ข้ามไปเนื้อหา

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก UEFA Champions League)
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
ผู้จัดยูฟ่า
ก่อตั้งค.ศ. 1955; 69 ปีที่แล้ว (1955)
(เปลี่ยนชื่อในปี ค.ศ. 1992)
ภูมิภาคยุโรป
จำนวนทีม
  • 32 (รอบแบ่งกลุ่ม)
  • 79, 80, หรือ 81 (ทั้งหมด)
ผ่านเข้าไปเล่นใน
การแข่งขันที่เกี่ยวข้อง
ทีมชนะเลิศปัจจุบันสเปน เรอัลมาดริด (15 สมัย)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดสเปน เรอัลมาดริด (15 สมัย)
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์รายชื่อผู้ถ่ายทอดสด
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2024–25

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (อังกฤษ: UEFA Champions League) เป็นการแข่งขันฟุตบอลสโมสรประจำปีจัดโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) โดยแข่งขันระหว่างสโมสรฟุตบอลจากลีกสูงสุดในยุโรป ตัดสินผู้ชนะเลิศจากการแข่งขันผ่านรอบแบ่งกลุ่มแบบพบกันหมด ผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกแบบพบกันเหย้าเยือนสองนัดและรอบชิงชนะเลิศนัดเดียว ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลกและเป็นการแข่งขันฟุตบอลที่มีผู้ชมมากที่สุดเป็นอันดับสามโดยรวม รองจากฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปและฟุตบอลโลก และเป็นหนึ่งในการแข่งขันฟุตบอลที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกและเป็นการแข่งขันระดับสโมสรที่มีชื่อเสียงที่สุดในฟุตบอลยุโรป ซึ่งแข่งขันโดยแชมป์ลีกระดับประเทศ (และรองชนะเลิศอย่างน้อยหรือมากกว่าหนึ่งสโมสรสำหรับบางประเทศ) ของสมาคมระดับชาติของพวกเขา

การแข่งขันเริ่มต้นเมื่อปี ค.ศ. 1955 ในชื่อ Coupe des Clubs Champions Européens (ภาษาฝรั่งเศสของยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ) และเรียกกันทั่วไปว่า ยูโรเปียนคัพ โดยเป็นการแข่งขันแบบแพ้คัดออกระหว่างสโมสรที่เป็นแชมป์ลีกในประเทศของยุโรป โดยทีมที่ชนะเลิศถือเป็นแชมป์สโมสรยุโรป การแข่งขันเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อปี ค.ศ. 1992 เพิ่มการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มแบบพบกันหมดเมื่อปี ค.ศ. 1991 และอนุญาตให้มีหลายสโมสรจากบางประเทศเข้าแข่งขันตั้งแต่ฤดูกาล 1997–1998[1] นับตั้งแต่นั้นมาก็มีการขยายให้มีหลายสโมสรเข้ามาแข่งขันมากขึ้น และในขณะที่ลีกระดับชาติของยุโรปส่วนใหญ่ยังสามารถเข้าผ่านตำแหน่งแชมป์ได้เท่านั้น แต่ลีกที่แข็งแกร่งที่สุดตอนนี้สามารถเข้าแข่งขันได้ถึงสี่ทีม[2][3] สโมสรที่จบอันดับรองลงมาจากลีกระดับชาติของพวกเขาและไม่ได้ผ่านเข้าไปแข่งขันในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก มีสิทธิ์เข้าแข่งขันใน ยูฟ่ายูโรปาลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลยุโรประดับที่สอง และตั้งแต่ปี ค.ศ. 2021 สโมสรที่ไม่ได้ผ่านเข้าไปแข่งขันในยูฟ่ายูโรปาลีก จะมีสิทธิ์เข้าแข่งขันใน ยูฟ่าคอนเฟอเรนซ์ลีก ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลยุโรประดับที่สาม[4]

ในรูปแบบปัจจุบัน แชมเปียนส์ลีกจะเริ่มขึ้นในปลายเดือนมิถุนายนโดยมีรอบเบื้องต้น, รอบคัดเลือกสามรอบและรอบเพลย์ออฟ โดยทั้งหมดเล่นแบบสองนัด หกทีมที่ชนะจะเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม โดยเข้าร่วมกับ 26 ทีมที่ผ่านเข้ารอบล่วงหน้า 32 ทีมจะจับสลากเพื่อแบ่งเป็นแปดกลุ่ม กลุ่มละสี่ทีมและแข่งขันโดยการพบกันหมดเหย้าเยือน ผู้ชนะเลิศและรองชนะเลิศของแต่ละกลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก ซึ่งจะสิ้นสุดด้วยนัดชิงชนะเลิศในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน[5] ผู้ชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกจะได้แข่งขันในแชมเปียนส์ลีกฤดูกาลถัดไป, ยูฟ่าซูเปอร์คัพและฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ[6][7]

สโมสรจากสเปนเป็นผู้ชนะเลิศมากที่สุด (20 ครั้ง) ตามมาด้วยอังกฤษ (15 ครั้ง) และ อิตาลี (12 ครั้ง) อังกฤษมีจำนวนสโมสรที่ชนะเลิศมากที่สุด (6 สโมสร) การแข่งขันมี 23 สโมสรเป็นผู้ชนะเลิศ โดย 13 สโมสรชนะเลิศมากกว่าหนึ่งครั้ง และ 8 สโมสรสามารถป้องกันตำแหน่งได้สำเร็จ[8] เรอัลมาดริด เป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการแข่งขัน โดยชนะเลิศ 15 ครั้งและเป็นสโมสรเดียวที่ชนะเลิศห้าครั้งติดต่อกัน (ในห้าฤดูกาลแรกของการแข่งขัน) และห้าครั้งจากสิบครั้งล่าสุด[9] ไบเอิร์นมิวนิก เป็นสโมสรเดียวที่ชนะทุกนัดของการแข่งขันจนถึงนัดชิงชนะเลิศในฤดูกาล 2019–20[10] เรอัลมาดริดเป็นผู้ชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกปัจจุบัน หลังชนะ โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 2–0 ในนัดชิงชนะเลิศ 2024 ชนะเลิศเป็นสมัยที่สิบห้า

