เล็บมือนาง
เล็บมือนาง | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช (Plantae) |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Myrtales |
วงศ์: | Combretaceae |
สกุล: | Combretum |
สปีชีส์: | C. indica |
ชื่อทวินาม | |
Combretum indicum (L.) DeFilipps | |
ชื่อพ้อง[1] | |
|
เล็บมือนาง เป็นไม้เลื้อยดอกหอมเป็นช่อ พบในแถบเอเชีย มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ จะมั่ง (เหนือ) จ๊ามั่ง (เหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะจีมั่ง (เหนือ) และ อะดอนิ่ง (มลายู ยะลา)[2] ชาวกะเหรี่ยงนำผลตำให้ละเอียด ผสมในอาหารเลี้ยงวัวหรือหมูช่วยฆ่าพยาธิ[3]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
[แก้]เล็บมือนางเป็นพืชไม้เลื้อย เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบเดี่ยวรูปวีหรือรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 4 นิ้ว ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกมีสีแดงอมขาว หรือสีชมพู หลอดของดอกจะโค้งเล็กน้อย และจะมีเกสรยาว ๆ ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน เป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีชมพู มีกลิ่นหอม ผลสีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู
การปลูกเลี้ยง
[แก้]เล็บมือนางเป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทรายและมีความอุดมสมบูรณ์พอควร แสงแดดปานกลาง น้ำปานกลาง ปลูกได้ทุกฤดูกาล การขยายพันธุ์โดยใช้รากหรือเหง้า ที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น
เล็บมือนางในวรรณกรรม
[แก้]เล็บมือนางกางกลีบกะทัดรัด | |
เหมือนมือเจ้าปรนนิบัติพัดวีผัว | |
บานเย็นบานสะพรั่งฝั่งสระบัว | |
เหมือนเย็นเช้าเย้ายั่วอยู่กับน้อง | |
(ขุนช้างขุนแผน - สุนทรภู่) |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Combretum indicum". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
- ↑ ขวัญฤทัย คำฝาเชื้อ ปริทรรศน์ ไตรสนธิ และชูศรี ไตรสนธิ. 2553. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงที่ตำบลบ้านจันทร์และแจ่มหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพฤกษศาสตร์ไทย. 2(พิเศษ): 275 – 297.
- QUISQUALIS INDICA Linn
- niyog-niyogan.doc เก็บถาวร 2007-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Quisqualis indica (PIER species info) เก็บถาวร 2019-04-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน