สเตรตส์เซตเทิลเมนต์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สเตรตส์เซตเทิลเมนต์ Straits Settlements | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1826–1942 ญี่ปุ่นยึดครองระหว่าง 1942–45 1945–1946 | |||||||||||||||||||||
มาลายาในค.ศ. 1922:
| |||||||||||||||||||||
สถานะ | อาณานิคมของบริเตน | ||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | ปีนัง (1826–32) สิงคโปร์ (1832–1946) | ||||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | |||||||||||||||||||||
การปกครอง |
| ||||||||||||||||||||
พระมหากษัตริย์ | |||||||||||||||||||||
• 1826–30 | พระเจ้าจอร์จที่ 4 | ||||||||||||||||||||
• 1830–37 | พระเจ้าวิลเลียมที่ 4 | ||||||||||||||||||||
• 1837–1901 | พระนางเจ้าวิกตอเรีย | ||||||||||||||||||||
• 1901–10 | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 | ||||||||||||||||||||
• 1910–36 | พระเจ้าจอร์จที่ 5 | ||||||||||||||||||||
• 1936 | พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 | ||||||||||||||||||||
• 1936–42; 1945–46 | พระเจ้าจอร์จที่ 6 | ||||||||||||||||||||
ผู้ว่าราชการ | |||||||||||||||||||||
• 1826–30 (คนแรก) | Robert Fullerton | ||||||||||||||||||||
• 1934–46 (สุดท้าย) | Shenton Thomas | ||||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | จักรวรรดิบริติช | ||||||||||||||||||||
17 มีนาคม 1824 | |||||||||||||||||||||
ค.ศ. 1826 | |||||||||||||||||||||
1 เมษายน 1867 | |||||||||||||||||||||
• รวมกับนิคมลาบวน | 1 มกราคม 1907 | ||||||||||||||||||||
15 กุมภาพันธ์ 1942 | |||||||||||||||||||||
• ญี่ปุ่นยอมจำนน | 12 กันยายน 1945 | ||||||||||||||||||||
1 เมษายน 1946 | |||||||||||||||||||||
• Labuan to British North Borneo | 15 July 1946 | ||||||||||||||||||||
สกุลเงิน |
| ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | มาเลเซีย สิงคโปร์ |
สเตรตส์เซตเทิลเมนต์ หรือ อาณานิคมช่องแคบ (อังกฤษ: Straits Settlements; จีน: 海峡殖民地 Hǎixiá zhímíndì) คืออาณานิคมของจักรวรรดิบริติชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยดินแดนที่เป็นรัฐปีนัง ดินดิง (ส่วนหนึ่งของรัฐเปรัก) รัฐมะละกา สิงคโปร์ และลาบวนในปัจจุบัน
อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2369 โดยในตอนแรกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของดินแดนที่อยู่ในความควบคุมของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ต่อมาในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2410 ได้กลายเป็นอาณานิคมอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลสหราชอาณาจักรอย่างเต็มตัว และได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ประวัติศาสตร์และการปกครอง
[แก้]อาณานิคมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นตามสนธิสัญญาระหว่างอังกฤษกับเนเธอร์แลนด์ในปี พ.ศ. 2367 ซึ่งเป็นข้อตกลงในการแบ่งเขตอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทรระหว่างทั้งสองประเทศ ซึ่งเขตของอังกฤษจะอยู่ทางเหนือ และเขตของเนเธอร์แลนด์จะอยู่ทางใต้ โดยมีการและเปลี่ยนดินแดนระหว่างกัน คืออังกฤษจะต้องยกนิคมในเบงคูเลน (Bencoolen) ทางภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราให้กับเนเธอร์แลนด์ โดยแลกกับมะละกาและสิงคโปร์ ทำให้เมืองหลวงของอาณานิคมย้ายจากเกาะปีนังมาสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2375
