ข้ามไปเนื้อหา

กาเซมีรู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กาเซมีรู
กาเซมีรูกับบราซิลใน ค.ศ. 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม การ์ลุส เอ็งรีกี กาซีมีรู
วันเกิด (1992-02-23) 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 (32 ปี)[1]
สถานที่เกิด เซาโฌแซดุสกังปุส บราซิล
ส่วนสูง 1.85 เมตร (6 ฟุต 1 นิ้ว)
ตำแหน่ง กองกลางตัวรับ
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
หมายเลข 18
สโมสรเยาวชน
2002–2010 เซาเปาลู
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2010–2013 เซาเปาลู 62 (6)
2013เรอัลมาดริด เบ (ยืม) 15 (1)
2013เรอัลมาดริด (ยืม) 1 (0)
2013–2022 เรอัลมาดริด 221 (24)
2014–2015โปร์ตู (ยืม) 28 (3)
2022– แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 53 (5)
ทีมชาติ
2009 บราซิล อายุไม่เกิน 17 ปี 3 (0)
2011 บราซิล อายุไม่เกิน 20 ปี 15 (3)
2011– บราซิล 75 (7)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2024 (UTC)
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2023

การ์ลุส เอ็งรีกี กาซีมีรู (โปรตุเกส: Carlos Henrique Casimiro; เกิดวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992) หรือที่รู้จักในชื่อ กาเซมีรู (Casemiro)[2] เป็นนักฟุตบอลชาวบราซิลที่เล่นในตำแหน่งกองกลางตัวรับให้กับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีก และทีมชาติบราซิล เขาถือเป็นหนึ่งในกองกลางตัวรับที่ดีที่สุดในรุ่นของเขา[3]

เขาเริ่มต้นอาชีพกับเซาเปาลู ในฐานะกองกลาง เขาทำได้ 11 ประตูจาก 111 นัดที่ลงเล่นให้กับสโมสร ต่อมาใน ค.ศ. 2013 เขาย้ายไปเรอัลมาดริดและถูกปล่อยยืมตัวหนึ่งฤดูกาลให้กับโปร์ตู เขาเป็นส่วนหนึ่งของทีมเรอัลมาดริดชุดที่ชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 สมัยจาก 5 ฤดูกาล นับตั้งแต่ฤดูกาล 2013–14 ถึง 2017–18 เขาชนะเลิศถ้วยรางวัล 14 ใบกับเรอัลมาดริดซึ่งรวมถึงยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 4 สมัย, ลาลิกา 2 สมัย, โกปาเดลเรย์ 1 สมัย และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 3 สมัย ในปี 2022 เขาออกจากเรอัลมาดริด และย้ายไปแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยค่าตัว 70.65 ล้านยูโร โดยคว้าแชมป์อีเอฟแอลคัพในฤดูกาลแรก[4]

เขาลงเล่นให้กับทีมชาติชุดใหญ่ตั้งแต่ ค.ศ. 2011 โดยเป็นส่วนหนึ่งของทีมชาติที่เข้าร่วมแข่งขันโกปาอาเมริกา 3 ครั้ง และฟุตบอลโลก 2 ครั้ง (ฟุตบอลโลก 2018 และฟุตบอลโลก 2022) เขาพาทีมชนะเลิศโกปาอาเมริกา 2019[5]

ความเป็นเจ้าของสโมสร

[แก้]

วันที่ 4 มิถุนายน 2024 มีการประกาศว่ากาเซมีรู ลงทุนในสโมสรฟุตบอลมาร์เบยา สโมสรจากลีกล่างของสเปน โดยรับตำแหน่งผู้อำนวยการและผู้ถือหุ้นสโมสร[6][7][8]

เกียรติประวัติ

[แก้]

สโมสร

[แก้]

เซาเปาลู[5]

  • โกปาซูดาเมริกานา: 2012

เรอัลมาดริด[5]

แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

ทีมชาติ

[แก้]

บราซิลรุ่นอายุไม่เกิน 20 ปี[5]

บราซิล[5]

รางวัลส่วนตัว

  • ทีมยอดเยี่ยมแห่งฤดูกาลของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก: 2016–17,[16] 2017–18[17]
  • FIFA FIFPro World11: ทีมที่สาม 2017;[18] ทีมที่สี่ 2018;[19] เสนอชื่อเข้าชิง 2019 (กองกลางอันดับที่ 13)[20]
  • ทีมยอดเยี่ยมแห่งฤดูกาลของยูฟ่าลาลิกา: 2019–20[21]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "FIFA Club World Cup UAE 2017: List of players: Real Madrid CF" (PDF). FIFA. 16 December 2017. p. 5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 December 2017. สืบค้นเมื่อ 23 December 2017.
  2. ""Aonde você vai, Casemiro?" A história do segredo mais bem guardado do Real Madrid" ["Where are you going, Casemiro?" The story of Real Madrid's best kept secret]. El País (ภาษาโปรตุเกส). 4 June 2017. สืบค้นเมื่อ 17 November 2017.
  3. Hafez, Shamoon (28 November 2022). "World Cup 2022: Casemiro - 'Best midfielder in the world' Brazil's unlikely hero". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 28 November 2022.
  4. Winehouse, Amitai. "Man Utd unveil Casemiro as midfielder targets trophies". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-13.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Casemiro trophies". Soccerway. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  6. Cariño, Carlos (4 June 2024). "Casemiro se une al Marbella" (ภาษาสเปน). as.com.
  7. "Casemiro becomes Marbella FC shareholder". BBC Sport. 4 June 2024.
  8. "ตกใจหมด "คาเซมิโร่" ชูเสื้อ มาร์เบย่า ทีมลีกดิวิชั่น 4 สเปน รับบทบาทผู้อำนวยการ และผู้ถือหุ้นสโมสร". เมนสแตนด์. 5 มิถุนายน 2024.
  9. "Real Madrid win the longest LaLiga Santander season". Marca. Spain. 17 July 2020. สืบค้นเมื่อ 17 July 2020.
  10. "Real Madrid 2 Barcelona 0 (5–1 on aggregate): Woeful Barca dismissed as Zinedine Zidane's unstoppable side win Super Cup". The Daily Telegraph. London. 16 August 2017. สืบค้นเมื่อ 17 August 2017.
  11. "Spanish Super Cup: Real Madrid beat Atletico Madrid on penalties". BBC Sport. 12 January 2020. สืบค้นเมื่อ 14 January 2020.
  12. "Majestic Real Madrid win Champions League in Cardiff". UEFA. 3 June 2017. สืบค้นเมื่อ 4 June 2017.
  13. "Isco goal gives Real Madrid victory over Manchester United in Super Cup". The Guardian. London. 8 August 2017. สืบค้นเมื่อ 10 August 2017.
  14. "Cristiano Ronaldo free-kick fires Real Madrid to Club World Cup glory". The Guardian. 16 December 2017. สืบค้นเมื่อ 18 December 2017.
  15. "Brazil 3–1 Peru". BBC Sport. 7 July 2019. สืบค้นเมื่อ 9 July 2019.
  16. "UEFA Champions League squad of the season". UEFA. 5 June 2017. สืบค้นเมื่อ 6 June 2017.
  17. "UEFA Champions League Squad of the Season". UEFA. 27 May 2018. สืบค้นเมื่อ 27 May 2018.
  18. "2016–2017 World 11: the reserve teams". FIFPro. 23 October 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 October 2017.
  19. "World 11: The Reserve Team for 2017–18". FIFPro. 24 September 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 June 2019. สืบค้นเมื่อ 25 September 2018.
  20. "Rankings: How All 55 Male Players Finished". FIFPro World Players' Union. 23 September 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-10-11.
  21. "La UEFA se olvida de Oblak en sus equipo ideal de la Liga". Mundo Deportivo. 22 July 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]