สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฤดูกาล 1986–87
ฤดูกาล 1986–87 | ||||
---|---|---|---|---|
ประธานสโมสร | มาร์ติน เอ็ดเวิดส์ | |||
ผู้จัดการทีม | รอน แอตกินสัน (จนถึง 4 พฤศจิกายน) อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (ตั้งแต่ 6 พฤศจิกายน) | |||
กัปตันทีม | ไบรอัน ร็อบสัน | |||
ดิวิชัน 1 | อันดับที่ 11 | |||
FA Cup | รอบ 4 | |||
League Cup | รอบที่ 3 | |||
ผู้ทำประตูสูงสุด | ลีก: ปีเตอร์ ดาเวนพอร์ต (14) ทั้งหมด: ปีเตอร์ ดาเวนพอร์ต (16) | |||
ผู้เข้าชมในบ้านสูงสุด | 54,294 vs แมนเชสเตอร์ซิตี (10 มกราคม 1987) | |||
ผู้เข้าชมในบ้านต่ำสุด | 18,906 vs พอร์ตเวล (24 กันยายน 1986) | |||
ผู้เข้าชมในบ้านเฉลี่ย | 40,626 | |||
| ||||
ฤดูกาล 1986–87 เป็นฤดูกาลที่ 85 ของ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในฟุตบอลลีก และเป็นฤดูกาลที่ 12 ติดต่อกันบนลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ[1]
ความกดดันต่อรอน แอตกินสัน ผู้จัดการทีมยังคงรุนแรง หลังจากที่ล้มเหลวในการลุ้นแชมป์ลีกเมื่อฤดูกาลที่แล้ว สถานการณ์ยิ่งย่ำแย่ลงเมื่อพวกเขาแพ้ 3 เกมแรกของฤดูกาล และถึงแม้จะมีผลงานที่ดีในช่วงไม่กี่สัปดาห์ต่อมา แต่ยูไนเต็ดก็ตกรอบลีกคัพรอบที่ 4 นัดรีเพลย์ที่พ่ายต่อเซาแทมป์ตัน ส่งผลให้แอตกินสันถูกปลดออกจากตำแหน่งในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1986 หลังจากคุมทีมมานานกว่า 5 ปี
อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งของแอตกินสันภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง โดยดึงตัวมาจากแอเบอร์ดีน ซึ่งเขาประสบความสำเร็จอย่างมากใน 7 ฤดูกาลก่อนหน้านี้ ยูไนเต็ดทำผลงานได้ดีขึ้นอย่างมากในลีกหลังการเข้ารับตำแหน่งของเฟอร์กูสัน จบอันดับที่ 11 สร้างผลงานที่น่าประทับใจรวมถึงการชนะทั้งสองนัดในลีกกับลิเวอร์พูล (ผลการแข่งขันช่วยให้เคนนี แดลกลีชเสียแชมป์ลีก) เอาชนะนิวคาสเซิลยูไนเต็ดในบ้าน 4–1 ในวันปีใหม่ปี 1987 เอาชนะอาร์เซนอล 2–0 ในบ้าน และเอาชนะแมนเชสเตอร์ซิตี 2–0 ในบ้านในดาร์บีแมนเชสเตอร์ ซึ่งช่วยผลักซิตีให้ตกชั้น ชัยชนะเหนือลิเวอร์พูล ยังทำให้พวกเขาเป็นทีมเดียวที่ชนะลิเวอร์พูลในลีกทั้งฤดูกาล
อย่างไรก็ตาม แม้ฟอร์มการเล่นจะดีขึ้นแต่ยูไนเต็ดก็พลาดโอกาสจบฤดูกาลในลีกด้วยอันดับที่สูงกว่านั้น จากผลการแข่งขันที่น่าผิดหวังบางนัดหลังอเล็กซ์ เฟอร์กูสันเข้ารับตำแหน่ง เช่นแพ้ 0–2 ในนัดแรกที่คุมทีมเยือนออกซฟอร์ดยูไนเต็ดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 1986 แพ้ทั้งสองนัดที่เจอกับวิมเบิลดันที่เพิ่งเลื่อนชั้น แพ้คาบ้านต่อนอริชซิตีหลังเทศกาลคริสต์มาส และแพ้ในเกมเยือนต่อทอตนัมฮอตสเปอร์ 0–4 ช่วงปลายฤดูกาล ในช่วงที่แข่งกับทอตนัม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดหมดสิทธิ์ลุ้นแชมป์ลีกหรือตกชั้นในทางทฤษฎี (เนื่องจากถูกแบนออกจากบอลยุโรปหลังจากเหตุการณ์ภัยพิบัติเฮย์เซลเมื่อ 2 ปีก่อน) แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไม่สามารถคว้าชัยในเกมเยือนในลีกได้เลย ยกเว้นนัดที่บุกไปเยือนลิเวอร์พูลในช่วงวันเปิดกล่องของขวัญ