ประวัติ

[แก้]

ครั้งแรกที่แชมป์ลีกยุโรปทั้งสองพบกันคือ เวิลด์แชมเปียนชิป 1895 เมื่อ ซันเดอร์แลนด์ แชมป์ลีกอังกฤษชนะ ฮาร์ต แชมป์ลีกสกอตแลนด์ 5–3[11] การแข่งขันทั่วยุโรปครั้งแรกคือ แชลลินจ์คัพ การแข่งขันระหว่างสโมสรจากจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี[12] สามปีต่อมาใน ค.ศ. 1900 แชมป์ลีกจากเบลเยียม, เนเธอร์แลนด์และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีการแข่งขันลีกอยู่ในทวีปยุโรปในขณะนั้น เข้าร่วมใน คูเป ฟาน เดอร์ สเตรเทน ปอนโทซ ถูกหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นขนานนามว่าเป็น "แชมป์สโมสรแห่งทวีป"[13][14]

มิโตรปาคัพ สร้างขึ้นใน ค.ศ. 1927 โดย ฮูโก ไมเซิล ชาวออสเตรีย โดยนำรูปแบบการแข่งขันมาจากแชลลินจ์คัพ และแข่งขันระหว่างสโมสรยุโรปกลาง[15] เซอร์เวตต์ จัดการแข่งขันและลงเล่นใน คูเป เด เนชันส์ ใน ค.ศ. 1930 คือความพยายามครั้งแรกในการสร้างการแข่งขันชิงถ้วยชนะเลิศให้กับสโมสรแชมป์ระดับชาติของยุโรป[16] จัดขึ้นในเจนีวา เป็นรวบรวมแชมป์สิบสโมสรจากทั่วทั้งทวีปมารวมกัน อูจเปสต์ จากฮังการี เป็นผู้ชนะเลิศการแข่งขัน[16] ประเทศลาตินยุโรปรวมตัวกันเพื่อก่อตั้ง ลาตินคัพ ใน ค.ศ. 1949[17]

กาเบรียล ฮาโนต์ บรรณาธิการของ เลกิป เริ่มเสนอให้มีการจัดการแข่งขันทั่วทั้งทวีป หลังจากได้รับรายงานจากนักข่าวเกี่ยวกับความสำเร็จอย่างสูงของ แชมเปียนชิปออฟแชมเปียนส์แห่งอเมริกาใต้ ใน ค.ศ. 1948[18] ในการสัมภาษณ์ ฌาคส์ เฟอร์ราน (หนึ่งในผู้ก่อตั้งยูโรเปียนแชมเปียนคัพร่วมกับกาเบรียล ฮาโนต์)[19] กล่าวว่าแชมเปียนชิปออฟแชมเปียนส์แห่งอเมริกาใต้เป็นแรงบันดาลใจให้กับยูโรเปียนแชมเปียนคัพ[20] หลัง สแตน คัลลิส ประกาศว่า วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ เป็น "แชมเปียนส์ของโลก" หลังจากประสบความสำเร็จในการแข่งขันกระชับมิตรในทศวรรษ 1950 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนัดที่ชนะบูดาเปสต์ฮอนเวด 3–2 ในที่สุด ฮาโนต์ก็สามารถโน้มน้าวให้ยูฟ่านำการแข่งขันดังกล่าวไปใช้จริง ได้รับการออกแบบในปารีสใน ค.ศ. 1955 โดยใช้ชื่อว่า ยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ[1]

1955–1967: จุดเริ่มต้น

[แก้]
อัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน (ภาพถ่ายใน ค.ศ. 1959) นำเรอัลมาดริดชนะเลิศยูโรเปียนคัพห้าสมัยติดต่อกันระหว่าง ค.ศ. 1956 ถึง 1960

การแข่งขันยูโรเปียนคัพครั้งแรกจัดขึ้นในฤดูกาล 1955–56[21][22] โดยมีสโมสรเข้าร่วมสิบหกสโมสร (บางสโมสรได้รับเชิญ) ได้แก่ เอซี มิลาน (อิตาลี), เอจีเอฟ ออร์ฮุส (เดนมาร์ก), อันเดอร์เลคต์ (เบลเยียม), เยอร์กอร์เดน (สวีเดน), กวาร์เดียวอร์ซาวา (โปแลนด์), ฮิเบอร์เนียน (สกอตแลนด์), ปาร์ติซาน (ยูโกสลาเวีย), เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน (เนเธอร์แลนด์), ราพีทวีน (ออสเตรีย), เรอัลมาดริด (สเปน), ร็อต-ไวส์ เอสเซน (เยอรมนีตะวันตก), ซาร์บรึคเคิน (ซาร์), เซอร์เวตต์ (สวิตเซอร์แลนด์), สปอร์ติงลิสบอน (โปรตุเกส), แร็งส์ (ฝรั่งเศส) และ โวโรส โลโบโก (ฮังการี)[21][22]

การแข่งขันยูโรเปียนคัพนัดแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1955 และจบลงด้วยการเสมอ 3–3 ระหว่างสปอร์ติงลิสบอนและปาร์ติซาน[21][22] ประตูแรกในประวัติศาสตร์การแข่งขันยูโรเปียนคัพทำโดย ฌูเวา บัพติสตา มาร์ตินส์ ให้กับสปอร์ติงลิสบอน[21][22] นัดชิงชนะเลิศครั้งแรกจัดขึ้นที่ ปาร์กเดแพร็งส์ ระหว่างสตาดเดอแร็งส์และเรอัลมาดริดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1956[21][22][23] ทีมจากสเปนตามหลังแต่สามารถกลับมาชนะได้ด้วยผลประตู 4–3 โดย อัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน, มาร์กีโตส และสองประตูจาก เฮกตอร์ รีอัล[21][22][23] เรอัลมาดริดป้องกันแชมป์ได้สำเร็จในฤดูกาลถัดไปในสนามเหย้าของพวกเขา ซานเตียโก เบร์นาเบว โดยชนะฟีออเรนตีนา[24][25] หลังในครึ่งแรกไม่มีประตู เรอัลมาดริดทำสองประตูในหกนาทีจึงชนะทีมจากอิตาลี[23][24][25] ใน ค.ศ. 1958 มิลานล้มเหลวในการคว้าแชมป์หลังจากขึ้นนำสองประตู แต่เรอัลมาดริดตีเสมอได้[26][27] นัดชิงชนะเลิศจัดขึ้นที่สนามกีฬาเฮย์เซล โดยแข่งขันถึงช่วงต่อเวลาพิเศษ เมื่อ ฟรานซิสโก เกนโต ทำประตูชัยให้กับเรอัลมาดริด ส่งผลให้ชนะเลิศเป็นสมัยที่สามติดต่อกัน[23][26][27]

เรอัลมาดริดพบกับสตาดเดอแร็งส์อีกครั้งใน นัดชิงชนะเลิศ 1959 ที่เนคคาร์สตาดิโอน และชนะ 2–0[23][28][29] ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท จากเยอรมันตะวันตก กลายเป็นทีมแรกที่ไม่ได้แข่งขันในลาตินคัพเพื่อเข้าถึงนัดชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพ[17][30][31] นัดชิงชนะเลิศ 1960 ครองสถิติเป็นนัดที่มีการทำประตูมากที่สุด เรอัลมาดริดชนะไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท 7–3 ที่แฮมป์เดนพาร์ก จากการทำประตูโดย แฟแร็นตส์ ปุชกาช สี่ประตูและแฮตทริกโดย อัลเฟรโด ดิ เอสเตฟาโน[23][30][31] และเป็นการชนะเลิศสมัยที่ห้าติดต่อกันของเรอัลมาดริด และสถิตินี้ยังคงอยู่ถึงปัจจุบัน[8]

ยุคสมัยของเรอัลมาดริดสิ้นสุดลงในฤดูกาล 1960–61 เมื่อ บาร์เซโลนา คู่แข่งที่ขมขื่นกำจัดพวกเขาออกไปในรอบแรก[32][33] บาร์เซโลนาแพ้ ไบฟีกา จากโปรตุเกส 3–2 ในนัดชิงชนะเลิศที่สนามกีฬาวานค์ดอร์ฟ[32][33][34] ไบฟีกาที่มี เอวแซบียู ชนะเรอัลมาดริด 5–3 ที่สนามกีฬาโอลิมปิกในอัมสเตอร์ดัม และรักษาแชมป์สองสมัยติดต่อกัน[34][35][36] ไบฟีกาต้องการทำตามความสำเร็จของเรอัลมาดริดในช่วงทศวรรษ 1950 หลังเข้าถึงนัดชิงชนะเลิศในฤดูกาล 1962–63 แต่จากการทำสองประตูโดย โฌแซ อัลตาฟีนี จากมิลานที่เวมบลีย์ ทำให้ถ้วยรางวัลออกจากคาบสมุทรไอบีเรียเป็นครั้งแรก[37][38][39]

อินเตอร์มิลาน ชนะเรอัลมาดริด 3–1 ที่สนามกีฬาแอ็นสท์ ฮัพเพิล ในฤดูกาล 1963–64 และเลียนแบบความสำเร็จของคู่แข่งในท้องถิ่น[40][41][42] แชมป์อยู่ในมิลานสามปีติดต่อกัน หลังอินเตอร์ชนะไบฟีกา 1–0 ที่ซานซีโร สนามเหย้าของพวกเขา[43][44][45] เซลติก สโมสรจากสกอตแลนด์ ภายใต้การคุมทีมของ จ็อก สไตน์ ชนะอินเตอร์มิลาน 2–1 ในนัดชิงชนะเลิศ 1967 กลายเป็นสโมสรอังกฤษทีมแรกที่คว้าแชมป์ยูโรเปียนคัพ[46][47] ผู้เล่นเซลติกในวันนั้น ซึ่งทุกคนเกิดภายในรัศมี 48 กิโลเมตรจากกลาสโกว์ ต่อมากลายเป็นที่รู้จักในนาม "สิงโตลิสบอน"[48]

รูปแบบ

[แก้]

การคัดเลือก

[แก้]
แผนที่สมาชิกยูฟ่าที่ทีมไปถึงรอบแบ่งกลุ่มของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
  สมาชิกยูฟ่าที่ได้เข้ารอบแบ่งกลุ่ม
  สมาชิกยูฟ่าที่ยังไม่เคยเข้ารอบแบ่งกลุ่ม

รอบแบ่งกลุ่มและรอบแพ้คัดออก

[แก้]

การจัดสรร

[แก้]

ตารางต่อไปนี้คือรายการเข้าสู่การแข่งขันเริ่มต้น[49][50]

