เทศบาลนครเกาะสมุย
เทศบาลนครเกาะสมุย | |
---|---|
จากบนซ้ายไปล่างขวา: ท่าอากาศยานสมุย, เซ็นทรัลเฟสติวัล สมุย, น้ำตกนาเมือง, พระเจดีย์แหลมสอ และถนนมุ่งหน้าสู่หาดละไม | |
คำขวัญ: ปะการังงาม น้ำทะเลใส หาดทรายขาว มะพร้าวเยอะ | |
พิกัด: 9°30′57″N 99°56′37″E / 9.5157232°N 99.9435577°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุราษฎร์ธานี |
อำเภอ | เกาะสมุย |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | รามเนตร ใจกว้าง |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 228.7 ตร.กม. (88.3 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2563)[1] | |
• ทั้งหมด | 68,994 คน |
• ความหนาแน่น | 301.67 คน/ตร.กม. (781.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03840401 |
สนามบิน | ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครเกาะสมุย เลขที่ 29/1 หมู่ที่ 1 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลนครเกาะสมุย เป็นเทศบาลนครที่ตั้งอยู่ในอำเภอเกาะสมุย ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ 228.7 ตารางกิโลเมตร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียวในอำเภอเกาะสมุย เนื่องจากครอบคลุมอำเภอเกาะสมุยเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงหมู่เกาะบางส่วนของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
เริ่มแรกจัดตั้งเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2499 ในฐานะสุขาภิบาลเกาะสมุย ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง จนกระทั่งเป็นเทศบาลนครเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555[2] มีประชากรใน พ.ศ. 2563 ประมาณ 68,994 คน[1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]เกาะสมุย ปรากฏชื่อในเอกสารครั้งแรกในหนังสือชีวีวัณย์ พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้ากรมพระยานุพันธ์ วงศ์วรเดช พ.ศ. 2475 มีหลักฐานยืนยันว่ามีผู้คนมาตั้งหลักแหล่งบนเกาะสมุยในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเพราะได้กล่าวถึงเจดีย์ 3 องค์ ซึ่งได้สร้างไว้สมัยกรุงธนบุรี ยังปรากฏหลักฐานจนถึงปัจจุบัน "สมุย" มาจากภาษาใดไม่ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่ามีหลายความหมาย เช่น มาจากภาษาจีนไหหลำ จากคำว่า "เซ่าหมวย" แปลว่า ด่านแรก บ้างก็ว่ามาจากภาษาทมิฬจากคำว่า "สมอย" แปลว่า คลื่นลม และบ้างก็ว่ามาจากชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีอยู่ในภาคใต้ คือ "ต้นหมุย" จนถึงบัดนี้ก็ไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าคำว่า สมุย มีต้นกำเนิดจากภาษาใด
- วันที่ 20 กันยายน 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะสมุย ในท้องที่บางส่วนของตำบลอ่างทอง[3]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลมะเร็ต ในท้องที่ตำบลมะเร็ต[4]
- วันที่ 23 เมษายน 2506 ยุบองค์การบริหารส่วนตำบลมะเร็ต และเปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย ให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลอ่างทอง (ยกเว้นหมู่เกาะอ่างทอง) ตำบลลิปะน้อย ตำบลตลิ่งงาม ตำบลหน้าเมือง ตำบลมะเร็ต ตำบลบ่อผุด ตำบลแม่น้ำ ตำบลเกาะพะงัน (ยกเว้นเกาะเต่า) และตำบลบ้านใต้[5]
- วันที่ 21 สิงหาคม 2516 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย โดยแยกพื้นที่ตำบลเกาะพะงัน และตำบลบ้านใต้ ไปจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลเกาะพะงัน กิ่งอำเภอเกาะพะงัน[6] ส่วนเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลอ่างทอง (ยกเว้นหมู่เกาะอ่างทอง) ตำบลลิปะน้อย ตำบลตลิ่งงาม ตำบลหน้าเมือง ตำบลมะเร็ต ตำบลบ่อผุด ตำบลแม่น้ำ และเพิ่มให้ครอบคลุมพื้นที่เกาะพะลวย ของตำบลอ่างทอง เกาะแตน ของตำบลตลิ่งงาม
- วันที่ 16 พฤศจิกายน 2519 ยุบสุขาภิบาลเกาะพะงัน กิ่งอำเภอเกาะพะงัน[7] เนื่องจากไม่สามารถบริหารกิจการของสุขาภิบาลให้เจริญก้าวหน้าได้ และประชาชนในเขตสุขาภิบาลไม่ต้องการให้ท้องถิ่นนี้มีการปกครองเป็นสุขาภิบาล
