ข้ามไปเนื้อหา

ยูฟ่าคอนเฟอเรนซ์ลีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูฟ่าคอนเฟอเรนซ์ลีก
โลโก้ใช้จนถึง ค.ศ. 2024
ผู้จัดยูฟ่า
ก่อตั้งค.ศ. 2021; 3 ปีที่แล้ว (2021)
จำนวนทีม36 (รอบลีก)
184 (ทั้งหมด)
ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก
การแข่งขันที่เกี่ยวข้องยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (ระดับที่ 1)
ยูฟ่ายูโรปาลีก (ระดับที่ 2)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันกรีซ โอลิมเบียโกส (สมัยแรก)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดอิตาลี โรมา
อังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด
กรีซ โอลิมเบียโกส
(ทีมละ 1 สมัย)
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์รายชื่อผู้แพร่ภาพออกอากาศ
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ยูฟ่าคอนเฟอเรนซ์ลีก ฤดูกาล 2024–25

ยูฟ่าคอนเฟอเรนซ์ลีก (อังกฤษ: UEFA Conference League) หรือเรียกกันทั่วไปว่า คอนเฟอเรนซ์ลีก[1] เป็นการแข่งขันฟุตบอลประจำปีจัดโดย สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) สำหรับสโมสรฟุตบอลในยุโรปที่มีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขัน โดยเป็นการแข่งขันระดับที่สามรองจากระดับที่สอง ยูโรปาลีก และระดับที่หนึ่ง แชมเปียนส์ลีก ก่อนฤดูกาล 2024–25 การแข่งขันมีชื่อว่า ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก (อังกฤษ: UEFA Europa Conference League)

การแข่งขันครั้งแรกเริ่มในฤดูกาล 2021–22 การแข่งขันทำหน้าที่เป็นระดับล่างสุดของยูโรปาลีก ซึ่งได้ถูกลดทีมในรอบแบ่งกลุ่มจาก 48 ทีม เหลือ 32 ทีม โดยทีมจากสมาคมฟุตบอลของประเทศที่มีค่าสัมประสิทธิ์ต่ำกว่าจะต้องลงเล่นรอบคัดเลือกที่มากกว่า[2] ไม่มีทีมใดผ่านเข้ารอบแบ่งกลุ่มได้โดยตรง โดยจะมี 10 ทีมที่แพ้ในรอบเพลย์ออฟของยูโรปาลีก และส่วนที่เหลือมาจากรอบคัดเลือกของคอนเฟอเรนซ์ลีก ผู้ชนะเลิศในรายการนี้ จะได้ไปแข่งขันในยูโรปาลีกฤดูกาลถัดไป เว้นแต่พวกเขาได้ไปแข่งขันในแชมเปียนส์ลีก[3] โอลิมเบียโกส เป็นผู้ชนะเลิศในฤดูกาล 2023–24 โดยชนะ ฟีออเรนตีนา 1–0 ในนัดชิงชนะเลิศ 2024

ประวัติ[แก้]

ผู้ชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก
ฤดูกาล ผู้ชนะเลิศ
2021–22 อิตาลี โรมา
2022–23 อังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด
2023–24 กรีซ โอลิมเบียโกส

มีรายงานว่ายูฟ่าได้พิจารณาเพิ่มการแข่งขันฟุตบอลสโมสรระดับยุโรประดับที่สาม ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2015 เป็นอย่างน้อย โดยเชื่อว่าการแข่งขันระดับล่างจะสามารถทำหน้าที่เป็นช่องทางในการให้สโมสรจากประเทศสมาชิกยูฟ่าที่มีอันดับต่ำกว่ามีโอกาสที่จะก้าวไปแข่งขันในรอบต่อ ๆ ไปได้มากกว่าการตกรอบในแชมเปียนส์ลีก หรือยูโรป้าลีก[4] ในช่วงกลางปี ​​ค.ศ. 2018 การพูดคุยเกี่ยวกับการแข่งขันนี้ได้เริ่มเข้มข้นขึ้น โดยแหล่งข่าวอ้างว่าได้บรรลุข้อตกลงสำหรับการเปิดตัวการแข่งขันแล้ว และรอบแบ่งกลุ่มของยูโรป้าลีก ซึ่งประกอบไปด้วย 48 ทีมจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยส่วนล่างจะเป็นแกนหลักของการแข่งขันใหม่นี้[5]

ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ยูฟ่าได้ประกาศว่าการแข่งขันซึ่งเรียกว่า "ยูโรปาลีก 2" หรือเรียกโดยย่อว่า "UEL2" จะเกิดขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งของรอบการแข่งขันสามปีในช่วงฤดูกาล 2021–24 โดยยูฟ่ากล่าวเพิ่มเติมว่าการแข่งขันนี้จะมี "การแข่งขันเพิ่มเติมสำหรับสโมสรอื่น ๆ และสมาคมอื่น ๆ "[3]

ชื่ออย่างเป็นทางการของการแข่งขัน "ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก" ได้ประกาศขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2019 โดยเรียกโดยย่อว่า "UECL"[6]

รูปแบบ[แก้]

การคัดเลือก[แก้]

การคัดเลือกจะคล้ายคลึงกับรรอบคัดเลือกของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ที่จะแบ่งออกเป็นสองเส้นทาง ได้แก่ สายชนะเลิศ และสายไม่ชนะเลิศ โดยทีมที่ได้ลงเล่นในสายชนะเลิศคือทีมที่ตกรอบมาจากการคัดเลือกเข้ารอบแบ่งกลุ่มของแชมเปียนส์ลีก

โดยสโมสรในแต่ละประเทศจะได้รับสิทธิ์ลงเล่นในรายการนี้ในแต่ละรอบไม่เท่ากัน ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่าของสมาคมฟุตบอลในประเทศนั้น ๆ ดังนี้[7]

  • สมาคมที่อยู่ในอันดับที่ 1 ถึง 5 จะได้สิทธิ์ 1 ทีม;
  • สมาคมที่อยู่ในอันดับที่ 6 ถึง 15 จะได้สิทธิ์ 2 ทีม;
  • สมาคมที่อยู่ในอันดับที่ 16 ถึง 50 จะได้สิทธิ์ 3 ทีม;
  • สมาคมที่อยู่ในอันดับที่ 51 ถึง 55 จะได้สิทธิ์ 1 ทีม;
  • ลิกเตนสไตน์ ไม่มีการแข่งขันลีกในประเทศจึงให้สิทธิ์แก่ผู้ชนะเลิศ ลิกเตนสไตน์ฟุตบอลคัพ ลงเล่นแทน

นอกจากนี้ รายการนี้ยังเป็นการแข่งขันรองรับทีมที่ตกรอบจากรอบคัดเลือกรอบเบื้องต้น และรอบแรก ของรายการแชมเปียนส์ลีก และทีมที่ตกรอบจากรอบคัดเลือกรอบที่สาม และรอบเพลย์-ออฟ ของรายการยูโรปาลีก จากการปรับโครงสร้างใหม่นี้ จะไม่มีสมาคมใดที่จะได้รับสิทธ์ลงเล่นมากขึ้นจากที่เคยได้รับมาก่อนรอบการแข่งขันปี 2021–24

รอบแบ่งกลุ่ม และรอบแพ้คัดออก[แก้]

ในรอบแบ่งกลุ่มจะประกอบไปด้วย 32 ทีม กลุ่มละ 4 ทีม มีทั้งหมดแปดกลุ่ม ทีมแชมป์กลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ขณะที่รองแชมป์กลุ่มจะต้องไปแข่งขันกับทีมลำดับสามในรอบแบ่งกลุ่มของรายการยูโรปาลีก โดยมีชื่อว่ารอบแพ้คัดออกเบื้องต้น เพื่อหาผู้ชนะเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย แล้วจึงแข่งขันเพื่อหาทีมเข้าสู่รอบ 8 ทีม, 4 ทีมสุดท้าย และรอบชิงชนะเลิศต่อไป การแข่งขันใหม่จะมีการแข่งขัน 141 นัดในช่วง 15 สัปดาห์การแข่งขัน[3]