รายการเข้าสู่การแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกสำหรับฤดูกาล 2018–19 ถึง 2023–24
สโมสรที่เข้ารอบนี้ สโมสรจากรอบก่อนหน้า
รอบเบื้องต้น
(4 สโมสร)
  • 4 สโมสรชนะเลิศจากสมาคมอันดับที่ 52–55
รอบคัดเลือกรอบแรก
(34 สโมสร)
  • 33 สโมสรชนะเลิศจากสมาคมอันดับที่ 18–51 (ยกเว้นลิกเตนสไตน์)
  • 1 สโมสรที่ชนะในรอบเบื้องต้น
รอบคัดเลือกรอบสอง ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก
(20 สโมสร)
  • 3 สโมสรชนะเลิศจากสมาคมอันดับที่ 15–17
  • 17 สโมสรที่ชนะในรอบคัดเลือกรอบแรก
ตัวแทนจากลีก
(6 สโมสร)
  • 6 สโมสรชนะเลิศจากสมาคมอันดับที่ 10–15
รอบคัดเลือกรอบสาม ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก
(12 สโมสร)
  • 2 สโมสรชนะเลิศจากสมาคมอันดับที่ 13–14
  • 10 สโมสรที่ชนะในรอบคัดเลือกรอบสอง
ตัวแทนจากลีก
(8 สโมสร)
  • 3 สโมสรอันดับที่ 2 จากสมาคมอันดับที่ 7–9
  • 2 สโมสรอันดับที่ 3 จากสมาคมอันดับที่ 5–6
  • 3 สโมสรที่ชนะในรอบคัดเลือกรอบสอง (ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก)
รอบเพลย์ออฟ ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก
(8 สโมสร)
  • 2 สโมสรอันดับที่ 3 จากสมาคมอันดับที่ 11–12
  • 6 สโมสรที่ชนะในรอบคัดเลือกรอบสาม (ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก)
ตัวแทนจากลีก
(4 สโมสร)
  • 4 สโมสรที่ชนะในรอบคัดเลือกรอบสาม (ตัวแทนจากลีก)
รอบแบ่งกลุ่ม
(32 สโมสร)
  • สโมสรชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
  • สโมสรชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีก
  • 10 สโมสรชนะเลิศจากสมาคมอันดับที่ 1–10
  • 6 สโมสรอันดับที่ 2 จากสมาคมอันดับที่ 1–6
  • 4 สโมสรอันดับที่ 3 จากสมาคมอันดับที่ 1–4
  • 4 สโมสรอันดับที่ 4 จากสมาคมอันดับที่ 1–4
  • 4 สโมสรที่ชนะในรอบเพลย์ออฟ (ตัวแทนที่ชนะเลิศจากลีก)
  • 2 สโมสรที่ชนะในรอบเพลย์ออฟ (ตัวแทนจากลีก)
รอบแพ้คัดออก
(16 สโมสร)
  • 8 สโมสรชนะเลิศในรอบแบ่งกลุ่ม
  • 8 สโมสรอันดับที่ 2 ในรอบแบ่งกลุ่ม

รางวัล

[แก้]

ถ้วยและเหรียญ

[แก้]
ถ้วยรางวัลอย่างเป็นทางการ

การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ

[แก้]
ฤดูกาล ชนะเลิศ ผลคะแนน รองชนะเลิศ สนาม
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
2024–25 - อัลลีอันทซ์อาเรนา,
มิวนิก เยอรมนี
2023-24 สเปน เรอัล มาดริด 2 - 0 เยอรมนี โบรุสเซียอาดอร์มุนท์ สนามกีฬาเวมบลีย์,
ลอนดอน อังกฤษ
2022-23 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 1 - 0 อิตาลี อินเตอร์มิลาน สนามกีฬาโอลิมปิกอาทาทืร์ค,
อิสตันบูล ตุรกี
2021-22 สเปน เรอัลมาดริด 1 - 0 อังกฤษ ลิเวอร์พูล สตาดเดอฟร็องส์,
ปารีส ฝรั่งเศส
2020-21 อังกฤษ เชลซี 1 - 0 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี อิชตาดียูดูดราเกา,
โปร์ตู โปรตุเกส
2019-20 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 1 - 0 ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง อิชตาดีอูดาลุช,
ลิสบอน โปรตุเกส
2018-19 อังกฤษ ลิเวอร์พูล 2 - 0 อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ เอสตาดิโอเมโตรโปลิตาโน,
มาดริด สเปน
2017-18 สเปน เรอัลมาดริด 3 - 1 อังกฤษ ลิเวอร์พูล สนามโอลิมปิสกีเนชันแนลสปอตส์คอมเพล็กซ์,
เคียฟ ยูเครน
2016-17 สเปน เรอัลมาดริด 4 - 1 อิตาลี ยูเวนตุส มิลเลนเนียมสเตเดียม,
คาร์ดิฟฟ์ เวลส์
2015-16 สเปน เรอัลมาดริด 1 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
5 - 3
(ดวลจุดโทษ)
สเปน อัตเลติโกเดมาดริด ซานซีโร,
มิลาน อิตาลี
2014-15 สเปน บาร์เซโลนา 3 - 1 อิตาลี ยูเวนตุส โอลึมพีอาชตาดีอ็อน,
เบอร์ลิน เยอรมนี
2013-14 สเปน เรอัลมาดริด 4 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สเปน อัตเลติโกเดมาดริด อิชตาดีอูดาลุช,
ลิสบอน โปรตุเกส
2012-13 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 2 - 1 เยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ เวมบลีย์,
ลอนดอน อังกฤษ
2011-12 อังกฤษ เชลซี 1 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
4 - 3
(ดวลจุดโทษ)
เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก อัลลิอันซ์อาเรนา,
มิวนิก เยอรมนี
2010-11 สเปน บาร์เซโลนา 3 - 1 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เวมบลีย์,
ลอนดอน
2009-10 อิตาลี อินเตอร์มิลาน 2 - 0 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก ซานเตียโก เบร์นาเบว,
มาดริด
2008-09 สเปน บาร์เซโลนา 2 - 0 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด สตาดีโอโอลิมปีโก,
โรม
2007-08 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 1 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
6 - 5
(ดวลจุดโทษ)
อังกฤษ เชลซี สนามกีฬาลุจนีกี,
มอสโก รัสเซีย
2006-07 อิตาลี เอซี มิลาน 2 - 1 อังกฤษ ลิเวอร์พูล สนามกีฬาโอลิมปิก,
เอเธนส์
2005-06 สเปน บาร์เซโลนา 2 - 1 อังกฤษ อาร์เซนอล สตาดเดอฟร็องส์,
ปารีส
2004-05 อังกฤษ ลิเวอร์พูล 3 - 3
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
3 - 2
(ดวลจุดโทษ)
อิตาลี เอซี มิลาน สนามกีฬาโอลิมปิกอาทาทืร์ค,
อิสตันบูล
2003-04 โปรตุเกส โปร์ตู 3 - 0 ฝรั่งเศส มอนาโก เฟลทินส์อาเรนา,
เกลเซนเคียร์เชิน
2002-03 อิตาลี เอซี มิลาน 0 - 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
3 - 2
(ดวลจุดโทษ)
อิตาลี ยูเวนตุส โอลด์แทรฟฟอร์ด,
แมนเชสเตอร์
2001-02 สเปน เรอัลมาดริด 2 - 1 เยอรมนี ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน แฮมป์เดนพาร์ก,
กลาสโกว์
2000-01 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 1 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
5 - 4
(ดวลจุดโทษ)
สเปน บาเลนเซีย ซานซีโร,
มิลาน
1999-2000 สเปน เรอัลมาดริด 3 - 0 สเปน บาเลนเซีย สตาดเดอฟร็องส์,
ปารีส
1998-99 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2 - 1 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก กัมนอว์,
บาร์เซโลนา
1997-98 สเปน เรอัลมาดริด 1 - 0 อิตาลี ยูเวนตุส อัมสเตอร์ดัมอาเรนา,
อัมสเตอร์ดัม
1996-97 เยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 3 - 1 อิตาลี ยูเวนตุส โอลึมพีอาชตาดีอ็อน,
มิวนิก
1995-96 อิตาลี ยูเวนตุส 1 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
4 - 2
(ดวลจุดโทษ)
เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ สตาดีโอโอลิมปีโก,
โรม
1994-95 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 1 - 0 อิตาลี เอซี มิลาน แอนสท์-ฮัพเพิล-ชตาดิโยน,
เวียนนา
1993-94 อิตาลี เอซี มิลาน 4 - 0 สเปน บาร์เซโลนา สนามกีฬาโอลิมปิก,
เอเธนส์
1992-93 ฝรั่งเศส มาร์แซย์ 1 - 0 อิตาลี เอซี มิลาน โอลึมพีอาชตาดีอ็อน,
มิวนิก
ยูโรเปียนคัพ
1991-92 สเปน บาร์เซโลนา 1 - 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
อิตาลี ซัมป์โดเรีย เวมบลีย์,
ลอนดอน
1990-91 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย เรดสตาร์เบลเกรด 0 - 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
5 - 3
(ดวลจุดโทษ)
ฝรั่งเศส มาร์แซย์ สตาดีโอซานนีโกลา,
บารี
1989-90 อิตาลี เอซี มิลาน 1 - 0 โปรตุเกส ไบฟีกา แอนสท์-ฮัพเพิล-ชตาดิโยน,
เวียนนา
1988-89 อิตาลี เอซี มิลาน 4 - 0 โรมาเนีย สเตอัวบูคูเรสตี กัมนอว์,
บาร์เซโลนา
1987-88 เนเธอร์แลนด์ เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 0 - 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
6 - 5
(ดวลจุดโทษ)
โปรตุเกส ไบฟีกา แมร์เซเดิส-เบนซ์อาเรนา,
ชตุทท์การ์ท
1986-87 โปรตุเกส โปร์ตู 2 - 1 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก แอนสท์-ฮัพเพิล-ชตาดิโยน,
เวียนนา
1985-86 โรมาเนีย สเตอัวบูคูเรสตี 0 - 0
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
2 - 0
(ดวลจุดโทษ)
สเปน บาร์เซโลนา รามอน ซานเชซ ปิซควน,
เซบิยา
1984-85 อิตาลี ยูเวนตุส 1 - 0 อังกฤษ ลิเวอร์พูล ไฮเซิลสเตเดียม,
บรัสเซลส์
1983-84 อังกฤษ ลิเวอร์พูล 1 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
4 - 2
(ดวลจุดโทษ)
อิตาลี โรมา สตาดีโอโอลิมปีโก,
โรม
1982-83 เยอรมนี ฮัมบวร์ค 1 - 0 อิตาลี ยูเวนตุส สนามกีฬาโอลิมปิก,
เอเธนส์
1981-82 อังกฤษ แอสตันวิลลา 1 - 0 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก เดอเกยป์,
โรตเตอร์ดัม
1980-81 อังกฤษ ลิเวอร์พูล 1 - 0 สเปน เรอัลมาดริด ปาร์กเดแพร็งส์,
ปารีส
1979-80 อังกฤษ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 1 - 0 เยอรมนี ฮัมบวร์ค ซานเตียโก เบร์นาเบว,
มาดริด
1978-79 อังกฤษ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 1 - 0 สวีเดน มัลเมอ โอลึมพีอาชตาดีอ็อน,
มิวนิก
1977-78 อังกฤษ ลิเวอร์พูล 1 - 0 เบลเยียม กลึบบรึคเคอ เวมบลีย์,
ลอนดอน
1976-77 อังกฤษ ลิเวอร์พูล 3 - 1 เยอรมนี โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค สตาดีโอโอลิมปีโก,
โรม
1975-76 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 1 - 0 ฝรั่งเศส แซ็งเตเตียน แฮมป์เดนพาร์ก,
กลาสโกว์
1974-75 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 2 - 0 อังกฤษ ลีดส์ยูไนเต็ด ปาร์กเดแพร็งส์,
ปารีส
1973-74 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 1 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
4 - 0
(แข่งใหม่)
สเปนภายใต้การนำของฟรังโก อัตเลติโกเดมาดริด ไฮเซิลสเตเดียม,
บรัสเซลส์
1972-73 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 1 - 0 อิตาลี ยูเวนตุส เรดสตาร์สเตเดียม,
เบลเกรด สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
1971-72 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 2 - 0 อิตาลี อินเตอร์มิลาน เดอเกยป์,
โรตเตอร์ดัม
1970-71 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 2 - 0 กรีซ ปานาซีไนโกส เวมบลีย์,
ลอนดอน
1969-70 เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด 2 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
สกอตแลนด์ เซลติก ซานซีโร,
มิลาน
1968-69 อิตาลี เอซี มิลาน 4 - 1 เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ ซานเตียโก เบร์นาเบว,
มาดริด สเปนภายใต้การนำของฟรังโก
1967-68 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 4 - 1
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
โปรตุเกส ไบฟีกา เวมบลีย์,
ลอนดอน
1966-67 สกอตแลนด์ เซลติก 2 - 1 อิตาลี อินเตอร์มิลาน อิชตาดีอูนาซีอูนัล,
ลิสบอน
1965-66 สเปนภายใต้การนำของฟรังโก เรอัลมาดริด 2 - 1 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ปาร์ติซาน ไฮเซิลสเตเดียม,
บรัสเซลส์
1964-65 อิตาลี อินเตอร์มิลาน 1 - 0 โปรตุเกส ไบฟีกา ซานซีโร,
มิลาน
1963-64 อิตาลี อินเตอร์มิลาน 3 - 1 สเปนภายใต้การนำของฟรังโก เรอัลมาดริด แอนสท์-ฮัพเพิล-ชตาดิโยน,
เวียนนา
1962-63 อิตาลี เอซี มิลาน 2 - 1 โปรตุเกส ไบฟีกา เวมบลีย์,
ลอนดอน
1961-62 โปรตุเกส ไบฟีกา 5 - 3 สเปนภายใต้การนำของฟรังโก เรอัลมาดริด สนามกีฬาโอลิมปิก,
อัมสเตอร์ดัม
1960-61 โปรตุเกส ไบฟีกา 3 - 2 สเปนภายใต้การนำของฟรังโก บาร์เซโลนา วังค์ดอร์ฟชตาดิโยน,
แบร์น
1959-60 สเปน เรอัลมาดริด 7 - 3 เยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟูร์ท แฮมป์เดนพาร์ก,
กลาสโกว์
1958-59 สเปนภายใต้การนำของฟรังโก เรอัลมาดริด 2 - 0 ฝรั่งเศส แร็งส์ แมร์เซเดิส-เบนซ์อาเรนา,
ชตุทท์การ์ท
1957-58 สเปนภายใต้การนำของฟรังโก เรอัลมาดริด 3 - 2
(หลังต่อเวลาพิเศษ)
อิตาลี เอซี มิลาน ไฮเซิลสเตเดียม,
บรัสเซลส์
1956-57 สเปนภายใต้การนำของฟรังโก เรอัลมาดริด 2 - 0 อิตาลี ฟีออเรนตีนา ซานเตียโก เบร์นาเบว,
มาดริด สเปนภายใต้การนำของฟรังโก
1955-56 สเปนภายใต้การนำของฟรังโก เรอัลมาดริด 4 - 3 ฝรั่งเศส แร็งส์ ปาร์กเดแพร็งส์,
ปารีส

ทำเนียบผู้ชนะเลิศ

[แก้]

ชนะเลิศ (จำแนกตามสโมสร)

[แก้]
สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่ได้รองชนะเลิศ
สเปน เรอัลมาดริด 15 3 1956, 1957, 1958, 1959, 1960, 1966, 1998, 2000, 2002, 2014, 2016, 2017, 2018, 2022, 2024 1962, 1964, 1981
อิตาลี มิลาน 7 4 1963, 1969, 1989, 1990, 1994, 2003, 2007 1958, 1993, 1995, 2005
เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 6 5 1974, 1975, 1976, 2001, 2013, 2020 1982, 1987, 1999, 2010, 2012
อังกฤษ ลิเวอร์พูล 6 4 1977, 1978, 1981, 1984, 2005, 2019 1985, 2007, 2018, 2022
สเปน บาร์เซโลนา 5 3 1992, 2006, 2009, 2011, 2015 1961, 1986, 1994
เนเธอร์แลนด์ อายักซ์ 4 3 1971, 1972, 1973, 1995 1969, 1996
อิตาลี อินเตอร์ 3 3 1964, 1965, 2010 1967, 1972, 2023
อังกฤษ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 3 2 1968, 1999, 2008 2009, 2011
อิตาลี ยูเวนตุส 2 7 1985, 1996 1973, 1983, 1997, 1998, 2003, 2015, 2017
โปรตุเกส ไบฟีกา 2 5 1961, 1962 1963, 1965, 1968, 1988, 1990
อังกฤษ เชลซี 2 1 2012, 2021 2008
อังกฤษ นอตทิงแฮมฟอเรสต์ 2 0 1979, 1980
โปรตุเกส โปร์ตู 2 0 1987, 2004
สกอตแลนด์ เซลติก 1 1 1967 1970
เยอรมนี ฮัมบวร์ค 1 1 1983 1980
โรมาเนีย สเตอัวบูคูเรสตี 1 1 1986 1989
ฝรั่งเศส มาร์แซย์ 1 1 1993 1991
เยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 1 2 1997 2013,2024
อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 1 1 2023 2021
เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด 1 0 1970
อังกฤษ แอสตันวิลลา 1 0 1982
เนเธอร์แลนด์ เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน 1 0 1988
เซอร์เบีย เรดสตาร์เบลเกรด 1 0 1991
สเปน อัตเลติโกเดมาดริด 0 3 1974, 2014, 2016
ฝรั่งเศส แร็งส์ 0 2 1956, 1959
สเปน บาเลนเซีย 0 2 2000, 2001
อิตาลี ฟีออเรนตีนา 0 1 1957
เยอรมนี ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟูร์ท 0 1 1960
เซอร์เบีย ปาร์ติซาน 0 1 1966
กรีซ ปานาซีไนโกส 0 1 1971
อังกฤษ ลีดส์ยูไนเต็ด 0 1 1975
ฝรั่งเศส แซ็งเตเตียน 0 1 1976
เยอรมนี โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 0 1 1977
เบลเยียม กลึบบรึคเคอ 0 1 1978
สวีเดน มัลเมอ 0 1 1979
อิตาลี โรมา 0 1 1984
อิตาลี ซัมป์โดเรีย 0 1 1992
เยอรมนี ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน 0 1 2002
ฝรั่งเศส มอนาโก 0 1 2004
อังกฤษ อาร์เซนอล 0 1 2006
อังกฤษ ทอตนัมฮอตสเปอร์ 0 1 2019
ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 0 1 2020

ชนะเลิศ (จำแนกตามชาติ)

[แก้]
ชาติ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ รวม ทีมชนะเลิศ ทีมรองชนะเลิศ
สเปน สเปน 20 11 31 เรอัลมาดริด (15), บาร์เซโลนา (5) เรอัลมาดริด (3), บาร์เซโลนา (3), อัตเลติโกเดมาดริด (3), บาเลนเซีย (2)
อังกฤษ อังกฤษ 15 11 26 ลิเวอร์พูล (6), แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (3), เชลซี (2), นอตติงแฮมฟอเรสต์ (2), แอสตันวิลลา (1), แมนเชสเตอร์ซิตี (1) ลิเวอร์พูล (4), แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (2), ลีดส์ยูไนเต็ด (1), อาร์เซนอล (1), เชลซี (1), ทอตนัมฮอตสเปอร์ (1), แมนเชสเตอร์ซิตี (1)
อิตาลี อิตาลี 12 17 29 เอซี มิลาน (7), อินเตอร์มิลาน (3), ยูเวนตุส (2) ยูเวนตุส (7), เอซี มิลาน (4), อินเตอร์มิลาน (3), ฟีออเรนตีนา (1), โรมา (1), ซัมป์โดเรีย (1)
เยอรมนี เยอรมนี 8 9 17 ไบเอิร์นมิวนิก (6), โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ (1), ฮัมบวร์ค (1) ไบเอิร์นมิวนิก (5), ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟูร์ท (1), โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค (1), ฮัมบวร์ค (1), ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซิน (1), โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ (1)
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ 6 2 8 อายักซ์ (4), เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน (1), ไฟเยอโนร์ด (1) อายักซ์ (2)
โปรตุเกส โปรตุเกส 4 5 9 ไบฟีกา (2), โปร์ตู (2) ไบฟีกา (5)
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 1 6 7 มาร์แซย์ (1) แร็งส์ (2), แซ็งเตเตียน (1), มาร์แซย์ (1), มอนาโก (1), ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง (1)
โรมาเนีย โรมาเนีย 1 1 2 สเตอัวบูคูเรสตี (1) สเตอัวบูคูเรสตี (1)
เซอร์เบีย เซอร์เบีย 1 1 2 เรดสตาร์เบลเกรด (1) ปาร์ติซาน (1)
สกอตแลนด์ สกอตแลนด์ 1 1 1 เซลติก (1) เซลติก (1)
สวีเดน สวีเดน 0 1 1 มัลเมอ (1)
กรีซ กรีซ 0 1 1 ปานาซีไนโกส (1)
เบลเยียม เบลเยียม 0 1 1 กลึบบรึคเคอ (1)

นักเตะที่ชนะรางวัลมากที่สุด

[แก้]
ณ วันที่ 01 สิงหาคม ค.ศ. 2024
จำนวนที่ชนะ ชื่อ สโมสร
6 ปาโก เฆนโต Real Madrid (1956, 1957, 1958, 1959, 1960, 1966)
โทนี โครส Bayern Munich (2013),

Real Madrid (2016, 2017, 2018, 2022, 2024)

ดานิ การ์บาฆัล Real Madrid (2014, 2016, 2017, 2018, 2022, 2024)
ลูกา มอดริช
Nacho
5 Juan Alonso Real Madrid (1956, 1957, 1958, 1959, 1960)
Rafael Lesmes
Marquitos
Héctor Rial
Alfredo Di Stéfano
José María Zárraga
Alessandro Costacurta AC Milan (1989, 1990, 1994, 2003, 2007)
Paolo Maldini
คริสเตียโน โรนัลโด Manchester United(2008),

Real Madrid (2014, 2016, 2017, 2018)

การีม แบนเซมา Real Madrid (2014, 2016, 2017, 2018, 2022)
แกเร็ท เบล
มาร์เซลู วีเอรา
อิสโก
กาเซมีรู
ลูกัส บัซเกซ

ลงเล่นสูงสุด

[แก้]
ณ วันที่ 01 สิงหาคม ค.ศ. 2024
ผู้เล่น ประเทศ ลงเล่น ปี สโมสร
1 คริสเตียโน โรนัลโด ธงของประเทศโปรตุเกส โปรตุเกส 183 2003–2022 Manchester United (59), Real Madrid (101), Juventus (23)
2 อีเกร์ กาซียัส  สเปน 177 1999–2019 Real Madrid (150) , Porto (27)
3 ลิโอเนล เมสซิ  อาร์เจนตินา 163 2005–2023 Barcelona (149), Paris Saint-Germain (14)
4 การีม แบนเซมา ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส 152 2005-2023 Lyon (19) , Real Madrid (133)
5 โทนี โครส ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 151 2008-2024 Bayern Munich (41) , Real Madrid (110)
โทมัส มึลเลอร์ ธงของประเทศเยอรมนี เยอรมนี 151 2009- Bayern Munich
ชาบี อาร์นันดัส ธงของประเทศสเปน สเปน 151 1998–2015 Barcelona
8 ราอุล กอนซาเลซ ธงของประเทศสเปน สเปน 142 1995–2011 Real Madrid (130) , Schalke 04 (12)
เซร์ฆิโอ ราโมส ธงของประเทศสเปน สเปน 142 2005–2023 Real Madrid, (129), Paris Saint-Germain (8) ,Sevilla
10 ไรอัน กิกส์  เวลส์ 141 1993–2014 Manchester United

ทำประตูสูงสุด

[แก้]
ณ วันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2024
ผู้เล่น ประตู ลงเล่น อัตราส่วน ปี สโมสร

