ข้ามไปเนื้อหา

จังหวัดนครสวรรค์

พิกัด: 15°42′N 100°04′E / 15.7°N 100.07°E / 15.7; 100.07
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมืองพระบาง)
จังหวัดนครสวรรค์
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Nakhon Sawan
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
คำขวัญ: 
เมืองสี่แคว แห่มังกร
พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครสวรรค์เน้นสีแดงประเทศมาเลเซียประเทศพม่าประเทศลาวประเทศเวียดนามประเทศกัมพูชาจังหวัดนราธิวาสจังหวัดยะลาจังหวัดปัตตานีจังหวัดสงขลาจังหวัดสตูลจังหวัดตรังจังหวัดพัทลุงจังหวัดกระบี่จังหวัดภูเก็ตจังหวัดพังงาจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดสุราษฎร์ธานีจังหวัดระนองจังหวัดชุมพรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเพชรบุรีจังหวัดราชบุรีจังหวัดสมุทรสงครามจังหวัดสมุทรสาครกรุงเทพมหานครจังหวัดสมุทรปราการจังหวัดฉะเชิงเทราจังหวัดชลบุรีจังหวัดระยองจังหวัดจันทบุรีจังหวัดตราดจังหวัดสระแก้วจังหวัดปราจีนบุรีจังหวัดนครนายกจังหวัดปทุมธานีจังหวัดนนทบุรีจังหวัดนครปฐมจังหวัดกาญจนบุรีจังหวัดสุพรรณบุรีจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจังหวัดอ่างทองจังหวัดสิงห์บุรีจังหวัดสระบุรีจังหวัดลพบุรีจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดบุรีรัมย์จังหวัดสุรินทร์จังหวัดศรีสะเกษจังหวัดอุบลราชธานีจังหวัดอุทัยธานีจังหวัดชัยนาทจังหวัดอำนาจเจริญจังหวัดยโสธรจังหวัดร้อยเอ็ดจังหวัดมหาสารคามจังหวัดขอนแก่นจังหวัดชัยภูมิจังหวัดเพชรบูรณ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดพิจิตรจังหวัดกำแพงเพชรจังหวัดตากจังหวัดมุกดาหารจังหวัดกาฬสินธุ์จังหวัดเลยจังหวัดหนองบัวลำภูจังหวัดหนองคายจังหวัดอุดรธานีจังหวัดบึงกาฬจังหวัดสกลนครจังหวัดนครพนมจังหวัดพิษณุโลกจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดสุโขทัยจังหวัดน่านจังหวัดพะเยาจังหวัดแพร่จังหวัดเชียงรายจังหวัดลำปางจังหวัดลำพูนจังหวัดเชียงใหม่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครสวรรค์เน้นสีแดง
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดนครสวรรค์เน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ ชุติพร เสชัง
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2567)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด9,597.677 ตร.กม. (3,705.684 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 19
ประชากร
 (พ.ศ. 2566)[2]
 • ทั้งหมด1,021,883 คน
 • อันดับอันดับที่ 20
 • ความหนาแน่น106.47 คน/ตร.กม. (275.8 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 46
รหัส ISO 3166TH-60
ชื่อไทยอื่น ๆเมืองสี่แคว, ปากน้ำโพ, เมืองพระบาง, เมืองชอนตะวัน
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้เสลา
 • ดอกไม้เสลา
 • สัตว์น้ำปลาสวาย
ศาลากลางจังหวัด
 • ที่ตั้งถนนสวรรค์วิถี ตำบลนครสวรรค์ตก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ 60000
 • โทรศัพท์0 5622 7001
 • โทรสาร0 5622 0262
เว็บไซต์http://www.nakhonsawan.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในตอนบนของภาคกลาง หรือบางหน่วยงานจัดให้อยู่ในภาคเหนือตอนล่าง จึงได้รับสมญานามว่าเป็น "ประตูสู่ภาคเหนือ" มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี, ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

นักประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าเมืองนครสวรรค์มีชื่อปรากฏมาตั้งแต่ก่อนสุโขทัยเป็นราชธานี มีชื่อในศิลาจารึกของสุโขทัย โดยเรียกว่าเมืองพระบาง เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญในการทำศึกสงครามตั้งแต่สมัยสุโขทัย, กรุงศรีอยุธยา, ธนบุรี จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ภายหลังเปลี่ยนเป็นนครสวรรค์ในที่สุด แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันติดปากว่า เมืองปากน้ำโพ ในประวัติศาสตร์มีหลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่านครสวรรค์เคยเป็นเมืองเกษตรกรรมมาตั้งแต่ยุคต้นประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์กลางของการคมนาคม เป็นที่ตั้งของกลุ่มชนชาวจีนที่มาทำมาค้าขายระหว่างประเทศ

เมืองพระบางเป็นเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยคู่กับเมืองคนที โดยตัวเมืองพระบางอยู่ที่เมืองนครสวรรค์เก่า ส่วนเมืองคนทีสันนิษฐานว่าอยู่ที่บ้านโคน ริมฝั่งแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร จากข้อมูลในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย เมืองพระบางถูกผนวกรวมกันเข้ากับอาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และตั้งตัวเป็นอิสระเมื่อสิ้นสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และถูกผนวกรวมอีกครั้งในสมัยพระยาลิไท พระองค์ได้ประดิษฐานพระพุทธบาทพร้อมทั้งศิลาจารึกวัดเขากบไว้ที่เขากบ ปัจจุบันอยู่ใจกลางเมืองนครสวรรค์ ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) ที่ประกาศให้สุโขทัยเป็นเอกราชได้รวมเมืองพระบางไว้ในอาณาเขตด้วย

เมื่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยากล้าแข็งขึ้น เมืองพระบางจึงไปขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด มีหลักฐานใน ตำนานมูลศาสนา ว่า พระญาณคัมภีร์ ขอที่สร้างวัดในอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1972 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ไม่อนุญาตจึงมาขอที่ที่เมืองพระบาง เจ้าเมืองพระบางไม่ยกที่ให้ อ้างว่าเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของอยุธยา เมื่ออยุธยาไม่ให้ ทางเมืองพระบางก็ให้ไม่ได้ [3]

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองส่วนภูมิภาค นครสวรรค์ได้เป็นที่ตั้งมณฑลนครสวรรค์ ซึ่งเป็น 1 ใน 4 มณฑลที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2438 ในการจัดตั้งมณฑลนครสวรรค์ ได้รวมเอาหัวเมืองทางแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือขึ้นไปจนถึงแม่น้ำปิงเข้าด้วยกัน 8 เมืองได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี พยุหะคีรี มโนรมย์ สรรคบุรี กำแพงเพชร และตาก โดยมีพระยาดัสกรปลาศ (ทองอยู่ โลหิตเสถียร) เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลคนแรก ตั้งที่ว่าการมณฑลอยู่ที่เมืองนครสวรรค์ การจัดรูปปกครองในลักษณะมณฑลได้ดำเนินการ มาจนถึง พ.ศ. 2475 จึงได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุบมณฑลและระเบียบเทศาภิบาลของเก่าไปให้คงไว้แต่หัวเมืองและอำเภอ โดยให้ทุกเมืองมีฐานะเท่าเทียมกัน ปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อเจ้ากระทรวง และรับคำสั่งจากเจ้ากระทรวงโดยตรง

เดิมทีเมืองพระบางหรือนครสวรรรค์ตั้งอยู่หลังตลาดปากน้ำโพ บริเวณวัดสี่เข่า หรือ วัดวรนาถบรรพต [4] [5] ต่อมาได้ย้ายไปตั้งอยู่ที่ตำบลทางฟากตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ห่างจากปากน้ำโพมาข้างใต้ประมาณ 200 เส้น [6][7] หลักฐานแผนที่ของ ปิแอร์ ฟาน เดอ อา นักแผนที่ชาวฮอลันดา ระบุว่าในช่วงอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์ เมืองนครสวรรค์ได้ตั้งอยู่บนบริเวณพื้นที่ทางใต้ [4] บริเวณบ้านไผ่ล้อม ใต้มณฑลทหารบกที่ 4 [8] ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 5 ได้มีการย้ายเมืองมาบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ในปัจจุบัน โดยคนพื้นที่สมัยนั้นเรียกว่า “เมืองชอนตะวัน” เพราะตื่นขึ้นมาตะวันมันจะแยงตา [9] ต่อมาเมื่อพื้นที่ของเมืองปากน้ำโพและเมืองนครสวรรค์ขยายตัวขึ้น จึงถูกควบรวมเข้าเป็นพื้นที่การปกครองเดียวกัน เรียกว่า อำเภอเมืองนครสวรรค์ โดยที่ว่าการอำเภอเมืองนครสวรรค์ ไปตั้งที่ปากน้ำโพ ส่วนศาลากลางจังหวัดตั้งที่เมืองนครสวรรค์เดิม[4]

