ข้ามไปเนื้อหา

รัฐประหารในประเทศชิลี พ.ศ. 2516

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก 1973 Chilean coup d'état)
รัฐประหารในประเทศชิลี พ.ศ. 2516

การยิงถล่มทำเนียบประธานาธิบดีของกองทัพ
สถานที่
{{{place}}}
คู่สงคราม
ชิลี รัฐบาลชิลี
สนับสนุนโดย:
คิวบา คิวบา
ชิลี กองทัพชิลี
สนับสนุนโดย:
สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา

รัฐประหารในประเทศชิลี พ.ศ. 2516 เป็นเหตุการณ์จุดเปลี่ยนในประวัติศาสตร์ชิลีและสงครามเย็น หลังจากช่วงความไม่สงบทางสังคมและการเมืองระหว่างรัฐสภาของชิลีฝ่ายขวากลางและประธานาธิบดีซัลบาดอร์ อาเยนเด แห่งพรรคสังคมนิยมชิลีที่เพิ่งได้รับการเลือกตั้ง และสงครามเศรษฐกิจ นำโดยประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด นิกสัน[1] อาเญนเดถูกโค่นอำนาจโดยกองกำลังทหารและตำรวจทหารแห่งชาติ[2][3]

กองทัพทหารโค่นอำนาจรัฐบาลเอกภาพนิยมของอาเญนเด และก่อตั้งคณะยึดอำนาจของชิลี หรือคุนตะ ที่ระงับกิจกรรมทางการเมืองในประเทศและใช้อำนาจควบคุมการเคลื่อนไหวของฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะพรรคคอมมิวนิสต์และพรรคสังคมนิยมต่าง ๆ และการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิวัติของฝ่ายซ้าย (MIR) ผู้บัญชาการทหารบกที่อาเญนเดมอบหมาย เอากุสโต ปิโนเช ก่ออำนาจสูงสุดภายในระยะหนึ่งปีของการรัฐประหาร บังคับใช้อำนาจเป็นทางการใน พ.ศ. 2517[4] รัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาแทรกแซงรัฐประหาร[5] รับรู้เรื่องรัฐบาลคุนตะและสนับสนุนการรวมอำนาจ[6]

เมื่อเกิดการโจมตีทางอากาศและบนพื้นดินโดยคณะรัฐประหาร อาเญนเดได้ออกมากล่าวสุนทรพจน์เป็นครั้งสุดท้าย โดยยืนยันว่าเขาจะอยู่ในทำเนียบลาโมเนดา (ทำเนียบประธานาธิบดี) ต่อไป และปฏิเสธข้อเสนอที่ให้เขาหลบหนีออกนอกประเทศ[7] พยานรู้เห็นการเสียชีวิตของอาเญนเดเห็นพ้องกันว่าเขาฆ่าตัวตายในทำเนียบ[8][9]

ก่อนปิโนเชจะปกครอง เสถียรภาพประชาธิปไตยและการเมืองของชิลีจัดเป็นปัญหาใหญ่มาก ส่วนประเทศอื่น ๆ อเมริกาใต้นั้นได้อยู่ใต้อำนาจของคณะคุนตะและลัทธิเกาดีโญ นักประวัติศาสตร์ปีเตอร์ วินน์ กล่าวว่าการรัฐประหารประเทศชิลี พ.ศ. 2516 เป็นวิกฤติการเมืองที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของชิลี[10] กลุ่มกบฏที่สนับสนุนรัฐบาลของอาเญนเดได้ออกมาต่อต้านระบอบการปกครองของปิโนเชอันอ่อนแอ จนเมื่อมีการลงประชามติแห่งชาติในชิลี พ.ศ. 2531 ซึ่งต่างประเทศให้การสนับสนุน ชิลีก็สามารถกำจัดอิทธิพลของปิโนเชให้หมดสิ้นลงได้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Peter Kornbluh. "Chile and the United States: Declassified Documents Relating to the Military Coup, September 11, 1973".
  2. "Controversial legacy of former Chilean dictator Augusto Pinochet ...Gen. Augusto Pinochet, who overthrew Chile's democratically elected Communist government in a 1973 coup ..." เก็บถาวร 2008-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Christian Science Monitor, 11 December 2006
  3. "CHILE: The Bloody End of a Marxist Dream" เก็บถาวร 2008-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Time Magazine, Quote: "....Allende's downfall had implications that reached far beyond the borders of Chile. His had been the first democratically elected Marxist government in Latin America..."
  4. Genaro Arriagada Herrera, ''Pinochet: The Politics of Power''. Google Books. สืบค้นเมื่อ 19 November 2011.
  5. Winn, Peter (2010). Grandin & Joseph, Greg & Gilbert (บ.ก.). A Century of Revolution. Duke University Press. pp. 239–275.
  6. Peter Kornbluh (19 September 2000). "CIA Acknowledges Ties to Pinochet's Repression: Report to Congress Reveals U.S. Accountability in Chile". Chile Documentation Project. National Security Archive. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2006. สืบค้นเมื่อ 26 November 2006.
  7. "Salvador Allende's Last Speech – Wikisource". Wikisource. สืบค้นเมื่อ 19 November 2011.
  8. Davison, Phil (20 June 2009). "Hortensia Bussi De Allende: Widow of Salvador Allende who helped lead opposition to Chile's military dictatorship". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 20 April 2010.
  9. Gott, Richard (12 September 2009). "From the archive: Allende 'dead' as generals seize power". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 20 April 2010.
  10. Winn, Peter (2010). "Furies of the Andes". ใน Grandin & Joseph, Greg & Gilbert (บ.ก.). A Century of Revolution. Durham, NC: Duke University Press. p. 259. สืบค้นเมื่อ 17 September 2015.

แม่แบบ:รัฐประหารในประเทศชิลี พ.ศ. 2516