ไบรอัน ร็อบสัน
![]() ร็อบสันใน ค.ศ. 2009 | |||
ข้อมูลส่วนตัว | |||
---|---|---|---|
ชื่อเต็ม | ไบรอัน ร็อบสัน[1] | ||
วันเกิด | [2] | 11 มกราคม ค.ศ. 1957||
สถานที่เกิด | เชสเตอร์ลิสตรีต ประเทศอังกฤษ | ||
ส่วนสูง | 1.76 เมตร (5 ฟุต 9 นิ้ว)[3] | ||
ตำแหน่ง | กองกลาง | ||
ข้อมูลสโมสร | |||
สโมสรปัจจุบัน | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ทูตระดับโลก) | ||
สโมสรเยาวชน | |||
1972–1975 | เวสต์บรอมมิชอัลเบียน | ||
สโมสรอาชีพ* | |||
ปี | ทีม | ลงเล่น | (ประตู) |
1975–1981 | เวสต์บรอมมิชอัลเบียน | 198 | (40) |
1981–1994 | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | 345 | (74) |
1994–1997 | มิดเดิลส์เบรอ | 25 | (1) |
รวม | 568 | (115) | |
ทีมชาติ | |||
1979–1980 | อังกฤษ ไม่เกิน 21 ปี | 7 | (2) |
1979–1980 | อังกฤษ บี | 3 | (1) |
1980–1991 | อังกฤษ | 90 | (26) |
จัดการทีม | |||
1994–2001 | มิดเดิลส์เบรอ | ||
2003–2004 | แบรดฟอร์ดซิตี | ||
2004–2006 | เวสต์บรอมมิชอัลเบียน | ||
2007–2008 | เชฟฟิลด์ยูไนเต็ด | ||
2009–2011 | ไทย | ||
2009–2011 | ไทย ไม่เกิน 23 ปี | ||
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น |
ไบรอัน ร็อบสัน OBE (อังกฤษ: Bryan Robson) เป็นผู้จัดการและอดีตผู้เล่นฟุตบอลชาวอังกฤษ เขาเริ่มอาชีพกับเวสต์บรอมมิชอัลเบียนใน ค.ศ. 1972 ที่เขาลงเล่นมากกว่า 200 ครั้งและเป็นกัปตันสโมสร ก่อนย้ายไปยังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดใน ค.ศ. 1981 ที่เขากลายเป็นกัปตันที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในประวัติสโมสร เขาชนะรางวัลพรีเมียร์ลีกสองครั้ง เอฟเอคัพสามครั้ง ฟุตบอลลีดคัพครั้งเดียว เอฟเอแชริตีชีลด์สองครั้ง และยูโรเปียนคัพวินเนอส์คัพขณะอยู่ในสโมสรนั้น โดยมีชื่อเล่นว่า "กัปตันมาร์เวล" (Captain Marvel)[4] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 ร็อบสันได้รับเลือกเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในโพลของอดีตผู้เล่นสโมสรในหนังสือ 19 ที่ตีพิมพ์เนื่องในการเฉลิมฉลองแชมป์ลีกสมัยที่ 19 ที่ทำลายสถิติของสโมสร[5]
ร็อบสันเริ่มต้นอาชีพผู้จัดการในฐานะผู้เล่น-ผู้จัดการกับมิดเดิลส์เบรอใน ค.ศ. 1994 เกษียณจากการเล่นฟุตบอลใน ค.ศ. 1997 ในช่วงที่เป็นผู้จัดการมิดเดิลส์เบรอ 7 ปี เขานไทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศเวมบลีย์ 3 ครั้งที่แพ้ทั้งหมด และได้รับการเลื่อนขั้นสู่พรีเมียร์ลีก 2 ครั้ง เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยโค้ชแก่เทอร์รี เวนาเบิลส์ ผู้จัดการชาวอังกฤษที่รวมไว้ในยูโร 96 ในช่วง ค.ศ. 1994 ถึง 1996[6][7] ภายหลังเขากลับมาเป็นผู้จัดการให้กับเวสต์บรอมมิชอัลเบียนสองปี ช่วยให้สโมสรเป็นดิวิชันสูงสุดทีมแรกที่หลีกเลี่ยงการตกชั้นหลังตกอันดับบ๊วยของตารางลีกในวันคริสต์มาสใน 14 ปี จากนั้นจึงเป็นผู้จัดการแบรดฟอร์ดซิตีและเชฟฟิลด์ยูไนเต็ดที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่า ณ วันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2009 ร็อบสันได้รับเลือกเป็นผู้จัดการทีมชาติไทย จากนั้นจึงลาออกในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2011 หลังจากนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ร็อบสันได้รับเลือกเป็น "ทูตระดับโลก" ในแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]ร็อบสันเกิดที่นอร์ทแลนด์ส เชสเตอร์ลิสตรีต เทศมณฑลเดอรัม จากไบรอัน คนขับรถบรรทุกทางไกล กับเมารีน ร็อบสัน[8] เขาเป็นบุตรคนที่ 2 จากบุตรทั้งหมด 4 คน โดยเกิดหลังซูซาน พี่สาว และก่อนหน้าจัสตินกับแกรี น้องชายร็อบสันอีก 2 คน ก็ล้วนแต่เป็นนักฟุตบอลทั้งคู่[8] ร็อบสันได้รับการเลี้ยงดูที่วิตตันจิลเบิร์ตจนกระทั่งครอบครัวย้ายไปบริเวณใกล้เชสเตอร์ลิสตรีต ซึ่งเป็นเมืองที่เขาเกิด ตอนอายุ 6 ขวบ[8] ตอนเป็นเด็ก เขาสนับสนุนนิวคาสเซิลยูไนเต็ด โดยมีวีรบุรุษในวัยเด็กเป็นกองหน้า วิน เดวีส์[9] เขาเข้าร่วมกลุ่มคับสเกาต์ท้องถิ่นเพียงเพื่อที่เขาจะเล่นให้กับทีมฟุตบอลของพวกเขา[10] ก่อนที่จะเข้าไปศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเบิร์ตลีย์เซาท์เซเคินดารีโมเดิร์น และภายหลังเข้าเรียนที่โรงเรียนลอร์ดลอว์สันออฟบีมิชคอมพรีเฮนซีฟ ซึ่งร็อบสันได้ลงแข่งขันกรีฑาและฟุตบอล[11] ตอนวัยรุ่นทดสอบตนเองกับเบิร์นลีย์, คอเวนทรีซิตี, เชฟฟีลด์เวนส์เดย์, นิวคาสเซิลยูไนเต็ด และเวสต์บรอมมิชอัลเบียน[12]
อาชีพสโมสร
[แก้]ร็อบสันสำเร็จการศึกษาขั้นสุดท้ายของนักเรียน เมื่ออายุ 15 ปี ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1972 และได้รับข้อเสนอจาก เวสต์บรอมวิช อัลเบียน ให้เข้าเป็นนักฟุตบอลฝึกหัด จากนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1974 - ค.ศ. 1981 ร็อบสันก็เข้าสู่ทีมชุดใหญ่ของเวสต์บรอมวิช อัลเบียน หลังจากนั้น ร็อบสัน ย้ายไปเล่นให้กับ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ระหว่างปี ค.ศ. 1981 - ค.ศ. 1994
ช่วงปลายชีวิตการเป็นนักฟุตบอล ร็อบสันย้ายไปเล่นให้กับ มิดเดิลสโบรช์ ระหว่างปี ค.ศ. 1994 - ค.ศ. 1991 หลังจากนั้นก็แขวนสตั๊ดไปและผันตัวมาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอล
อาชีพนานาชาติ
[แก้]ในระดับทีมชาติ ร็อบสันติดทีมชาติอังกฤษเป็นครั้งแรก ในการเล่นในทีมชาติเยาวชนชุดอายุต่ำกว่า 21 ปี ในปี ค.ศ. 1979 - 1980 รวมถึงได้เล่นในทีมชาติชุดสำรอง ในปี ค.ศ. 1979 - 1990 ก่อนที่เข้าสู่ทีมชุดใหญ่ในปี ค.ศ. 1980 - 1991
ไบรอัน ร็อบสัน เข้ามาสู่การเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2009 ท่ามกลางการคาดหวังจากแฟนฟุตบอลทั่วประเทศ แต่ปรากฏว่ากลับทำผลงานได้ย่ำแย่มาก ทั้งการพาทีมตกรอบการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก และการพาทีมตกรอบแบ่งกลุ่มของศึก เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2010 ซึ่งช่วงนั้นถือเป็นยุคมืดของทีมชาติไทยอย่างแท้จริง[13] ทำให้ถูกปลดออกจากการทำหน้าที่ไปเมื่อกลางปี ค.ศ. 2011
ชีวิตนอกฟุตบอล
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]ร็อบสันแต่งงานกับเดนีส ภรรยาของเขา ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1979 เธอมาจากพื้นที่เกรตบารร์และพบกับร็อบสันตอนที่เขาเข้าเริ่มต้นเล่นให้กับเวสต์บรอมมิชอัลเบียน[14] ทั้งคู่ให้กำเนิดลูก 3 คน: แคลร์ (เกิดวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1980)[15] ชาร์ลอตต์ (เกิดวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1982)[16] และเบ็น (เกิดวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1988)[17] ใน ค.ศ. 2000 มีรายงานว่าร็อบสันมีความสัมพันธ์กับแคลร์ ทอมลินสัน ผู้รายงานข่าวจากสกายสปอร์ตส์[18]
การป่วย
[แก้]ณ วันที่ 16 มีนาคม ค.ศ 2011 มีการเปิดเผยว่าร็อบสันได้รับการผ่าตัดโรคมะเร็งในลำคอที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2011[19][20]
กิจกรรมอื่น ๆ
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ไบรอัน ร็อบสัน". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2018.
- ↑ The Times เก็บถาวร 2011-06-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 10 January 2009. Retrieved 9 January 2010
- ↑ Strack-Zimmermann, Benjamin. "Bryan Robson (Player)". www.national-football-teams.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-11.
- ↑ "Manchester United: Who was your favourite Man Utd captain?". BBC Sport. 18 July 2023. สืบค้นเมื่อ 3 March 2024.
- ↑ Harry Harris (9 August 2011). "Bryan Robson named as Manchester United's most marvellous". Daily Express.
- ↑ Ridley, Ian (14 January 1996). "Lessons of the long goodbye". The Independent. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
- ↑ Gibbons, Mike (9 July 2018). "Redemption Song? Gareth Southgate, semi-finals and football coming home". Eurosport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Robson, Bryan (2007) [2006]. Robbo: My Autobiography (Paperback ed.). Hodder & Stoughton. pp. 4–7. ISBN 978-0-340-83957-7.
- ↑ Robson (2007), p. 10.
- ↑ Robson (2007), pp. 11–12.
- ↑ Robson (2007), pp. 9–10.
- ↑ Robson (2007), pp. 13–14.
- ↑ "ร็อบสัน" แถลงรับผลงานไม่ดี แต่มั่นใจขอทำงานต่อสานฝันไทยไปบอลโลก เก็บถาวร 2010-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากมติชน
- ↑ Robson (2007), pp. 37–39.
- ↑ Robson (2007), p. 43.
- ↑ Robson (2007), p. 61.
- ↑ Robson (2007), p. 131.
- ↑ "TV sports girls: Clare Tomlinson". Virgin Media. สืบค้นเมื่อ 17 September 2007.
- ↑ "Bryan Robson faces fight against throat cancer". BBC Sport. 16 March 2011. สืบค้นเมื่อ 16 March 2011.
- ↑ ช็อก! ไบรอัน ร็อบสัน ป่วยเป็นมะเร็งในลำคอ เก็บถาวร 2011-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากสนุกดอตคอม
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- FA.com profile
- Times profile เก็บถาวร 2006-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Robson Lloyd Consultancy Ltd
- ไบรอัน ร็อบสัน สถิติอาชีพผู้จัดการ ที่ Soccerbase
- ไบรอัน ร็อบสัน ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- หน้าประวัติของ ไบรอัน ร็อบสัน ที่ Englandstats
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2500
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักฟุตบอลชาวอังกฤษ
- นักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอังกฤษ
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลในพรีเมียร์ลีก
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
- ผู้เล่นในพรีเมียร์ลีก
- ผู้เล่นสโมสรฟุตบอลเวสต์บรอมมิชอัลเบียน
- บุคคลจากเทศมณฑลเดอรัม
- ผู้เล่นในฟุตบอลโลก 1990
- ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลมิดเดิลส์เบรอ
- ผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย
- ผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง