เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งสหภาพโซเวียต | |
---|---|
Генеральный секретарь ЦК КПСС | |
ตราประจำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต | |
ผู้ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุด โจเซฟ สตาลิน 3 เมษายน ค.ศ. 1922 – 16 ตุลาคม ค.ศ. 1952 (โดยพฤตินัย 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) | |
คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ | |
การเรียกขาน | สหายเลขาธิการ (ไม่เป็นทางการ) |
สมาชิกของ | |
จวน | วุฒิสภาเครมลิน[1] |
ที่ว่าการ | เครมลิน มอสโก |
ผู้แต่งตั้ง | คณะกรรมการกลาง |
สถาปนา | 3 เมษายน 1922 |
คนแรก | โจเซฟ สตาลิน |
คนสุดท้าย | วลาดีมีร์ อีวัชโค (รักษาการ) |
ยกเลิก | 29 สิงหาคม 1991 |
เงินตอบแทน | 10,000 รูเบิลโซเวียตต่อปี |
เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (รัสเซีย: Генеральный секретарь ЦК КПСС) เป็นตำแหน่งผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (CPSU) สถาปนาขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1924 จวบจนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1991 โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่งนี้จะได้รับการรับรองว่าเป็นผู้นำสหภาพโซเวียต[2][3] เลขาธิการมีอำนาจควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์โดยตรงในทางนิตินัย แต่ด้วยพรรคมีอำนาจผูกขาดทางการเมือง เลขาธิการจึงมีอำนาจควบคุมฝ่ายบริหารของรัฐบาลโซเวียตด้วยในทางปฏิบัติ นอกจากนี้ เลขาธิการยังถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดของสหภาพโซเวียต เนื่องจากความสามารถของตำแหน่งในการกํากับนโยบายระหว่างประเทศและภายในประเทศของรัฐ รวมถึงยังมีอำนาจเหนือพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียต
ประวัติ
[แก้]ก่อนหน้าการปฏิวัติเดือนตุลาคม งานของเลขาธิการพรรคส่วนใหญ่เป็นของข้าราชการ โดยหลังจากการยึดอํานาจของบอลเชวิค ตำแหน่งเลขาธิการรับผิดชอบจึงได้สถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1919 เพื่อดำเนินงานด้านการปกครอง[4] หลังจากบอลเชวิคได้รับชัยชนะในสงครามกลางเมืองรัสเซีย ตำแหน่งเลขาธิการจึงก่อตั้งขึ้นโดยวลาดีมีร์ เลนิน เมื่อ ค.ศ. 1922 ด้วยความตั้งใจที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ด้านการบริหารและวินัยอย่างสิ้นเชิง หน้าที่หลักของตำแหน่งคือการกําหนดองค์ประกอบของสมาชิกพรรคและกําหนดตําแหน่งภายในพรรค นอกจากนั้น เลขาธิการยังดูแลการบันทึกกิจกรรมของพรรค รวมถึงได้รับมอบหมายการแจ้งให้ผู้นําพรรคและสมาชิกทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของพรรคด้วย
เมื่อมีการก่อตั้งคณะรัฐมนตรี เลนินได้แต่งตั้งโจเซฟ สตาลิน เป็นเลขาธิการ ไม่กี่ปีต่อมา สตาลินได้นำหลักการคติประชาธิปไตยรวมศูนย์มาใช้เพื่อยกสถานะตำแหน่งของเขาให้กลายเป็นหัวหน้าพรรค และท้ายที่สุดเป็นผู้นำสหภาพโซเวียต[5] ทรอตสกีกล่าวว่าการยกตำแหน่งของสตาลินมาจากคำแนะนำเบื้องต้นของกรีโกรี ซีโนเวียฟ[6] โดยมุมมองดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากนักประวัติศาสตร์จำนวนมาก[7][8] ตามที่วาดิม โรโกวิน นักประวัติศาสตร์ชาวรัสเซียกล่าวไว้ว่า การรับเลือกตำแหน่งของสตาลินเกิดขึ้นหลังจากการประชุมใหญ่พรรคครั้งที่สิบเอ็ด (มีนาคม–เมษายน ค.ศ. 1922) และด้วยสุขภาพที่ย่ำแย่ของเลนิน เขาจึงเข้าร่วมการประชุมใหญ่เป็นระยะ ๆ เท่านั้น โดยเข้าร่วมเพียงสี่ครั้งจากการประชุมทั้งสิบสองครั้ง[9]
