เทศบาลนครลำปาง
เทศบาลนครลำปาง | |
---|---|
แม่น้ำวังในเขตเทศบาลนครลำปาง | |
คำขวัญ: ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก | |
ที่ตั้งในภาคเหนือของประเทศไทย | |
พิกัด: 18°18′N 99°30′E / 18.300°N 99.500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลำปาง |
อำเภอ | เมืองลำปาง |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | นิมิตร จิวะสันติการ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 22.17 ตร.กม. (8.56 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 240 เมตร (790 ฟุต) |
ประชากร (2560)[1] | |
• ทั้งหมด | 53,614 คน |
• ความหนาแน่น | 2,418.31 คน/ตร.กม. (6,263.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 03520102 |
สนามบิน | ท่าอากาศยานลำปาง |
ทางหลวง | |
ที่อยู่ สำนักงาน | สำนักงานเทศบาลนครลำปาง ห้าแยกหอนาฬิกา ถนนฉัตรไชย ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000 |
โทรศัพท์ | 0 5421 9211 ต่อ 268 |
โทรสาร | 0 5421 9467 |
เว็บไซต์ | www |
เทศบาลนครลำปาง เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณอำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เป็นเทศบาลนครที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่สองในภาคเหนือ ถัดจากเทศบาลนครเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและความเจริญของจังหวัดลำปางและภาคเหนือ เป็นประตูสู่ดินแดนห้าเชียง อันได้แก่ เชียงใหม่, เชียงราย, เชียงตุง (พม่า), เชียงรุ่ง (สิบสองปันนา), และเชียงทอง (หลวงพระบาง)
ประวัติ
[แก้]เทศบาลนครลำปาง เดิมเป็นสุขาภิบาลเมืองลำปาง ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองลำปาง ในวันที่ 25 มีนาคม 2478 มีพื้นที่ 10.86 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล คือ ตำบลสวนดอก ตำบลเวียงเหนือ ตำบลหัวเวียง และตำบลสบตุ๋ย เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2534 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตพื้นที่การปกครองของเทศบาลเมืองลำปางใหม่ ได้ขยายอาณาบริเวณของเทศบาลเพิ่มขึ้นอีก 11.31 ตารางกิโลเมตร รวมเป็นพื้นที่ทั้งสิ้น 22.17 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเพิ่มอีก 4 ตำบล คือ ตำบลบ่อแฮ้ว 1.16 ตารางกิโลเมตร, ตำบลชมพู 3.80 ตารางกิโลเมตร, ตำบลพระบาท 6.13 ตารางกิโลเมตร และตำบลพิชัย 0.22 ตารางกิโลเมตร เมื่อในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเทศบาลเมืองลำปาง จัดตั้งเป็นเทศบาลนครลำปาง (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 10 ก.) มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ครอบคลุมพื้นที่อาณาบริเวณ 8 ตำบล รวมทั้งสิ้น 22.17 ตารางกิโลเมตร นับว่าเป็นเทศบาลนครแห่งที่สองของภาคเหนือตอนบนถัดจากเทศบาลนครเชียงใหม่
ภูมิอากาศ
[แก้]ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลนครลำปาง (2504-2533) | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 35.0 (95) |
37.8 (100) |
41.7 (107.1) |
43.5 (110.3) |
43.2 (109.8) |
38.4 (101.1) |
38.6 (101.5) |
37.6 (99.7) |
36.2 (97.2) |
35.2 (95.4) |
34.2 (93.6) |
34.7 (94.5) |
43.5 (110.3) |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 30.2 (86.4) |
33.4 (92.1) |
36.2 (97.2) |
37.5 (99.5) |
35.0 (95) |
33.2 (91.8) |
32.6 (90.7) |
32.2 (90) |
31.9 (89.4) |
31.4 (88.5) |
30.4 (86.7) |
29.2 (84.6) |
32.77 (90.98) |
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 21.2 (70.2) |
23.9 (75) |
27.3 (81.1) |
29.5 (85.1) |
28.6 (83.5) |
27.9 (82.2) |
27.5 (81.5) |
27.1 (80.8) |
26.6 (79.9) |
25.8 (78.4) |
23.8 (74.8) |
21.0 (69.8) |
25.85 (78.53) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 13.9 (57) |
15.7 (60.3) |
19.1 (66.4) |
22.6 (72.7) |
24.0 (75.2) |
24.1 (75.4) |
23.9 (75) |
23.6 (74.5) |
23.2 (73.8) |
21.9 (71.4) |
18.8 (65.8) |
14.7 (58.5) |
20.46 (68.83) |
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) | 3.9 (39) |
8.7 (47.7) |
11.5 (52.7) |
