ข้ามไปเนื้อหา

รัฐสภาออสเตรเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐสภาออสเตรเลีย

Parliament of Australia
สมัยที่ 46
ประเภท
ประเภท
องค์ประกอบวุฒิสภา
สภาผู้แทนราษฎร
ประวัติ
ก่อตั้ง (1901-05-09) 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1901 (123 ปี)
ผู้บริหาร
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
ตั้งแต่ 8 กันยายน ค.ศ. 2022
เดวิด เฮอร์ลีย์
ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม ต.ศ. 2019
สกอตต์ ไรอัน, เสรีนิยม
ตั้งแต่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017
โทนี สมิธ, เสรีนิยม
ตั้งแต่ 10 สิงหาคม 2015
โครงสร้าง
สมาชิก227 คน
(ส.ส. 151 คน และส.ว. 76 คน)
กลุ่มการเมืองใน
สภาผู้แทนราษฎร
ฝ่ายรัฐบาล (76)

พรรคร่วมรัฐบาล
  เสรีนิยม (60)[a]
  ชาติ (16)[b]

ฝ่ายค้าน (68)
  แรงงาน (68)

ครอสเบนช์ (7)
  Greens (1)
  KAP (1)
  Centre Alliance (1)
  อิสระ (4)[c]


กลุ่มการเมืองใน
วุฒิสภา
ฝ่ายรัฐบาล (36)

พรรคร่วมรัฐบาล
  เสรีนิยม (31)[d]
  ชาติ (5)[e]

ฝ่ายค้าน (26)
  แรงงาน (26)

ครอสเบนช์ (14)
  Greens (9)
  One Nation (2)
  Centre Alliance (1)
  Lambie Network (1)
  Patrick Team (1)


การเลือกตั้ง
แบบหลายรอบในทันที
แบบเสียงเดียวถ่ายโอนคะแนนได้
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด
18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งล่าสุด
18 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
(ครึ่งหนึ่ง)
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหน้า
ก่อน 3 กันยายน ค.ศ. 2022
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งหน้า
ก่อน 21 พฤษภาคม ค.ศ. 2022
การกำหนดเขตเลือกตั้งจัดทำโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งของแต่รัฐ
ที่ประชุม
ที่ทำการรัฐสภา
ออสเตรเลีย แคนเบอร์รา, ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี
เว็บไซต์
aph.gov.au

รัฐสภาออสเตรเลีย (อังกฤษ: Parliament of Australia) ชื่อทางการว่า รัฐสภากลาง (อังกฤษ: Federal Parliament) หรือเรียกอีกได้ว่า รัฐสภาเครือจักรภพ (อังกฤษ: Commonwealth Parliament) คือสภานิติบัญญัติของเครือรัฐออสเตรเลีย โดยมีประกอบสามประการ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ (โดยผู้สำเร็จราชการเป็นผู้แทนพระองค์ฯ) วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร[1][2] โดยสภาทั้งสองนั้นมีที่มาโดยการเลือกตั้งโดยนำแบบมาจากรัฐสภาสหรัฐ วุฒิสภานั้นเป็นตัวแทนของรัฐและดินแดนในขณะที่สภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนของประชาชนในเขตเลือกตั้งแบ่งตามจำนวนประชากร ถึงแม้ว่าจะมีสองสภาแต่ยังคงมีการรวมอำนาจบางประการอันเป็นมรดกของระบบเวสต์มินสเตอร์[3]

สภาสูง ได้แก่ วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 76 คน โดยมาจากรัฐๆ ละ 12 คน และดินแดนทั้งสองดินแดนละ 2 คน นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ซึ่งรวมถึง เกาะคริสต์มาสกับหมู่เกาะโคโคส (คีลิง) และออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี ซึ่งรวมถึงเกาะนอร์ฟอล์ก และเจอร์วิสเบย์เทร์ริทอรี สมาชิกวุฒิสภามีที่มาโดยการเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบเสียงเดียวถ่ายโอนคะแนนได้ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ของสภาที่มีสมาชิกพรรคขนาดน้อยใหญ่ที่หลากหลาย[4] พรรคการเมืองในรัฐบาลหรือพรรคร่วมรัฐบาลนั้นไม่เคยได้เสียงข้างมากในวุฒิสภาตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 (ยกเว้นปีค.ศ. 2005 และค.ศ. 2007) และโดยปกตินั้นจะต้องเจรจาต่อรองกับพรรคการเมืองและนักการเมืองอิสระจำนวนมากเพื่อที่จะให้ผ่านร่างกฎหมายได้[5]