อย่างไรก็ตาม ยังมีนักประวัติศาสตร์บางส่วนมองว่าการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของผู้นำบอลเชวิคคนสำคัญอย่างยาคอฟ สเวียร์ดลอฟ เป็นปัจจัยหลักในการยกสถานะตำแหน่งของสตาลินให้กลายเป็นผู้นำสหภาพโซเวียต ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะสเวียร์ดลอฟดํารงตําแหน่งประธานแรกเริ่มของคณะเลขาธิการพรรค และถือว่าเขาเป็นว่าที่เลขาธิการพรรคโดยชอบธรรม[10][11]
ก่อนการถึงแก่อสัญกรรมของเลนินใน ค.ศ. 1924 การดํารงตําแหน่งเลขาธิการของสตาลินถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก[12] ในเดือนสุดท้ายของเลนิน เขาเขียนพินัยกรรมซึ่งเรียกร้องให้ถอดถอนสตาลิน โดยอ้างว่าสตาลินจะกลายเป็นเผด็จการและใช้อํานาจในทางที่ผิด พินัยกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมือง ซึ่งเป็นอันตรายต่อตําแหน่งเลขาธิการของสตาลิน และมีการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดเขาออกจากตําแหน่ง แต่ด้วยความช่วยเหลือจากกรีโกรี ซีโนเวียฟ และเลฟ คาเมเนฟ สตาลินยังคงรอดพ้นจากวิกฤตการณ์และยังคงอยู่ในตำแหน่งเช่นเดิม หลังจากเลนินถึงแก่อสัญกรรม สตาลินเริ่มรวมอำนาจของเขาโดยอาศัยตำแหน่งเลขาธิการ ซึ่งใน ค.ศ. 1928 เขากลายเป็นผู้นำสหภาพโซเวียตโดยพฤตินัย ในขณะที่ตำแหน่งเลขาธิการกลายเป็นตำแหน่งสูงสุดของชาติ ต่อมาใน ค.ศ. 1934 ในการประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ 17 ได้ละเว้นการรับเลือกตำแหน่งเลขาธิการของสตาลินอย่างเป็นทางการ รวมถึงสตาลินยังได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งที่เขาเคยเป็นทั้งหมด อีกทั้งยังเป็นหัวหน้าพรรคโดยไม่ถูกลดทอนอำนาจด้วย[13]
ในทศวรรษ 1950 สตาลินเริ่มลดบทบาทของตนจากคณะเลขาธิการมากขึ้น โดยปล่อยให้เกออร์กี มาเลนคอฟ เป็นผู้ดูแลโครงสร้างพรรค ซึ่งอาจเป็นการทดสอบความสามารถของเขาในฐานะผู้สืบทอดที่มีศักยภาพ[14] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1952 ณ การประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ 19 สตาลินปรับโครงสร้างผู้นําของพรรคใหม่ สตาลินกล่าวคำขอของเขาต่อมาเลนคอฟให้ปลดเขาจากเลขาธิการพรรค เนื่องจากอายุของเขา แต่กลับถูกปฏิเสธจากที่ประชุมใหญ่ของพรรค เนื่องจากผู้แทนไม่แน่ใจเกี่ยวกับความตั้งใจของสตาลิน[15] ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ที่ประชุมได้ยกเลิกตำแหน่งเลขาธิการอย่างเป็นทางการ แม้ว่าสตาลินยังคงเป็นหนึ่งในสมาชิกเลขาธิการพรรคและมีอำนาจสูงสุดในพรรคก็ตาม[16][17] เมื่อสตาลินถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1953 มาเลนคอฟจึงถือว่าเป็นสมาชิกที่สำคัญที่สุดของคณะเลขาธิการ ซึ่งรวมถึงนีกีตา ครุชชอฟ และคนอื่น ๆ ในช่วงเวลาสั้น ๆ ของอำนาจตรอยกา ซึ่งประกอบด้วยมาเลนคอฟ เบรียา และโมโลตอฟ มาเลนคอฟกลายเป็นประธานคณะรัฐมนตรี แต่เขาถูกบังคับให้ลาออกจากคณะเลขาธิการในอีกเก้าวันต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม เป็นผลให้ครุชชอฟควบคุมรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ[18] และได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการอันดับหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตในระหว่างการประชุมคณะกรรมการกลางเมื่อวันที่ 14 กันยายน ปีเดียวกัน ต่อมาครุชชอฟสามารถเอาชนะคู่แข่งทางการเมืองที่พยายามคัดค้านการปฏิรูปทางการเมืองของเขาได้ ครุชชอฟสามารถลบล้างอำนาจของมาเลนคอฟ, โมโลตอฟ และลาซาร์ คากาโนวิช (หนึ่งในผู้ร่วมงานเก่าแก่และใกล้ชิดกับสตาลินมากที่สุด) ได้อย่างสมบูรณ์ใน ค.ศ. 1957 ซึ่งความสําเร็จนี้ช่วยเสริมสร้างอํานาจสูงสุดของครุชชอฟในฐานะตําแหน่งเลขาธิการอันดับหนึ่ง[19]
