วันชาติสาธารณรัฐจีน
วันชาติแห่งสาธารณรัฐจีน | |
---|---|
![]() | |
ชื่ออื่น | วันดับเบิลเท็น, ดับเบิลเท็นเดย์ |
จัดขึ้นโดย | ![]() ![]() |
ประเภท | ประวัติศาสตร์, วัฒนธรรม, ประชาธิปไตย, ชาตินิยม |
การเฉลิมฉลอง | เทศกาล ดอกไม้ไฟ, การเชิดมังกรและคอนเสิร์ต |
วันที่ | 10 ตุลาคม |
ความถี่ | ทุกปี |
![]() |
![]() |
เหลืออีก 247 วัน |
เวลาท้องถิ่น |
วันดับเบิลเท็น (จีนตัวย่อ: 双十节; จีนตัวเต็ม: 雙十節; พินอิน: Shuāng Shí Jié) เป็นวันชาติของสาธารณรัฐจีน และเฉลิมฉลองการเริ่มต้นของการลุกฮือหวูชาง เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2454 และได้กลายมาเป็นการปฏิวัติซินไฮ่ซึ่งนำไปสู่การล้มล้างราชวงศ์ชิง การล่มสลายของราชวงศ์ชิงยังเป็นเหตุแห่งการสถาปนาสาธารณรัฐจีนเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2455 ดังนั้นรัฐบาลจึงกำหนดวันดังกล่าวให้เป็น วันเฉลิมฉลองชาติ (จีนตัวย่อ: 国庆日; จีนตัวเต็ม: 國慶日; พินอิน: Guóqìng Rì)[1] ความหมายคำว่า ดับเบิลเท็น มาจากการนำอักษรจีน 2 ตัว (十) "ที่แปลว่า 10" ซ้ำสองครั้ง หรือ "วันสองสิบ" ซึ่งหมายถึงวันที่ 10 เดือน 10 (ตุลาคม) ตรงกับวันปฏิวัติซินไฮ่
ประวัติ
[แก้]วันชาติสาธารณรัฐจีน อาจเรียกอีกชื่อได้ว่า วันดับเบิลเท็น หรือ วันสองสิบ นั้นมีความสำคัญที่ตรงกับวันที่ 10 เดือน 10 ปี ค.ศ. 1911 ได้มีการก่อการกำเริบอู่ชางเกิดขึ้น เพื่อล้มล้างราชวงศ์ชิง เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดการปฏิวัติซินไฮ่ตามมา จนนำไปสู่การสละราชสมบัติของจักรพรรดิผู่อี๋จักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ชิง สิ้นสุดการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของจีนที่มียาวนานกว่า 5,000 ปี และได้มีการเริ่มต้นการปกครองประเทศแบบ "สาธารณรัฐจีน" ดร.ซุน ยัตเซ็น ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวคนแรกของสาธารณรัฐ วันดับเบิลเท็นหรือวันสองสิบได้กลายเป็นวันชาติของสาธารณรัฐจีนตลอดที่ปกครองในแผ่นดินใหญ่
แต่ด้วยผลของสงครามกลางเมืองจีน รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีนพ่ายแพ้ให้กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนและสูญเสียการควบคุมจีนแผ่นดินใหญ่ และอพยพไปยังเกาะไต้หวันใน พ.ศ. 2492 ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ชนะสงครามกลางเมืองได้สถาปนา "สาธารณรัฐประชาชนจีน" ขึ้นปกครองแผ่นดินใหญ่ ได้เปลี่ยนวันชาติมาเป็น วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็น วันชาติของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เฉลิมฉลองในปัจจุบันแทน
ส่วนวันสองสิบหรือวันเฉลิมฉลองชาติของสาธารณรัฐจีนปัจจุบันจึงเฉลิมฉลองแต่เฉพาะในไต้หวันเป็นหลัก จนในภายหลังได้มีการเรียกกันอย่างย่อๆว่า วันชาติไต้หวัน ส่วนการฉลองวันชาติในกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลบางส่วนก็เฉลิมฉลองด้วยเช่นกัน
การเฉลิมฉลองในไต้หวัน
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e4/DoubleTenDayParadeOctober101966.jpg/250px-DoubleTenDayParadeOctober101966.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e8/National_Day_Fireworks.jpg/250px-National_Day_Fireworks.jpg)
ในระหว่างการสถาปนาสาธารณรัฐจีนในแผ่นดินใหญ่ของจีน เกาะไต้หวันตกอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่นซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1895 และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 หลังการประกาศยอมแพ้ของจักรวรรดิญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่สอง ไต้หวันได้รับเอกราชและได้กลับมาเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณรัฐจีนอีกครั้ง
ในไต้หวัน การเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการเริ่มจากการประดับธงชาติสาธารณรัฐจีนหน้าบริเวณทำเนียบประธานาธิบดีควบคู่ไปกับการร้องเพลงชาติสาธารณรัฐจีน ในที่สาธารณะ และจะมีการเฉลิมฉลองที่ทำเนียบประธานาธิบดีเป็นที่แรก จากนั้นจะมีการสวนสนามของกองทัพแห่งชาติ หรือ พิธีสวนสนามวันชาติสาธารณรัฐจีน การเฉลิมฉลองยังประกอบด้วย วัฒนธรรมแบบจีนและวัฒนธรรมพื้นแบบไต้หวัน อาทิเช่น การเชิดสิงโต, การเชิดมังกร, วงบรรเลงตีกลอง และการแสดงพื้นเมืองของชาวพื้นเมืองไต้หวัน เมื่อถึงเวลากลางคืน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีนจะออกอากาศถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์อวยพรประชาชน และจะมีการยิงดอกไม้ไฟตามเมืองสำคัญๆทั่วเกาะไต้หวัน
-
การประดับประดาภาพดร.ซุน ยัตเซ็นและธงชาติสาธารณรัฐจีน
-
การประดับประดาภาพดร.ซุน ยัตเซ็นและธงชาติสาธารณรัฐจีน
-
เหล่านักศึกษาร่วมการแสดงตีกลองในระหว่างการเฉลิมฉลอง
-
เหล่านักกีฬาโอลิมปิกเข้าร่วมฉลองวันชาติ
-
กลุ่มสหภาพผู้ใช้แรงงานเข้าร่วมฉลองวันชาติสาธารณรัฐจีน
พิธีสวนสนามของทหาร
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/2c/1950_Double_Ten_Day.jpg/250px-1950_Double_Ten_Day.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e3/1965_Double_Ten_Parade_Taipei.jpg/250px-1965_Double_Ten_Parade_Taipei.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/a/a1/M41_in_Double_Ten_Day_military_parade_1966-10-10.jpg/250px-M41_in_Double_Ten_Day_military_parade_1966-10-10.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/5a/Voa_chinese_ma_ying_jeou_tw_09Oct10_480.jpg/250px-Voa_chinese_ma_ying_jeou_tw_09Oct10_480.jpg)
![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ed/October_10_2011Taiwancelebrationpic8.jpg/250px-October_10_2011Taiwancelebrationpic8.jpg)
กองทัพแห่งสาธารณรัฐจีนมีธรรมเนียมที่จะจัดกิจกรรมการเดินสวนสนามทางทหารในช่วงวันเฉลิมฉลองชาติ โดยมีการเดินสวนสนามของเหล่าทหารของกองทัพพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์ผ่านลานหน้าทำเนียบประธานาธิบดี โดยปกติแล้วจะมีเจ้าหน้าที่ทหาร, คณะผู้แทนรัฐสภาผู้ทรงเกียรติและเอกอัครราชทูตจากประเทศต่างๆได้รับเชิญให้เข้าร่วมชมการเดินสวนสนามด้วย
การเดินสวนสนามได้ถูกจัดขึ้นอย่างไม่ต่อเนื่องเป็นระยะๆในระหว่างช่วงที่สาธารณรัฐจีนอยู่ที่ไต้หวัน การเดินสวนสนามในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ.1949 เป็นการเดินสวนสนามที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกต่อสาธารณชนที่ไต้หวัน มี เฉิน เฉิง ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่ตรวจตราการเดินสวนสนาม การเดินสวนสนามได้ถูกยกเลิกเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งและการวิพากษ์วิจารณ์ว่าสิ้นเปลืองงบประมาณ จนถึงสมัยที่ประธานาธิบดี หม่า อิงจิ่วได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี การเดินสวนสนามได้ถูกจัดขึ้นอีกครั้ง
การเดินสวนสนามจะมีธรรมเนียมการตะโกนร้องขานว่า "สาธารณรัฐจีนจงเจริญ!" ("จงฮวา หมิงกว๋อ ว่านซุ่ย!" (中華民國萬歲)) หลังจากการสิ้นสุดการประกาศสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจีน
การเฉลิมฉลองนอกดินแดนไต้หวัน
[แก้]จีนแผ่นดินใหญ่
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ฮ่องกง และ มาเก๊า
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดินแดนโพ้นทะเล
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/4a/Commons-logo.svg/30px-Commons-logo.svg.png)
- Republic of China Centenary Foundation เก็บถาวร 2012-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แม่แบบ:Zh-tw