กระแซ
ꯃꯩꯇꯩ/ꯃꯤꯇꯩ | |
---|---|
หญิงชาวกระแซฮินดูในชุดเจ้าสาว | |
ประชากรทั้งหมด | |
1.8 ล้านคน[1] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
รัฐมณีปุระ, รัฐอัสสัม, รัฐตริปุระ, รัฐนาคาแลนด์, รัฐเมฆาลัย | |
ภาษา | |
มณีปุรี, อังกฤษ | |
ศาสนา | |
ฮินดู (83.38%), สนมาหี (16%), อิสลาม (8%), คริสต์ (1.06%)[2][3][4] | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ปันกัล, นาคา, มณีปุระพิษณุปุระ, อาหม, พม่า, ตริปุระ, ไทใหญ่, กะเหรี่ยง |
กระแซ (อังกฤษ: Cassay; พม่า: ကသည်း) เรียกตนเองว่า ไมไต (Meitei, /ˈməɪtəɪ/)[5], มีเต (Meetei) หรือ มณิปุรี (Manipuri,[6][7] ฮินดี: मणिपुरी) เป็นชาติพันธุ์หนึ่งอาศัยอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย[8] และเป็นประชากรส่วนใหญ่ของรัฐมณีปุระ[8] ส่วนใหญ่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณที่ราบตอนกลางของรัฐมณีปุระ และยังพบอีกว่ามีจำนวนไม่น้อยอาศัยดินแดนข้างเคียงเช่น รัฐอัสสัม,[9] รัฐเมฆาลัย[10] และรัฐตริปุระ ทั้งยังพบการตั้งถิ่นฐานในประเทศอื่น ๆ ใกล้เคียงคือประเทศบังกลาเทศ[11] และพม่า[12] เมื่อพม่าเรืองอำนาจ มักกวาดต้อนเชลยชาวกระแซมาฝึกหัดเป็นทหารม้า[13] และเป็นพราหมณ์ในราชสำนักพม่า[14] ปัจจุบันมีชาวกระแซอาศัยอยู่ในหลายพื้นที่ของประเทศพม่า ได้แก่ รัฐกะชีน ภาคย่างกุ้ง ภาคซะไกง์ รัฐฉาน และภาคอิรวดี เป็นอาทิ[15]
ชาวกระแซเป็นที่รู้จักในไทยอยู่บ้าง ดังปรากฏคำอธิบายลักษณะของชาวกระแซใน จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ 18 ภายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ระบุว่า "ชาวกระแซมีผิวคล้ำ นุ่งผ้าขาว มีการอาบยาตามร่างกาย ชำนาญในการล่ากวาง และอาศัยอยู่ในดินแดนที่ขึ้นต่อพุกาม (พม่า)" โดยเนื้อหาแต่งโดยพระสมบัติบาล ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[16] นอกจากนี้ประชาชนในตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เชื่อว่าบรรพบุรุษของตนเป็นชาวกระแซที่มีเชื้อสายมอญอพยพลงมาจากเมืองพิษณุโลก เข้าไปตั้งชุมชนเมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา[17] หรือราว 400 ปีก่อน[18] และสันนิษฐานกันว่าชื่อตำบล "กระแส" มาจากคำว่า "กระแซ" ตามชื่อชาติพันธุ์ของตน[17]
ชาวกระแซใช้ภาษามณีปุระในการสื่อสาร ซึ่งภาษาดังกล่าวจัดอยู่ในตระกูลภาษาทิเบต-พม่า และเป็นหนึ่งในยี่สิบสองภาษาราชการของประเทศอินเดียตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1992[19] เดิมใช้อักษรเมเตมาเยกในการเขียน[20] แต่ภายหลังถูกแทนที่ด้วยอักษรเบงกอลช่วงศตวรรษที่ 18[21] ปัจจุบันมีความพยายามในการฟื้นฟูการใช้อักษรเมเตมาเยกอีกครั้งอย่างช้า ๆ
แต่เดิมชาวกระแซนับถือศาสนาสนมาหี (Sanamahism) ซึ่งเป็นลัทธิบูชาสุริยเทพและผีบรรพชน[22] และพบร่องรอยว่าชาวกระแซเคยนับถือศาสนาพุทธมาก่อน[23] ปัจจุบันชาวกระแซส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดูนิกายไวษณพ[24] ซึ่งเปลี่ยนไปนับถือเมื่อราว 300 ปีก่อนหน้านี้[25] แต่เป็นเพียงฮินดูพื้นเมืองหรือฮินดูแบบมณีปุระเท่านั้นเพราะรับอิทธิพลมาอย่างผิวเผิน โดยมีการนับถือปะปนกับลัทธิพื้นเมือง[24][26] นอกจากนี้ยังมีชาวกระแซบางส่วนเข้ารีตศาสนาอิสลามเมื่อศตวรรษที่ 17 ในยุคจักรวรรดิโมกุลเรืองอำนาจ[27] โดยจะถูกเรียกว่าปันกัล (Pangal)[28] หรือมียะฮ์เมเต (Miah Meitei)[29]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Meitei". Ethnologue (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 29 September 2020.
- ↑ "Manipur violence: Who are Meiteis and Kukis? What are they fighting over". Economic Times. 9 May 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2023. สืบค้นเมื่อ 22 July 2023.
- ↑ "Meitei unspecified in India". Joshua Project. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2023. สืบค้นเมื่อ 20 September 2023.
- ↑ "'Inclusion of Sanamahi religion in minority is being reviewed' : 27th aug11 ~ E-Pao! Headlines". www.e-pao.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2021. สืบค้นเมื่อ 25 May 2020.
- ↑ Laurie Bauer (2007). The Linguistics Student’s Handbook. Edinburgh University Press. ISBN 9780748627592.
- ↑ "At a Glance". Official website of Manipur (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Abstract of speakers' strength of languages and mother tongues – 2000, Census of India, 2001
- ↑ 8.0 8.1 Prabaskar, Arunima. "Shiv Sena plans to rename Nagaland to Naganchi". Geocities.ws.
- ↑ "Meitei Diaspora In Assam". E-pao.net. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ "Festivals Of Meghalaya..." เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ตุลาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2018.
- ↑ Project, Joshua. "Manipuri, Meitei in Bangladesh". Joshuaproject.net (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-23. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ Project, Joshua. "Manipuri, Ponna in Myanmar (Burma)". Joshuaproject.net (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-01. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ ศิริญากรณ์ โชคประเสริฐศรี, บ.ก. (2019) [2006]. มหาราชวงษ์ พงษาวดารพม่า. แปลโดย นายต่อ. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์. p. 422. ISBN 9786165146258.
- ↑ Sanajaoba, Naorem (1988). Manipur, Past and Present: The Heritage and Ordeals of a Civilization (ภาษาอังกฤษ). Mittal Publications. ISBN 978-81-7099-853-2.
- ↑ "Manipuri in Myanmar 1". e-pao.net. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 March 2023. สืบค้นเมื่อ 14 March 2023.
- ↑ "จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา แผ่นที่ 18 (ภาพกระแซ)". จารึกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). 21 ธันวาคม 2566. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 17.0 17.1 โอฬาร ถิ่นบางเตียว (2559). การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง ด้วยวิธีการประวัติศาสตร์บอกเล่า : กรณีศึกษาตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง (PDF). วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา 4:(2). p. 12-13.
- ↑ "วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กระแสบน". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2567.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "Eight Schedule of the Constitution of India" (PDF). Mha.nic.in. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ "History of Meetei Mayek". Tabish.freeshell.org. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ "Manipuri language and alphabets". Omniglot.com. สืบค้นเมื่อ 30 September 2017.
- ↑ Bertil Lintner (2015). Great Game East: India, China, and the Struggle for Asia's Most Volatile Frontier. Yale University Press. p. 113. ISBN 978-0-300-19567-5.
- ↑ Sanjoo Thangjam (15 มิถุนายน 2017). "Buddhism in Manipur". E-Pao. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018.
- ↑ 24.0 24.1 "Redefining Manipuri Hindu". Imphal Times. 24 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018.
- ↑ Aheibam Koireng Singh; Sanasam Amal Singh (2019). Hinduism in Manipur. Centre for Manipur Studies, Manipur University. New Delhi: Akansha Publishing House. ISBN 978-81-8370-557-8.
- ↑ Kulacandra (2012). Maitai lāinina, Hindū lāinīnagī cāṃdama-pādama [Comparative study of indigenous Meitei faith and Hinduism] (ภาษามณีปุระ). Imphal: Bi. Kulacandra Sarmma. OCLC 813301477.
- ↑ Syed Ahmed (5 มกราคม 2015). "Muslims in the history of Manipur". Imphal Times. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018.
- ↑ Farooque Ahmed (1 กรกฎาคม 2002). "Manipuri Muslims or Meitei-Pangal?". The Milli Gazette. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2018.
- ↑ Dr. N. Debendra Singh, 2005, Identities of the Migrated People of Manipur, Canchipur: Centre for Manipuri Studies (Manipur University).