ใน ค.ศ. 1964 ฝ่ายค้านในโปลิตบูโรและคณะกรรมการกลาง ซึ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา นําไปสู่การถอดถอนครุสชอฟออกจากตําแหน่ง เลโอนิด เบรจเนฟ สืบต่อตำแหน่งเลขาธิการอันดับหนึ่งต่อจากครุชชอฟ แต่ในช่วงแรกเป็นการปกครองแบบผู้นำร่วม โดยได้รวมตัวกันเป็นตรอยการ่วมกับอะเลคเซย์ โคซีกิน และนีโคไล ปอดกอร์นืย[20] ตำแหน่งได้รับการเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นเพียง "เลขาธิการ" อีกครั้งใน ค.ศ. 1966[21] ระบบผู้นำร่วมสามารถจำกัดอำนาจของเลขาธิการในระหว่างยุคเบรจเนฟ[22] อิทธิพลของเบรจเนฟเติบโตขึ้นตลอดทศวรรษ 1970 เนื่องจากเขาสามารถรักษาการสนับสนุนโดยหลีกเลี่ยงการปฏิรูปที่รุนแรง[23] หลังจากการอสัญกรรมของเบรจเนฟ ยูรี อันโดรปอฟ และคอนสตันติน เชียร์เนนโค ยังมีอำนาจในการปกครองแบบเดียวกันกับที่เบรจเนฟมี[24] ต่อมามีฮาอิล กอร์บาชอฟ ได้ปกครองสหภาพโซเวียตในฐานะเลขาธิการจนถึง ค.ศ. 1990 เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์สูญเสียอำนาจผูกขาดเหนือระบบการเมือง ตำแหน่งประธานาธิบดีสหภาพโซเวียตได้รับการสถาปนาขึ้นเพื่อให้กอร์บาชอฟสามารถรักษาบทบาทของเขาในฐานะผู้นําของสหภาพโซเวียตต่อไปได้[25] ภายหลังความล้มเหลวจากเหตุการณ์รัฐประหารเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟจึงประกาศลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการ[26] และวลาดีมีร์ อีวัชโค รองเลขาธิการได้รักษาการตำแหน่งของเขาเป็นเวลาห้าวันก่อนที่บอริส เยลต์ซิน จะได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีรัสเซียคนใหม่ และได้ระงับกิจกรรมทั้งหมดในพรรคคอมมิวนิสต์[27] หลังจากพรรคถูกสั่งห้าม สหภาพแห่งบรรดาพรรคคอมมิวนิสต์–พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (UCP–CPSU) ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยโอเลก เชนิน ใน ค.ศ. 1993 และอุทิศตนเพื่อฟื้นฟูและบูรณะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกครั้ง โดยองค์กรนี้มีสมาชิกมาจากบรรดาสาธารณรัฐโซเวียตเดิมทั้งหมด[28]
รายชื่อผู้ดำรงตำแหน่ง
[แก้]ภาพ | ชื่อ (เกิด–เสียชีวิต) |
การดำรงตำแหน่ง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|
เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ | ระยะเวลา | |||
เลขาธิการชำนาญการแห่งคณะเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย (บอลเชวิค) (ค.ศ. 1918–1919) | |||||
ยาคอฟ สเวียร์ดลอฟ (ค.ศ. 1885–1919)[29] |
ค.ศ. 1918 | 16 มีนาคม ค.ศ. 1919 † | 0–1 ปี | สเวียร์ดลอฟดำรงตำแหน่งจนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1919 ซึ่งในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง เขามีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับเรื่องทางทฤษฎีเป็นหลักมากกว่าเรื่องการเมือง[30] | |
เยเลนา สตาโซวา (ค.ศ. 1873–1966)[31] |
