สีเสียดแก่น
สีเสียดแก่น | |
---|---|
![]() | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | โรสิด Rosids |
อันดับ: | ถั่ว Fabales |
วงศ์: | ถั่ว Fabaceae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยราชพฤกษ์ |
เคลด: | Mimosoid clade |
สกุล: | Senegalia (L.f.) P.J.H.Hurter & Mabb. |
สปีชีส์: | Senegalia catechu |
ชื่อทวินาม | |
Senegalia catechu (L.f.) P.J.H.Hurter & Mabb. | |
Varieties | |
| |
![]() | |
ขอบเขตของสีเสียดแก่น | |
ชื่อพ้อง[3] | |
สีเสียดแก่น หรือชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า สีเสียด สีเสียดไทย สีเสียดเหนือ สีเสียดเหลือง สีเสียดหลวง สีเสียดลาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Acacia catechu) เป็นพืชในวงศ์ถั่ว กระจายพันธุ์ในเอเชีย จีน, อินเดีย และบริเวณ มหาสมุทรอินเดีย เมล็ดเป็นแหล่งของโปรตีน[4] แก่นต้นนำมาใช้เป็นยา โดยนำแก่นต้นสีเสียด สับให้เป็นชิ้น ๆ แล้วต้มและเคี่ยว หลังจากนั้นระเหยน้ำที่ต้มได้ให้เหนียวข้น จะได้ของแข็งเป็นก้อน สีน้ำตาลดำ เป็นมัน แข็ง รูปร่างไม่แน่นอน ผิวนอกหยาบ มีด้านในด้านหนึ่งที่แตกจะมันวาว ส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มแทนนินที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ก่อเกิดอาการท้องร่วง (Escherichia coli) Staphylococcus aureus ฤทธิ์ต้านเชื้อบิด มีฤทธิ์ยับยั้งการบีบตัวของลำไส้[5]
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c6/Khair_%28Acacia_catechu%29_trunk_at_Hyderabad%2C_AP_W_IMG_7264.jpg/220px-Khair_%28Acacia_catechu%29_trunk_at_Hyderabad%2C_AP_W_IMG_7264.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ea/Khair_%28Acacia_catechu%29_flowers_at_Hyderabad%2C_AP_W_IMG_7261.jpg/220px-Khair_%28Acacia_catechu%29_flowers_at_Hyderabad%2C_AP_W_IMG_7261.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/0a/Khair_%28Acacia_catechu%29_leaves_%26_fruits_at_Hyderabad%2C_AP_W_IMG_7263.jpg/220px-Khair_%28Acacia_catechu%29_leaves_%26_fruits_at_Hyderabad%2C_AP_W_IMG_7263.jpg)
ในทางยาสมุนไพร ใช้สีเสียดแก่นแก้ท้องเสียเรื้อรัง ลำไส้อักเสบ รักษาบาดแผล แก้ปากเป็นแผล ใส่แผลเปื่อยและริดสีดวง และอาการบาดเจ็บที่มีเลือดออก บดหรือต้มกินแก้ท้องร่วง คุมธาตุ แก้บิดมูกเลือด แก้ลงแดง ทารักษาบาดแผล รักษาโรคผิวหนัง ต้มล้างบาดแผล เป็นยาฝาดสมาน แก้ท้องร่วง ห้ามเลือดกำเดา แก้บิด ล้างแผลหัวนมแตก ล้างแผลถูกไฟไหม้ ทำให้แผลหายเร็ว และเป็นส่วนผสมใน "ยาเหลืองปิดสมุทร" ที่ใช้รักษาอาการท้องเสียชนิดที่ไม่เกิดจากการติดเชื้อ[5]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Plummer, J. (2021). "Senegalia catechu". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T169300001A169300339. สืบค้นเมื่อ 3 May 2022.
- ↑ hear.org
- ↑ International Legume Database & Information Service (ILDIS)
- ↑ "World AgroForestry Database". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-06-10.
- ↑ 5.0 5.1 สีเสียดไทย-ฐานข้อมูลเครื่องยา
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Senegalia catechu
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Acacia catechu ที่วิกิสปีชีส์
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Senegalia catechu