หอยชักตีน
หอยชักตีน | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | มอลลัสกา Mollusca |
ชั้น: | หอยฝาเดียว |
ชั้นย่อย: | Caenogastropoda Caenogastropoda |
อันดับ: | Littorinimorpha |
วงศ์: | Strombidae |
สกุล: | Laevistrombus (Linnaeus, 1758) |
สปีชีส์: | Laevistrombus canarium |
ชื่อทวินาม | |
Laevistrombus canarium (Linnaeus, 1758) | |
แผนที่การกระจายพันธุ์ตามรายงานจาก Poutiers, 1998.[1] | |
ชื่อพ้อง[1][4][5][6] | |
หอยชักตีน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Laevistrombus canarium) เป็นชื่อของหอยทะเลชนิดฝาเดียวเปลือกบางชนิดหนึ่ง โดยมีรูปร่างคล้ายหอยสังข์ขนาดเล็ก บางทีจึงเรียกว่า หอยสังข์ตีนเดียว หรือ หอยสังข์กระโดด
ลักษณะและการกระจายพันธุ์
[แก้]เป็นหอยฝาเดียวที่จัดอยู่ในวงศ์หอยชักตีน (En:Strombidae) พบแพร่กระจายทั่วไปในทะเลเขตอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา ไปทางตะวันตกสุดถึงเมลานีเซีย เหนือสุดถึงประเทศญี่ปุ่น และใต้สุดถึงควีนส์แลนด์และนิวแคลิโดเนีย พบอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นทรายปนโคลน และบริเวณหญ้าทะเลและสาหร่าย ตั้งแต่เขตน้ำขึ้นน้ำลงไปจนถึงในระดับความลึกถึงประมาณ 55 เมตร มีการเก็บมาใช้บริโภคเป็นอาหารในหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งมีการนำเปลือกมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานหัตถกรรมเครื่องใช้และของประดับตกแต่งต่าง ๆ ขนาดใหญ่สุดมีความยาวเปลือก 10 เซนติเมตร แต่โดยทั่วไปมักพบขนาดประมาณ 6–7 เซนติเมตร ในประเทศไทยพบหอยชักตีนได้ทั่วไปทั้งในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ถือเป็นหอยฝาเดียวชนิดที่พบมาก สามารถพบเปลือกตามชายฝั่งทะเลทั่วไป แต่มีเพียงบางแหล่งที่มีการเก็บหอยชักตีนขึ้นมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริโภคอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยว เช่นแถบจังหวัดกระบี่ พังงา ภูเก็ต ระยอง ชุมพร เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปการเก็บหอยชักตีนจะใช้วิธีงม หรือเดินเก็บในเวลาน้ำลงในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สามารถพบหอยชักตีนในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของทุกอำเภอ และปัจจุบันยังคงมีอยู่ สังเกตได้จากที่สามารถพบเปลือกหอยใหม่ ๆ ตามชายหาดทั่วไป แต่ไม่มีแหล่งที่ทำการประมงเก็บหอยชักตีนจากธรรมชาติมาบริโภคแพร่หลายเช่นในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน และไม่มีการศึกษาสำรวจอย่างจริงจัง จึงไม่ทราบสภาวะทรัพยากรหอยชักตีนในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ในปัจจุบัน
ชีววิทยาทั่วไป
[แก้]หอยชักตีนเป็นหอยที่ขูดกินสาหร่ายและซากอินทรียสารต่าง ๆ เป็นอาหาร การสืบพันธุ์เป็นแบบผสมภายใน โดยมีเพศผู้ เพศเมียแยกกัน จับคู่ผสมพันธุ์กัน หลังจากนั้นจะวางไข่มีวุ้นหุ้มลักษณะเป็นสายยาวสีขาว ขดเป็นกระจุกคล้ายเส้นหมี่ ไข่จะพัฒนาใช้ระยะเวลาประมาณ 4–5 วัน จึงฟักออกเป็นตัวลูกหอย ซึ่งจะดำรงชีวิตว่ายน้ำ กรองกินแพลงก์ตอนพืชเล็ก ๆ เป็นอาหารอยู่ประมาณ 11–14 วัน จึงพัฒนาเข้าสู่ระยะลงพื้น เปลี่ยนการดำรงชีวิตเป็นขูดกินตะไคร่สาหร่ายหรืออินทรียสารต่าง ๆ ลูกหอยที่ได้จากการเพาะพันธุ์จะเติบโตได้ขนาดความยาวเปลือก 0.5–1 เซนติเมตร ภายในระยะเวลาประมาณ 1–2 เดือน
หอยชักตีนมักจะชอบอาศัยอยู่ตรงบริเวณชายหาดโคลนผสมกับทราย สามารถนำมารับประทานได้ เป็นหอยขึ้นชื่อของจังหวัดกระบี่
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อPoutiers
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อLinnaeusSN
- ↑ Issel, A.; Tapparone-Canefri, C. M. (1876). "Studio monografico sopra gli strombidi del Mar Rosso". Annali del Museo Civico di Storia Naturale di Genova (ภาษาอิตาลี). 8: 337–366.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCob4
- ↑ Man In 'T Veld, L. A.; De Turck, K. (1998). "Contributions to the knowledge of Strombacea. 6. A revision of the subgenus Laevistrombus Kira, 1955 including the description of a new species from the New Hebrides". Gloria Maris. 36 (5–6): 73–107.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อmaxwell