สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในฤดูกาล 1998–99
ฤดูกาล 1998–99 | ||||
---|---|---|---|---|
ประธานสโมสร | มาร์ติน เอ็ดเวิดส์ | |||
ผู้จัดการทีม | อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน | |||
กัปตันทีม | รอย คีน | |||
พรีเมียร์ลีก | ชนะเลิศ | |||
เอฟเอคัพ | ชนะเลิศ | |||
ลีกคัพ | รอบก่อนรองชนะเลิศ | |||
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก | ชนะเลิศ | |||
แชริตีชีลด์ | รองชนะเลิศ | |||
ผู้ทำประตูสูงสุด | ลีก: ดไวต์ ยอร์ก (18) ทั้งหมด: ดไวต์ ยอร์ก (29) | |||
ผู้เข้าชมในบ้านเฉลี่ย | 55,188 คน | |||
| ||||
ฤดูกาล 1998–99 เป็นฤดูกาลที่ 7 ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในพรีเมียร์ลีกและเป็นฤดูกาลที่ 24 ติดต่อกันในลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ หลังจากจบฤดูกาลที่แล้วโดยไม่ได้แชมป์ใด ๆ เลย ในฤดูกาลนี้ยูไนเต็ดคว้าเทรเบิลแชมป์คือพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ซึ่งเป็นทีมแรกในฟุตบอลอังกฤษที่ทำได้ ในระหว่างฤดูกาล ยูไนเต็ดแพ้เพียง 5 นัดในแชริตีชีลด์ที่พบกับอาร์เซนอล ในรอบที่ 5 ของลีกคัพที่พบกับแชมป์ฤดูกาลนั้นอย่างทอตนัมฮอตสเปอร์ และ 3 นัดในลีก รวมถึงแพ้ในบ้านเพียง36ตลอดฤดูกาลที่พบกับมิดเดิลส์เบรอในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1998 สถิติไม่แพ้ใครติดต่อกัน 2 นัดในทุกรายการเริ่มในวันที่ 26 ธันวาคม ในวันบ็อกซิ่งเดย์ในบ้านที่พบกับนอตทิงแฮมฟอเรสต์ ซึ่งพวกเขาก็ยังเอาชนะฟอเรสต์ 8–1 ในเกมเยือนที่ซิตีกราวด์ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นสถิติการยิงเกมเยือนในลีกมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ฤดูกาลนี้โดดเด่นด้วยการคัมแบ็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอฟเอ คัพ รอบที่ 4 กับลิเวอร์พูล และรอบรองชนะเลิศของแชมเปี้ยนส์ลีกกับยูเวนตุส แต่ไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นไปกว่านัดชิงชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกที่กัมนอว์ เมื่อเทดดี เชริงงัม และอูเลอ กึนนาร์ ซูลชาร์ ทำประตูในช่วงทดเวลาบาดเจ็บพลิกกลับมาชนะบาเยิร์นมิวนิกที่นำไปก่อนจากฟรีคิกของมาริโอ บาสเลอร์ 2–1
2 ผู้เล่นตัวเก๋าทั้งแกรี พัลลิสเตอร์ และไบรอัน แมคแคลร์ ที่รับใช้สโมสรมานานนับทศวรรษได้อำลาสโมสรก่อนเปิดฤดูกาลใหม่ โดยมียาป สตัม ปราการหลังทีมชาติเนเธอร์แลนด์จากเปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน และดไวต์ ยอร์ก กองหน้าทีมชาติตรินิแดด จากแอสตันวิลลาเข้ามาแทน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1998 รองกัปตันทีมและผู้รักษาประตูมือหนึ่ง พีเตอร์ สไมเกิล ได้ประกาศความตั้งใจที่จะออกจากสโมสรหลังจากรับใช้มา 8 ปี เพื่อย้ายไปสปอร์ติงลิสบอน เมื่อจบฤดูกาล สโมสรได้รับข้อเสนอซื้อกิจการมากกว่า 600 ล้านปอนด์จาก BSkyB ในช่วงต้นฤดูกาล แต่ถูกบล็อกโดย Monopolies and Merger Commission ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1999
