ข้ามไปเนื้อหา

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2021

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2021
อิชตาดียูดูดราเกา ใน โปร์ตู จะเป็นเจ้าภาพนัดชิงชนะเลิศ.
รายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2020–21
วันที่29 พฤษภาคม ค.ศ. 2021 (2021-05-29)
สนามอิชตาดียูดูดราเกา, โปร์ตู
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
อึงโกโล ก็องเต (เชลซี)[1]
ผู้ตัดสินอันโตนิโอ มาเตอู ลาโฮซ (สเปน)[2]
ผู้ชม14,110 คน[3]
สภาพอากาศกลางคืนสดใส
19 °C (66 °F)
72% ความชื้นสัมพัทธ์[4]
2020
2022

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2021 เป็นการแข่งขันฟุตบอลนัดชิงชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2020–21 ฤดูกาลที่ 66 ของการแข่งขันฟุตบอลสโมสรลำดับแรกของยุโรป จัดขึ้นโดยยูฟ่า และเป็นฤดูกาลที่ 29 นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อจากยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพมาเป็นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดนี้จะลงเล่นที่ อิชตาดียูดูดราเกา ใน โปร์ตู, ประเทศโปรตุเกส ในวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 2021.[5]

ทีม

[แก้]
ทีม การเข้าร่วมครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาหมายถึงทีมชนะเลิศ)
อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี ไม่มี
อังกฤษ เชลซี 2 (2008, 2012)

สนามแข่งขัน

[แก้]

นี่เป็นนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกครั้งแรกที่รับเป็นเจ้าภาพที่สนามกีฬาสนามนี้

การคัดเลือกเจ้าภาพระยะแรกเริ่ม

[แก้]

กระบวนการเสนอราคาแบบเปิดได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 2017 โดยยูฟ่าเพื่อเลือกสถานที่สำหรับนัดชิงชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก, ยูฟ่ายูโรปาลีก, และยูฟ่าวีเมนส์แชมเปียนส์ลีกในปี ค.ศ. 2020. แต่ละสมาคมมีเวลาจนถึงวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 2017 เพื่อแสดงความสนใจ, และต้องยื่นเอกสารการเสนอราคาภายในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 2018.

ยูฟ่าได้ประกาศไว้เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ว่ามีสองสมาคมได้แสดงความสนใจที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศปี 2020.[6]

รายชื่อการเสนอชื่อสมาคมสำหรับนัดชิงชนะเลิศ
ประเทศ สนาม เมือง ความจุ หมายเหตุ
 โปรตุเกส อิชตาดียูดาลุช ลิสบอน 65,647 เคยเป็นเจ้าภาพ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2014
 ตุรกี สนามกีฬาโอลิมปิกอาทาทืร์ค อิสตันบูล 76,092 เคยเป็นเจ้าภาพ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2005

สนามกีฬาโอลิมปิกอาทาทืร์ค ได้ถูกเลือกโดยคณะกรรมการบริหารยูฟ่าระหว่างการประชุมในกรุง เคียฟ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2018.[7][5][8]

เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2020, คณะกรรมการบริหารยูฟ่าได้ประกาศออกมาว่าเนื่องจากการเลื่อนและการย้ายของ นัดชิงชนะเลิศ ปี 2020 สู่ อิชตาดียูดาลุช, อิสตันบูลจะเป็นเจ้าภาพในรอบชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 2021 แทน.[9]

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ

[แก้]

หมายเหตุ: ในผลการแข่งขันทั้งหมดด้านล่างนี้, ผลของทีมที่ได้เข้าชิงชนะเลิศจะเป็นชื่อแรก (H: เหย้า; A: เยือน; N: กลาง).

อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี รอบ อังกฤษ เชลซี
คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน รอบแบ่งกลุ่ม คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน
โปรตุเกส โปร์ตู 3–1 (H) นัดที่ 1 สเปน เซบิยา 0–0 (H)
ฝรั่งเศส มาร์แซย์ 3–0 (A) นัดที่ 2 รัสเซีย ครัสโนดาร์ 4–0 (A)
กรีซ โอลิมเบียโกส 3–0 (H) นัดที่ 3 ฝรั่งเศส แรน 3–0 (H)
กรีซ โอลิมเบียโกส 1–0 (A) นัดที่ 4 ฝรั่งเศส แรน 2–1 (A)
โปรตุเกส โปร์ตู 0–0 (A) นัดที่ 5 สเปน เซบิยา 4–0 (A)
ฝรั่งเศส มาร์แซย์ 3–0 (H) นัดที่ 6 รัสเซีย ครัสโนดาร์ 1–1 (H)
ชนะเลิศ กลุ่ม ซี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 6 16
2 โปรตุเกส โปร์ตู 6 13
3 กรีซ โอลิมเบียโกส 6 3
4 ฝรั่งเศส มาร์แซย์ 6 3
แหล่งข้อมูล: ยูฟ่า
ตารางคะแนน ชนะเลิศ กลุ่ม อี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 อังกฤษ เชลซี 6 14
2 สเปน เซบิยา 6 13
3 รัสเซีย ครัสโนดาร์ 6 5
4 ฝรั่งเศส แรน 6 1
แหล่งข้อมูล: ยูฟ่า
คู่แข่งขัน ผล นัดแรก นัดที่สอง รอบแพ้คัดออก คู่แข่งขัน ผล นัดแรก นัดที่สอง
เยอรมนี โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค 4–0 2–0 (A)[a] 2–0 (H)[a] รอบ 16 ทีมสุดท้าย สเปน อัตเลติโกเดมาดริด 3–0 1–0 (A)[b] 2–0 (H)
เยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 4–2 2–1 (H) 2–1 (A) รอบก่อนรองชนะเลิศ โปรตุเกส โปร์ตู 2–1 2–0 (A)[c] 0–1 (H)[c]
ฝรั่งเศส ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง 4–1 2–1 (A) 2–0 (H) รอบรองชนะเลิศ สเปน เรอัลมาดริด 3–1 1–1 (A) 2–0 (H)

หมายเหตุ

  1. 1.0 1.1 ทั้งสองเลกของคู่แมนเชสเตอร์ซิตี ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ที่จะพบกับ โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค จะลงเล่นใน บูดาเปสต์ เนื่องจาก ข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระหว่างเยอรมนีและสหราชอาณาจักร.[10][11]
  2. เลกแรกในการไปเยือนของเชลซีในรอบ 16 ทีมสุดท้ายที่จะพบกับ อัตเลติโกเดมาดริดจะลงเล่นใน บูคาเรสต์, ประเทศโรมาเนีย เนื่องจาก ข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากสหราชอาณาจักรสู่ประเทศสเปน.[12]
  3. 3.0 3.1 ทั้งสองเลกของคู่เชลซี ในรอบก่อนรองชนะเลิศที่จะพบกับ โปร์ตู จะลงเล่นใน เซบิยา, ประเทศสเปน เนื่องจาก ข้อจำกัดที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระหว่างโปรตุเกสและสหราชอาณาจักร.[13]

ก่อนการแข่งขัน

[แก้]

ผู้ตัดสิน

[แก้]
ชาวสเปน อันโตนิโอ มาเตอู ลาโฮซ (กลาง) จะทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินในนัดชิงชนะเลิศพร้อมกับผู้ช่วย โรแบร์โต ดิอัซ เปเรซ เดล ปาโลมาร์ (ซ้าย) และ เปา เซบริอัน เดบิส (ขวา).

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 2021, ยูฟ่าประกาศชื่อชาวสเปน อันโตนิโอ มาเตอู ลาโฮซ ในฐานะผู้ตัดสินสำหรับนัดชิงชนะเลิศ. มาเตอู ลาโฮซ มีชื่อ ผู้ตัดสินฟีฟ่า เมื่อปี ค.ศ. 2011, และก่อนหน้านี้เขาเคยเป็นผู้ตัดสินที่สี่ใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2019. เขาเคยทำหน้าที่หกนัดก่อนหน้านั้นในแชมเปียนส์ลีกฤดูกาล 2020–21, กับหนึ่งแมตช์ในรอบเพลย์ออฟ, สี่นัดในรอบแบ่งกลุ่มและหนึ่งนัดรอบก่อนรองชนะเลิศเลก. เขาทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสิน ฟุตบอลโลก 2018 ในประเทศรัสเซีย, และได้รับเลือกให้เป็นผู้ตัดสินสำหรับ ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020. เขาจะเข้าร่วมกับเพื่อนร่วมชาติหกคนของเขา, ประกอบไปด้วยผู้ช่วยผู้ตัดสิน เปา เซบริอัน เดบิส และ โรแบร์โต ดิอัซ เปเรซ เดล ปาโลมาร์. การ์โลส เดล เซร์โร กรันเด จะทำหน้าที่ในฐานะผู้ตัดสินที่สี่, ในขณะที่ อาเลฆันโดร เอร์นันเดซ เอร์นันเดซ จะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ. ฆวน มาร์ติเนซ มูนูเอรา และ อิญิโก ปริเอโต โลเปซ เด เซราอิน ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ VAR, พร้อมกับผู้ตัดสินชาวโปแลนด์ ปาแว็ล กิล.[2]