- วันที่ 29 ธันวาคม 2524 เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย โดยเพิ่มให้ครอบคลุมพื้นที่เกาะพะลวย ของตำบลอ่างทอง เกาะแตน ของตำบลตลิ่งงาม และครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลอ่างทอง (ฝั่งเกาะสมุย) ตำบลลิปะน้อย ตำบลตลิ่งงาม ตำบลหน้าเมือง ตำบลมะเร็ต ตำบลบ่อผุด และตำบลแม่น้ำ[8]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเกาะสมุย เป็นเทศบาลตำบลเกาะสมุย[9] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 4 ตุลาคม 2553 เปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลตำบลเกาะสมุย เป็นเทศบาลเมืองเกาะสมุย[10] โดยยึดพื้นที่ครอบคลุมตามแบบประกาศกระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2524 เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย[8] และเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมเกาะฟาน เกาะลุ่มหมูน้อย เกาะฟานใหญ่ เกาะฟานน้อย เกาะส้ม เกาะมัดหลัง ของตำบลบ่อผุด เกาะเตาปูน เกาะมดแดง เกาะกล้วย เกาะตู ของตำบลอ่างทอง เกาะแมลงป่อง เกาะแม่ทับ เกาะดิน เกาะทะลุ เกาะเจตมูล ของตำบลตลิ่งงาม
- วันที่ 27 มกราคม 2557 เปลี่ยนแปลงฐานะจากเทศบาลเมืองเกาะสมุย เป็นเทศบาลนครเกาะสมุย[2]
ภูมิศาสตร์
[แก้]ภูมิอากาศ
[แก้]เกาะสมุยมีสภาพภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน เกาะนี้มีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นและชื้นเกือบตลอดปี เมื่อเทียบกับจังหวัดภูเก็ตและส่วนอื่น ๆ ของภาคใต้ สภาพภูมิอากาศบนเกาะสมุยนั้นแห้งกว่า (เกาะสมุยได้รับฝนประมาณ 1,960 มิลลิเมตร (77.2 นิ้ว) ต่อปี ส่วนภูเก็ตได้ 2,220 มิลลิเมตร (87 นิ้ว)) ฤดูฝนของภูเก็ตกินเวลามากกว่าหกถึงแปดเดือน ส่วนเกาะสมุยมีหยาดน้ำฟ้ามากกว่า 212 มิลลิเมตร (8 นิ้ว) เพียงสองเดือน) เดือนที่มีหยาดน้ำฟ้ามากที่สุดมักอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน[11] ส่วนช่วงอื่น ๆ จะมีฝนเพียงเล็กน้อยประมาณ 20–60 นาที
ข้อมูลภูมิอากาศของเกาะสมุย (พ.ศ. 2524-2553) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 33.4 (92.1) |
33.9 (93) |
35.4 (95.7) |
36.5 (97.7) |
36.3 (97.3) |
36.2 (97.2) |
36.0 (96.8) |
35.8 (96.4) |
35.4 (95.7) |
34.1 (93.4) |
34.0 (93.2) |
32.3 (90.1) |
36.5 (97.7) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 29.0 (84.2) |
29.4 (84.9) |
30.6 (87.1) |
32.0 (89.6) |
32.6 (90.7) |
32.5 (90.5) |
32.2 (90) |
32.1 (89.8) |
31.7 (89.1) |
30.5 (86.9) |
29.6 (85.3) |
29.2 (84.6) |
31.0 (87.8) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 26.8 (80.2) |
27.4 (81.3) |
28.2 (82.8) |
29.1 (84.4) |
28.9 (84) |
28.7 (83.7) |
28.3 (82.9) |
28.2 (82.8) |
27.9 (82.2) |
27.2 (81) |
26.8 (80.2) |
26.6 (79.9) |
27.8 (82) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 24.2 (75.6) |
25.0 (77) |
25.6 (78.1) |
26.1 (79) |
25.7 (78.3) |
25.5 (77.9) |
25.1 (77.2) |
25.2 (77.4) |
24.8 (76.6) |
24.3 (75.7) |
24.1 (75.4) |
23.9 (75) |
25.0 (77) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 18.6 (65.5) |
19.5 (67.1) |
21.0 (69.8) |
22.0 (71.6) |
22.1 (71.8) |
20.6 (69.1) |
19.9 (67.8) |
21.7 (71.1) |
19.4 (66.9) |
21.4 (70.5) |
20.3 (68.5) |
18.8 (65.8) |
18.6 (65.5) |
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) | 86.2 (3.394) |
54.4 (2.142) |
80.8 (3.181) |
83.1 (3.272) |
155.9 (6.138) |
124.1 (4.886) |
116.3 (4.579) |
110.9 (4.366) |
121.7 (4.791) |
309.8 (12.197) |
506.6 (19.945) |
210.3 (8.28) |
1,960.1 (77.169) |
ความชื้นร้อยละ | 83 | 82 | 82 | 81 | 80 | 78 | 78 | 78 | 80 | 85 | 85 | 82 | 81 |
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 11.0 | 5.6 | 5.9 | 8.6 | 15.6 | 13.7 | 14.4 | 15.2 | 16.2 | 19.6 | 19.2 | 13.7 | 158.7 |
