บุนเดิสทาค
สภาสหพันธ์ (บุนเดิสทาค) Bundestag | |
---|---|
ชุดที่ 20 | |
ประวัติ | |
สถาปนา | ค.ศ. 1949 |
ก่อนหน้า | ไรชส์ทาค (นาซีเยอรมนี) ค.ศ. 1933–1945 หอประชาชน (เยอรมนีตะวันออก) ค.ศ. 1949–1990 |
ผู้บริหาร | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 736 คน[1] |
กลุ่มการเมืองใน บุนเดิสทาค | ฝ่ายรัฐบาล (417)
ฝ่ายค้าน (319) |
การเลือกตั้ง | |
ระบบการเลือกตั้งบุนเดิสทาค | ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม (MMP) |
การเลือกตั้งสมาชิกบุนเดิสทาคครั้งล่าสุด | 26 กันยายน ค.ศ. 2021 |
การเลือกตั้งสมาชิกบุนเดิสทาคครั้งหน้า | ก่อน ตุลาคม ค.ศ. 2025 |
ที่ประชุม | |
อาคารที่ประชุมใหญ่ไรชส์ทาค เขตมิทเทอ, เบอร์ลิน เยอรมนี | |
เว็บไซต์ | |
www | |
ข้อบังคับ | |
Rules of Procedure of the German Bundestag and Mediation Committee (ภาษาอังกฤษ) |
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของ |
การเมืองการปกครอง ประเทศเยอรมนี |
---|
|
บุนเดิสทาค (เยอรมัน: Bundestag; แปลว่า สภาสหพันธ์) เป็นสภากลางของประเทศเยอรมนี เป็นสถาบันนิติบัญญัติเดียวที่สมาชิกได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั่วทั้งประเทศ บุนเดิสทาคอาจเทียบได้กับสภาล่างในประเทศที่ใช้ระบบสองสภา เช่น สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ บุนเดิสทาคดำรงอยู่ตามบทบัญญัติหมวดที่สามของกฎหมายพื้นฐานสำหรับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (รัฐธรรมนูญ)[2] ซึ่งบังคับใช้เมื่อ ค.ศ. 1949 เป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่รับช่วงมาจากไรชส์ทาคของนาซีเยอรมนี อย่างไรก็ตาม กฎหมายพื้นฐานไม่ได้บัญญัติว่าประเทศเยอรมนีใช้ระบบสองสภา
บรรดาสมาชิกบุนเดิสทาคคือผู้แทนของประชาชนชาวเยอรมันทั้งปวง ไม่อยู่ใต้อาณัติคำสั่งใด อยู่ใต้มโนธรรมของตนเท่านั้น มีเพียงภาระรายงานเรื่องต่างๆ ต่อประชาชนของตน จำนวนสมาชิกบุนเดิสทาคขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้คือ 598 คน[3] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากระบบการชดเชยที่นั่งส่วนขยายเพื่อให้เกิดความเป็นสัดส่วนนั้นทำให้ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิกถึง 709 คน ซึ่งถือเป็นบุนเดิสทาคที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีมา
สมาชิกสภาสหพันธ์มาการเลือกตั้งจัดขึ้นทุกสี่ปีโดยประชาชนเยอรมันที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป[4] การเลือกตั้งนั้นใช้ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมซึ่งผสมผสานระหว่างระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดกับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเพื่อให้ขนาดของพรรคต่างๆ ในสภานั้นตรงกับคะแนนเสียงโดยรวมจากคะแนนรวมทั้งประเทศ
บทบาทหน้าที่ของสภาสหพันธ์มีหลายประการ บุนเดิสทาคนั้นถือเป็นสภานิติบัญญัติส่วนกลางของประเทศเยอรมนี โดยเปิดทางให้แต่ละมลรัฐมีส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติผ่านทาง บุนเดิสราท (คณะมนตรีสหพันธ์) ซึ่งคล้ายกับสภาสูงในระบบสองสภา อย่างไรก็ตาม กฎหมายพื้นฐาน[5]แบ่งแยกอำนาจทั้งสององค์กรออกจากกันโดยสิ้นเชิง แต่ยังคงร่วมมือกันในการตรากฎหมายสำหรับใช้ในระดับสหพันธ์ บุนเดิสทาคยังมีหน้าที่ในการเลือกตั้งฝ่ายบริหาร และยังมีบทบาทในการกำกับการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งการจัดการด้านงบประมาณในระดับสหพันธ์ด้วย
ตั้งแต่การรวมประเทศในปี 1999 ที่ทำการสภาสหพันธ์ตั้งอยู่ที่อาคารไรชส์ทาคในเบอร์ลิน[6] และยังมีสำนักงานย่อยตามอาคารอื่นของรัฐ ทั้งยังมีตำรวจสภาสหพันธ์ (Bundestagspolizei) ซึ่งเป็นตำรวจที่ขึ้นตรงต่อสภา
ดูเพิ่ม
[แก้]- สมัชชาสหพันธ์ (Bundesversammlung) - คณะผู้เลือกตั้งประธานาธิบดี
- คณะมนตรีสหพันธ์ (Bundesrat) - สภาผู้แทนรัฐสมาชิกสหพันธ์
- คณะมนตรีผู้แทนราษฎร (Rat der Volksbeauftragten) - รัฐบาลเฉพาะกาลหลังสิ้นสุดระบอบจักรพรรดิ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Sitzverteilung des 20. Deutschen Bundestages" (ภาษาเยอรมัน). Bundestag.de. 2022-05-30. สืบค้นเมื่อ 2022-11-26. |
- ↑ มาตรา 38 ถึง 49
- ↑ Paragraph 1 Section 1 of the Federal Elections Act (Bundeswahlgesetz)
- ↑ มาตรา 38 วรรค 2 แห่งกฎหมายพื้นฐานสหพันธ์: บุคคลผู้มีอายุถึงสิบแปดปีสามารถใช้สิทธิ์ลงคะแนนได้ บุคคลผู้บรรลุนิติภาวะแล้วสามารถรับเลือกตั้งได้
- ↑ Grundgesetz für die Bundesrepublik Deutschland (PDF) (23.12.2014 ed.). Bonn: Parlamentarischer Rat. 8 May 1949. สืบค้นเมื่อ 19 June 2016.
- ↑ "Plenarsaal "Deutscher Bundestag" – The Path of Democracy". www.wegderdemokratie.de (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-12-11.