั้งสิ้น 4 คน เที่ยวบินนี้มีผู้โดยสาร 227 คน และ ลูกเรือ 17 คน ส่งผลให้เครื่องบินชากลับล่าช้า 4 ชั่วโมง[21]
- 7 กันยายน พ.ศ. 2553 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 794 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 340-500 ทะเบียน HS-TLC ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส พบคำขู่ว่ามีระเบิดบนเครื่องบินในห้องน้ำ ต่อมาไม่พบว่ามีเหตุการณ์ผิดปกติ จึงนำเครื่องลงที่ ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส เที่ยวบินนี้มีผู้โดยสาร 171 คน ลูกเรือ 14 คน[22]
- 9 มกราคม พ.ศ. 2554 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 217 เครื่องบิน โบอิง 747-4D7 ทะเบียน HS-TGW ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต เกิดระบบไฮโดรริกขัดข้องทำให้นักบินประกาศจะบินกลับไปที่ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และทำการลงแบบฉุกเฉินแต่ตอนหลังได้แจ้งลงแบบฉุกเฉินที่ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต และลงได้แบบปลอดภัยโดยทำการบินล่าช้า 80 นาที[23][24]
- 5 เมษายน พ.ศ. 2554 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 131 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 300-600 ของ การบินไทยจาก ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ไป ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เครื่องยนต์ไฟไหม้ขณะถอยออกจากรันเวย์ผู้โดยสาร 83 คน ลูกเรือ 10 คน
- 9 เมษายน พ.ศ. 2554 การบินไทยเที่ยวบินที่ TG8342 เที่ยวบินลงที่ฮัมบวร์คเกิดอุบัติการณ์เบรกไม่ทำงาน [25]มีผู้โดยสาร8ราย
- 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 602 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-300 ทะเบียน HS-TEH ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง เครื่องยนต์ซ้ายดับเครื่องกลับสู่ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ต้องซ่อมถึงล่าช้า 2 ชั่วโมง[26]
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 461 เครื่องบิน โบอิง777-300 ทะเบียน HS-TKD ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานเมลเบิร์น ได้รับการแจ้งว่านักบินทำการลดระดับต่ำกว่ามาตรฐานที่สามารถยอมรับได้ทางการบินหอบังคับการบินได้แจ้งให้บังคับเชิดเครื่องสูงขึ้นโดยทันที[27]
- 23 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 623 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-300 ทะเบียน HS-TES ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติคันไซ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เครื่องยนต์ซ้ายดับเครื่องยกเลิกการเดินทาง[28]
- 22 มกราคม พ.ศ. 2555 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 975 เครื่องบิน โบอิง777-300 ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติโดโมเดโดโว ไป ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ยกเลิกการบินขึ้นหลังจากที่สัญญาณเตือนภัยเกี่ยวกับการบินได้ดังขึ้นภายหลังตรวจสอบพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับเกียร์ที่ใช้ลงจอดเครื่องล่าช้า 20 นาที[29]
- 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 639 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-300 ทะเบียน HS-TEC ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง ไป ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ได้ยกเลิกการขึ้นบินภายหลังขึ้นบินแล้วพบปัญหาเกี่ยวกับระบบไฮโดรริก โดยนำเครื่องบินลำใหม่มาบินแทนส่งผลให้ล่าช้า 4 ชั่วโมง[30]
- 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 314 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-300 ทะเบียน HS-TEB ของ การบินไทย จากโกลกัตตาไป ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ได้เกิดยางอ่อนจึงร่อนลงแบบประคับประคองโดยไม่มีปัญหาใดๆ แต่เมื่อถึงรันเวย์ขอเปลี่ยนยางที่มีปัญหาก่อนแท็คซี่เข้าจอดทำให้เสียเวลา ซึ่งเป็นช่วงจราจรคับคั้ง อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต[31]
