ข้ามไปเนื้อหา

เกด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Manilkara hexandra)

เกด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophyta
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: อันดับกุหลาบป่า
วงศ์: วงศ์พิกุล
สกุล: Manilkara

(Roxb.) Dubard[1]
สปีชีส์: Manilkara hexandra
ชื่อทวินาม
Manilkara hexandra
(Roxb.) Dubard[1]
ชื่อพ้อง[1][2]

Mimusops hexandra Roxb. (basionym)

เกด หรือ ราชายตนะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Manilkara hexandra) เป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและดอกไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชื่อเกดปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนและรามเกียรติ์ (เรื่องหลังเป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1) ในพุทธประวัติ ต้นราชายตนะเป็นที่ประทับในสัปดาห์ที่ 7 หลังจากการตรัสรู้[3]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

เป็นต้นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีน้ำยางขาว สูง 15-25 เมตร เรือนยอดแน่นทึบเป็นพุ่มกลม ลำต้น และกิ่งมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอมเทาหรือสีคล้ำ แตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมหรือแตกเป็นร่องลึกตามยาว เปลือกในสีแดงอมน้ำตาลหรือชมพู ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับเป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง รูปไข่กลับหรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง 2.5-6 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร ปลายมนกว้าง และหยักเว้า โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบหนา ด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีนวล เส้นแขนงใบเรียงขนานกันถี่เห็นไม่ชัด ก้านใบยาว 1.6-2 เซนติเมตร ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกสั้น ออกตามง่ามใบและเหนือรอยแผลใบปลายดอกชี้ลง ดอกสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 6 กลีบ เรียงเป็น 2 วง วงละ 3 กลีบ กลีบดอกโคนติดกันเป็นหลอดสั้น ๆ ปลายแยกเป็นแฉกรูปใบหอก 6 แฉก เกสรเพศผู้สมบูรณ์และไม่สมบูรณ์อย่างละ 6 อัน เรียงสลับกัน รังไข่มีขนนุ่มทั่วไป ผลกลมรี กว้าง 0.9-1.1 เซนติเมตร ยาว 1.4-2 เซนติเมตร ส่วนบนมีก้านเกสรเพศเมียติดค้างอยู่เป็นติ่งแหลม ฐานผลมีกลีบเลี้ยงที่เจริญขึ้นมารองรับ ผลสุกสีเหลืองหรือเหลืองอมส้ม เนื้อนุ่ม มี 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง สีน้ำตาลแดงเป็นมัน รูปไข่ ยาว 1-1.5 เซนติเมตร

การกระจายพันธุ์

[แก้]

พบในอนุทวีปอินเดีย: บังกลาเทศ, อินเดีย และศรีลังกา; อินโดจีน: กัมพูชา, พม่า, ไทย และเวียดนาม[1] ในประเทศไทยพบในภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ ขึ้นกระจัดกระจายในป่าดิบ บนพื้นที่ดินร่วนปนทรายใกล้ฝั่งทะเล และตามเขาหินปูนบนเกาะที่ไม่สูงจากระดับน้ำทะเลมากนัก

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Ann. Mus. Colon. Marseille ser. 3, 3:9, fig. 2. 1915 "Manilkara hexandra". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ December 29, 2009.
  2. Pl. Coromandel 1:16, t. 15. 1795 "Mimusops hexandra". Germplasm Resources Information Network (GRIN). Agricultural Research Service (ARS), United States Department of Agriculture (USDA). สืบค้นเมื่อ December 29, 2009.
  3. หนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 90 พ.ค. 51 โดย เรณุกา โดย ผู้จัดการออนไลน์ 2 พฤษภาคม 2551 10:13 น.