สภาล่าง ได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 151 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบหลายรอบในทันทีซึ่งเป็นการเลือกตั้งแบบจัดลำดับความชอบโดยใช้เขตเลือกตั้งแบบมีผู้แทนเพียงคนเดียว[6][7] โดยส่วนใหญ่จะมีเพียงกลุ่มพรรคการเมืองใหญ่จำนวนสองกลุ่มในสภา ได้แก่ กลุ่มแนวร่วมขวากลาง (ประกอบด้วยพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติ และพรรคกลางซ้ายคือพรรคแรงงาน โดยรัฐบาลจะต้องได้รับความไว้วางใจจากสภาผู้แทนราษฎรจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้

สภาผู้แทนราษฎรมีวาระคราวละ 3 ปี หรือน้อยกว่าได้ในกรณียุบสภา ในขณะที่วุฒิสภานั้นมีวาระประจำซึ่งมีสมาชิกจำนวน 36 คนครบวาระทุกๆ สามปี (วาระของสมาชิกวุฒิสภาสี่คนจากสองดินแดนนั้นตรงกับการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร) ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภานั้นมักจะชนกัน ในออสเตรเลียมีกลไกการยุบสภาเพื่อป้องการการติดล็อคของสภาโดยใช้การยุบสภาคู่ (double dissolution) ซึ่งสามารถยุบสภาทั้งหมดรวมถึงวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรในกรณีที่วุฒิสภาปฏิเสธการผ่านกฎหมายที่ผ่านการลงมติรับรองโดยสภาผู้แทนราษฎร[8]



หมายเหตุ

[แก้]
  1. Including 17 Liberal National Party of Queensland (LNP) MPs who sit in the Liberals party room
  2. Including 6 Liberal National Party of Queensland (LNP) MPs who sit in the Nationals party room
  3. Current independent MPs: Andrew Wilkie (Clark), Helen Haines (Indi), Zali Steggall (Warringah), Craig Kelly (Hughes)
  4. Including four Liberal National Party of Queensland (LNP) senators who sit in the Liberals party room
  5. Including two Liberal National Party of Queensland (LNP) senators and one Country Liberal Party (CLP) senator who sit in the Nationals party room

อ้างอิง

[แก้]
  1. Constitution of Australia, section 1.
  2. Constitution of Australia, section 2.
  3. Williams, George; Brennan, Sean; Lynch, Andrew (2014). Blackshield and Williams Australian Constitutional Law and Theory: Commentary and Materials (6 ed.). Leichhardt, NSW: Federation P. p. 2. ISBN 978-1-86287-918-8..
  4. "Odgers' Australian Senate Practice Fourteenth Edition Chapter 4 – Elections for the Senate". 2017. สืบค้นเมื่อ 25 March 2017.
  5. Williams, George; Brennan, Sean; Lynch, Andrew (2014). Blackshield and Williams Australian constitutional law and theory : commentary and materials (6th ed.). Annandale, NSW: Federation Press. p. 415. ISBN 9781862879188.
  6. "House of Representatives Practice, 6th Ed – Chapter 3 – Elections and the electoral system". 2015. สืบค้นเมื่อ 25 March 2017.
  7. "A Short History of Federal Election Reform in Australia". Australian electoral history. Australian Electoral Commission. 8 June 2007. สืบค้นเมื่อ 1 July 2007.
  8. "Odgers' Australian Senate Practice Fourteenth Edition Chapter 21 – Relations with the House of Representatives". 2017. สืบค้นเมื่อ 22 March 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]