- 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 600 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 380-841 ทะเบียน HS-TUA ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง เกิดตกหลุมอากาศผู้โดยสารบาดเจ็บ 38 ราย ลูกเรือบาดเจ็บ 9 รายลูกเรือบาดเจ็บสาหัส 1 ราย ภายในเครื่องบินได้รับความเสียหาย[32]
- 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 130 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 300-622R ทะเบียน HS-TAX ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย เกิดอุบัติการณ์ล้อหลังด้านขวาของเครื่องบินยางแตก ขณะร่อนลงจอดที่ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย ส่งผลให้เครื่องบินเที่ยวกลับล่าช้า 55 นาที[33]
- 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 047 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-300 ทะเบียน HS-TEG ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานขอนแก่น ไป ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ขณะเลี้ยวกลับลำเพื่อเตรียมบินขึ้น เกิดลื่นไถล ล้อหน้าตกรันเวย์ ทำให้เครื่องบินติดหล่ม ไม่สามารถบินขึ้นได้ แต่ในขณะเดียวกันเครื่องบินยังคงกีดขวางรันเวย์ ทำให้เครื่องบินเที่ยวบินถัดไปของสายการบินอื่นไม่สามารถลงจอดได้ ต้องเลี่ยงไปใช้ท่าอากาศยานอุดรธานีแทน[34]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 916 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 340-600 ทะเบียน HS-TNE จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ ระบบไฮโดริกบนเครื่องบินเสีย นักบินตัดสินใจบินกลับ ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ [35]
- 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 641 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 340-600 ทะเบียน HS-TNF จาก ท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เกิดอุบัติการณ์ตกหลุมอากาศบาดเจ็บ 11 ราย
- 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 925 เครื่องบิน โบอิง747-400 ทะเบียน HS-TGฺB จาก ท่าอากาศยานมิวนิก ไป ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เกิดอุบัติการณ์เครื่องเสียส่วนปีก นักบินตัดสินใจบินกลับมิวนิกถึงกรุงเทพช้า 7 ชั่วโมง
- 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 944 เครื่องบิน โบอิง747-400 ทะเบียน HS-TGO จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟีอูมีชีโน เกิดอุบัติการณ์ยางล้อระเบิดที่ ท่าอากาศยานเลโอนาร์โด ดา วินชี-ฟีอูมีชีโน ส่งผลให้ยกเลิกเที่ยวบินขากลับ
- 12 มกราคม พ.ศ. 2559 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 671 เครื่องบิน โบอิง777-300 ทะเบียน HS-TKC ของ การบินไทย จาก ซับโปโร ไป กรุงเทพ เกิดอุบัติการณ์ไฟฟ้าขัดข้องบนเครื่องบินนักบินตัดสินใจเอาเครื่องลงที่ โอซาก้า[36]
- 11 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 111 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-300 ทะเบียน HS-TEJ ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ เกิดอุบัติการณ์ไฟไหม้เครื่องยนต์หลังนำเครื่องขึ้นได้ 10 นาที นักบินนำเครื่องกลับมาลงฉุกเฉินที่ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่[37]
- 21 กันยายน พ.ศ. 2559 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 221 เครื่องบิน แอร์บัส เอ 350-900XWB ทะเบียน HS-THB ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต เกิดอุบัติการณ์ยางล้อเสียหายจากการร่อนลง ส่งผลให้ยกเลิกเที่ยวบินขากลับ
- 20 ตุลาคม พ.ศ. 2562 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 970 เครื่องบิน โบอิง777-300ER ของ การบินไทย จาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไป ท่าอากาศยานซือริช เกิดเครื่องยนต์เครื่องหนึ่งขัดข้อง จึงยกเลิกการนำเครื่องขึ้น และนำเครื่องบินเข้าซ่อม และได้ออกบินใหม่อีกครั้งในอีก 12 ชั่วโมงต่อมา[38]
