ข้ามไปเนื้อหา

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)

พิกัด: 35°40′33″N 139°44′42″E / 35.67583°N 139.74500°E / 35.67583; 139.74500
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก National Diet)
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

国会

Kokkai
สมัยประชุมสามัญที่ 208
ประเภท
ประเภท
องค์ประกอบ
ผู้บริหาร
ฟูกูฮิโระ นูกางะ, LDP
ตั้งแต่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
มาซาคาซุ เซกิงูจิ, LDP
ตั้งแต่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
โครงสร้าง
สมาชิก710
กลุ่มการเมืองใน
วุฒิสภา
รัฐบาล (139)
  •   LDPและสังกัดอิสระ (111)
  •   โคเมโต (28)

ฝ่ายค้าน (95)

กลุ่มการเมืองใน
สภาผู้แทนราษฎร
รัฐบาล (293)

ฝ่ายค้าน (162)

การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งหน้า
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 (ครั้งที่ 26)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหน้า
31 ตุลาคม พ.ศ. 2568 (ครั้งที่ 50)
ที่ประชุม
อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 1-7-1 นางาตาโจ เขตชิโยดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เว็บไซต์

สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: 国会โรมาจิKokkai, อังกฤษ: National Diet) เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของญี่ปุ่นประกอบด้วยสองสภาคือ สภาล่างเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร และสภาสูงเรียกว่า วุฒิสภา สมาชิกของสภาทั้งสองมาจากระบบการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระ 4 ปี ส่วนสมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี และนอกเหนือไปจากการพิจารณากฎหมายต่าง ๆ แล้ว สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังมีหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรี สภาฯ ของญี่ปุ่นประชุมครั้งแรกในชื่อ สภานิติบัญญัติแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 2432 รูปแบบและโครงสร้างของสภาในปัจจุบันนั้นจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2490 สองปีหลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง สภาในรูปแบบนี้เองที่รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นองค์กรอำนาจสูงสุดของรัฐ มีตั้งอยู่ที่ อาคารสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในเขตชิโยดะ มหานครโตเกียว

อำนาจ

[แก้]

ตามมาตราที่ 41 แห่งรัฐธรรมนูญ ได้นิยามแก่สภานิติบัญญัติแห่งชาติไว้ว่าเป็น "องค์กรสูงสุดแห่งอำนาจรัฐ" และ "องค์กรออกกฎหมายแต่ผู้เดียวของรัฐ" ซึ่งบทบัญญัตินี้ได้แตกต่างกับรัฐธรรมนูญสมัยจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งได้บัญญัติให้องค์จักรพรรดิทรงเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติโดยความยินยอมของสภา และไม่เพียงแต่มีหน้าที่ในการพิจารณาเรื่องกฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการอนุมัติงบประมาณแผ่นดินประจำปีที่รัฐบาลเป็นผู้จัดทำมาเสนอต่อสภา นอกจากนี้สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจในออกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากร่างแก้ไขฯได้รับการอนุมัติจากสภา ก็จะต้องดำเนินการให้ประชาชนลงประชามติ นอกเหนือไปจากนี้ สภานิติบัญญัติยังมีหน้าที่ "ตรวจสอบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล" (มาตรา 62)

นายกรัฐมนตรี จะต้องมาจากการเลือกตั้งโดยสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งลักษณะแบบนี้ได้สร้างหลักการที่ว่ากฎหมายอยู่เหนือกว่าผู้บริหารขององค์กรของรัฐ (มาตรา 67) หรือก็คือ สภาสามารถถอดถอนนายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะรัฐมนตรีได้ ผ่านการอภิปรายไม่ไว้วางใจโดยการเข้าชื่อของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย 50 คน ซึ่งรัฐบาลมีหน้าที่ในการชี้แจงข้อกล่าวหารวมไปถึงคำถามจากสภาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นอกจากนี้ สภายังมีอำนาจในการดำเนินคดีแก่ผู้พิพากษาที่ถูกตัดสินว่ากระทำผิดทางอาญา ทางวินัย หรือการกระทำที่มิชอบตามกฎหมาย[1]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

35°40′33″N 139°44′42″E / 35.67583°N 139.74500°E / 35.67583; 139.74500