ผู้ชนะการแข่งขันใหม่จะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีกในฤดูกาลถัดไป การแข่งขันจะเล่นในวันพฤหัสบดี[3]

การจำแนกสิทธิ์ (ตั้งแต่ 2021–22 ถึง 2023–24)[แก้]

แต่ละสมาคมจะส่งทีมได้ตามสิทธิ์ของตนที่ได้ถูกจัดสรรไว้แล้วตามค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่า โดยคัดเลือกจากทีมที่มีอันดับสูงสุดหลังจากผู้ที่มีสิทธิ์ลงเล่นในแชมเปียนส์ลีก และยูโรปาลีกในปีที่แล้วในรายการนั้น ๆ ตามที่ได้รับสิทธิ์ ทั้งนี้ อังกฤษ ซึ่งได้รับสิทธิ์ให้ทีมลำดับที่ 6 ในพรีเมียร์ลีก ลงเล่น ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงให้สิทธิ์แก่ทีมชนะเลิศ คาราบาวคัพ ลงเล่นแทน

ทีมที่เพิ่งเข้าร่วมลงเล่นในรอบนี้ ทีมที่ได้ลงเล่นจากการชนะรอบก่อนหน้า ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีก ทีมที่ตกรอบจากยูโรปาลีก
รอบคัดเลือกรอบแรก
(72 ทีม)
  • ทีมแชมป์ฟุตบอลถ้วยจำนวน 26 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 30–55
  • ทีมรองแชมป์ฟุตบอลลีกจำนวน 25 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 30–55 (ยกเว้นลิกเตนสไตน์)
  • ทีมลำดับที่สามฟุตบอลลีกจำนวน 21 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 29–50 (ยกเว้นลิกเตนสไตน์)
รอบคัดเลือกรอบที่สอง สายชนะเลิศ
(20 ทีม)
  • 17 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบแรก
  • 3 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกก่อนรอบแรก
สายไม่ชนะเลิศ
(90 ทีม)
  • ทีมแชมป์ฟุตบอลถ้วยจำนวน 14 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 16–29
  • ทีมรองแชมป์ฟุตบอลลีกจำนวน 14 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 16–29
  • ทีมลำดับที่สามฟุตบอลลีกจำนวน 16 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 13–28
  • ทีมลำดับที่สี่ฟุตบอลลีกจำนวน 9 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 7–15
  • ทีมลำดับที่ห้าฟุตบอลลีกจำนวน 1 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 6
  • 36 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบแรก
รอบคัดเลือกรอบสาม สายชนะเลิศ
(10 ทีม)
  • 10 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบที่สองสายชนะเลิศ
สายไม่ชนะเลิศ
(52 ทีม)
  • ทีมลำดับที่สามฟุตบอลลีกจำนวน 6 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 7–12
  • ทีมลำกับที่สี่ฟุตบอลลีกจำนวน 1 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 6
  • 45 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบที่สองสายไม่ชนะเลิศ
รอบเพลย์-ออฟ สายชนะเลิศ
(10 ทีม)
  • 5 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบที่สามสายชนะเลิศ
  • 5 ทีมที่ตกรอบจากยูโรปาลีกรอบคัดเลือกรอบที่สามสายชนะเลิศ
สายไม่ชนะเลิศ
(34 ทีม)
  • ทีมลำดับที่ห้าฟุตบอลลีกจำนวน 1 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 5
  • ทีมลำดับที่หกฟุตบอลลีกจำนวน 1 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 1–4 (ประเทศอังกฤษ ให้สืทธิ์แก่ทีมแชมป์คาราบาวคัพ)
  • 26 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบที่สามสายไม่ชนะเลิศ
  • 3 ทีมที่ตกรอบจากยูโรปาลีกรอบคัดเลือกรอบที่สามสายไม่ชนะเลิศ
รอบแบ่งกลุม
(32 ทีม)
  • 5 ทีมที่ชนะจากรอบเพลย์-ออฟ สายชนะเลิศ
  • 17 ทีมที่ชนะจากรอบเพลย์-ออฟ สายไม่ชนะเลิศ
  • 10 ทีมที่ตกรอบจากยูโรปาลีกรอบเพลย์-ออฟ
รอบแพ้คัดออกเบื้องต้น
(16 ทีม)
  • ทีมรองชนะเลิศของกลุ่มจำนวน 8 ทีมจากรอบแบ่งกลุ่ม
  • ทีมลำดับที่สามของกลุ่มจำนวน 8 ทีมจากรอบแบ่งกลุ่มในยูโรปาลีก
รอบแพ้คัดออก
(16 ทีม)
  • ทีมแชมป์กลุ่มจากรอบแบ่งกลุ่มจำนวน 8 ทีม
  • ทีมชนะรอบแพ้คัดออกเบื้องต้นจำนวน 8 ทีม

การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ[แก้]

สัญลักษณ์
นัดที่ตัดสินในช่วงต่อเวลาพิเศษ
* นัดที่ตัดสินในช่วงการดวลลูกโทษ
รายการนัดชิงชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก
ฤดูกาล ชนะเลิศ ผล รองชนะเลิศ สนาม ผู้ชม
2021–22 อิตาลี โรมา 1–0 เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด อาเรนากอมเบอตาเร ติรานา  แอลเบเนีย 19,597
2022–23 อังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด 2–1 อิตาลี ฟีออเรนตีนา สนามกีฬาซีโนโบ ปราก  เช็กเกีย 17,363
2023–24 กรีซ โอลิมเบียโกส 1–0 อิตาลี ฟีออเรนตีนา สนามกีฬาอาเจียโซเฟีย เอเธนส์  กรีซ 26,842
2024–25 v สนามกีฬาวรอตสวัฟ วรอตสวัฟ  โปแลนด์
2025–26 v เร็ดบูลล์อะรีนา ไลพ์ซิช  เยอรมนี
2026–27 v สนามกีฬาเบชิกทัช อิสตันบูล  ตุรกี

บันทึกและสถิติ[แก้]

ผลงานแบ่งตามสโมสร[แก้]

สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่รองชนะเลิศ
อิตาลี โรมา 1 0 2022
อังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด 1 0 2023
กรีซ โอลิมเบียโกส 1 0 2024
อิตาลี ฟีออเรนตีนา 0 2 2023, 2024
เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด 0 1 2022

ผลงานแบ่งตามประเทศ[แก้]

ประเทศ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ทั้งหมด
 อิตาลี 1 2 3
 อังกฤษ 1 0 1
 กรีซ 1 0 1
 เนเธอร์แลนด์ 0 1 1

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "2024/25 UEFA Conference League: Matches, final, key dates". UEFA. 30 เมษายน 2024. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2024.
  2. "'Europa League 2': Uefa confirms new tournament from 2021". BBC Sport. 2 ธันวาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2018.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "UEFA Executive Committee approves new club competition". UEFA.com (Press release). Union of European Football Associations. 2 ธันวาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2018.
  4. "Uefa ponders third competition beneath Champions League and Europa League". The Guardian. 16 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2018.
  5. "Uefa set to introduce third European club competition from 2021–22". The Guardian. 11 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2018.
  6. "Format change for 2020/21 UEFA Nations League". UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 กันยายน 2019.
  7. "UEL2 Access List 2021–24" (PDF). UEFA. 2 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]