- 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 การบินไทยเที่ยวบินที่ 575 แอร์บัส เอ 330-343 ทะเบียน HS-TEU[39]ปลายปีกชนเครื่องบิน ทะเบียน M-YWAY ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติวัตไต[40]
- 10 มิถุนายน พ.ศ. 2566 การบินไทยเที่ยวบินที่ 683 แอร์บัส เอ 330-343 ทะเบียน HS-TEO ปลายปีกชนแพนหางดิ่งของเอ330 ของ อีวีเอแอร์ ทะเบียน B-16340 ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว[41]
ลำดับเหตุการณ์อุบัติเหตุ
[แก้]การบินไทยเสียเครื่องบินไปทั้งหมด 8 ลำ อนึ่งเนื่องจากเครื่องบิน 2 ลำได้เช่ามาจาก sas อีก 1 ลำเช่าจาก International Airlease AB การบินไทยจึงถูกบันทึกว่าเสียเครื่องบินไป 5 ลำ
- 30 มิถุนายน พ.ศ. 2510 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 601 เครื่องบิน Sud Aviation SE-210 Caravelle III ทะเบียน HS-TGI ของการบินไทย บินจากท่าอากาศยานซงซาน เขตซงชาน กรุงไทเป ไปยังท่าอากาศยานไขตั๊ก เกิดอุบัติเหตุเครื่องบินตกที่เกาลูนใกล้ท่าอากาศยานไขตั๊กขณะทำการลงจอดมีพายุไต้ฝุ่น เสียชีวิต 24 คน บาดเจ็บหนัก 56 คน โดยมีผู้โดยสารทั้งหมด 73 คน ลูกเรือ 7 คน[42]
- วันพุธที่ 9 กรกฎาคม 2512 การบินไทยไม่ทราบเที่ยวบิน หมายเลขเที่ยวบินที่เป็นไปได้ได้แก่ (TG601 TG603 TG623)[43] ทำการบินจากท่าอากาศยานไขตั๊กฮ่องกงประสบอุบัติเหตุที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ ไม่มีผู้เสียชีวิต เครื่องบินนั้นซ่อมไม่ได้ เสียเครื่องบิน Sud Aviation SE-210 Caravelle III ทะเบียน HS-TGK ไปหนึ่งลำ[44]
- 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 (พ.ศ. 2516) เครื่องบิน Douglas DC-8 ทะเบียน HS-TGU การบินไทยเช่าจาก International Airlease ABบินจากโกลกาตาไปเนปาลเกิดอุบัติเหตุลื่นไถลออกนอกรันเวย์มีผู้เสียชีวิตที่ภาคพื้นดินเป็นประชาชนชาวเนปาล 1 ราย[45] [46]
- 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 - การบินไทย เที่ยวบินที่ 311 เครื่องบินแอร์บัส เอ 310-304 ทะเบียน HS-TID ของการบินไทย ชนเทือกเขา 35 กม. ทางเหนือของกาฐมาณฑุ ผู้โดยสาร 113 คนเสียชีวิต (ผู้โดยสาร 99 คน และ พนักงาน 14 คน) สาเหตุเกิดจากปัญหาทางเทคนิคและหลงทิศเนื่องจากสภาพอากาศปิด[47]
- 22 ตุลาคม พ.ศ. 2537 การบินไทย MD-11 ทะเบียน HS-TMD พุ่งชน การบินไทย Airbus A300B4-103 ทะเบียน HS-THO ขณะทดสอบเครื่องยนต์ที่หน้าอาคารฝ่ายช่างการบินไทยท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง ส่งผลให้ต้องจำหน่ายเครื่อง Airbus A300B4-103 ทะเบียน HS-THO ออกจากฝูงบิน
- 11 ธันวาคม พ.ศ. 2541 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 261 เครื่องบินแอร์บัส เอ 310-204 ทะเบียน HS-TIA ของการบินไทย จากกรุงเทพไปสุราษฎร์ธานี ตกสาเหตุเนื่องจากฝนตกหนักมาก ผู้โดยสาร 102 คน จาก 143 คน เสียชีวิต[48]
- 3 มีนาคม พ.ศ. 2544 – การบินไทย เที่ยวบินที่ 114 เครื่องบินโบอิง 737-4D7ทะเบียน HS-TDC ของการบินไทย จากกรุงเทพไปเชียงใหม่ เกิดระเบิดขึ้นในขณะที่จอดที่สนามบิน เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บ 8คน สาเหตุเกิดจากน้ำมันกับอากาศเข้าผสมกัน และเกิดการสันดาปขึ้นในส่วนของถังน้ำมันเนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด[49]
- 8 กันยายน พ.ศ. 2556 - การบินไทยเที่ยวบินที่ 679 เครื่องบิน แอร์บัส 330-300 ทะเบียน HS-TEF ของการบินไทย จากกวางโจวไปกรุงเทพ เกิดอุบัติเหตุล้อหลังด้านขวาของเครื่องบินขัดข้อง ขณะร่อนลงจอดที่สนามบินสุวรรณภูมิ ส่งผลให้เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย 12 ราย[50]เครื่องบินถูกจำหน่ายออกแม้ว่าซ่อมแซมได้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Airbus A300B4-601". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ Boeing 757-236, G-BMRH and Boeing 747 HS-TGB, 27 June 1989
- ↑ Airbus A300B4-305
- ↑ "Airbus A300". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-03. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ Chronology of hijackings in India
- ↑ thai atr72 nose gear collapse
- ↑ ATR ATR-72-201 - Thai Airways International
- ↑ "ALL ACCIDENTS + INCIDENTS 2005 (provided by Jacdec)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-03. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ Thai and SIA Taxiing incident
- ↑ "ALL ACCIDENTS + INCIDENTS 2005 (provided by Jacdec)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-03. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ Airport reopens after scare
- ↑ THAI clarifies incident concerning flgiht TG 943 routed Madrid —Rome
- ↑ "Incident: Thai B772 at Melbourne on Nov 4th 2007" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-10-22. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ Incident: Thai B772 at Melbourne on Nov 4th 2007, went below safe height on NDB approach
- ↑ Incident: Thai Airways A330 at Hat Yai on Nov 6th 2007, lost pressurization, emergency descent
- ↑ การบินไทยชี้แจงเที่ยวบินนายกรัฐมนตรีล่าช้า
- ↑ THAI Provides Clarification on the Delay of Prime Minister’s flight from Peru to Bangkok
- ↑ "บินอุบลฯระทึก กระจกร้าว ก่อนร่อนจอด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-27. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ Incident: Thai Airways B734 near Ubon Ratchathani on Jan 8th 2010, cracked windshield
- ↑ Incident: Thai Airways B744 near Bangkok on Feb 3rd 2010, engine shut down in flight
- ↑ Accident: Thai Airways B772 near Osaka on Jun 20th 2010, turbulence injures 4
- ↑ Incident: Thai Airways A345 over Pacific on Sep 7th 2010, bomb hoax
- ↑ Phuket Flight Lands Safely After Mid-Air Emergency
- ↑ Incident: Thai B744 near Phuket on Jan 9th 2011, hydraulic failure
- ↑ TG8342
- ↑ Incident: Thai A333 at Bangkok on May 27th 2011, engine shut down in flight
- ↑ Investigation report
- ↑ Incident: Thai A333 at Osaka on Aug 23rd 2011, engine shut down in flight
- ↑ Incident: Thai B773 at Moscow on Jan 22nd 2012, rejected takeoff
- ↑ Incident: Thai A333 near Hong Kong on Jul 15th 2012, hydraulic failure
- ↑ "เครื่องแอร์บัสการบินไทยทำเสียว ยางมีปัญหา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-27. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ Accident: Thai A388 at Hong Kong on Aug 30th 2013, turbulence injures 39
- ↑ THAI แจงเที่ยวบิน TG 130 ลงจอดเชียงราย ยางล้อหลังแตก
- ↑ "ระทึก! เครื่องบินไถลตกรันเวย์สนามบินขอนแก่น ผู้โดยสาร-ลูกเรือ 260 คนปลอดภัย (ชมคลิป)". ผู้จัดการออนไลน์. 4 พฤศจิกายน 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-23. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ Incident: Thai A346 at Bangkok on Dec 30th 2014, hydraulic failure
- ↑ Incident: Thai B773 near Osaka on Jan 12th 2016, electrical problems
- ↑ เที่ยวบินการบินไทยเครื่องขัดข้อง หลังออกจากเชียงใหม่ 10 นาที เบื้องต้นปลอดภัยยกลำ
- ↑ "การบินไทย ชี้แจงเที่ยวบินTG970ไปซูริก เครื่องยนต์ขัดข้อง นำผู้โดยสารออกบินใหม่แล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-02. สืบค้นเมื่อ 2020-06-02.
- ↑ TG575
- ↑ ปลายปีกเครื่องบิน "การบินไทย" ชนหางเจ็ตส่วนตัวหักที่เวียงจันทน์
- ↑ "Thai Airways & EVA Air Airbus A330s Collide At Tokyo Haneda Airport". Simple Flying (ภาษาอังกฤษ). 2023-06-10.
- ↑ "TG601". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-21. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ ตารางบินการบินไทย 1969
- ↑ se 210 caravelle iii
- ↑ "Douglas DC-8-33". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ Thai airways overrun
- ↑ "รายละเอียดเครื่องบินตก 2535". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-11. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
- ↑ รายละเอียดเครื่องบินตก 2541
- ↑ รายละเอียดเครื่องบินระเบิด 2544
- ↑ Accident: Thai A333 at Bangkok on Sep 8th 2013, runway excursion on landing