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด | 198.4 | 214.7 | 238.7 | 201.0 | 192.2 | 150.0 | 155.0 | 151.9 | 144.0 | 145.7 | 174.0 | 176.7 | 2,142.3 |
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยา[12] | |||||||||||||
แหล่งที่มา 2: สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา, กรมชลประทาน (ดวงอาทิตย์และความชื้น)[13] |
การท่องเที่ยว
[แก้]เดิมเกาะสมุยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกมะพร้าว ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่ชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาท่องเที่ยว มีร้านค้า โรงแรม และสถานบันเทิงต่าง ๆ มากมาย หาดที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนเกาะสมุย คือ หาดเฉวง บริเวณชายหาดยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ถ้าได้ลงมือเดินตั้งแต่ต้นหาดจนกระทั่งถึงปลายหาดจะใช้เวลาประมาณถึง 2 ชั่วโมง เพราะการเดินบนผืนทรายไม่เหมือนการเดินบนพื้นดินปรกติ หาดที่มีความสวยงามเป็นอันดับรองลงมา คือ หาดละไม หาดเชิงมนต์ แหลมโจรคร่ำ หาดท้องยาง หาดหน้าทอน หาดพังกา และหาดตลิ่งงาม
-
ถนนภายในเขตเทศบาลนครเกาะสมุย
-
หาดเฉวงน้อย (Chaweng Noi Beach)
การขนส่ง
[แก้]เกาะสมุยมีท่าอากาศยานนานาชาติจำนวน 1 แห่ง คือ ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย มีสายการบินทั้งในประเทศ และต่างประเทศ กำหนดจุดปลายทางของการบินมาที่ท่าอากาศยานแห่งนี้[14] ใน พ.ศ. 2556 มีจำนวนเที่ยวบินถึง 22,028 เที่ยวบิน จำนวนผู้โดยสารมากกว่า 1.8 ล้านคนต่อปี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครเกาะสมุย ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลนครเกาะสมุย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 131 (พิเศษ 18 ง): 28. January 27, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-03. สืบค้นเมื่อ 2017-07-12.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (75 ง): (ฉบับพิเศษ) 84-85. September 20, 1956. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (18 ง): (ฉบับพิเศษ) 2-6. March 1, 1958.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (38 ง): 1203–1204. April 23, 1963. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (106 ง): 2443–2447. August 21, 1973. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบสุขาภิบาลเกาะพงัน กิ่งอำเภอเกาะพงัน อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎรณ์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 9-11. November 16, 1976.
- ↑ 8.0 8.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตสุขาภิบาลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (215 ง): 4769–4771. December 29, 1981. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-05. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-20.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลตำบลเกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเทศบาลเมืองเกาะสมุย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 127 (ตอนพิเศษ 116 ง): 15. October 4, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2019-10-05.
- ↑ "Weather in Thailand". Travelfish.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-15.
- ↑ "Climatological Data for the Period 1981–2010". กรมอุตุนิยมวิทยา. p. 23. สืบค้นเมื่อ 7 August 2016.
- ↑ "ปริมาณการใช้น้ำของพืชอ้างอิงโดยวิธีของ Penman Monteith (Reference Crop Evapotranspiration by Penman Monteith)" (PDF). สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา, กรมชลประทาน. p. 108. สืบค้นเมื่อ 7 August 2016.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2014-07-09.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เทศบาลนครเกาะสมุย
- เว็บไซต์เทศบาลนครเกาะสมุย