ในปี พ.ศ. 2410 นิคมดังกล่าวก็ได้กลายเป็นอาณานิคมอย่างเต็มตัว โดยอยู่ภายใต้การปกครองของสำนักงานอาณานิคมในกรุงลอนดอน แทนที่จะขึ้นตรงกับรัฐบาลประจำอินเดียในกัลกัตตา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ รัฐบาลอังกฤษได้ตราธรรมนูญประจำอาณานิคม โดยให้อำนาจแก่ข้าหลวงแห่งนิคม ซึ่งบริหารกิจการของอาณานิคมโดยได้รับความช่วยเหลือจากสภาบริหารและสภานิติบัญญัติ
ดินดิงและพรอวินซ์เวลส์ลีย์
[แก้]ดินดิงซึ่งเป็นดินแดนที่ประกอบด้วยพื้นที่ชายฝั่งและหมู่เกาะทางตะวันตกของรัฐเปรัก ได้กลายเป็นของอังกฤษตามสนธิสัญญาปังโกร์ในปีพ.ศ. 2417 แต่ดินแดนดังกล่าวก็ไม่ได้มีทำประโยชน์ให้แก่อังกฤษมากนัก
พรอวินซ์เวลส์ลีย์ซึ่งเป็นพื้นที่ทางชายฝั่งตะวันตกของรัฐเกอดะห์ที่อยู่ตรงกันข้ามกับเกาะปีนังและมีอาณาเขตทางใต้ติดต่อกับรัฐเปรัก ได้กลายเป็นของอังกฤษในปี พ.ศ. 2341 โดยเขตแดนทางเหนือและทางตะวันออกที่ติดต่อกับรัฐเกอดะห์นั้นได้กำหนดตามข้อตกลงที่ทำกับสยามในปี พ.ศ. 2410 ดินแดนแห่งนี้ถูกปกครองโดยเจ้าหน้าที่ซึ่งขึ้นตรงต่อหน่วยงานในเกาะปีนัง พื้นที่ส่วนใหญ่ของพรอวินซ์เวลส์ลีย์เป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายู โดยมีชาวจีนและชาวทมิฬซึ่งเป็นแรงงาน รวมทั้งผู้คนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมการเกษตรอื่น ๆ อาศัยอยู่จำนวนหนึ่ง พื้นที่ประมาณหนึ่งในสิบเป็นเนินเตี้ย ๆ ซึ่งเต็มไปด้วยป่าทึบ พื้นที่นี้ผลิตข้าวเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
บทบาทที่เพิ่มขึ้นของผู้สำเร็จราชการ
[แก้]แต่เดิมหมู่เกาะโคโคสและเกาะคริสต์มาสขึ้นตรงกับซีลอน แต่ต่อมาในปี พ.ศ. 2429 ก็ได้มาขึ้นตรงกับนิคมช่องแคบ และในปี พ.ศ. 2449 ลาบวนก็ถูกผนวกเข้ามาเพิ่มอีก
ผู้สำเร็จราชการแห่งนิคมช่องแคบยังเป็นข้าหลวงใหญ่ประจำสหพันธรัฐมลายูและบอร์เนียวเหนือของอังกฤษ รัฐสุลต่านบรูไน และรัฐสุลต่านซาราวัก และต่อมายังดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการแห่งลาบวนเพิ่มขึ้นอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
ประชากร
[แก้]ตารางแสดงอาณาเขตพื้นที่และประชากรเชื้อชาติต่าง ๆ ที่อาศัยในนิคมช่องแคบ แสดงข้อมูลเมื่อ ค.ศ. 1901:
พื้นที่ (ตรางไมล์) | จำนวนประชากร ค.ศ. 1891 | จำนวนประชากร ค.ศ. 1901 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
รวม | ชาวยุโรป | ยูเรเชีย | ชาวจีน | ชาวมลายู | ชาวอินเดีย | อื่น ๆ | |||
สิงคโปร์ | 206 | 184,554 | 228,555 | 3,824 | 4,120 | 164,041 | 36,080 | 17,823 | 2,667 |
ปีนัง ดินดิง และพรอวินซ์เวลส์ลีย์ | 381 | 235,618 | 248,207 | 1,160 | 1,945 | 98,424 | 106,000 | 38,051 | 2,627 |
มะละกา | 659 | 92,170 | 95,487 | 74 | 1,598 | 19,468 | 72,978 | 1,276 | 93 |
รวม | 1,246 | 512,342 | 572,249 | 5,058 | 7,663 | 281,933 | 215,058 | 57,150 | 5,387 |
การคลัง
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
คมนาคม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วัฒนธรรม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "National Anthem". Official web site of the British Royal Family. 15 January 2016. สืบค้นเมื่อ 4 June 2016.
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "note" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="note"/>
ที่สอดคล้องกัน
- สเตรตส์เซตเทิลเมนต์
- บริติชมาลายาในสงครามโลกครั้งที่สอง
- บริติชมาลายา
- อดีตอาณานิคมและรัฐในอารักขาของอังกฤษในทวีปเอเชีย
- อดีตอาณานิคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศสิงคโปร์
- รัฐสิ้นสภาพในประเทศมาเลเซีย
- รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2369
- สิ้นสุดในปี พ.ศ. 2489
- บทความเกี่ยวกับ ประเทศและเขตการปกครอง ที่ยังไม่สมบูรณ์