มีนาคม ค.ศ. 1919 | ธันวาคม ค.ศ. 1919 | 9 เดือน | เมื่อมีการยุบตำแหน่งของเธอ สตาโซวาจึงไม่ถือว่าเป็นคู่แข่งคนสำคัญของตำแหน่งเลขาธิการรับผิดชอบ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สืบต่อมาจากประธานคณะเลขาธิการ[32] | |
เลขาธิการรับผิดชอบแห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซีย (บอลเชวิค) (ค.ศ. 1919–1922) | |||||
นีโคไล เครสตินสกี (ค.ศ. 1883–1938)[33] |
ธันวาคม ค.ศ. 1919 | มีนาคม ค.ศ. 1921 | 1 ปี 3 เดือน | ตำแหน่งเลขาธิการรับผิดชอบปฏิบัติหน้าที่เหมือนกับเลขาธิการ เป็นตำแหน่งที่มีสถานะค่อนข้างระดับล่าง เนื่องจากเครสตินสกียังคงเป็นสมาชิกของโปลิตบูโร ออร์กบูโร และคณะเลขาธิการ อย่างไรก็ตาม เครสตินสกีไม่เคยพยายามสร้างฐานอำนาจอิสระเหมือนดังที่โจเซฟ สตาลิน ได้กระทำในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งเลขาธิการ[4] | |
วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ (ค.ศ. 1890–1986)[34] |
16 มีนาคม ค.ศ. 1921 | 3 เมษายน ค.ศ. 1922 | 0 ปี 291 วัน | ได้รับการรับเลือกให้เป็นเลขาธิการรับผิดชอบในระหว่างการประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ 10 ที่จัดขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1921 โดยที่ประชุมตัดสินใจว่าตำแหน่งเลขาธิการรับผิดชอบควรรวมอยู่ในโปลิตบูโร เป็นผลให้โมโลตอฟกลายเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งของโปลิตบูโรด้วย[35] | |
เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพทั้งปวง (บอลเชวิค) (ค.ศ. 1922–1952) | |||||
โจเซฟ สตาลิน (ค.ศ. 1878–1953)[36] |
3 เมษายน ค.ศ. 1922 | 5 มีนาคม ค.ศ. 1953 | 30 ปี 336 วัน | สตาลินอาศัยตำแหน่งเลขาธิการในการสร้างฐานอำนาจที่แข็งแกร่งให้กับตนเอง โดยในการประชุมพรรคครั้งที่ 17 เมื่อ ค.ศ. 1934 ได้ละเว้นการรับเลือกตำแหน่งเลขาธิการของสตาลินอย่างเป็นทางการ[37] และตำแหน่งก็ไม่ค่อยถูกกล่าวถึงมากนักหลังจากนั้น[38] ต่อมาใน ค.ศ. 1952 สตาลินได้ยกเลิกตําแหน่ง แต่เขายังคงไว้ซึ่งอํานาจสูงสุดและตําแหน่งของเขาในฐานะประธานคณะรัฐมนตรีจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 มีนาคม ค.ศ. 1953[17] สตาลินดำรงตำแหน่งเลขาธิการยาวนาที่สุดเป็นเวลา 30 ปี 7 เดือน โดยเทียบเป็นเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของการดำรงอยู่ของสหภาพโซเวียต | |
เลขาธิการอันดับหนึ่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1953–1966) | |||||
นีกีตา ครุชชอฟ (ค.ศ. 1894–1971)[39] |
14 มีนาคม ค.ศ. 1953 | 14 ตุลาคม ค.ศ. 1964 | 11 ปี 30 วัน | ครุชชอฟสถาปนาตำแหน่งอีกครั้งเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1953 ในชื่อ "เลขาธิการอันดับหนึ่ง" โดยเมื่อ ค.ศ. 1957 เกออร์กี มาเลนคอฟ หัวหน้าสมาชิกกลุ่มต่อต้านพรรคเกือบถอดเขาออกจากตำแหน่ง เนื่องจากกังวลว่าอำนาจของเลขาธิการอันดับหนึ่งนั้นมีแทบไม่จำกัด[40] ครุชชอฟถูกปลดออกจากผู้นําสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1964 และเลโอนิด เบรจเนฟ ได้รับตำแหน่งต่อจากเขา[21] | |
เลโอนิด เบรจเนฟ (ค.ศ. 1906–1982)[41] |