ยูไนเต็ดพัฒนาผลงานได้อย่างน่าทึ่งภายใต้การคุมทีมของเฟอร์กูสันในช่วงฤดูกาลนี้โดยไม่ต้องซื้อนักเตะใหม่ราคาแพง แม้ว่าก่อนหน้านี้จะคาดการณ์กันว่าเฟอร์กูสันจะทุ่มเงินซื้อนักเตะใหม่จำนวนมากในช่วงตลาดซื้อขายนักเตะช่วงปิดฤดูกาล 1987 เขาทุ่มเงินก้อนโต 850,000 ปอนด์ให้กับเซลติกเพื่อคว้าตัวกองหน้าจอมถล่มประตูอย่างไบรอัน แมคแคลร์ มาร่วมทีม เขายังเสริมทัพในแนวรับด้วยการคว้าตัววิฟ แอนเดอร์สัน ฟูลแบ็กประสบการณ์สูงจากอาร์เซนอลด้วยค่าตัว 250,000 ปอนด์ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดพยายามคว้าตัวผู้เล่นอีกหลายคน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน แสดงความสนใจที่จะดึงตัวมาร์ค แฮตลีย์ กองหน้าจากเอซีมิลาน กลับมาเล่นในอังกฤษ แต่แฮตลีย์ตัดสินใจเลือกอยู่ต่อในต่างประเทศและเซ็นสัญญากับอาแอ็ส มอนาโก แทน เฟอร์กูสันยังพยายามดึงปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์ กองหน้าทีมชาติอังกฤษกลับมาสู่สโมสร (เบียร์ดสลีย์เคยอยู่กับปีศาจแดงในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ) จากนิวคาสเซิลยูไนเต็ด แต่สุดท้ายเบียร์ดสลีย์กลับเลือกย้ายไปลิเวอร์พูลแทนด้วยค่าตัวเป็นสถิติของเกาะอังกฤษ เฟอร์กูสันมีโอกาสเซ็นสัญญากับจอห์น บานส์ ปีกตัวเก่งของวอตฟอร์ด แต่ปฏิเสธที่จะเซ็นสัญญาเนื่องจากเขามีความมั่นใจในตัวเยสเปอร์ โอลเซิน ปีกทีมชาติเดนมาร์กในตำแหน่งเดียวกัน
พรีซีซันและกระชับมิตร
[แก้]วันที่ | คู่แข่ง | H / A | สรุป F–A |
สกอร์ | ความจุ |
---|---|---|---|---|---|
6 สิงหาคม 1986 | Fluminense | H | 0–0 (4–3p) |
32,275 | |
8 สิงหาคม 1986 | Dynamo Kyiv | N | 1–1 (4–1p) |
แบล็คมอร์ | 27,500 |
10 August 1986 | Ajax | A | 0–1 | 23,000 | |
14 สิงหาคม 1986 | Shamrock Rovers | A | 0–2 | 10,200 | |
17 สิงหาคม 1986 | Real Sociedad | H | 1–1 | แบล็คมอร์ | 12,826 |
2 กันยายน 1986 | Hearts | A | 2–2 | โอลเซน (pen.), T. Gibson | 10,438 |
10 กันยายน 1986 | Linfield | A | 3–0 | ร็อบสัน (2), ดาเวนพอร์ต | 10,919 |
15 ธันวาคม 1986 | GCC All-Stars | N | 1–0 | ไวต์ไซด์ | 4,000 |
21 มกราคม 1987 | Red Star Belgrade | H | 0–1 | 10,652 | |
24 กุมภาพันธ์ 1987 | Swansea City | A | 3–1 | กิ๊บสัน, ไวต์ไซด์, ดาเวนพอร์ต | 6,467 |
18 มีนาคม 1987 | Shamrock Rovers | A | 1–2 | ร็อบสัน | 8,000 |
25 มีนาคม 1987 | Celtic | A | 0–1 | 36,000 | |
10 พฤษภาคม 1987 | England XI | H | 7–2 | ฮิวส์ (4; 1 pen.), มาร์ติน, กิ๊บสัน, บอนด์ (o.g.) | 16,907 |