พิธีเปิดการแข่งขัน

[แก้]

ดีเจชาวอเมริกันและโปรดิวเซอร์ ดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ มาร์ชแมลโล เป็นผู้ทำการแสดงเสมือนจริงสำหรับพิธีเปิดการแข่งขันก่อนแมตช์การแข่งขัน, พร้อมกับ เซลีนา โกเมซ และ คาลิด.[14]

นัด

[แก้]

รายละเอียด

[แก้]

ทีม "เจ้าบ้าน" (สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดการ) จะได้รับการกำหนดขึ้นโดยการจับสลากเพิ่มเติมเกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการจับสลากรอบก่อนรองชนะเลิศและรอบรองชนะเลิศ..

แมนเชสเตอร์ซิตี[4]
เชลซี[4]
GK 31 บราซิล แอแดร์ซง
RB 2 อังกฤษ ไคล์ วอล์กเกอร์
CB 5 อังกฤษ จอห์น สโตนส์
CB 3 โปรตุเกส รูแบน ดียัช
LB 11 ยูเครน ออแลกซันดร์ ซินแชนกอ
CM 20 โปรตุเกส บือร์นาร์ดู ซิลวา Substituted off in the 64th นาที 64'
CM 8 เยอรมนี อิลไค กึนโดอัน โดนใบเหลือง ใน 35th นาที 35'
CM 47 อังกฤษ ฟิล โฟเดน
AM 17 เบลเยียม เกฟิน เดอ เบรยเนอ (กัปตัน) Substituted off in the 60th นาที 60'
CF 26 แอลจีเรีย ริยาฎ มะห์รัซ
CF 7 อังกฤษ ราฮีม สเตอร์ลิง Substituted off in the 77th นาที 77'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 13 สหรัฐอเมริกา แซ็ก สเตฟเฟน
GK 33 อังกฤษ สกอตต์ คาร์สัน
DF 6 เนเธอร์แลนด์ นาตัน อาเก
DF 14 สเปน แอมริก ลาปอร์ต
DF 22 ฝรั่งเศส แบ็งฌาแม็ง แมนดี
DF 27 โปรตุเกส ฌูเวา กังเซลู
DF 50 สเปน เอริก การ์ซิอา
MF 16 สเปน โรดริ
MF 25 บราซิล เฟร์นังจิญญู Substituted on in the 64th minute 64'
FW 9 บราซิล กาบรีแยล เฌซุส โดนใบเหลือง ใน 88th นาที 88' Substituted on in the 60th minute 60'
FW 10 อาร์เจนตินา เซร์ฆิโอ อาเกวโร Substituted on in the 77th minute 77'
FW 21 สเปน เฟร์รัน ตอร์เรส
ผู้จัดการทีม:
สเปน แป็ป กวาร์ดิออลา
GK 16 เซเนกัล เอดัวร์ แมนดี
CB 28 สเปน เซซาร์ อัซปิลิกูเอตา (กัปตัน)
CB 6 บราซิล ชียากู ซิลวา Substituted off in the 39th นาที 39'
CB 2 เยอรมนี อันโทนีโอ รือดีเกอร์ โดนใบเหลือง ใน 57th นาที 57'
RWB 24 อังกฤษ รีซ เจมส์
LWB 21 อังกฤษ เบน ชิลเวลล์
CM 5 อิตาลี ฌอร์ฌีญู
CM 7 ฝรั่งเศส อึงโกโล ก็องเต
RW 29 เยอรมนี ไค ฮาเวิทซ์
LW 19 อังกฤษ เมสัน เมานต์ Substituted off in the 80th นาที 80'
CF 11 เยอรมนี ทีโม แวร์เนอร์ Substituted off in the 66th นาที 66'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 1 สเปน เกปา อาร์ริซาบาลากา
GK 13 อาร์เจนตินา วิลิ กาบาเยโร
DF 3 สเปน มาร์โกส อาลอนโซ
DF 4 เดนมาร์ก แอนเทรแอส เครสเตินเซิน Substituted on in the 39th minute 39'
DF 15 ฝรั่งเศส กูร์ต ซูมา
DF 33 อิตาลี แอแมร์ซง
MF 10 สหรัฐอเมริกา คริสเตียน พูลิซิช Substituted on in the 66th minute 66'
MF 17 โครเอเชีย มาเทออ คอวาชิช Substituted on in the 80th minute 80'
MF 20 อังกฤษ แคลลัม ฮัดสัน-โอดอย
MF 22 โมร็อกโก ฮะกีม ซิยาช
MF 23 สกอตแลนด์ บิลลี กิลมัวร์
FW 18 ฝรั่งเศส ออลีวีเย ฌีรู
ผู้จัดการทีม:
เยอรมนี โทมัส ทุคเคิล

