กระดังงา
กระดังงา | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Magnoliales |
วงศ์: | Annonaceae |
สกุล: | Cananga |
สปีชีส์: | C. odorata |
ชื่อทวินาม | |
Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson |
กระดังงา หรือกระดังงาไทย อังกฤษ : Ylang-ylang (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cananga odorata (Lamk.) Hook.f. et Th.) ชื่ออื่น สะบันงา สะบันงาต้น สะบานงา[1] (ภาคเหนือ) กระดังงาใบใหญ่[2] (กลาง) กระดังงาใหญ่[1] กระดังงอ (ยะลา) กระดังงา เป็นไม้ยืนต้นในตระกูลเดียวกับน้อยหน่าและการเวก
ถิ่นกำเนิด
[แก้]กระดังงามีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เอเซียเขตร้อนในแถบของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศอินโดนีเซีย
ลักษณะต้น
[แก้]เป็นไม้ยืนต้น ความสูง 8-15 เมตร เป็นพุ่มทรงโปร่ง ออกดอกตลอดปี ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปวงรีหรือรูปใบหอก กว้าง 5-7 ซม. ยาว 13-20 ซม. ขอบใบเป็นคลื่น เปลือกต้นเกลี้ยงสีเทา ดอกช่อออกเป็นกระจุก ที่ซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอม ผลเป็นกลุ่มผล ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ตอนเช้าและเย็น โดยเริ่มออกดอกเมื่อ ปลูกได้ประมาณ 3 ปี สูง 7 - 8 เมตร จึงจะออกดอก[3]
ประโยชน์
[แก้]- เปลือกใช้ทำเชือก
- ดอก นำไปกลั่นน้ำหอม น้ำมันหอมระเหย ใช้นำไปเป็นส่วนปนะกอบของยาหอม มีฤทธิ์แก้วิงเวียน โดยจัดอยู่ในส่วนประกอบของ เกสรทั้งเจ็ด
- ตำรายาไทย ใช้ใบและเนื้อไม้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ ผลแก่ใช้ผลสีเหลืองอมเขียวเกือบดำ นำมาบดใช้เป็นยา
- คนโบราณใช้ดอกทอดกับน้ำมันมะพร้าวทำน้ำมันใส่ผม หรือ นำดอกนำมาลนไฟใช้อบขนมให้มีกลิ่นหอม[4]
- กระดังงาที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีในการยับยั้งการเจริญของ Staphylococcus epidermidis[5]
ความเชื่อของไทย
[แก้]โดยมีความเชื่อว่า กระดัง คือการทำให้เกิดเสียงดังไปไกล โดยนำความเชื่อมาจาก บันทึกโบราณจาก นกการะเวกในสมัยพุทธกาล มีเสียงดังไพเราะก้องไกลทั่วสวรรค์[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 http://www.mmp.mju.ac.th/Search_Detail_Herb_MJU.aspx?Herb_ID=0154 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลสมุนไพร ในฐานสมุนไพรแม่โจ้ (ชีวกโกมารภัจจ์)
- ↑ http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=195 ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2010-12-08.
- ↑ หนังสือไม้ดอกหอม (Fragrant and aromatic plants) ฉบับปรับปรุงและเพิ่มเติม / ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น พิมพ์ครั้งที่ 2 สำนัก
- ↑ อัฐญาพร ชัยชมภู และนฤมล ทองไว. 2554. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดโดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน เก็บถาวร 2013-05-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-25. สืบค้นเมื่อ 2010-12-08.