16 พฤษภาคม 1987 | Naxxar Lions | N | 9–0 | ไวต์ไซด์ (3), O'Brien (2), แบล็คมอร์, ดาเวนพอร์ต (pen.), Duxbury, สเตเปิลตัน | 4,000 |
เหตุการณ์ในฤดูกาล
[แก้]ระหว่างช่วงปิดฤดูกาล มีการคาดเดากันว่ารอน แอตกินสัน ผู้จัดการทีมกำลังจะโดนปลดออก และอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ผู้จัดการทีมแอเบอร์ดีนจะได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทน แอตกินสันพยายามตอบโต้และพิสูจน์ให้บรรดานักวิจารณ์เห็นว่าข่าวลือนั้นไม่เป็นความจริง เขาพยายามจะเซ็นสัญญากับเทอร์รี บุตเชอร์ กองหลังทีมชาติอังกฤษจากอิปสวิชทาวน์แต่แพ้ให้กับเรนเจอส์ (ซึ่งมีเกรอัม ซูนิสส์อดีตกองกลางกัปตันทีมของลิเวอร์พูลเป็นผู้จัดการทีม)
การแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 เริ่มต้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม โดยแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดพ่ายให้กับอาร์เซนอล 1–0 สามเกมแรกของยูไนเต็ดในลีกจบลงด้วยความพ่ายแพ้ ทำให้พวกเขารั้งอันดับรองบ๊วยของดิวิชันหนึ่ง โดยมีเพียงแอสตันวิลลาเท่านั้นที่ตามหลังพวกเขา[2]
ในที่สุด ชัยชนะในลีกครั้งแรกของฤดูกาลก็มาถึงในวันที่ 13 กันยายน เมื่อพวกเขาถล่มเซาแทมป์ตัน 5–1 ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด[3] ซึ่งทำให้พวกเขาขยับขึ้นมาอยู่อันดับที่ 19 ในดิวิชัน 1 พวกเขาไม่เคยจบต่ำกว่าอันดับ 4 มา 5 ฤดูกาล[4]
เกมลีกที่น่าผิดหวังที่โอลด์แทรฟฟอร์ดเมื่อวันที่ 28 กันยายนทำให้ยูไนเต็ดพ่ายต่อเชลซี 0–1 และที่น่าผิดหวังกว่านั้นคือยูไนเต็ดพลาดจุดโทษถึงสองครั้งในเกมนี้ โดยครั้งแรกมาจากเจสเปอร์ โอลเซ่น และครั้งที่สองมาจากกอร์ดอน สตรักคัน[5]
ในช่วงปลายเดือนตุลาคม จอห์น กิดแมน กองหลังมากประสบการณ์ ได้ย้ายไปร่วมทีมแมนเชสเตอร์ ซิตีแบบไร้ค่าตัว แต่ไม่มีการพูดคุยถึงการเสริมผู้เล่นใหม่เข้ามาในทีมที่กำลังเผชิญสถานการณ์กดดันอย่างหนัก นอกจากนี้ยังมีความกลัวว่าแกรี เบลีย์ซึ่งมีอายุเพียงแค่ 28 ปีแต่ไม่ได้ลงสนามมานานเกือบปีเนื่องจากอาการบาดเจ็บที่หัวเข่า อาจจะเลิกเล่นฟุตบอลในอนาคตอันใกล้นี้ หากเขาไม่สามารถฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บ
ในวันที่ 1 พฤศจิกายน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดทำสถิติไม่แพ้ใครในลีกมา 6 นัดติดต่อกัน (แพ้ครั้งสุดท้ายคือกับเชลซีเมื่อวันที่ 28 กันยายน) โดยเสมอกับคอเวนทรีซิตี้ 1–1 แต่พวกเขาก็ยังคงอยู่ในอันดับสี่จากท้ายตาราง และยังมีข่าวลือเกี่ยวกับอนาคตของแอตกินสันในฐานะผู้จัดการทีมอย่างต่อเนื่อง[6]