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
อึงโกโล ก็องเต (เชลซี)[1]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
เป​ว เซบริอัน ดาบิส (สเปน)
โรเบร์โต ดิอัซ เปเรซ เดล ปาโลมาร์ (สเปน)
ผู้ตัดสินที่สี่:
การ์โลส เดล เซร์โร กรันเด (สเปน)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:
อาเลฮันโดร เอร์นันเดซ เอร์นันเดซ (สเปน)
ผู้ช่วยของผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:
ฆวน มาร์ติเนซ มูนูเอรา (สเปน)
อิญิญโฆ ปริเอโต โลเปซ เด เซเรน (สเปน)
Paweł Gil (โปแลนด์)

ข้อมูลในการแข่งขัน[15][16]

  • แข่งขันเวลาปกติ 90 นาที
  • ต่อเวลาพิเศษไปอีก 30 นาที เมื่อทั้งสองทีมเสมอกันในเวลาปกติ
  • ตัดสินด้วยการดวลลูกจุดโทษ เพื่อหาผู้ชนะ
  • มีชื่อรายชื่อผู้เล่นสำรอง 12 คน
  • การเปลี่ยนตัวผู้เล่นสูงสุดห้าคน, กับอนุญาตเปลี่ยนผู้เล่นคนที่หกได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ[note 1]

สถิติ

[แก้]


ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. แต่ละทีมจะได้รับสิทธิ์สามครั้งที่จะได้เปลี่ยนตัวผู้เล่น, กับโอกาสครั้งที่สี่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ, ไม่นับรวมการเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่เกิดชึ้นในช่วงพักครึ่งแรก, ก่อนที่จะเริ่มต้นของช่วงต่อเวลาพิเศษและช่วงพักครึ่งเวลาแรกในการต่อเวลาพิเศษ.

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Champions League final Player of the Match: N'Golo Kanté". UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 May 2021. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  2. 2.0 2.1 "Referee teams appointed for UEFA Champions League and UEFA Europa League finals". UEFA.com. Union of European Football Associations. 12 May 2021. สืบค้นเมื่อ 12 May 2021.
  3. 3.0 3.1 "Full Time Report Final – Manchester City v Chelsea" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 May 2021. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Tactical Line-ups – Final – Saturday 29 May 2021" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 May 2021. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.
  5. 5.0 5.1 "Istanbul to host 2020 UEFA Champions League Final". UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 May 2018. สืบค้นเมื่อ 24 May 2018.
  6. "Six associations interested in hosting 2020 club finals". UEFA.com. Union of European Football Associations. 3 November 2017.
  7. "UEFA Executive Committee agenda for Kyiv meeting". UEFA.com. Union of European Football Associations. 8 May 2018.
  8. "Istanbul to host 2020 UEFA Champions League final". UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 May 2018.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ExCo 17 June
  10. "UEFA Champions League venue changes". UEFA. 10 February 2021. สืบค้นเมื่อ 10 February 2021.
  11. "Manchester City vs Borussia Mönchengladbach venue change confirmed". UEFA. 10 March 2021. สืบค้นเมื่อ 10 March 2021.
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ venue changes
  13. "Porto vs Chelsea games to be played in Seville". UEFA. 30 March 2021. สืบค้นเมื่อ 30 March 2021.
  14. "Marshmello to headline 2021 UEFA Champions League final opening ceremony, presented by Pepsi®". UEFA.com. Union of European Football Associations. 18 May 2021. สืบค้นเมื่อ 18 May 2021.
  15. "Regulations of the UEFA Champions League, 2020/21". UEFA.com. Union of European Football Associations. 3 August 2020.
  16. "Two triple-headers approved for 2021 March and September national team windows". UEFA. 24 September 2020. สืบค้นเมื่อ 24 September 2020.
  17. 17.0 17.1 17.2 "Team statistics" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 29 May 2021. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]