ข้ามไปเนื้อหา

ลำดวน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Melodorum fruticosum)

ลำดวน
ลำดวนที่สวนนงนุช ประเทศไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: แมกโนลิด
Magnoliids
อันดับ: อันดับจำปา
วงศ์: วงศ์กระดังงา
สกุล: Sphaerocoryne

(Baill.) D.M.Johnson & N.A.Murray
สปีชีส์: Sphaerocoryne lefevrei
ชื่อทวินาม
Sphaerocoryne lefevrei
(Baill.) D.M.Johnson & N.A.Murray

ลำดวน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Sphaerocoryne lefevrei) มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่า หอมนวล (ภาคเหนือ) ลำดวน (ภาคอีสาน) เป็นไม้ดอกชนิดหนึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดศรีสะเกษ นอกจากนี้ ดอกหอมนวลยังเป็นดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง[1] และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษด้วย[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

ลำดวนเป็นไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5 - 20 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปกรวย หนาทึบ ลำต้นเปลาตรง มีเปลือกสีน้ำตาล แตกขรุขระเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานหรือรูปใบหอก กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 5-11.5 เซนติเมตร ปลายใบแหลมโคนใบสอบหรือมน ดอกมีสีนวลกลิ่นหอม ออกเดี่ยวตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบดอกหนาและแข็ง กลีบดอก ชั้นนอก 3 กลีบแผ่ออก ชั้นใน 3 กลีบ หุบเข้าหากัน เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ลักษณะผลเป็นผลกลุ่ม ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.6 เซนติเมตร สีเขียว เมื่อสุกสีดำ รสหวานอมเปรี้ยว

ออกดอกเดือน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ [3]

อนุกรมวิธาน

[แก้]

ลำดวนเคยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melodorum fruticosum Lour. มาเป็นเวลานาน แต่ต่อมาพบว่าแท้จริงแล้ว M. fruticosum เป็นชื่อพ้องของ Uvaria siamensis หรือนมแมว ซึ่งเป็นพืชต่างชนิดกัน ชื่อพฤกษศาสตร์ที่ถูกต้องของลำดวนในปัจจุบันใช้ว่า Sphaerocoryne lefevrei (Baill.) D. M. Johnson & N. A. Murray[4]

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

[แก้]

สัญลักษณ์ประจำสถานศึกษา

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-14. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
  2. ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ[ลิงก์เสีย]
  3. "อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ลำดวน". สืบค้นเมื่อ 2024-04-13.
  4. "#เรื่องเล่าว่าด้วยชื่อพฤกษศาสตร์ "ลำดวน" Sphaerocoryne lefevrei (Baill.) D. M. Johnson & N. A. Murray". เพจเฟซบุ๊ก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สืบค้นเมื่อ 11 June 2024.
  • สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย ISBN 974-277-385-8 พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2540

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]