14 ตุลาคม ค.ศ. 1964 | 8 เมษายน ค.ศ. 1966 | 1 ปี 176 วัน | เบรจเนฟเป็นหนึ่งในคณะผู้นำร่วม เขาก่อตั้งระบอบผู้มีอำนาจสามคน (Triumvirate) อย่างไม่เป็นทางการ (หรือที่รู้จักกันในภาษารัสเซียว่าตรอยกา) ควบคู่กับอะเลคเซย์ โคซีกิน หัวหน้ารัฐบาล และนีโคไล ปอดกอร์นืย ผู้เป็นประธานสภาประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1965[20] ตำแหน่งเลขาธิการอันดับหนึ่งเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นเช่นเดิมในระหว่างการประชุมใหญ่พรรคครั้งที่ 23 เมื่อ ค.ศ. 1966[22] | |
เลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (1966–1991) | |||||
เลโอนิด เบรจเนฟ (ค.ศ. 1906–1982)[41] |
8 เมษายน ค.ศ. 1966 | 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 † | 16 ปี 216 วัน | ขอบเขตอํานาจและหน้าที่ของเบรจเนฟในฐานะเลขาธิการเป็นไปอย่างจํากัดภายในคณะผู้นำร่วม[23] แต่ในช่วงทศวรรษ 1970 อิทธิพลของเบรจเนฟเริ่มมากกว่าโคซีกินและปอดกอร์นืย เนื่องด้วยเขาสามารถรักษาการสนับสนุนได้จากการหลีกเลี่ยงการปฏิรูปที่รุนแรง | |
ยูรี อันโดรปอฟ (ค.ศ. 1914–1984)[42] |
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1982 | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 † | 1 ปี 89 วัน | เขากลายเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งเบรจเนฟที่ความเป็นไปได้มากที่สุด จากการที่เขาเป็นประธานคณะกรรมการในการจัดการรัฐพิธีศพของเบรจเนฟ[43] อันโดรปอฟใช้รูปแบบเดียวกันกับเบรจเนฟในการปกครองประเทศก่อนที่เขาจะถึงแก่อสัญกรรม[24] | |
คอนสตันติน เชียร์เนนโค (ค.ศ. 1911–1985)[41] |
13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 | 10 มีนาคม ค.ศ. 1985 † | 1 ปี 25 วัน | เชียร์เนนโคในวัย 72 ปี ได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งเลขาธิการขณะที่มีสุขภาพแย่ลงอย่างรวดเร็ว[44] เช่นเดียวกันกับอันโดรปอฟ เขาปกครองประเทศในรูปแบบเดียวกับเบรจเนฟ[24] | |
มีฮาอิล กอร์บาชอฟ (ค.ศ. 1931–2022)[45] |
11 มีนาคม ค.ศ. 1985 | 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 6 ปี 166 วัน | ในการประชุมสมัชชาใหญ่ผู้แทนประชาชนใน ค.ศ. 1990 ได้มีการถอดมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียต ค.ศ. 1977 ออก ส่งผลให้พรรคคอมมิวนิสต์สูญเสียสถานะ "พลังผู้นําและชี้นําของสังคมโซเวียต" อํานาจของเลขาธิการถูกลดทอนลงอย่างมาก และตลอดระยะเวลาที่เหลือของการดํารงตําแหน่ง กอร์บาชอฟปกครองประเทศผ่านตำแหน่งประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต[25] เขาลาออกจากพรรคเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 อันเกิดจากผลลัพธ์ของรัฐประหารเดือนสิงหาคม[26] | |
วลาดีมีร์ อีวัชโค (ค.ศ. 1932–1994) รักษาการ[46] |
24 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 29 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 0 ปี 5 วัน | เขาได้รับเลือกเป็นรองเลขาธิการ ณ การประชุมใหญ่ครั้งที่ 28 ของพรรค อีวัชโคทำหน้าที่รักษาการเลขาธิการหลังจากการลาออกของกอร์บาชอฟ แต่เมื่อถึงตอนนั้นพรรคก็ไร้อํานาจทางการเมือง กิจกรรมของพรรคถูกระงับเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 1991[27] และถูกสั่งห้ามเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน[47] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ГЛАВНЫЙ КОРПУС КРЕМЛЯ". The VVM Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 January 2018. สืบค้นเมื่อ 27 January 2018.
