Macrobrachium lanchesteri
บทความเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนี้มีชื่อบทความเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ เนื่องจากไม่มีชื่อสามัญเป็นภาษาไทย |
Macrobrachium lanchesteri | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Arthropoda |
ไฟลัมย่อย: | Crustacea |
ชั้น: | Malacostraca |
อันดับ: | Decapoda |
วงศ์: | Palaemonidae |
สกุล: | Macrobrachium |
สปีชีส์: | M. lanchesteri |
ชื่อทวินาม | |
Macrobrachium lanchesteri De Man, 1911 | |
ชื่อพ้อง | |
|
Macrobrachium lanchesteri เป็นสัตว์พวกกุ้งกั้งปูชนิดหนึ่งในสกุล Macrobrachium ของวงศ์ Palaemonidae โดยเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ "กุ้งฝอย" หรือ "กุ้งฝอยน้ำจืด" ร่วมกับกุ้งอีกหลายชนิดในสกุล Macrobrachium และสกุล Caridina ของวงศ์ Atyidae[2]
ถิ่นที่อยู่
[แก้]เขตการกระจายพันธุ์ของกุ้งชนิด M. lanchesteri อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถือเป็นสัตว์น้ำประจำถิ่นของลาว; ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภาคกลาง และภาคใต้ของไทย; มาเลเซียตะวันตกและรัฐซาบะฮ์ของมาเลเซีย; สิงคโปร์ และบรูไน[1] นอกจากนี้ยังพบในพื้นที่บางส่วนของพม่า, ภาคเหนือของไทย, บริเวณใกล้ชายฝั่งทะเลของกัมพูชา และตอนใต้สุดของเวียดนาม
ลักษณะ
[แก้]กุ้งชนิด M. lanchesteri เป็นกุ้งน้ำจืดขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร มีเปลือกแข็งห่อหุ้มตัว มีขา 10 คู่ แบ่งหน้าที่ออกเป็นขาสำหรับจับอาหาร ขาเดิน และขาว่ายน้ำ ขาเดินคู่ที่ 2 เป็นรูปทรงกระบอกยาวเรียว[3] มีขนาดไล่เลี่ยกับขาเดินคู่ที่ 4 และ 5 ข้อปลายมีลักษณะเป็นก้ามหนีบ ลักษณะสำคัญคือมีกรีตรง (ส่วนปลายงอนเล็กน้อย) ขาเดิน 3 คู่ยาวเท่ากัน ต่างกับลูกกุ้งก้ามกรามที่มีขนาดเท่ากันซึ่งจะมีกรียาวและโค้งขึ้น[4]
พฤติกรรม
[แก้]กุ้งชนิดนี้มักอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณผิวน้ำริมตลิ่งของหนอง บึง บ่อ และนาข้าวซึ่งเป็นแหล่งน้ำนิ่งที่มีก้อนหิน รากหญ้า หรือรากพรรณไม้น้ำ รวมทั้งในบริเวณแหล่งน้ำที่มีกระแสน้ำขึ้นลงไหลเอื่อย ๆ โดยกินจุลินทรีย์ ไรน้ำ และตัวอ่อนของสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร[4]
การใช้ประโยชน์
[แก้]กุ้งชนิด M. lanchesteri รวมทั้งกุ้งฝอยน้ำจืดชนิดอื่นเป็นที่นิยมบริโภคกันทั่วไป ในไทยมักนำไปทำกุ้งฝอยทอด ไข่เจียวกุ้งฝอย ยำกุ้งเต้น ก้อยกุ้ง กุ้งจ่อม บางครั้งก็ใช้เป็นเหยื่อตกปลาหรืออาหารเลี้ยงลูกปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลาช่อน ปลากราย ปลาเสือตอ ปลาสวยงามต่าง ๆ เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 De Grave, S., Wowor, D. & Cai, X. (2013). Macrobrachium lanchesteri. In: IUCN 2013. IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 29 November 2015.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 134. ISBN 978-616-707-356-9.
- ↑ จุฑามาศ จิวาลักษณ์ และพรพรรณ ศุภกิจรัตนากุล. กุ้งสกุล Macrobrachium ที่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย เก็บถาวร 2021-12-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. [ม.ป.ท.], [ม.ป.ป].
- ↑ 4.0 4.1 กรมประมง. "ภาพปลาและสัตว์น้ำไทย". Sanook.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2015.