รัฐสภาแคนาดา
รัฐสภาแคนาดา | |
---|---|
สมัยที่ 44 | |
ประเภท | |
ประเภท | |
องค์ประกอบ | วุฒิสภา สภาสามัญชน |
ผู้บริหาร | |
สมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ตั้งแต่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 | |
แมรี ไซมอน ตั้งแต่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 | |
ประธานวุฒิสภา | จอร์จ ฟิวรีย์, ไม่สังกัดพรรค ตั้งแต่ 3 ธันวาคม ค.ศ. 2015 |
ประธานสภาสามัญชน | แอนโทนี โรตา, พรรคเสรีนิยมแห่งแคนาดา ตั้งแต่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2017 |
จัสติน ทรูโด, พรรคเสรีนิยมแห่งแคนาดา ตั้งแต่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 2017 | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 443 ที่นั่ง สมาชิกรัฐสภา 338 ที่นั่ง วุฒิสภา 105 ที่นั่ง |
กลุ่มการเมืองใน วุฒิสภา | กลุ่มอิสระ (41) พรรคอนุรักษ์นิยม (18) |
กลุ่มการเมืองใน สภาสามัญชน | พรรคเสรีนิยม (159)
พรรคอนุรักษ์นิยม (119)
บล็อก เกเบกัว (32)
พรรคประชาธิปไตยใหม่ (25)
พรรคกรีน (2)
อิสระ (1)
ว่าง (0) |
การเลือกตั้ง | |
แต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ (ตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี) | |
แบ่งเขตคะแนนสูงสุด | |
การเลือกตั้งสมาชิกสภาสามัญชนครั้งล่าสุด | 20 กันยายน ค.ศ. 2021 |
ที่ประชุม | |
อาคารรัฐสภา ออตตาวา ออนแทรีโอ แคนาดา | |
เว็บไซต์ | |
www |
รัฐสภาแคนาดา (อังกฤษ: Parliament of Canada, ฝรั่งเศส: Parlement du Canada) เป็นสภานิติบัญญัติในระดับสหพันธ์ของประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ที่กรุงออตตาวา มีองค์ประกอบสำคัญสามส่วน ได้แก่ พระมหากษัตริย์ วุฒิสภา และสภาสามัญชน[1] ตามหลักจารีตรัฐธรรมนูญแล้วสภาสามัญชนเป็นสภาหลักซึ่งวุฒิสภานั้นไม่ค่อยจะก้าวล่วงในมติของสภาสามัญชน วุฒิสภานั้นมีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายจากมุมมองที่ไม่เป็นพรรคการเมืองและสามารถเสนอร่างกฎหมายแก่สภาได้ พระมหากษัตริย์ซึ่งมีผู้แทนพระองค์คือผู้สำเร็จราชการมีหน้าที่แทนพระองค์ในการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บังคับใช้เป็นกฎหมายได้
ผู้สำเร็จราชการซึ่งเป็นผู้แทนพระองค์มีหน้าที่เรียกประชุมและแต่งตั้งวุฒิสมาชิกจำนวน 105 รายตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี ในขณะที่สมาชิกในสภาสามัญชนอีก 338 ราย หรือเรียกว่า สมาชิกรัฐสภา (อังกฤษ: members of Parliament, MPs) ซึ่งแต่ละคนมีหน้าที่เป็นผู้แทนในเขตเลือกตั้ง และมีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนลงคะแนนเสียงในเขตนั้นๆ นอกจากนี้ผู้สำเร็จราชการยังมีเอกสิทธิ์ในฐานะผู้แทนพระองค์ในการเรียกประชุมสภาสามัญชน ทั้งพระมหากษัตริย์และผู้สำเร็จราชการหรือเป็นอุปราชโดยตำแหน่ง สามารถสั่งปิดสมัยประชุมหรือยุบสภาโดยการเรียกให้มีการเลือกตั้งทั่วไปได้ รัฐสภาสมัยปัจจุบันได้ถูกเรียกประชุมโดยผู้สำเร็จราชการฌูว์ลี ปาแย็ตในเดือนกันยายน ค.ศ. 2019 ซึ่งเป็นรัฐสภาชุดที่ 43 ตั้งแต่สมัยสมาพันธรัฐ
องค์ประกอบ
[แก้]องค์ประกอบของรัฐสภาประกอบด้วยพระมหากษัตริย์เป็นประมุขโดยมีอุปราชคือผู้สำเร็จราชการเป็นผู้แทนพระองค์ สภาสูง คือ วุฒิสภา และสภาล่าง คือสภาสามัญชน แต่ละองค์ประกอบล้วนมีหน่วยราชการและข้าราชการแยกในแต่ละหน่วยงาน โดยมีบทบาทแยกจากกันชัดเจนแต่ร่วมมือกันในกระบวนการนิติบัญญัติ ธรรมเนียมปฏิบัตินี้ได้รับมาจากสหราชอาณาจักรและเกือบจะเป็นสำเนาเดียวกันกับรัฐสภาแห่งเวสต์มินส์เตอร์ โดยแตกต่างกันเพียงแค่ในกรณีของแคนาดานั้นมิได้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และไม่มีระบบขุนนางเพื่อประกอบกันเป็นสภาสูง
ในแคนาดาเรียกสมาชิกที่นั่งอยู่สภาสามัญชนว่า "สมาชิกรัฐสภา" (MPs) มิได้รวมถึงสมาชิกวุฒิสภา (ยกเว้นกล่าวในกฎหมาย อาทิเช่น พระราชบัญญัติรัฐสภาแห่งแคนาดา) ถึงแม้ว่าวุฒิสภาจะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาก็ตาม สมาชิกวุฒิสภาถึงแม้ว่าจะมีอำนาจและบทบาทน้อยในกระบวนการนิติบัญญัติ แต่มีลำดับเกียรติสูงกว่า วทั้งสมาชิกรัฐสภาและสมาชิกวุฒิสภาไม่สามารถมีบทบาทได้พร้อมๆ กันในสองสภา
พระมหากษัตริย์
[แก้]พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ในกระบวนการนิติบัญญัตินั้นเรียกตามกฎหมายว่า “รัฐสภาในพระราชินีนาถ” (Queen-in-Parliament)[2] ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1867 และในอีกหลายหลักจารีตรัฐธรรมนูญ[1] แต่ทั้งพระมหากษัตริย์และผู้สำเร็จราชการล้วนไม่มีบทบาทในกระบวนการนิติบัญญัติเลยนอกจากการพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้บังคับใช้เป็นกฎหมายได้หากร่างกฎหมายนั้นผ่านการกลั่นกรองจากทั้งสองสภาแล้ว ในทุกพระราชบัญญัติ (กฎหมายสหพันธ์) จะขึ้นต้อนด้วยประโยคว่า "บัดนี้สมเด็จพระราชินีนาถ โดยและด้วยคำแนะนำและการยินยอมจากวุฒิสภาและสภาสามัญชนแห่งแคนาดา ออกพระราชบัญญัติดังนี้..."[3] ดังนั้นพระมหากษัตริย์จึงปราศจากความรับผิดชอบจากการกระทำใดๆ ของรัฐสภายกเว้นแต่จะระบุไว้ในพระราชบัญญัติเป็นเช่นนั้น[4] โดยปกติผู้สำเร็จราชการจะเป็นผู้ดำเนินการแทนพระองค์ในการพระราชทานพระบรมราชานุญาต แต่หากพระมหากษัตริย์จะทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยเองก็ทรงกระทำได้โดยคณะรัฐมนตรีหรือผู้สำเร็จราชการจะต้องเป็นผู้ยื่นกราบบังคมทูลทราบเพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ[5]
สมาชิกของทั้งสองสภาในรัฐสภานั้นจะต้องแสดงออกถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชอำนาจ โดยสมาชิกรายใหม่จะต้องเข้าพิธีถวายสัตย์ปฎิญาณจึงจะสามารถเข้าปฏิบัติหน้าที่ได้ตามกฎหมาย นอกจากนี้ ฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการ (Official opposition) จะเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ฝ่ายค้านของพระมหากษัตริย์" เพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่าถึงแม้จะอยู่ในฝ่ายค้านต่อนโยบายของรัฐบาลในปัจจุบันแต่ยังคงกระทำหน้าที่ถวายแก่พระมหากษัตริย์ซึ่งทรงเป็นกลางทางการเมือง[6][7]
วุฒิสภา
[แก้]วุฒิสภา (ฝรั่งเศส: Sénat) คือสภาสูงในรัฐสภาแคนาดา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 105 คนมาจากการแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี[8] ซึ่งจะมาผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องมีคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องมีอายุ 30 ปีบริบูรณ์ และจะต้องเป็นข้าในพระองค์ฯ และมีสินทรัพย์มูลค่าสุทธิขั้นต่ำที่ $4,000 และจะต้องเป็นเจ้าที่ดินมูลค่าอย่างน้อย $4,000 ในรัฐที่เป็นผู้แทนในวุฒิสภา[9] สมาชิกวุฒิสภามีวาระตลอดชีพจนถึงปีค.ศ. 1965 เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เกษียณอายุราชการที่ 75 ปีบริบูรณ์ อย่างไรก็ตามสมาชิกวุฒิสภาอาจลาออกได้ก่อนกำหนด และสามารถถูกถอดจากความเป็นสมาชิกได้หากไม่สามารถเข้าร่วมประชุมรัฐสภาสองสมัยติดกัน