ในที่สุด แอตกินสันก็ถูกปลดออกในวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นหนึ่งวันหลังจากที่ทีมของเขาพ่ายต่อเซาแทมป์ตัน 4–1 ในการแข่งขันฟุตบอลลีกคัพรอบ 3 นัดรีเพลย์ ถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของพวกเขาในการแข่งขันตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน และถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดของพวกเขาในรอบ 18 เดือน ภายใน 24 ชั่วโมง อเล็กซ์ เฟอร์กูสันตกลงที่จะเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมคนใหม่ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยสัญญา 4 ปี เกมแรกที่เขาคุมทีมเกิดขึ้นสามวันต่อมา เมื่อสถิติไร้พ่าย 6 นัดในลีกของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดสิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ 2–0 ให้กับออกซฟอร์ดยูไนเต็ด ชัยชนะครั้งแรกของเขาในการคุมทีมมีขึ้นเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน เมื่อพวกเขาเอาชนะควีนส์พาร์กเรนเจอส์ 1–0 ในลีกที่โอลด์แทรฟฟอร์ด
ผลงานที่ดีของพวกเขายังคงดำเนินต่อไปในเดือนธันวาคม โดยพวกเขาชนะในเกมเยือนนัดแรกของฤดูกาลด้วยชัยชนะ 1–0 เหนือลิเวอร์พูลที่สนามแอนฟีลด์ เป็นครั้งแรกที่ลิเวอร์พูลแพ้เกมเหย้าในลีกฤดูกาล 1986–87 นอร์มัน ไวต์ไซด์เป็นผู้ทำประตูเดียวในเกมนี้ให้กับทีมไต่อันดับจากที่ 21 ขึ้นมาอยู่ที่ 14 ในลีกนับตั้งแต่ที่เฟอร์กูสันเข้ามารับตำแหน่ง[7][8]
อย่างไรก็ตาม สองวันต่อมาไบรอัน ร็อบสันกัปตันทีมได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลังในเกมที่ยูไนเต็ดพ่ายต่อนอริชซิตีคาบ้าน 0–1 ในลีก
ภารกิจการไล่ล่าแชมป์เอฟเอคัพเริ่มต้นในวันที่ 10 มกราคมที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดในเกมดาร์บีแมนเชสเตอร์ ซึ่งยูไนเต็ดเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 1–0 จากประตูที่ทำได้โดยนอร์มัน ไวต์ไซด์
สี่วันหลังจากชัยชนะในเอฟเอคัพ ปีเตอร์ บานส์ ผู้เล่นในตำแหน่งปีกก็กลายเป็นผู้เล่นแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคนที่สองที่ย้ายไปร่วมทีมแมนเชสเตอร์ ซิตีในฤดูกาลนั้น โดยย้ายไปยังเมนโรดด้วยค่าตัว 20,000 ปอนด์
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเสียโอกาสสุดท้ายในการคว้าแชมป์ในฤดูกาลนี้ด้วยการแพ้คอเวนทรีซิตี 0–1 ในบ้านในเอฟเอคัพ รอบที่ 4 เมื่อปลายเดือนมกราคม
ดาร์บีแมนเชสเตอร์ครั้งที่ 110 (เกมลีกที่โอลด์แทรฟฟอร์ดเมื่อวันที่ 7 มีนาคม) แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะ 2–0 ทำให้พวกเขาอยู่อันดับที่ 10 ขณะที่แมนเชสเตอร์ซิตีตกไปอยู่อันดับที่ 19 (พื้นที่เพลย์ออฟตกชั้น)[9][10]
ต่อมาในเดือนนั้น อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน แสดงความสนใจที่จะพามาร์ก ฮิวส์กลับมายังโอลด์แทรฟฟอร์ด หลังจากช่วงเวลาที่เขาอยู่ในสเปนถือว่าน่าผิดหวัง
ในช่วงเวลานี้ มีการเปิดเผยแผนการขยายสนามโอลด์แทรฟฟอร์ดให้กลายเป็นสนามกีฬาทันสมัยระดับโลกที่มีลักษณะคล้ายกับกัมนอว์ของบาร์เซโลนา
