อรุ่น อรรคราชนารถภักดี
อรุ่น อรรคราชนารถภักดี | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2385[1] |
เสียชีวิต | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2467 (82 ปี)[1] |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาอรรคราชนารถภักดี (เนตร เนตรายน) |
บุตร | เจ้าจอมมารดาวง ในรัชกาลที่ 5 |
บิดามารดา | หลวงมหามนเทียร (จุ้ย) นุ่ม มหามนเทียร |
อรุ่น อรรคราชนารถภักดี (พ.ศ. 2385 — 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2467)[1] หรือ ขรัวยายอรุ่น หรือเป็นที่รู้จักว่า เจ้าจอมอรุ่น ในรัชกาลที่ 4 มีสมญาในการแสดงว่า อรุ่นบุษบา[2] เป็นภริยาของพระยาอรรคราชนารถภักดี (เนตร เนตรายน) และยังเคยรับราชการเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1] เธอมีบุตรสาวคนหนึ่งชื่อวง เนตรายน ถวายตัวเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์พระองค์ถัดมา[1][3][4]
ประวัติ
[แก้]อรุ่นเกิดเมื่อวันศุกร์ เดือนห้า ปีขาล พ.ศ. 2385 ในครอบครัวอำมาตย์ เป็นธิดาคนที่สองของหลวงมหามนเทียร (จุ้ย) กับภริยาชื่อนุ่ม[1] เมื่อจำเริญวัยขึ้น นุ่มผู้มารดาจึงถวายตัวอรุ่นเป็นนางละครในราชสำนัก และมีชื่อเสียงมากจนรับสมญาว่า "อรุ่นบุษบา"[2] รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นเจ้าจอมอรุ่นในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มิได้ประสูติการพระราชบุตร ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2411 เจ้าจอมอรุ่นจึงถวายบังคมลาออกจากราชการ[1]
หลังออกมาใช้ชีวิตสามัญนอกพระบรมมหาราชวัง ก็ได้สมรสกับขุนศรีสยามนุกูลกิจ (เนตร เนตรายน) บุตรพระยาสมุทบุรารักษ์ (เกิด) นักเรียนนอกคนแรก ๆ ของประเทศที่ได้รับทุนในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปเรียนภาษาอังกฤษที่สิงคโปร์[4] ที่ขณะนั้นยังเป็นผู้ช่วยกงสุลไทยประจำสิงคโปร์ ถือเป็นกงสุลไทยคนแรกและคนเดียวที่ประจำอยู่ต่างแดนในขณะนั้น[1] ต่อมาได้เป็นที่พระยาสมุทบุรารักษ์ผู้ว่าราชการเมืองสมุทรปราการต่อบิดา ต่อมาเลื่อนขึ้นเป็นพระยาอรรคราชนารถภักดี รับราชการกระทรวงต่างประเทศ[1][4]
ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อรุ่นหลังจากสมรสแล้วก็ได้หวนกลับมารับราชการในพระบรมมหาราชวังอีกครั้ง แต่ด้วยความสามารถด้านการแสดงคราวนี้เธอได้เป็นครูละครในราชสำนัก และมีศิษย์เอกคือเจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5[2] นอกจากงานละครแล้ว อรุ่นยังได้ถวายงานแด่สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าที่ทรงพระกรุณาโปรดให้อรุ่นเป็นพระพี่เลี้ยงสมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร[1] ต่อมาอรุ่นจึงได้ถวายตัวบุตรสาวคนหนึ่งชื่อวง เนตรายน เข้ารับราชการฝ่ายในเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[1][3][4] มีพระราชธิดาพระองค์เดียวคือ พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าโกมลเสาวมาลย์[5] (19 กันยายน พ.ศ. 2430 — 19 เมษายน พ.ศ. 2433)[3] ด้วยเหตุนี้จึงถูกเรียกอย่างให้เกียรติว่า ขรัวยายอรุ่น ด้วยเป็นยายของพระราชธิดา[1]
อรุ่น อรรคราชนารถภักดี หรือขรัวยายอรุ่น ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2467[1]
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของอรุ่น อรรคราชนารถภักดี[6] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554, หน้า 340-341
- ↑ 2.0 2.1 2.2 ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย. ลูกท่านหลานเธอ ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในราชสำนัก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : มติชน, 2555, หน้า 235
- ↑ 3.0 3.1 3.2 กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. p. 98. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2017-04-20.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 กัลยา เกื้อตระกูล. พระอัครมเหสี พระบรมราชินี พระชายานารี เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม ในรัชกาลที่ ๑-๗ กรุงเทพฯ : ยิปซี. 2552, หน้า 189
- ↑ "สมโภชเดือนพระเจ้าลูกเธอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 4 (29): 231. 31 ตุลาคม พ.ศ. 2430.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม. 27 เจ้าพระยา (ฉบับพิสดาร). โรงพิมพ์แพร่การช่าง, 2510, หน้า 105-107