- ↑ Armstrong 1986, p. 93.
- ↑ "Soviet Union – General Secretary: Power and Authority". www.country-data.com. สืบค้นเมื่อ 2022-11-28.
- ↑ 4.0 4.1 Fainsod & Hough 1979, p. 126.
- ↑ Fainsod & Hough 1979, pp. 142–146.
- ↑ Trotsky, Leon (1970). Writings of Leon Trotsky: 1936–37 (ภาษาอังกฤษ). Pathfinder Press. p. 9.
- ↑ Brackman, Roman (23 November 2004). The Secret File of Joseph Stalin: A Hidden Life (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 136. ISBN 978-1-135-75840-0.
- ↑ Marples, David R.; Hurska, Alla (23 August 2022). Joseph Stalin: A Reference Guide to His Life and Works (ภาษาอังกฤษ). Rowman & Littlefield. p. 270. ISBN 978-1-5381-3361-3.
- ↑ Rogovin, Vadim (2021). Was There an Alternative? Trotskyism: a Look Back Through the Years (ภาษาอังกฤษ). Mehring Books. p. 61. ISBN 978-1-893638-97-6.
- ↑ Mccauley, Martin (13 September 2013). Stalin and Stalinism: Revised 3rd Edition (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 35. ISBN 978-1-317-86369-4.
- ↑ Ragsdale, Hugh (1996). The Russian Tragedy: The Burden of History (ภาษาอังกฤษ). M.E. Sharpe. p. 198. ISBN 978-1-56324-755-2.
- ↑ "What Lenin's Critics Got Right". Dissent Magazine. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.
- ↑ "Secretariat, Orgburo, Politburo and Presidium of the CC of the CPSU in 1919–1990 – Izvestia of the CC of the CPSU" (ภาษารัสเซีย). 7 November 1990. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2011. สืบค้นเมื่อ 21 October 2011.
- ↑ Z. Medvedev & R. Medvedev 2006, p. 40.
- ↑ Z. Medvedev & R. Medvedev 2006, p. 40-41.
- ↑ Geoffrey Roberts, Stalin's Wars: From World War to Cold War, 1939 – 1953, p. 345.
- ↑ 17.0 17.1 Brown 2009, pp. 231–232.
- ↑ Ra'anan 2006, pp. 29–31.
- ↑ Ra'anan 2006, p. 58.
- ↑ 20.0 20.1 Brown 2009, p. 403.
- ↑ 21.0 21.1 Service 2009, p. 378.
- ↑ 22.0 22.1 McCauley 1997, p. 48.
- ↑ 23.0 23.1 Baylis 1989, pp. 98–99 & 104.
- ↑ 24.0 24.1 24.2 Baylis 1989, p. 98.
- ↑ 25.0 25.1 Kort 2010, p. 394.
- ↑ 26.0 26.1 Radetsky 2007, p. 219.
- ↑ 27.0 27.1 McCauley 1997, p. 105.
- ↑ Backes & Moreau 2008, p. 415.
- ↑ Williamson 2007, p. 42.
- ↑ Zemtsov 2001, p. 132.
- ↑ McCauley 1997, p. 117.
- ↑ Noonan 2001, p. 183.
- ↑ Rogovin 2001, p. 38.
- ↑ Phillips 2001, p. 20.
- ↑ Grill 2002, p. 72.
- ↑ Brown 2009, p. 59.
- ↑ Rappaport 1999, pp. 95–96.
- ↑ Ulam 2007, p. 734.
- ↑ Taubman 2003, p. 258.
- ↑ Ra'anan 2006, p. 69.
- ↑ 41.0 41.1 41.2 Chubarov 2003, p. 60.
- ↑ Vasil'eva 1994, pp. 218.
- ↑ White 2000, p. 211.
- ↑ Service 2009, pp. 433–435.
- ↑ Service 2009, p. 435.
- ↑ McCauley 1998, p. 314.
- ↑ Указ Президента РСФСР от 6 ноября 1991 г. № 169 «О деятельности КПСС и КП РСФСР»
บรรณานุกรม
[แก้]- Armstrong, John Alexander (1986). Ideology, Politics, and Government in the Soviet Union: An Introduction. University Press of America. ASIN B002DGQ6K2.
- Backes, Uwe; Moreau, Patrick (2008). Communist and Post-Communist Parties in Europe. Vandenhoeck & Ruprecht. ISBN 978-3-525-36912-8.
- Baylis, Thomas A. (1989). Governing by Committee: Collegial Leadership in Advanced Societies. State University of New York Press. ISBN 978-0-88706-944-4.
- Brown, Archie (2009). The Rise & Fall of Communism. Bodley Head. ISBN 978-0061138799.
- Chubarov, Alexander (2003). Russia's Bitter Path to Modernity: A History of the Soviet and post-Soviet Eras. Continuum International Publishing Group. ISBN 978-0826413505.
- Clements, Barbara Evans (1997). Bolshevik Women. Cambridge University Press. ISBN 978-0521599207.
- Fainsod, Merle; Hough, Jerry F. (1979). How the Soviet Union is Governed. Harvard University Press. ISBN 978-0674410305.
- Fairfax, Kaithy (1999). Comrades in Arms: Bolshevik Women in the Russian Revolution. Resistance Books. ISBN 090919694X.
- Grill, Graeme (2002). The Origins of the Stalinist Political System. Cambridge University Press. ISBN 978-0521529365.
- March, Luke (2002). The Communist Party In Post-Soviet Russia. Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-6044-1.
- Kort, Michael (2010). The Soviet Colossus: History and Aftermath. M.E. Sharpe. ISBN 978-0-7656-2387-4.
- McCauley, Martin (1998). Gorbachev. Pearson Education. ISBN 978-0582437586.
- McCauley, Martin (1997). Who's who in Russia since 1900. Routledge. ISBN 0-415-13898-1.
- Medvedev, Zhores; Medvedev, Roy (2006). The Unknown Stalin. I.B. Tauris. ISBN 978-1585675029.
- Noonan, Norma (2001). Encyclopedia of Russian Women's Movements. Greenwood Publishing Group. ISBN 978-0313304385.
- Phillips, Steve (2001). The Cold War: conflict in Europe and Asia. Heinemann. ISBN 978-0435327361.
- Ra'anan, Uri (2006). Flawed Succession: Russia's Power Transfer Crises. Lexington Books. ISBN 978-0739114025.
- Radetsky, Peter (2007). The Soviet Image: A Hundred Years of Photographs from Inside the TASS Archives. Chronicle Books. ISBN 978-0811857987.
- Rappaport, Helen (1999). Joseph Stalin: A Biographical Companion. ABC-CLIO. ISBN 978-1576070840.
- Rogovin, Vadim (2001). Stalin's Terror of 1937–1938: Political Genocide in the USSR. Mehring Books. ISBN 978-1893638082.
- Service, Robert (2009). History of Modern Russia: From Tsarism to the Twenty-first Century. Penguin Books Ltd. ISBN 978-0674034938.
- Taubman, William (2003). Khrushchev: The Man and His Era. W.W. Norton & Company. ISBN 978-0393051445.
- Ulam, Adam (2007). Stalin: The Man and His Era. Tauris Parke Paperbacks. ISBN 978-1-84511-422-0.
- Vasilʹeva, Larisa Nikolaevna (1994). Kremlin Wives. Arcade Publishing. ISBN 978-1559702607.
- White, Stephen (2000). Russia's New Politics: The Management of a Postcommunist Society. Cambridge University Press. ASIN B003QI0DQE.
- Williamson, D.G. (2007). The Age of the Dictators: A Study of the European Dictatorships, 1918–53 (1st ed.). Pearson Education. ISBN 978-0582505803.
- Zemtsov, Ilya (2001). Encyclopedia of Soviet Life. Transaction Publishers. ISBN 978-0887383502.