แฟน ๆ และคอลัมนิสต์มองว่าคว้าเทรเบิลแชมป์เป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เพื่อเป็นการรับรู้ถึงความสำเร็จของเขา เฟอร์กูสันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอัศวินในฐานะเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน และได้รับตำแหน่งพลเมืองกิตติมศักดิ์ของกลาสโกว์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1999 เดวิด เบ็คแคมได้รับเลือกให้เป็น UEFA Club Footballer of the Year ในฤดูกาล 1998–99 และเป็นรองริวัลโดสำหรับรางวัลบาลงดอร์ ในปี ค.ศ. 1999 และนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของโลกแห่งปี
กระชับมิตร
[แก้]แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดลงเล่นพรีซีซัน 4 นัดก่อนเปิดฤดูกาล 1998–99 โดยเริ่มด้วยแพ้ 3–4 ต่อเบอร์มิงแฮมซิตี จากนั้นพวกเขาก็ออกทัวร์สแกนดิเนเวีย 3 นัด โดยเริ่มด้วยการเสมอกับวาเลเรนกา 2–2 ก่อนที่จะเอาชนะบรอนด์บี สโมสรเก่าของสไมเกิล (6–0) และบรานน์ (4–0) หลังจากเปิดฤดูกาล พวกเขายังได้เล่นกระชับมิตรกับ Europe XI ซึ่งเลือกโดยอดีตกองหน้าและกัปตันทีม เอริก ก็องโตนา เพื่อเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางอากาศมิวนิกซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 40 ปีก่อน ก็องโตนาลงเล่นให้ทั้งสองทีมระหว่างการแข่งขัน ซึ่งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะ 8–4 Testimonial Match ให้กับ Teddy Scott โดยมีกำหนดพบกับแอเบอร์ดีนที่ Pittodrie ในเดือนมกราคม ยูไนเต็ดแพ้ 6–7 จากการดวลจุดโทษหลังจากเสมอ 1–1 ใน 90 นาที[1]
เอฟเอ แชริตีชีลด์
[แก้]การแข่งขันนัดแรกของฤดูกาลคือแชริตีชีลด์ ในวันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1998 ที่สนามเวมบลีย์ต่อหน้าผู้ชม 67,342 คน ซึ่งยูไนเต็ดแพ้ 0–3 ให้กับอาร์เซนอลที่เป็นดับเบิลแชมป์เมื่อฤดูกาลที่แล้ว[2] รอย คีนกลับมาหลังจากบาดเจ็บเกือบปี และยาป สตัมลงประเดิมสนามในตำแหน่งปราการหลังตัวกลาง
เอฟเอ พรีเมียร์ลีก
[แก้]สิงหาคม
[แก้]ในช่วงสุดสัปดาห์เปิดฤดูกาล เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด เผชิญหน้ากับเลสเตอร์ซิตี ที่โอลด์แทรฟฟอร์ด และเสียประตูภายใน 7 นาที เมื่อเอมีล เฮสกีย์ยิงประตูจากลูกครอสของมุซซี อิซเซ็ต โทนี่ คอตตี – ผู้ทำประตูในฤดูกาลที่แล้ว – ทำประตูที่ 2 จากลูกโหม่งในนาทีที่ 75 จากลูกยิงไกลของเดวิด เบ็คแคม เทดดี เชริงงัมโหม่งเข้าประตูในอีก 3 นาทีต่อมา ก่อนที่เบ็คแคมจะยิงฟรีคิกให้ยูไนเต็ดเสมอกับเลสเตอร์[3] เกมเยือนนัดแรกของทีมที่บุลินกราวนด์ของเวสต์แฮมยูไนเต็ด เป็นนัดเปิดตัวของดไวต์ ยอร์ก ที่ย้ายมาจากแอสตันวิลลา ยูไนเต็ดเสมอกันแบบไร้สกอร์ เบ็คแคมซึ่งกลายเป็นบุคคลที่ถูกเกลียดชังระดับชาติหลังจากได้รับใบแดงในฟุตบอลโลกเนื่องจากย่ำใส่ดิเอโก ซิเมโอเน ได้รับการต้อนรับอย่างร้อนระอุจากกองเชียร์เจ้าบ้าน ทุกครั้งที่เขาสัมผัสบอล มีการขว้างปาขวดและก้อนหินใส่รถบัสของทีมก่อนเริ่มการแข่งขัน[4] หลังจบการแข่งขัน เฟอร์กูสัน นักเตะของเขา และทีมงานของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนหรือโทรทัศน์[5]
กันยายน
