ข้ามไปเนื้อหา

สโมสรฟุตบอลฮาร์ตออฟมิดโลเดียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Heart of Midlothian F.C.)
สโมสรฟุตบอลฮาร์ตออฟมิดโลเดียน
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลฮาร์ตออฟมิดโลเดียน
ฉายา
  • หัวใจ
  • The Jam Tarts
  • HMFC
  • The Jambos
ก่อตั้ง1874; 150 ปีที่แล้ว (1874)
สนามไทน์คาสเซิลปาร์ก
จอร์จี, เอดินบะระ
ความจุ20,099 ที่นั่ง[1]
ประธานสโมสรAnn Budge[2]
ผู้จัดการCraig Levein
ลีกสกอตติชพรีเมียร์ชิป
2021–22อันดับที่ 3 ในสกอตติชพรีเมียร์ชิป
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

สโมสรฟุตบอลฮาร์ตออฟมิดโลเดียน (อังกฤษ: Heart of Midlothian Football Club) หรือ ฮาร์ต เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพสกอตแลนด์ ตั้งอยู่ที่จอร์จี พื้นที่ทางตะวันตกของเอดินบะระ ฮาร์ตเป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในเมืองหลวงของสกอตแลนด์[3] โดยก่อตั้งในปี ค.ศ. 1874 จากกลุ่มเพื่อนของชมรมเดอะฮาร์ตออฟมิดโลเดียนควอดดริลล์ (ชมรมเต้น) ตราประจำสโมสรมีลายกระเบื้องฮาร์ตออฟมิดโลเดียน ซึ่งพบได้ที่ย่านรอยัลไมล์ สีประจำสโมสรคือสีแดงเข้มและขาว[4]

ฮาร์ตมีสนามเหย้าคือไทน์คาสเซิลปาร์ก ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1886[5] ทางสโมสรได้ติดตั้งเก้าอี้ครบทุกที่นั่งในปี ค.ศ. 1990 จนถึงปัจจุบัน สนามมีความจุ 20,000 ที่นั่ง และมีการปรับปรุงอัฒจันทร์หลักในปี ค.ศ. 2017 สนามฝึกซ้อมของสโมสรอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยแฮเรียต-วัตต์ในเอดินบะระ

ฮาร์ตคว้าแชมป์สกอตติชพรีเมียร์ชิป 4 สมัย ครั้งล่าสุดในฤดูกาล 1959–60 ทั้งยังเคยคว้าดับเบิลแชมป์ในปี ค.ศ. 1959 ที่พวกเขาชนะเลิศทั้งแชมป์ลีกและลีกคัพ นับเป็นเพียงสโมสรเดียวนอกเหนือจากโอลด์เฟิร์ม (เซลติกและเรนเจอส์) ที่สามารถคว้าดับเบิลแชมป์ได้ ช่วงที่สโมสรประสบความสำเร็จมากที่สุด คือช่วงของผู้จัดการทีม ทอมมี วอล์กเกอร์ ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1950-1960 ช่วงนั้นสโมสรคว้าแชมป์ถึง 7 รายการ และรองแชมป์อีก 5 รายการ ผู้เล่นที่สำคัญในยุคนั้นได้แก่ จิมมี วอร์ดฮอจ, วิลลี บอล์ด และอัลฟี คอนน์ ซึ่งรู้จักกันในชื่อ สามประสานผู้สร้างความวุ่นวาย (Terrible Trio) นับเป็นกองหน้าที่มีชื่อเสียง ประกอบด้วยปีกอย่างเดฟ แม็คเคย์ และจอห์น คัมมิง วอร์ดฮอจเป็นหนึ่งในสามผู้เล่นตัวรุกที่พาสโมสรคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาล 1957–58 ร่วมกับจิมมี เมอร์เรย์ และอเล็กซ์ ยัง[6] สโมสรทำประตูในฤดูกาลนั้นมากถึง 132 ประตู ทำให้เป็นเพียงไม่กี่ทีมที่จบฤดูกาลด้วยผลต่างประตูมากกว่า 100 (+103)