จำนวนประตู/ลงเล่น

1 โปรตุเกสคริสเตียโน โรนัลโด 140 183 0.77 2003–2022 Manchester United (21/59), Real Madrid (105/101), Juventus (14/23)
2 อาร์เจนตินาลิโอเนล เมสซิ 129 163 0.79 2005–2023 Barcelona (120/149), Paris Saint-Germain (9/14)
3 โปแลนด์รอแบร์ต แลวันดอฟสกี 101 126 0.8 2011- Borussia Dortmund (17/28), Bayern Munich (69/78), Barcelona (15/20)
4 ฝรั่งเศสการีม แบนเซมา 90 152 0.59 2005-2023 Lyon (12/19), Real Madrid (78/133)
5 สเปนราอุล กอนซาเลซ 71 142 0.5 1995-2011 Real Madrid (66/130), Schalke 04 (5/12)
6 เนเธอร์แลนด์รืด ฟัน นิสเติลโรย 56 73 0.77 1998–2009 PSV (8/11), Manchester United (35/43), Real Madrid (13/19)
7 เยอรมนีโทมัส มึลเลอร์ 55 156 0.36 2009- Bayern Munich
8 ฝรั่งเศสตีแยรี อ็องรี 50 112 0.45 1997-2012 AS Monaco (7/9), Arsenal (35/77), Barcelona (8/26)
9 ฝรั่งเศสกีลียาน อึมบาเป 50 79 0.63 2016- AS Monaco (6/9), Paris Saint-Germain (42/64), Real Madrid (2/6)
10 สเปนอาร์เจนตินาอัลเฟรโด ดี สเตฟาโน 49 58 0.84 1955–64 Real Madrid

ตัวหนา หมายถึง นักเตะที่ยังเล่นฟุตบอลอยู่ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Football's premier club competition". UEFA. 31 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2010. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  2. "Clubs". UEFA. 12 May 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2020. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
  3. "UEFA Europa League further strengthened for 2015–18 cycle" (Press release). UEFA. 24 May 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  4. "UEFA Executive Committee approves new club competition" (Press release). UEFA. 2 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 December 2018. สืบค้นเมื่อ 2 December 2018.
  5. "Matches". UEFA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2020. สืบค้นเมื่อ 12 May 2020.
  6. "Club competition winners do battle". UEFA. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2010. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  7. "FIFA Club World Cup". FIFA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2007. สืบค้นเมื่อ 30 December 2013.
  8. 8.0 8.1 "European Champions' Cup". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  9. "Most titles | History". UEFA. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2022. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
  10. "A perfect 11! Flawless Bayern set new Champions League record with PSG victory". Goal.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 August 2021.
  11. "When Sunderland met Hearts in the first ever 'Champions League' match". Nutmeg Magazine. 2 September 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2020.
  12. García, Javier; Kutschera, Ambrosius; Schöggl, Hans; Stokkermans, Karel (2009). "Austria/Habsburg Monarchy – Challenge Cup 1897–1911". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2022. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
  13. "European Cup Origins". europeancuphistory.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2021. สืบค้นเมื่อ 13 July 2022.
  14. "Coupe Van der Straeten Ponthoz". RSSSF. 10 February 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2022. สืบค้นเมื่อ 13 July 2022.
  15. Stokkermans, Karel (2009). "Mitropa Cup". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 February 2023. สืบค้นเมื่อ 2 February 2023.
  16. 16.0 16.1 Ceulemans, Bart; Michiel, Zandbelt (2009). "Coupe des Nations 1930". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2022. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
  17. 17.0 17.1 Stokkermans, Karel; Gorgazzi, Osvaldo José (2006). "Latin Cup". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2017. สืบค้นเมื่อ 5 September 2011.
  18. "Primeira Libertadores – História (Globo Esporte 09/02/20.l.08)". YouTube. 18 February 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2021. สืบค้นเมื่อ 14 August 2010.
  19. "European Cup pioneer Jacques Ferran passes away". UEFA. 8 February 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2021. สืบค้นเมื่อ 1 January 2021.
  20. "Globo Esporte TV programme, Brazil, broadcast (in Portuguese) on 10/05/2015: Especial: Liga dos Campeões completa 60 anos, e Neymar ajuda a contar essa história. Accessed on 06/12/2015. Ferran's speech goes from 5:02 to 6:51 in the video". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016.
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 "1955/56 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 22.5 "European Champions' Cup 1955–56 – Details". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 July 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 "Trofeos de Fútbol". Real Madrid. 31 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2009. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  24. 24.0 24.1 "1956/57 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  25. 25.0 25.1 "Champions' Cup 1956–57". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2023. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  26. 26.0 26.1 "1957/58 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  27. 27.0 27.1 "Champions' Cup 1957–58". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 November 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  28. "1958/59 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  29. "Champions' Cup 1958–59". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  30. 30.0 30.1 "1959/60 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  31. 31.0 31.1 "Champions' Cup 1959–60". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2023. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  32. 32.0 32.1 "1960/61 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  33. 33.0 33.1 "Champions' Cup 1960–61". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  34. 34.0 34.1 "Anos 60: A "década de ouro"". Sport Lisboa e Benfica. 31 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2007. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  35. "1961/62 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  36. "Champions' Cup 1961–62". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2023. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  37. "1962/63 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  38. "Champions' Cup 1962–63". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  39. "Coppa Campioni 1962/63". Associazione Calcio Milan. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  40. "1963/64 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  41. "Champions' Cup 1963–64". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 February 2023. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  42. "Palmares: Prima coppa dei campioni – 1963/64" (ภาษาอิตาลี). FC Internazionale Milano. 31 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2006. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  43. "1964/65 European Champions Clubs' Cup". Union of European Football Associations. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  44. "Champions' Cup 1964–65". Rec.Sport.Soccer Statistics Foundation. 31 January 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2022. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  45. "Palmares: Prima coppa dei campioni – 1964/65" (ภาษาอิตาลี). FC Internazionale Milano. 31 January 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2006. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  46. "A Sporting Nation – Celtic win European Cup 1967". BBC Scotland. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2006. สืบค้นเมื่อ 28 January 2016.
  47. "Celtic immersed in history before UEFA Cup final". Sports Illustrated. 20 May 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 January 2012. สืบค้นเมื่อ 15 May 2010.
  48. Lennox, Doug (2009). Now You Know Soccer. Dundurn Press. p. 143. ISBN 978-1-55488-416-2. now you know soccer who were the lisbon lions.
  49. "Champions League and Europa League changes next season". UEFA.com (Press release). Union of European Football Associations. 27 February 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 September 2018. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
  50. "UEFA club competition access list 2021–24" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]