[แก้]แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะนัดแรกของฤดูกาลเมื่อวันที่ 9 กันยายน โดยเอาชนะชาร์ลตันแอทเลติกที่เพิ่งเลื่อนชั้น 4–1[6] ยอร์กและซูลชาร์ต่างทำคนละ 2 ประตูเพื่อคว่ำทีมผู้มาเยือนที่ยิงนำไปก่อน การแข่งขันถูกปั่นป่วนด้วยการประท้วงทั้งในและรอบ ๆ โอลด์แทรฟฟอร์ดเพื่อต่อต้านการเสนอซื้อสโมสรโดยบีสกายบี[7] กระแสโจมตีจากแฟนบอลพุ่งไปที่ประธานสโมสร มาร์ติน เอ็ดเวิดส์[6] การชนะคอเวนทรีซิตี 2–0 ในสัปดาห์ต่อมา โดยได้ประตูจากยอร์คและรอนนี ยอห์นเซน ทำให้ยูไนเต็ดมีความมั่นใจก่อนเกมยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่เปิดโอลด์แทรฟฟอร์ดเจอกับบาร์เซโลนา[8] แต่ความพ่ายแพ้ในเกมเยือนต่อแชมป์เก่าอย่างอาร์เซนอล 0–3 ทำให้ทีมอยู่ในอันดับที่ 10 หลังจากแข่งไปแล้ว 5 นัด[9] นี่เป็นชัยชนะนัดที่ 3 ในลีกติดต่อกันของอาร์แซน แวงแกร์เหนือเฟอร์กูสัน ประตูจากโทนี แอดัมส์, นีกอลา อาแนลกา และเฟรียดริก ยุงแบร์ย เป็นความพ่ายแพ้ในเกมเยือนที่หนักที่สุดในรอบกว่า 2 ปีของพวกเขา นอกจากนี้ นิคกี บัตต์ มิดฟิลด์ตัวรับซึ่งโดนใบแดงในเกมแชมเปียนส์ลีกเมื่อต้นสัปดาห์ ยังโดนใบแดงใบที่ 2 ในช่วงเวลา 4 วันจากการทำฟาวล์ใส่ปาทริก วีเยรา มิดฟิลด์ทีมชาติฝรั่งเศส[9] ยูไนเต็ดจบเดือนด้วยชัยชนะเหนือคู่ปรับสำคัญอย่างลิเวอร์พูล 2–0 ในศึกแดงเดือด ขยับเข้าสู่อันดับที่ 5[10]
ตุลาคม
[แก้]การเดินทางไปพบกับเซาแทมป์ตันที่เดอะเดลล์ในวันที่ 3 ตุลาคม พวกเขามีสถิติที่ไม่ดีนักคือไร้ชัยชนะในสนามแห่งนี้ ยูไนเต็ดแพ้เซาแทมป์ตันในนัดเยือน 3 นัดล่าสุด รวมถึงแพ้ 3–6 ในปี ค.ศ. 1996[11] แอนดี โคล จับคู่กับยอร์ก ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลเมื่อทั้งคู่ทำประตูได้ จอร์ดี ไกรฟฟ์ ตัวสำรองยิงประตูที่ 3 ในนาทีที่ 75 ให้ยูไนเต็ดขึ้นเป็นรองจ่าฝูงของตาราง โดยมีแต้มตามหลังแอสตันวิลลา จ่าฝูง 4 แต้มในช่วงพักเบรกทีมชาติ[12] ไรมอนด์ ฟาน เดอร์ โกว ผู้รักษาประตูมือ 2 ที่ลงเล่นแทนปีเตอร์ สไมเกิล ผู้รักษาประตูมือ 1 ที่บาดเจ็บ ในเกมกับเซาแทมป์ตันได้เป็นผู้รักษาประตูมือ 1 อีกครั้งในเกมเหย้าที่พบกับวิมเบิลดัน นัดที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดชนะ 5–1 ซึ่งเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของฤดูกาล[13] ไรอัน กิ๊กส์, เบ็คแคม, ยอร์ค และโคล (สองประตู); โดยเฉพาะอย่างยิ่งเฟอร์กูสันยกย่องฟอร์มของเวส บราวน์ กองหลังดาวรุ่งวัย 19 ปี[13] ยูไนเต็ดเสมอกับดาร์บีเคาน์ตี 1–1 ที่ไพรด์พาร์กเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม[14] และเอาชนะเอฟเวอร์ตัน 4–1 ที่กูดิสันพาร์กในวันฮัลโลวีนเพื่อลดช่องว่างของจ่าฝูงเหลือเพียงแต้มเดียว[15]
พฤศจิกายน
[แก้]แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ทำประตูในบ้านไม่ได้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของฤดูกาลในเกมที่พบนิวคาสเซิลยูไนเต็ด[16] แต่กลับมาพลิกเอาชนะแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ทีมในโซนท้ายตาราง 3–2[17] ความอ่อนแอในแนวรับโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสไมเกิล ซึ่งได้ประกาศความตั้งใจที่จะออกจากแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเมื่อจบฤดูกาล[18] ทำให้ออกไปเยือนเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ทีมพลาดโอกาสขึ้นเป็นจ่าฝูงของตาราง โดยแพ้ไป 1–3[19] 2 ประตูจากนิคลาส อเล็กซานเดอร์สสัน และประตูเปิดตัวของ Wim Jonk ทำให้เฟอร์กูสันพ่ายแพ้นัดที่ 2 ในลีก; ยูไนเต็ดชนะเพียงนัดเดียวจากการเยือน 8 นัดล่าสุด[19] วันที่ 29 พฤศจิกายน แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเปิดบ้านรับการมาเยือนของลีดส์ยูไนเต็ด ลีดส์ทำประตูขึ้นนำโดยใช้เวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมง แต่หลังจบครึ่งแรก ยูไนเต็ดพลิกแซงนำ 2–1 ลีดส์ตีเสมอได้ในนาทีที่ 52 แต่จังหวะของบัตต์ช่วยเก็บ 3 แต้มให้ปีศาจแดงและคอยกดดันผู้ท้าชิง[20]