ฮาร์ตคว้าแชมป์สกอตติชคัพ 8 สมัย ครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2012 ด้วยการเอาชนะคู่ปรับร่วมเมืองอย่างไฮเบอร์เนียน 5–1[7] และคว้าแชมป์สกอตติชลีกคัพ 4 สมัย ซึ่งอยู่ภายใต้การคุมทีมของวอล์กเกอร์ทั้งหมด โดยแชมป์ลีกคัพครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1962 ซึ่งฮาร์ตเอาชนะคิลมาร์น็อค 1–0 และพวกเขาเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศล่าสุดในปี ค.ศ. 2013 ซึ่งแพ้ต่อเซนต์มิร์เรน 3–2

ในปี ค.ศ. 1958 ฮาร์ตออฟมิดโลเดียนกลายเป็นสโมสรที่สามของสกอตแลนด์ และสโมสรที่ห้าของบริติช ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขันระดับทวีป ฮาร์ตเข้าไปถึงรอบก่อนรองชนะเลิศของยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 1988–89 ซึ่งพวกเขาพ่ายแพ้ต่อบาเยิร์นมิวนิกด้วยสกอร์รวม 2–1

สีและสัญลักษณ์

[แก้]
ลายกระเบื้องโมเสกซึ่งปรากฏตราสัญลักษณ์ของฮาร์ตออฟมิดโลเดียน

ชุดแข่งยุคเริ่มแรกของสโมสรเป็นเสื้อสีขาวล้วน มีรูปหัวใจปักตรงอก และกางเกงสีแดงเข้ม[8] ในฤดูกาลหนึ่ง พวกเขาลงเล่นในชุดแถบสีแดง, ขาว และน้ำเงิน[8] สีของสโมสรเคยถูกเรียกว่าสีเซนต์แอนดรูส์ ซึ่งชื่อนี้มีที่มาจากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูส์ ภายหลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน สีประจำสโมสรจึงเป็นสีแดงเข้มและขาว[8] เสื้อเป็นสีแดงเข้มล้วน คอปกสีขาว[8] และมีการแทรกขริบสีขาวในเสื้อเฉพาะฤดูกาล 2010–11[9] ส่วนกางเกงเป็นสีขาว แต่เคยใช้สีแดงเข้มในฤดูกาล 2008–09[8] ถุงเท้าเป็นสีแดงเข้ม มีแทรกสีขาวเล็กน้อย[8]

เสื้อเหย้าในปัจจุบันของฮาร์ต เป็นเสื้อสีแดงเข้มล้วน คอปกสีขาว[10]

สัญลักษณ์ของสโมสรคือรูปหัวใจ ซึ่งมาจากกระเบื้องโมเสกที่ตั้งอยู่ที่ย่านรอยัลไมล์ บริเวณนั้นมักถูกแฟนไฮเบอร์เนียน สโมสรคู่ปรับร่วมเมือง ถ่มน้ำลายใส่[11]

สำหรับในฤดูกาล 2014–2015 สโมสรได้เปลี่ยนชุดแข่งเป็นกรณีพิเศษ เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปีของแม็คเครส์แบททัลเลียน โดยเป็นเสื้อสีแดงเข้ม กางเกงสีขาว ถุงเท้าสีดำ และใช้สัญลักษณ์แบบพิเศษ ทั้งยังไม่มีชื่อผู้สนับสนุนคาดหน้าอกบนเสื้อ

สนาม

[แก้]
ไทน์คาสเซิลปาร์กในเดือนมกราคม ค.ศ. 2018

เริ่มแรก ฮาร์ตลงเล่นที่เดอะเมโดว์ในพื้นที่พาวเบิร์น และพาวเดอร์ฮอลล์ ก่อนที่จะย้ายไปพื้นที่จอร์จีในปี ค.ศ. 1881 พวกเขาย้ายมาเล่นที่สนามไทน์คาสเซิลปาร์กในปี ค.ศ. 1886 โดยสนามแห่งนี้ ใช้จัดนัดการแข่งขันของทีมชาติสกอตแลนด์ถึง 9 นัด ชื่อสนามตั้งชื่อตาม ไทน์คาสเซิล โทลล์เฮาส์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ทางเข้าของเมอร์ชิสตัน[12]