ในเดือนเมษายน มาร์ติน เอ็ดเวิดส์ ประธานสโมสรได้ประกาศแผนที่จะเปิดตัวโครงการสมาชิกรูปแบบใหม่ที่เป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อต่อสู้กับกลุ่มอันธพาลในวงการฟุตบอล
นอกจากนี้ในเดือนเมษายน แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยังเอาชนะลิเวอร์พูลไปได้ 1–0 ในศึกแดงเดือดที่โอลด์แทรฟฟอร์ดทำให้ทีมจากเมอร์ซีย์ไซด์ที่หวังคว้าแชมป์ต้องเสียแชมป์ ขณะที่เอฟเวอร์ตันกำลังจะได้แชมป์ไปครอง
ในที่สุดแกรี เบลีย์ ก็ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลในวันที่ 23 เมษายน 1987 หลังจากที่ไม่สามารถฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บที่หัวเข่าได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งเขาเผชิญมาเมื่อ 17 เดือนก่อน
ฤดูกาลของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจบลงด้วยชัยชนะ 3–1 ในบ้านเหนือแอสตันวิลลาที่ตกชั้น[11] ซึ่งทำให้พวกเขาจบอันดับที่ 11 ในดิวิชัน 1 ซึ่งเป็นอันดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ตกชั้นจากลีกสูงสุดเมื่อ 13 ปีก่อน[12]
คริส เทิร์นเนอร์ ผู้รักษาประตู และเกรอัม ฮ็อกก์ กองหลัง ถูกขึ้นบัญชีขายเมื่อจบฤดูกาล มีการเสนอราคาสำหรับไบรอัน แมคแคลร์กองหน้าของเซลติกและสกอตแลนด์เช่นเดียวกับมาร์ก เฮตลีย์กองหน้าของเอซีมิลานและอังกฤษ มีการยื่นข้อเสนอเพื่อทำลายสถิติสำหรับปีเตอร์ เบียร์ดสลีย์กองหน้าของนิวคาสเซิลยูไนเต็ดและทีมชาติอังกฤษ ซึ่งเคยอยู่กับโอลด์แทรฟฟอร์ดเพียงช่วงสั้น ๆ และไม่ประสบความสำเร็จเมื่อห้าปีก่อน
เฟอร์กูสันได้ทำการเซ็นสัญญาคว้าตัววิฟ แอนเดอร์สันกองหลังของอาร์เซนอลด้วยค่าตัว 250,000 ปอนด์ แฟรงค์ สเตเปิลตัน กองหน้าตัวเก่งของทีมกำลังจะออกจากโอลด์แทรฟฟอร์ดในช่วงซัมเมอร์นั้น โดยย้ายไปอายักซ์ของเนเธอร์แลนด์ด้วยค่าตัว 100,000 ปอนด์
ในที่สุด ไบรอัน แมคแคลร์ก็ตกลงเซ็นสัญญากับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดด้วยข้อตกลงที่ศาลกำหนดไว้ที่ 850,000 ปอนด์ ขณะที่เบียร์ดสลีย์ย้ายไปลิเวอร์พูลด้วยค่าตัวเป็นสถิติของประเทศที่ 1.9 ปอนด์และเฮตลีย์ยังคงอยู่ในภาคพื้นทวีปยุโรปโดยย้ายไปอยู่กับอาแอ็ส มอนาโก
ยูไนเต็ดยังได้ยื่นข้อเสนอเพื่อขอซื้อตัวเควิน ดริงเคลล์ กองหน้าของนอริชซิตีแต่นักเตะรายนี้ปฏิเสธเงื่อนไขของอเล็กซ์ เฟอร์กูสันและตัดสินใจที่จะอยู่ค้าแข้งที่แคร์โรว์โรดต่อ
ทีม
[แก้]- สถิติเฉพาะในลีก
- หมายเลขในวงเล็บคือในฐานะตัวสำรอง
ตำแหน่ง | ชื่อ | ลีก | |
---|---|---|---|
นัด | ประตู | ||
ผู้รักษาประตู | แกรี เบลีย์ | 5 | 0 |
คริส เทิร์นเนอร์ | 23 | 0 | |
แกรี วอลช์ | 14 | 0 | |
กองหลัง | อาร์เธอร์ อัลบิสตัน | 19 (3) | 0 |
เคลย์ตัน แบล็กมอร์ | 10 (2) | 1 | |
จอห์น ซิเวเบ็ค | 27 (1) | 1 | |
พอล แมคกราธ | 34 (1) | 2 | |
เควิน มอรัน | 32 (1) | 0 | |
โคลิน กิ๊บสัน | 24 | 1 | |