ธันวาคม
[แก้]เสมอกัน 3 นัดรวดในเดือนธันวาคม เริ่มจากการออกไปเยือนจ่าฝูงของลีก แอสตันวิลลา[21] ยูไนเต็ดโชคดีที่เก็บแต้มได้จากความผิดพลาดของเจ้าบ้านในครึ่งหลัง และทอตนัมฮอตสเปอร์ที่ทำแต้มหล่นไปทั้งที่นำ 2–0[22] โซลชายิงให้ยูไนเต็ดนำไปก่อน 2 ประตู แต่ในนาทีที่ 39 แกรี เนวิลได้รับใบแดงจากการดึงเสื้อของดาวีด ฌีโนลา โซล แคมป์เบลล์ กัปตันทีมสเปอร์นำทีมของเขากลับเข้าสู่การแข่งขันโดยเหลือเวลาอีก 20 นาที และในช่วงทดเวลาเจ็บ พวกเขาได้ประตูตีเสมอจากโซล แคมป์เบลล์อีกครั้ง ซึ่งได้โหม่งลูกเตะมุมของดาร์เรน แอนเดอร์ตัน
ทีม
[แก้]ผู้รักษาประตู
[แก้]เลข | ชื่อ | สัญชาติ | เซ็นจาก | วันที่เซ็น | ค่าตัว | หมดสัญญา | หมายเหตุ/อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | พีเตอร์ สไมเกิล | เดนมาร์ก | บรอนด์บี | 6 สิงหาคม ค.ศ. 1991 | 505,000 ปอนด์ | 30 มิถุนายน ค.ศ. 1999 | |
17 | ไรมอน ฟัน เดอ โกว | เนเธอร์แลนด์ | เอสเบเฟ ฟีเตสเซอ | 25 มิถุนายน ค.ศ. 1996 | ฟรี |
กองหลัง
[แก้]เลข | ชื่อ | สัญชาติ | เซ็นจาก | วันที่เซ็น | ค่าตัว | หมดสัญญา | หมายเหตุ/อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2 | แกรี เนวิล | อังกฤษ | ทีมเยาวชน | ||||
3 | เดนิส เออร์วิน | ไอร์แลนด์ | โอลดัมแอทเลติก | 8 มิถุนายน ค.ศ. 1990 | 625,000 ปอนด์ | ||
4 | เดวิด เมย์ | อังกฤษ | แบล็กเบิร์นโรเวอส์ | 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1994 | 1.2 ล้านปอนด์ | ||
5 | รอนนี ยอห์นเซน | นอร์เวย์ | เบชิกทัช | 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1996 | 1.2 ล้านปอนด์ | ||
6 | ยาป สตัม | เนเธอร์แลนด์ | เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1998 | 10.75 ล้านปอนด์ | ||
12 | ฟิล เนวิล | อังกฤษ | ทีมเยาวชน | ||||
21 | เฮนนิง เบิร์ก | นอร์เวย์ | แบล็กเบิร์นโรเวอส์ | 11 สิงหาคม ค.ศ. 1997 | 5 ล้านปอนด์ | ||
24 | เวส บราวน์ | อังกฤษ | ทีมเยาวชน |
กองกลาง
[แก้]เลข | ชื่อ | สัญชาติ | เซ็นจาก | วันที่เซ็น | ค่าตัว | หมดสัญญา | หมายเหตุ/อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
7 | เดวิด เบ็คแคม | อังกฤษ | ทีมเยาวชน | ||||
8 | นิคกี บัตต์ | ทีมเยาวชน | |||||
11 | ไรอัน กิกส์ | เวลส์ | ทีมเยาวชน | ค.ศ. 1990 | |||
14 | ยอร์ดี ไกรฟฟ์ | เนเธอร์แลนด์ | บาร์เซโลนา | 8 สิงหาคม ค.ศ. 1996 | 1.4 ล้านปอนด์ | ||
15 | เยสเปอร์ บลอมควีสต์ | สวีเดน | ปาร์มา | ||||
16 | รอย คีน (c) | ไอร์แลนด์ | นอตทิงแฮมฟอเรสต์ | 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1993 | 3.75 ล้านปอนด์ | ||
18 | พอล สโกลส์ | อังกฤษ | ทีมเยาวชน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Buckland, Simon (18 January 1999). "Aberdeen 1 Manchester United 1 (7–6 on penalties)". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 1 October 2011.
- ↑ Moore, Glenn (10 August 1998). "Arsenal show United little charity". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 16 May 2011.