ภูมิศาสตร์

[แก้]

ภูมิประเทศ

[แก้]

สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนครสวรรค์อยู่ในดินแดนของลุ่มน้ำ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายหลักของภาคกลาง นั่นคือ แม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดจากการไหลบรรจบของแม่น้ำสองสายจากภาคเหนือ ได้แก่ แม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ด้วยเหตุนี้ นอกจากนี้ยังมีภูเขาขนาดย่อมกระจัดกระจายในอำเภอต่าง ๆ

ภูมิอากาศ

[แก้]

จังหวัดนครสวรรค์ตั้งอยู่ในเขตร้อนแบบมรสุม

ข้อมูลภูมิอากาศของจังหวัดนครสวรรค์
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 32.2
(90)
34.8
(94.6)
36.8
(98.2)
38.1
(100.6)
35.9
(96.6)
34.6
(94.3)
34.0
(93.2)
33.3
(91.9)
32.5
(90.5)
32.1
(89.8)
31.5
(88.7)
31.0
(87.8)
33.9
(93.02)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 18.1
(64.6)
21.7
(71.1)
24.1
(75.4)
25.7
(78.3)
25.4
(77.7)
25.0
(77)
24.5
(76.1)
24.3
(75.7)
24.0
(75.2)
23.6
(74.5)
21.3
(70.3)
18.2
(64.8)
22.99
(73.39)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 9.8
(0.386)
14.9
(0.587)
30.0
(1.181)
60.9
(2.398)
138.7
(5.461)
117.1
(4.61)
134.1
(5.28)
194.9
(7.673)
231.6
(9.118)
144.4
(5.685)
35.3
(1.39)
7.3
(0.287)
1,119
(44.055)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย 1 2 3 5 12 14 16 18 18 14 4 1 108
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา

หน่วยการปกครอง

[แก้]
แผนที่อำเภอในจังหวัดนครสวรรค์

การปกครองส่วนภูมิภาคแบ่งออกเป็น 15 อำเภอ 130 ตำบล 1328 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองนครสวรรค์
  2. อำเภอโกรกพระ
  3. อำเภอชุมแสง
  4. อำเภอหนองบัว
  5. อำเภอบรรพตพิสัย
  6. อำเภอเก้าเลี้ยว
  7. อำเภอตาคลี
  8. อำเภอท่าตะโก
  1. อำเภอไพศาลี
  2. อำเภอพยุหะคีรี
  3. อำเภอลาดยาว
  4. อำเภอตากฟ้า
  5. อำเภอแม่วงก์
  6. อำเภอแม่เปิน
  7. อำเภอชุมตาบง

โครงสร้างพื้นฐาน

[แก้]

โรงพยาบาล

[แก้]

อ.เมืองนครสวรรค์

[แก้]

โรงพยาบาลรัฐ

  • โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ (เขาเขียว)
  • โรงพยาบาลเมืองสี่แคว (ในเครือโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์)
  • โรงพยาบาลแม่และเด็ก (ศูนย์อนามัยที่ 3)
  • โรงพยาบาลค่ายจิรประวัติ

โรงพยาบาลเอกชน

  • โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ําโพ 1
  • โรงพยาบาลพริ้นซ์ ปากน้ําโพ 2
  • โรงพยาบาลศรีสวรรค์ (ศูนย์หัวใจศรีสวรรค์ โดยโรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ)
  • โรงพยาบาลร่มฉัตร
  • โรงพยาบาลรวมแพทย์
  • โรงพยาบาลสินแพทย์ (โครงการก่อสร้าง)

อ.พยุหะคีรี

[แก้]

โรงพยาบาลรัฐ

อ.ตาคลี

[แก้]

โรงพยาบาลรัฐ

  • โรงพยาบาลตาคลี
  • โรงพยาบาลกองบิน 4

โรงพยาบาลเอกชน

  • โรงพยาบาลแพทย์ช่องแค

อ.ลาดยาว

[แก้]

โรงพยาบาลรัฐ

  • โรงพยาบาลลาดยาว

อ.เก้าเลี้ยว

[แก้]

โรงพยาบาลรัฐ

  • โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว

การศึกษา

[แก้]
โรงเรียน
ระดับอาชีวศึกษา
  • วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์
  • วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย
  • วิทยาลัยเทคนิคนครสวรรค์
  • วิทยาลัยเทคนิคแม่วงก์
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์
  • วิทยาลัยการอาชีพนครสวรรค์
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคเหนือ
  • วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการตากฟ้า
  • วิทยาลัยอาชีวศึกษาวิริยาลัยนครสวรรค์
  • โรงเรียนสหพานิชยการ อำเภอเมืองนครสวรรค์
ระดับอุดมศึกษา

การขนส่ง

[แก้]

การขนส่งทางถนนในจังหวัดนครสวรรค์ ประกอบไปด้วยทางหลวงสำคัญ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 หรือถนนพหลโยธิน เชื่อมต่อไปยังภาคกลางตอนล่างและภาคเหนือ, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 เชื่อมต่อกับจังหวัดพิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 เชื่อมต่อกับจังหวัดสิงห์บุรี, จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 เชื่อมต่อกับจังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดชัยภูมิ ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี

จังหวัดนครสวรรค์มีสถานีรถไฟนครสวรรค์บนทางรถไฟสายเหนือของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตัวสถานีตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับตัวเมืองที่อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ นอกจากนี้ ยังมีการขนส่งทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนครสวรรค์[11]

เศรษฐกิจ

[แก้]

จังหวัดนครสวรรค์เป็นศูนย์กลางการคมนาคมในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน เพราะเป็นชุมทางของคมนาคมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นถนน, รถไฟ หรือทางน้ำ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของท่าข้าวกำนันทรงหรือนาย ทรง องค์ชัยวัฒนะ ซึ่งเป็นตลาดกลางค้าข้าวแห่งแรกของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีเทศบาลนครที่เจริญเป็นอันดับที่ 13 ของประเทศไทย ข้อมูลจากรายชื่อเมืองใหญ่ของประเทศไทยเรียงตามจำนวนประชากร

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm เก็บถาวร 2016-03-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2563. สืบค้น 24 กุมภาพันธ์ 2565.
  3. ประเสริฐ ณ นคร. พระบาง ในประวัติศาสตร์เบ็ดเตล็ด. กทม. มติชน. 2549 หน้า 244 - 245
  4. 4.0 4.1 4.2 Rianthong, S. (2023). The Timeline and Change of Communities in The Area of Paknampo Before 1957. DEC Journal, 2(2), 105–144. Retrieved from https://so07.tci-thaijo.org/index.php/decorativeartsJournal/article/view/2028
  5. เจตน์กมล วงษ์ท้าว. (2549). โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี และสถานที่สำคัญ จังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี. สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร.
  6. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2509). พระราชนิพนธ์ เที่ยวตามทางรถไฟ. โรงพิมพ์สุทธิสารการพิมพ์
  7. สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2515). ประชุมพระราชนิพนธ์บางเรื่อง.
  8. กรมศิลปากร. (2516). ทะเบียนโบราณวัตถุสถานทั่วราชอาณาจักร. กรมศิลปากร.
  9. เสนีย์ ปราโมช. (2528). บรรยายพิเศษ. ใน สุภรณ์ โอเจริญ (บ.ก.), นครสวรรค์ : รัฐกึ่งกลาง, รายงานการสัมมนาประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดนครสวรรค์. (น. 508-521). วิทยาลัยครูนครสวรรค์.
  10. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
  11. "Nakhon Sawan Airport". OurAirports. สืบค้นเมื่อ 4 February 2013.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

15°42′N 100°04′E / 15.7°N 100.07°E / 15.7; 100.07