โมกมัน
โมกมัน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช Plantae |
เคลด: | พืชมีท่อลำเลียง Tracheophyta |
เคลด: | พืชดอก Angiosperms |
เคลด: | พืชใบเลี้ยงคู่แท้ Eudicots |
เคลด: | แอสเทอริด Asterids |
อันดับ: | ดอกหรีดเขา |
วงศ์: | วงศ์ตีนเป็ด |
สกุล: | โมกมัน (Dennst.) Mabb. |
สปีชีส์: | Wrightia arborea |
ชื่อทวินาม | |
Wrightia arborea (Dennst.) Mabb. | |
ชื่อพ้อง[1] | |
รายการ
|
โมกมัน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Wrightia arborea) เป็นพืชในวงศ์ตีนเป็ด (Apocynaceae)[2] กระจายพันธุ์ในอนุทวีปอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจีนตอนใต้[3] ลักษณะเป็นไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 20 เมตร ใบรูปรียาว 3-18 เซนติเมตร ก้านใบยาว 2-7 มิลลิเมตร ช่อดอกยาว 2-7 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 0.5-1 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงรูปไข่ ยาว 1-3 มิลลิเมตร ดอกสีขาวอมเขียว เหลืองอ่อนหรือสีชมพู หลอดกลีบดอกยาว 3-7 มิลลิเมตร กลีบรูปขอบขนานยาว 0.8-1.5 เซนติเมตร โคนเรียว มีกะบัง 2 ชั้นแผ่กว้าง ด้านนอกมีขนกระจาย กะบังหน้ากลีบดอกแนบติดกลีบดอกประมาณกึ่งหนึ่ง จักเป็นคลื่น กะบังระหว่างกลีบดอกรูปตัววี สั้นกว่ากะบังหน้ากลีบดอกเล็กน้อย เกสรเพศผู้ติดบนคอหลอดกลีบดอก อับเรณูยาว 5-6 มิลลิเมตร รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียรวมยอดเกสรยาว 6-8 มิลลิเมตร ผลรูปกระสวยติดกัน แห้งแยกกัน ยาว 10-34 เซนติเมตร มีช่องอากาศ เมล็ดยาว 1.5-1.7 เซนติเมตร กระจุกขนยาว 5-6 เซนติเมตร[4] โมกมันนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เปลือกต้นและรากใช้แก้พิษสัตว์กัดต่อยและโรคไต นอกจากนี้ยังใช้ย้อมสีได้ เนื้อไม้ใช้ทำของใช้[5][6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Wrightia arborea (Dennst.) Mabb". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ). Royal Botanic Gardens, Kew. สืบค้นเมื่อ 17 April 2022.
- ↑ "Woolly Dyeing Rosebay". Flowers of India. 2022. สืบค้นเมื่อ 17 April 2022.
- ↑ "Wrightia arborea in Flora of China @ efloras.org". www.efloras.org. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ สารานุกรมพืชในประเทศไทย (ฉบับย่อ), ราชันย์ ภู่มา และคณะ, หน้า 355, พ.ศ. 2559, โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรุงเทพฯ
- ↑ "Wrightia arborea (Dennst.) Mabb". Useful Tropical Plants. สืบค้นเมื่อ April 23, 2017.
- ↑ "โมกมัน - Wrightia arborea (Dennst.) Mabb". ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ April 23, 2017.
- ↑ "โมกมัน - พันธุ์ไม้ย้อมสีธรรมชาติ". กรมหม่อนไหม. สืบค้นเมื่อ April 23, 2017.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ โมกมัน
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Wrightia arborea ที่วิกิสปีชีส์
- "โมกมัน - Wrightia arborea (Dennst.) Mabb". ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-04-23.