ในช่วงศตวรรษที่ 20 ไทน์คาสเซิลมีลักษณะเป็นพื้นดินลดหลั่น โดยมีอัฒจันทร์หลักติดเก้าอี้ ซึ่งออกแบบโดย Archibald Leitch และเปิดในปี ค.ศ. 1919 พื้นที่ลดหลั่นนั้น ถูกแทนที่โดยอัฒจันทร์จอร์จี, วีตฟีลด์ และโรสเบิร์น ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 ทำให้สนามมีเก้าอี้ติดครบทุกที่นั่ง ในปี ค.ศ. 2017 อัฒจันทร์หลักถูกทุบทิ้งเพื่อสร้างใหม่ให้มีความจุเพิ่มเป็น 20,099 ที่นั่ง[1] โดยในช่วงนั้น สโมสรต้องลงเล่นนัดเหย้าที่สนามกีฬาเมอร์เรย์ฟีลด์เป็นการชั่วคราว[13]

คู่ปรับ

[แก้]
กองกลางของฮาร์ต พอล ฮาร์ตลีย์ (#10) เตรียมตัวเปิดฟรีคิกในนัดที่พบกับไฮเบอร์เนียน เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 2006

ฮาร์ตมีคู่ปรับท้องถิ่นในเอดินบะระที่สำคัญ นั่นคือ สโมสรฟุตบอลไฮเบอร์เนียน หรือ "ฮิบส์" การพบกันของทั้งคู่ถูกเรียกว่าดาร์บีเอดินบะระ เป็นหนึ่งในการแข่งขันของคู่ปรับฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[14] Graham Spiers เปรียบการแข่งขันนี้เหมือนอัญมณีในเกมสกอตติช[15] ทั้งสองสโมสรพบกันครั้งในวันคริสต์มาส ค.ศ. 1875 ซึ่งฮาร์ตชนะ 1–0 สองทีมนี้กลายเป็นทีมใหญ่ของเอดินบะระ โดยเมื่อผ่านไป 5 นัดในเอดินบะระฟุตบอลคัพ ค.ศ. 1878 ฮาร์ตเอาชนะฮิบส์ไปได้ 3–2 หลังจากที่เสมอมา 4 นัดติดต่อกัน[16] ทั้งคู่พบกันสองครั้งในนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลถ้วย ครั้งแรกในสกอตติชคัพ ค.ศ. 1896 ฮาร์ตชนะ 3–1[17] และครั้งล่าสุดในสกอตติชคัพ ค.ศ. 2012 ฮาร์ตชนะ 5–1 โดยในนัดชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 1896 นั้น มีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นปีเดียวที่จัดการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศนอกกลาสโกว์[17]

สถิติในการพบกัน ฮาร์ตทำได้ดีกว่า โดยเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 273 นัดจากทั้งหมด 615 นัด ส่วนฮิบส์เอาชนะไปได้ 198 นัด[18] ประมาณครึ่งหนึ่งของการพบกันทั้งหมด เป็นการแข่งขันท้องถิ่นและนัดกระชับมิตร[18] ฮิบส์ทำสถิติชนะสูงสุดในดาร์บีนี้ด้วยสกอร์ 7–0 ที่ไทน์คาสเซิลในวันขึ้นปีใหม่ ค.ศ. 1973 ส่วนฮาร์ตเคยทำได้ด้วยสกอร์ 10–2 เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1893[18]

ดาร์บีนี้เคยถูกบันทึกว่ามีศาสนาอยู่เบื้องหลัง[19][20][21] แม้ว่าทั้งสองสโมสรจะเป็นคู่ปรับที่เจอกันประจำ แต่การพบกันของทั้งคู่ก็มีความเป็นธรรมชาติและมีผลกระทบที่ดี[22][23]

ผู้สนับสนุนและวัฒนธรรม

[แก้]