บิลลี การ์ตัน | 9 | 0 | |
เกรอัม ฮอกก์ | 11 | 0 | |
ไมค์ ดักซ์บิวรี | 32 | 1 | |
กองกลาง | ไบรอัน ร็อบสัน (กัปตันทีม) | 29 (1) | 7 |
กอร์ดอน สตรักคัน | 33 (1) | 4 | |
เยสเปอร์ โอลเซิน | 22 (6) | 3 | |
เลียม โอ ไบรอัน | 9 (2) | 0 | |
โทนี กิลล์ | 1 | 0 | |
ปีเตอร์ บานส์ | 7 | 0 | |
เรมี โมเสส | 17 (1) | 0 | |
กองหน้า | นอร์มัน ไวต์ไซด์ | 31 | 8 |
แฟรงค์ สเตเปิลตัน | 25 (9) | 7 | |
นิคกี วูด | 2 | 0 | |
เทอรี กิ๊บสัน | 12 (4) | 1 | |
ปีเตอร์ ดาเวนพอร์ต | 34 (5) | 14 |
ซื้อขายนักเตะ
[แก้]ย้ายออก
[แก้]วันที่ | ตำแหน่ง | ผู้เล่น | ไป | ค่าตัว | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
ตุลาคม 1986 | เซ็นเตอร์แบ็ก | จอห์น กิดแมน | แมนเชสเตอร์ซิตี | ไม่มีค่าตัว | |
14 มกราคม 1987 | ปีก | ปีเตอร์ บานส์ | แมนเชสเตอร์ซิตี | 20,000 ปอนด์ | |
23 เมษายน 1987 | ผู้รักษาประตู | แกรี เบลีย์ | – | – | แขวนถุงมือเลิกเล่น เนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่เข่า |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Manchester United Season 1986/87". StretfordEnd.co.uk. สืบค้นเมื่อ 21 December 2011.
- ↑ "Snapshot Tables 1986-1987 18 Apr Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. 18 April 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 April 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "Results Fixtures 1986-1987 Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "Snapshot Tables 1986-1987 13 Sep Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. 23 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "The Sydney Morning Herald - Google News Archive Search". news.google.com. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "Snapshot Tables 1986-1987 1 Nov Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "Results Fixtures 1986-1987 Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "Snapshot Tables 1986-1987 26 Dec Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "Results Fixtures 1986-1987 Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. 23 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 November 2022. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "Snapshot Tables 1986-1987 7 Mar Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "Results Fixtures 1986-1987 Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.
- ↑ "Snapshot Tables 1986-1987 9 May Manchester United - Manchester United FC - United Mad". Manchester United Mad. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 November 2022.