ประดู่
ประดู่ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ถั่ว Fabales |
วงศ์: | ถั่ว Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยถั่ว |
สกุล: | Pterocarpus Kurz[2] |
สปีชีส์: | Pterocarpus macrocarpus |
ชื่อทวินาม | |
Pterocarpus macrocarpus Kurz[2] | |
ชื่อพ้อง[2] | |
รายการ
|
ประดู่[3][4] หรือ ประดู่ป่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterocarpus macrocarpus เป็นไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในสกุล Pterocarpus วงศ์ Leguminosae
ถิ่นที่อยู่
[แก้]ประดู่ชนิดนี้เป็นพรรณไม้พื้นเมืองในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ, พม่า, ลาว และเวียดนาม[2][5][6] และเป็นพรรณไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทย[7] ในไทยพบตามป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ (ประดู่บ้านจะพบในป่าเบญจพรรณทางภาคใต้ด้วย) โดยขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเล 100-600 เมตร ส่วนในพม่าพบขึ้นอยู่ตามพื้นที่ราบหรือเนินสูงต่ำ และพบขึ้นในที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 750 เมตร[8]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]- ลำต้นสูง 15-30 เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาลซึ่งแตกสะเก็ดเป็นร่อง ลึก มีนํ้ายางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ กิ่งก้านมักไม่ห้อยระย้าอย่างประดู่บ้าน[9]
- ใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเยื้องสลับกัน 4-10 ใบ รูปไข่ถึงรูปขนาน กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่ง โคนมน
- ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอม มีกลิ่นคล้ายดอกซ่อนกลิ่น ออกเป็นช่อยาว 10-20 เซนติเมตร ตามง่ามใบ ดอกจะออกช่วงมีนาคม-พฤษภาคม ช่อดอกมีขนาดใหญ่ แต่ไม่แตกกิ่งก้านแขนงมากอย่างประดู่บ้าน(แต่ดอกจะบานแค่หนึ่งถึงสองวันเท่านั้น) [9]
- ผลมีลักษณะเหมือนรูปโล่แบนบาง ตรงกลางนูน เส้นผ่าศูนย์กลาง 6-10 เซนติเมตร ผลใหญ่กว่าประดู่บ้านมาก และมีขนปกคลุมทั่วไป การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
การใช้ประโยชน์
[แก้]ประดู่มีเนื้อไม้สีแดงอมเหลือง เสี้ยนสนเป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง มีลวดลายสวยงาม ใช้ทำเสา พื้นต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง
ประดู่เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นอกจากนี้ยังเป็นต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรีและจังหวัดระยอง
ชื่อเรียกตามท้องถิ่น
[แก้]- ดู่ หรือ ดู่ป่า (ภาคเหนือ)
- ฉะนอง (เชียงใหม่)
- จิต๊อก (ไทใหญ่-แม่ฮ่องสอน)
- เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
- ประดู่ หรือ ประดู่ป่า (ภาคกลาง)
- ประดู่เสน (สระบุรี ราชบุรี)
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Barstow, M. (2019). "Pterocarpus macrocarpus". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T32308A2813424. สืบค้นเมื่อ 2 February 2023.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "Pterocarpus macrocarpus". International Legume Database & Information Service (ILDIS). สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 705.
- ↑ เต็ม สมิตินันทน์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
- ↑ "Pterocarpus macrocarpus" (PDF). Danida Forest Seed Centre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 31 March 2010. สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
- ↑ "Pterocarpus macrocarpus". International Institute of Tropical Forestry. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 January 2009. สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
- ↑ เดชา ศิริภัทร. "ประดู่ : ตำนานความหอมและบิดาแห่งราชนาวี."
- ↑ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 (ปราจีนบุรี). กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. "ต้นไม้ที่น่าสนใจ."
- ↑ 9.0 9.1 วรรณดี พลเยี่ยม. "ดอกประดู่." เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประดู่ป่า โดย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เก็บถาวร 2014-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประดู่ป่า จากสารากรมไทยฉบับเยาวชนเล่มที่ 22 เก็บถาวร 2014-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน