ข้ามไปเนื้อหา

เทศบาลนครระยอง

พิกัด: 12°40′27″N 101°16′44″E / 12.67417°N 101.27889°E / 12.67417; 101.27889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลนครระยอง
ภาพถ่ายนครระยอง
ภาพถ่ายนครระยอง
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลนครระยอง
ตรา
ทน.ระยองตั้งอยู่ในจังหวัดระยอง
ทน.ระยอง
ทน.ระยอง
ที่ตั้งของเทศบาลนครระยอง
ทน.ระยองตั้งอยู่ในประเทศไทย
ทน.ระยอง
ทน.ระยอง
ทน.ระยอง (ประเทศไทย)
พิกัด: 12°40′27″N 101°16′44″E / 12.67417°N 101.27889°E / 12.67417; 101.27889
ประเทศ ไทย
จังหวัดระยอง
อำเภอเมืองระยอง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีวิชิต ศรีชลา
พื้นที่
 • ทั้งหมด16.95 ตร.กม. (6.54 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2560)[1]
 • ทั้งหมด64,525 คน
 • ความหนาแน่น3,806.78 คน/ตร.กม. (9,859.5 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.03210102
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลนครระยอง เลขที่ 888 ถนนตากสินมหาราช ตำบลท่าประดู่ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง รหัสไปรษณีย์ 21000
โทรศัพท์0 3862 0111
โทรสาร0 3887 0091
เว็บไซต์www.rayongcity.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลนครระยอง เป็นเทศบาลนครแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง มีประชากรในปี พ.ศ. 2560 ประมาณ 64,000 คน[1]

ประวัติ

[แก้]

เทศบาลนครระยองจัดตั้งขึ้นเป็น สุขาภิบาลเมืองระยอง ในปี พ.ศ. 2460 ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็น เทศบาลเมืองระยอง ในปี พ.ศ. 2478 โดยมีพื้นที่ 4.356 ตารางกิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีการขยายเขตเทศบาล รวมพื้นที่ทั้งหมด 16.95 ตารางกิโลเมตร จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครระยอง โดยเปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองระยอง เป็นเทศบาลนครระยอง เนื่องจากเทศบาลเมืองระยอง มีสภาพความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มขึ้น โดยมีพื้นที่เขตเทศบาลเมืองระยองเดิม คือ 16.95 ตารางกิโลเมตร

ภูมิศาสตร์

[แก้]

เทศบาลนครระยองตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 179 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งสิ้น 16.95 ตารางกิโลเมตร และมีอาณาเขตดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดกับเขตเทศบาลตำบลทับมา เขตเทศบาลตำบลน้ำคอก และเขตเทศบาลตำบลเชิงเนิน
  • ทิศใต้ ติดทะเลอ่าวไทย
  • ทิศตะวันออก ติดกับเขตเทศบาลตำบลเชิงเนิน
  • ทิศตะวันตก ติดกับเขตเทศบาลตำบลเนินพระ

ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลนครระยองเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบสลับที่เป็นลูกคลื่นลาดเอียงจากด้านทิศเหนือลงสู่ทิศใต้มีแม่น้ำระยองไหลผ่านกลางเมืองความยาวประมาณ 15 กิโลเมตร ลงสู่ทะเลอ่าวไทยบริเวณชุมชนปากน้ำ 2 ด้านทิศเหนือมีคลองทับมา และด้านทิศตะวันออกมีคลองคงคาและคลองชลประทาน

ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเมืองร้อนได้รับอิทธิพลของทะเลทำให้อากาศไม่ร้อนจัดมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียสปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,501 มิลลิลิตร ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 76.7

เขตการปกครอง

[แก้]

เทศบาลนครระยองครอบคลุมพื้นที่ของ 4 ตำบล คือ

  • ตำบลปากน้ำ
  • ตำบลท่าประดู่
  • บางส่วนของตำบลเชิงเนิน
  • บางส่วนของตำบลเนินพระ

ประชากร

[แก้]
  • จำนวนประชากรในเขตเทศบาลมีทั้งสิ้น (ข้อมูลประชากร เดือนพฤศจิกายน 2556) 60,607 แบ่งเป็น ชาย 31,976 คน หญิง 28,631 คน
  • ความหนาแน่นของประชากรประมาณ 3,576 คน/ตร.กม. (ของจังหวัดระยองเท่ากับ 152 คน/ตร.กม.) จำนวนครัวเรือน 32,213 ครัวเรือน
  • จำนวนสมาชิกเฉลี่ยของครัวเรือน 2.08 อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรร้อยละ 2.15 ต่อปี

การขนส่ง

[แก้]

การคมนาคมขนส่งทางบกระหว่างตัวเมืองระยองกับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีถนนสายหลักที่สามารถใช้ในการเดินทางติดต่อ ดังนี้

  • ถนนสุขุมวิท (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3) ที่เป็นเส้นทางดั้งเดิมใช้สำหรับการเดินทางระหว่างกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 (กะทิงลาย–ปลวกเกตุ) ที่สามารถเข้าสู่ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 เข้ากรุงเทพมหานครได้
  • ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3574 (มาบปู–ระยอง) ซึ่งต่อจากถนนจันทอุดมไปอำเภอบ้านค่าย และอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี

นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นเส้นทางเข้าสู่จังหวัดชลบุรีและกรุงเทพมหานคร และเข้าสู่ทางหลวงสายอำเภอสัตหีบ-อำเภอกบินทร์บุรี ไปจังหวัดนครราชสีมาสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้เช่นเดียวกัน

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]