ฮาร์ตออฟมิดโลเดียน เป็นหนึ่งในสองสโมสรฟุตบอลอาชีพของเอดินบะระ เมืองหลวงและเมืองใหญ่อันดับที่สองของสกอตแลนด์[24] จำนวนผู้ชมโดยเฉลี่ยในฤดูกาล 2014–15 อยู่ที่ประมาณ 16,000 คน[25] ซึ่งมากเป็นอันดับที่สามของประเทศ มากกว่าสโมสรคู่ปรับท้องถิ่นอย่างไฮเบอร์เนียน และเป็นรองเพียงแค่สโมสรยักษ์ใหญ่จากกลาสโกว์ อย่างเซลติกและเรนเจอส์ การแข่งขันนัดที่สำคัญ อาทิ ดาร์บีเอดินบะระ, เกมยุโรป และการพบกับเซลติก-เรนเจอส์ (โอลด์เฟิร์ม) จะเป็นนัดที่มีผู้เข้าชมในสนามมากที่สุด[23][26]

เพลง ฮาร์ตซอง ประพันธ์และขับร้องโดยนักแสดงตลกชาวสกอตแลนด์อย่าง เฮกเตอร์ นิโคล ซึ่งเป็นแฟนเซนต์มิร์เรน ต่อมาได้มีขับร้องเพลงนี้แบบทันสมัยขึ้น โดย "คอลิน คิสโฮล์ม แอนด์ เดอะ กลาสโกว์ บรานช์" ซึ่งเพลงนี้มักถูกเปิดก่อนการแข่งขันในสนาม

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่สนับสนุนฮาร์ตออฟมิดโลเดียน อาทิ สตีเฟน เฮนดรี (นักสนุกเกอร์), Ronnie Corbett (นักแสดงและนักเขียน), Ken Stott (นักแสดง), Alex Salmond (นักการเมือง), Sir Chris Hoy (นักปั่นจักรยาน) และ Eilidh Doyle (นักกรีฑา)[27][28][29][30][31]

เกียรติประวัติ

[แก้]

รางวัลหลัก

[แก้]
สกอตติชคัพเป็นถ้วยในประเทศที่เก่าแก่ที่สุดในวงการฟุตบอล โดยถ้วยในภาพนี้ ถูกมอบให้แก่ฮาร์ตออฟมิดโลเดียน ภายหลังจากที่เอาชนะไฮเบอร์เนียน 5–1 ในนัดชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 2012
  • สกอตติชพรีเมียร์ชิป (1890–ปัจจุบัน):
    • ชนะเลิศ (4): 1894–95, 1896–97, 1957–58, 1959–60
    • รองชนะเลิศ (14): 1893–94, 1898–99, 1903–04, 1905–06, 1914–15, 1937–38, 1953–54, 1956–57, 1958–59, 1964–65, 1985–86, 1987–88, 1991–92, 2005–06
  • สกอตติชคัพ (1874–ปัจจุบัน):
    • ชนะเลิศ (8): 1890–91, 1895–96, 1900–01, 1905–06, 1955–56, 1997–98, 2005–06, 2011–12
    • รองชนะเลิศ (6): 1902–03, 1906–07, 1967–68, 1975–76, 1985–86, 1995–96
  • สกอตติชลีกคัพ (1947–ปัจจุบัน):
    • ชนะเลิศ (4): 1954, 1958, 1959, 1962
    • รองชนะเลิศ (3): 1961, 1996, 2012–13

รางวัลรอง

[แก้]

สถิติสโมสร

[แก้]
ผู้ชม
  • ผู้ชมในบ้านสูงสุด: 53,396 คน นัดที่พบกับเรนเจอร์ส วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932, สกอตติชคัพ
  • ผู้ชมในบ้านโดยเฉลี่ยสูงสุด: 28,195 คน ในฤดูกาล 1948–49 (15 นัด)[32]
นัด
  • แพ้สูงสุด: 1–8 พบกับเวลออฟเลเวน, สกอตติชคัพ, ค.ศ. 1888[33]
  • ชนะสูงสุด: 21–0 พบกับแองเคอร์, อีเอฟเอคัพ, ค.ศ. 1880[33]
ผู้เล่น
  • ติดทีมชาติมากที่สุด: Christophe Berra, 41 นัด (กับสกอตแลนด์)[34]
  • อายุน้อยที่สุด: Scott Robinson ลงเล่นเมื่ออายุ 16 ปี 1 เดือน 14 วัน[35]
  • ลงเล่นมากที่สุด: Gary Mackay 640 นัด, ค.ศ. 1980 – 1997[36]
  • ลงเล่นในลีกมากที่สุด: Gary Mackay, 515 นัด
  • คว้าแชมป์มากที่สุด: John Cumming, ลีก 2 สมัย, ถ้วย 1 สมัย, ลีกคัพ 4 สมัย, ค.ศ. 1954–1962[37]
ประตู
  • ทำประตูมากที่สุด: John Robertson, 214 ลูก, ค.ศ. 1983–1998[38]
  • ทำประตูมากที่สุดต่อฤดูกาล: Barney Battles, 44 ลูก[39]
การซื้อ-ขยาย

สโมสรฟุตบอลหญิง

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2009 ฮาร์ตได้ซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลหญิงมุสเซิลบะระวินด์เซอร์ และได้กลายมาเป็นสโมสรฟุตบอลหญิงฮาร์ต[43][44] ซึ่งปัจจุบันลงเล่นในสกอตติชวีเมนส์พรีเมียร์ลีก ภายใต้ชื่อฮาร์ตเลดี[45] และใช้คิงส์ปาร์กเป็นสนามเหย้า กัปตันคนปัจจุบันคือ คิม เบิร์ทวิก

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 McLean, David (21 June 2017). [>https://www.edinburghnews.scotsman.com/our-region/edinburgh/demolition-of-tynecastle-main-stand-nears-completion-1-4482336 "Demolition of Tynecastle main stand nears completion"]. Edinburgh Evening News. สืบค้นเมื่อ 6 December 2017. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  2. "Ann Budge to start at Tynecastle on Monday". bbc.co.uk/sport. BBC Sport. 9 May 2014. สืบค้นเมื่อ 9 May 2014.
  3. Bowie, Andrew-Henry (2011). Two miles to Tynecastle. Clacton on Sea: Apex.
  4. Speed, David; Knight, Alex. "History: 1874–1884". Heart of Midlothian F.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2011. สืบค้นเมื่อ 21 August 2010.
  5. Inglis 1996, p. 447
  6. 1956 season stats on London Hearts
  7. "Hibernian 1 Hearts 5". BBC Sport. 19 May 2012. สืบค้นเมื่อ 22 May 2012.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "Heart of Midlothian". Historical Football Kits. สืบค้นเมื่อ 13 August 2011.
  9. "Revealed: Hearts' radical new strip". Edinburgh Evening News. Johnston Press. 19 July 2010. สืบค้นเมื่อ 13 August 2011.
  10. "New home kit launched". Hearts News. Heart of Midlothian F.C. 1 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2011.
  11. http://www.timberbush-tours.co.uk/news-offers/the-story-of-scotlands-famous-heart/
  12. "The Definitive History of the Heart of Midlothian Football Club" by Alex H. Knight, Club Archivist.
  13. Anderson, Barry (3 August 2017). "Hearts to stage games at Murrayfield due to main stand delay". Edinburgh Evening News. สืบค้นเมื่อ 4 August 2017.
  14. "Spectator sports". City of Edinburgh Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 June 2009. สืบค้นเมื่อ 24 February 2010.
  15. Spiers, Graham (3 November 2007). "Edinburgh derby is the jewel of game in Scotland". The Times. News International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11. สืบค้นเมื่อ 22 February 2010.
  16. "Sat 20 Apr 1878 EFA Cup Hearts 3 Hibernian 2". London Hearts Supporters' Club. สืบค้นเมื่อ 25 February 2010.
  17. 17.0 17.1 Halliday, Stephen (31 March 2006). "Logie Green: the final Edinburgh didn't want". The Scotsman. สืบค้นเมื่อ 25 February 2010.
  18. 18.0 18.1 18.2 "Hibernian". London Hearts Supporters' Club. สืบค้นเมื่อ 24 February 2010.
  19. Thomas Martin Devine and Richard J. Finlay (1996). Scotland in the 20th Century. Edinburgh University Press. ISBN 0-7486-0751-X. สืบค้นเมื่อ 16 August 2010. Sectarian loyalties became articulated in club support for, respectively, Glasgow's Celtic and Rangers, Edinburgh's Hibs and Hearts and, early on, for Dundee's Hibs (from 1923 United) and Dundee F.C.
  20. Richard Holt and Tony Mason (2000). Sport in Britain 1945–2000. Blackwell Publishers. ISBN 0-631-17153-3. สืบค้นเมื่อ 16 August 2010. Other rivalries such as between Heart of Midlothian and Hibernian in Edinburgh or the Dundee and Dundee United divide were but pale reflections of this fiercer and peculiarly Scottish rivalry.