- ↑ Anderson, David (15 August 1998). "Man Utd 2 Leicester 2". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ "Beckham runs gauntlet at West Ham". BBC News. British Broadcasting Corporation. 29 August 1998. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Moore, Glenn (24 August 1998). "Beckham takes heat off Yorke". The Independent. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ 6.0 6.1 Hodgson, Guy (10 September 1998). "Yorke steals the United Show". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Hatfield, Dave (10 September 1998). "Business as usual at Old Trafford". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Wilson, Paul (12 September 1998). "Hungry hit man Yorke". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ 9.0 9.1 Winter, Henry (21 September 1998). "Fergie shell-shocked by awesome Gunners". Telegraph Media Group. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Winter, Henry (25 September 1998). "Irwin sparks triumph as Red Devils rediscover fire". Telegraph Media Group. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Nakrani, Sachin (24 October 2011). "What next for Manchester United after their 6–1 defeat by City?". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 January 2012.
- ↑ Bradley, Mark (3 October 1998). "Southampton 0 Manchester United 3". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ 13.0 13.1 Hatfield, Dave (19 October 1998). "United sound a warning to rivals". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ "Four goal Owen fires Liverpool to victory; Aston Villa, Manchester United held to draws". The Nation. Bangkok. 24 October 1998. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Walker, Paul (31 October 1998). "Everton 1 Manchester United 4". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Winter, Henry (9 November 1998). "Dynamic Keane fails to pick up flat United". Telegraph Media Group. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Anderson, David (14 November 1998). "Manchester United 3 Blackburn 2". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Walker, Michael (13 November 1998). "Schmeichel announces retirement". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 3 October 2011.
- ↑ 19.0 19.1 Kempton, Russel (23 November 1998). "United go under due to overconfidence". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Anderson, David (29 November 1998). "Manchester United 3 Leeds 2". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ Bradley, Mark (5 December 1998). "Aston Villa 1 Manchester United 1". Press Association. Sporting Life. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ "Villa regain pride of place; Hotshots come from behind to beat Arsenal and knock United off the top". New Straits Times. Kuala Lumpur. 13 December 1998. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.