จุดประสงค์หลักด้านองค์ประกอบของวุฒิสภาคือการมีผู้แทนจำนวนเท่ากันตามแต่ละภูมิภาค รัฐออนทาริโอ 24 คน รัฐเกแบ็ก 24 คน เขตชายฝั่งทะเล 24 คน (รัฐโนวาสโกเชีย 10 คน รัฐนิวบรันสวิก 10 คน และ รัฐพรินซ์เอ็ดเวิร์ดไอแลนด์ 4 คน) และอีก 24 คน จากรัฐแถบตะวันตก (รัฐแอลเบอร์ตา รัฐชัสแคตเชวัน รัฐบริติชโคลัมเบีย และรัฐแมนิโทบา รัฐละ 6 คนเท่ากัน)[10] นอกจากนี้ยังมีอีกสองภูมิภาคซึ่งเพิ่มมาทีหลังในปีค.ศ. 1949 คือรัฐนิวฟันด์แลนด์และแลบราดอร์ จำนวน 6 คน ตั้งแต่ค.ศ. 1975 เป็นต้นมาในดินแดนทั้งสาม ได้แก่นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ ยูคอน และนูนาวุต มีวุฒิสภาจำนวนดินแดนละ 1 คน ผู้สำเร็จราชการสามารถใช้อำนาจแต่งตั้งวุฒิสภาได้จำนวนอีก 4 ถึง 8 คน โดยสามารถทำได้หากมีพระบรมราชนุญาต และทั้งสี่ภูมิภาคนั้นแบ่งเป็นจำนวนเท่าๆ กัน โดยอำนาจพิเศษนี้เคยใช้เพียงครั้งเดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1867 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งในขณะนั้นทำให้จำนวนวุฒิสภาเพิ่มขึ้นเป็น 113 คน
สภาสามัญชน
[แก้]องค์ประกอบของรัฐสภาแคนาดาที่มาจากการเลือกตั้งคือสภาสามัญชน (ฝรั่งเศส: Chambre des communes) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งในแบบคะแนนนำจากแต่ละเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ โดยผู้สมัครรับเลือกตั้งจะต้องมีอายุอย่างน้อย 18 ปีบริบูรณ์ สมาชิกแต่ละคนมีวาระจนถึงยุบสภาซึ่งอาจจะลงเลือกตั้งใหม่ได้ในสมัยถัดไป โดยการแบ่งเขตเลือกตั้งนั้นจะทำตามสำมะโนประชากร[11] อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1867 ได้รับรองให้แต่ละรัฐมีจำนวนสมาชิกรัฐสภาอย่างน้อยเท่ากับจำนวนของสมาชิกวุฒิสภา[12] และยังอนุญาตให้แต่ละรัฐมีจำนวนสมาชิกรัฐสภาเท่ากับที่เคยมีในปีค.ศ. 1976 หรือค.ศ. 1985[11] จึงมีผลทำให้ขนาดของสภาสามัญชนเกินกว่าจำนวนสมาชิกขั้นต่ำที่ 282 คน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Queen Victoria (1867), Constitution Act, 1867, Westminster: Queen's Printer (ตีพิมพ์ 29 March 1867), IV.17, สืบค้นเมื่อ 15 January 2009
- ↑ MacLeod, Kevin (2015). A Crown of Maples (PDF). Department of Canadian Heritage. p. 16. ISBN 978-1-100-20079-8. สืบค้นเมื่อ 16 June 2017.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Public Works and Government Services Canada (13 December 2006), Bill C-43, Preamble, Ottawa: Queen's Printer for Canada, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-15, สืบค้นเมื่อ 19 May 2009
- ↑ Queen Elizabeth II (1985), Interpretation Act, §17, Ottawa: Queen's Printer for Canada, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 July 2009, สืบค้นเมื่อ 1 June 2009
- ↑ Queen Victoria (29 March 1867). "Constitution Act, 1867". Westminster: Queen's Printer. IV.55.
- ↑ Marleau, Robert; Montpetit, Camille (2000). House of Commons Procedure and Practice. Ottawa: Queen's Printer for Canada. ISBN 2-89461-378-4. 1. Parliamentary Institutions > Institutional Framework > The Opposition. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 October 2012. สืบค้นเมื่อ 19 October 2009.
- ↑ Schmitz, Gerald (December 1988), The Opposition in a Parliamentary System, Ottawa: Queen's Printer for Canada, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2009, สืบค้นเมื่อ 21 May 2009
- ↑ Queen Victoria (29 March 1867). "Constitution Act, 1867". Westminster: Queen's Printer. IV.24.
- ↑ Queen Victoria (29 March 1867). "Constitution Act, 1867". Westminster: Queen's Printer. IV.23.
- ↑ Queen Victoria (29 March 1867). "Constitution Act, 1867". Westminster: Queen's Printer. IV.22.
- ↑ 11.0 11.1 Queen Elizabeth II (4 March 1986), Constitution Act, 1985 (Representation), Ottawa: Queen's Printer for Canada, I.2, สืบค้นเมื่อ 19 October 2009
- ↑ Queen Victoria (29 March 1867). "Constitution Act, 1867". Westminster: Queen's Printer. IV.21A.