  21. Richard Holt (1989). Sport and the British: a Modern History. Oxford University Press. ISBN 0-19-285229-9. สืบค้นเมื่อ 16 August 2010. Sectarianism of a more muted kind also lay beneath the Hearts and Hibs split in Edinburgh
  22. Donald Campbell (2003). Edinburgh: a Cultural and Literary History. Signal Books. ISBN 1-902669-73-8. สืบค้นเมื่อ 16 August 2010. Since both Hearts and Hibs originated in the Old Town, rivalry between the clubs was always inescapable.
  23. 23.0 23.1 Dunsmuir, Tom (7 November 2009). "'Forget the Old Firm, this Edinburgh rivalry has a different dimension'". The Times. News International. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.[ลิงก์เสีย]
  24. "Population of Scotland, Statistics of Scottish City population". Scotland.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2009. สืบค้นเมื่อ 24 February 2010.
  25. European Football Statistics. "Attendances". สืบค้นเมื่อ 23 May 2015.
  26. "Scared, Joe? McGowan expects watching Spurs coach Jordan to be impressed... by Hearts defeat". Daily Mail. Associated Newspapers. 8 August 2011. สืบค้นเมื่อ 9 August 2011.
  27. "Stephen Hendry". worldsnooker.com. 1 December 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2013. สืบค้นเมื่อ 12 January 2014.
  28. "Comedian Ronnie Corbett launches Welsh Premier League". BBC Sport. 14 August 2012. สืบค้นเมื่อ 12 January 2014.
  29. "Edinburgh A-list stirred by Scottish Cup final derby". BBC Sport. 14 May 2012. สืบค้นเมื่อ 15 May 2012.
  30. "First Minister Alex Salmond hails all Edinburgh cup final classic". local.stv.tv. STV. 15 พฤษภาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2012. สืบค้นเมื่อ 8 November 2012.
  31. EILIDH CHILD RELISHING HOME SUPPORT AT HAMPDEN เก็บถาวร 8 เมษายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน British Athletics. 17 March 2014. Retrieved 30 March 2014.
  32. Ross, David (2005). The Roar of the Crowd: Following Scottish football down the years. Argyll publishing. p. 94. ISBN 978-1-902831-83-1.
  33. 33.0 33.1 Rollin, Glenda; Rollin, Jack (2011). Sky Sports Football Yearbook 2011–12. p. 732. ISBN 0755362314.
  34. Summary of caps (Retrieved 19:21, 25 November 2006 (UTC))
  35. "I'm a rubbish up front, says Hearts kid Scott Robinson". Daily Record. 25 September 2011. สืบค้นเมื่อ 4 October 2011.
  36. Appearances เก็บถาวร 2006-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Retrieved 19:21, 25 November 2006 (UTC))
  37. Most honours (Retrieved 25 November 2006 (UTC))
  38. Goals เก็บถาวร 2006-11-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Retrieved 19:21, 25 November 2006 (UTC))
  39. Top scorers by season (Retrieved 25 November 2006 (UTC))
  40. Hearts pay Belgians for Beslija (Retrieved 22 December 2006 (UTC))
  41. "Hearts announce robust financial results". Heart of Midlothian F.C. 24 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 April 2014. สืบค้นเมื่อ 4 October 2011.
  42. "Graig Gordon joins Sunderland for record fee". The Daily Telegraph. London. 7 August 2007. สืบค้นเมื่อ 4 October 2011.
  43. "Women's football club launched!". Heartsfc.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2014. สืบค้นเมื่อ 8 November 2012.
  44. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-23. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  45. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-23. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]