16.9 (62.4) |
19.8 (67.6) |
21.2 (70.2) |
21.0 (69.8) |
21.2 (70.2) |
19.1 (66.4) |
12.7 (54.9) |
7.1 (44.8) |
4.7 (40.5) |
3.9 (39) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 6 (0.24) |
7 (0.28) |
19 (0.75) |
66 (2.6) |
159 (6.26) |
118 (4.65) |
132 (5.2) |
199 (7.83) |
212 (8.35) |
119 (4.69) |
35 (1.38) |
5 (0.2) |
1,077 (42.4) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) | 1 | 1 | 2 | 5 | 12 | 12 | 13 | 15 | 14 | 10 | 3 | 1 | 89 |
แหล่งที่มา: NOAA[2] |
ตราสัญลักษณ์
[แก้]ตราสัญลักษณ์ของเทศบาลนครลำปางใช้ตราไก่ขาวเช่นเดียวกับตราจังหวัดลำปาง ที่มาตามตำนานพระฤๅษี 5 พระองค์ได้กล่าวไว้ว่า เดิมเมืองนครลำปางมีชื่อว่า "กุกุฎฎะนคร" แปลว่า เมืองไก่ขาว มีที่มาตามตำนานว่า ในสมัยพุทธกาลเมื่อพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้สัมโพธิญาณแล้วได้เสด็จโปรดสัตว์ผ่านมาทางบริเวณลัมภะกัมปะกาลิณี คือนครลำปางในปัจจุบัน พระอินทร์ได้แปลงกายลงมาเป็นไก่ขาวเพื่อเตือนให้ชาวเมืองตื่นขึ้นมาบำเพ็ญทาน พระพุทธองค์ทรงทำนายว่าต่อไปเมื่อหน้าบริเวณแห่งนี้จะเป็นนครอันรุ่งเรือง ต่อมาได้มีผู้มาสร้างเมืองขึ้นบริเวณนี้และได้ตั้งชื่อเมืองแห่งนี้ว่า "เมืองกุกุฎฏะนคร" ซึ่งแปลว่าเมืองไก่ขาว
การขนส่ง
[แก้]การคมนาคมเข้าสู่เทศบาลนครลำปางมีเส้นทางหลัก ซึ่งเป็นทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญ คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน จากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดลำปาง เป็นระยะทาง 600 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมีสามารถเลือกเดินทางโดยรถไฟ จากสถานีหัวลำโพง สู่สถานีรถไฟนครลำปาง รวมระยะทาง 640 กิโลเมตร และมีทางหลวงจังหวัดเชื่อมโยงระหว่างอำเภอต่าง ๆ และจังหวัดเชียงใหม่เป็นเส้นทางที่สะดวก
การคมนาคมทางอากาศ มีสนามบินพาณิชย์ภายในประเทศซึ่งมีบริการเที่ยวบินสายการบินภายในประเทศ 2 สายการบินคือ บางกอกแอร์เวย์ เปิดบริการวันละ 4 เที่ยวบิน และสายการบินนกแอร์ วันละ 4 เที่ยวบิน
การขนส่งในเขตเทศบาล
[แก้]สภาพการจราจร ปัจจุบันในเขตเทศบาลมีปัญหาการจราจรติดขัดเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน และในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ซึ่งเทศบาลนครลำปาง เป็นศูนย์กลางประตูสู่ภาคเหนือตอนบน สามารถเดินทางไปได้ทุกจังหวัดในภาคเหนือตอนบนไม่ว่าจะเป็นแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา แพร่ น่าน และการเชื่อมถนนรอบนอกกับถนนรอบในยังเป็นถนนเล็ก ๆ ซึ่งจะต้องปรับปรุงโครงข่ายถนนให้เพียงพอกับปริมาณรถและความเจริญของชุมชน.
ปัจจุบันนิยมใช้การจราจรโดยรถส่วนบุคคลหรือรถจักรยานยนต์รวมทั้งจักรยาน สำหรับระบบมวลชน จะมีรถสองแถวรอบเวียงสีเหลือง และมีรถตู้เชื่อมระหว่างตัวจังหวัดไปยังตัวอำเภอต่าง ๆ ทั้ง 13 อำเภอ และเดินทางข้ามจังหวัดที่สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดลำปาง ติดถนนสายเอเชียสายนอก
- ถนนสายรองในเขตเทศบาลนครลำปาง
- ถนนเขลางค์นคร
- ถนนบุญวาทย์
- ถนนฉัตรชัย
- ถนนสวนดอก
- ถนนจามเทวี
- ถนนดวงรัตน์
- ถนนป่าขาม 1
- ถนนป่าขาม 2
- ถนนเจริญประเทศ
- ถนนสนามบิน
- ถนนทิพวรรณ
- ถนนบ้านเชียงราย
- ถนนสุเรนทร์
- ถนนเวียงละคอน
การศึกษา
[แก้]โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครลำปาง มี 6 โรงเรียนได้แก่
- โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านแสนเมืองมูล)
- โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านปงสนุก) ในปัจจุบันได้โอนเป็นสถานศึกษาในสังกัด สพฐ. มีชื่อว่า โรงเรียนบ้านปงสนุก
- โรงเรียนเทศบาล 3 (บุญทวงค์อนุกูล)
- โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านเชียงราย)
- โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดป่ารวก)
- โรงเรียนเทศบาล 5 (บ้านศรีบุญเรือง)
- โรงเรียนเทศบาล 7 (ศิรินาวินวิทยา)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลนครลำปาง ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ "Climate Normals for Lampang". National Oceanic and Atmospheric Administration. สืบค้นเมื่อ 1 February 2013.