ข้ามไปเนื้อหา

Palaemonidae

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Palaemonidae
กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) เป็นกุ้งในวงศ์นี้ที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำกร่อย โดยถือว่าเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ไฟลัมย่อย: Crustacea
ชั้น: Malacostraca
อันดับ: Decapoda
อันดับฐาน: Caridea
วงศ์ใหญ่: Palaemonoidea
วงศ์: Palaemonidae
Rafinesque, 1815
วงศ์ย่อย

Palaemonidae เป็นวงศ์ของครัสเตเชียนจำพวกกุ้งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Palaemonidae

จัดเป็นวงศ์ขนาดใหญ่ ด้วยมีจำนวนสมาชิกมากมาย พบได้ตั้งแต่ในแหล่งน้ำจืดสนิทบนยอดภูเขาสูง, แม่น้ำ, เขตน้ำกร่อย ไปจนถึงก้นทะเลลึกกว่า 1,300 เมตร ขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรไปจนถึงมากกว่า 18 เซนติเมตร โดยชนิดที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium dacqueti) ส่วนชนิดที่อยู่ตามแนวปะการังส่วนใหญ่จะมีความยาวไม่เกิน 5 เซนติเมตร [1]

การจำแนก

[แก้]
Macrobrachium carcinus กุ้งก้ามกรามน้ำจืดอีกชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ที่พบได้ในทวีปอเมริกา
Vir philippinensis (Pontoniinae) บนปะการังฟองเขียว (Plerogyra sinuosa: Scleractinia)
Miopontonia yongei จากบาหลีกับ Bopyridae ไม่ทราบชนิด

แบ่งออกไปได้มากกว่า 950 ชนิด ใน 137 สกุล[2][3] โดยแบ่งออกไปได้เป็น 2 วงศ์ย่อย

Palaemoninae Rafinesque, 1815

พบมากกว่า 19 สกุล ในฝั่งทะเลอันดามันของไทยรายงานพบทั้งหมด 5 สกุล 16 ชนิด มีลักษณะทั่วไป คือ เปลือกคลุมหัว และลำตัวเรียบ เกือบทุกชนิดมีกรียาวใหญ่ เห็นฟันกรีชัดเจน ขอบปลายของสันหางมีหนาม 2 คู่ มีขนมากกว่าหนึ่งคู่ มีเหงือกแบบ pleurobranch ที่ฐานของ third maxilliped ขาเดินคู่ที่ 1 และ 2 เป็นก้ามสมบูรณ์ ปล้องที่ 3 จากปลายของขาเดินคู่ที่ 2 ไม่แบ่งเป็นปล้องย่อย [1]

Pontoniinae Kingsley, 1879

พบมากกว่า 71 สกุล มากกว่าครึ่งของกุ้งในวงศ์ย่อยนี้อาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อน โดยเฉพาะในแถบอินโด-แปซิฟิก พบมากกว่า 41 สกุล 384 ชนิด ในทะเลอันดามันมีรายงานพบไม่น้อยกว่า 21 สกุล 54 ชนิด โดยร้อยละ 80 จะอาศัยร่วมกับสัตว์ชนิดอื่น โดยเฉพาะสกุล Periclimenes เป็นสมาชิกหลักของวงศ์ย่อยนี้ มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 164 ชนิด ทุกชนิดอาศัยอยู่ร่วมกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ทั้งสัตว์ที่เกาะติดอยู่กับที่ และสัตว์ที่เคลื่อนที่ได้ เช่น ปะการัง, กัลปังหา, ดอกไม้ทะเล, ดาวขนนก, เม่นทะเล, ปลิงทะเล เป็นต้น มีลักษณะโดยทั่วไป คือ เปลือกคลุมหัวและลำตัวเรียบ ขอบปลายของสันหางมีหนาม 3 คู่ ไม่มีเหงือกแบบ pleurobranch ที่ฐานของ third maxilliped ขาเดินคู่ที่ 1 และ 2 เป็นก้านสมบูรณ์ ปล้องที่ 3 จากปลายของขาเดินคู่ที่ 2 ไม่แบ่งเป็นปล้องย่อย [1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 หน้า 109-110, รู้เฟื่องเรื่อง กุ้งทะเลสวยงาม. "Blue Planet" โดย สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา บางแสน. นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 43 ปีที่ 4: มกราคม 2014
  2. Shane T. Ahyong, James K. Lowry, Miguel Alonso, Roger N. Bamber, Geoffrey A. Boxshall, Peter Castro, Sarah Gerken, Gordan S. Karaman, Joseph W. Goy, Diana S. Jones, Kenneth Meland, D. Christopher Rogers & Jörundur Svavarsson (2011). Z.-Q. Zhang (บ.ก.). "Animal biodiversity: An outline of higher-level classification and survey of taxonomic richness" (PDF). Zootaxa. 3148: 165–191.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. Sammy De Grave, N. Dean Pentcheff, Shane T. Ahyong; และคณะ (2009). "A classification of living and fossil genera of decapod crustaceans" (PDF). Raffles Bulletin of Zoology. Suppl. 21: 1–109. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-06. สืบค้นเมื่อ 2013-12-28.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]