ข้ามไปเนื้อหา

การเชิดสิงโต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเชิดสิงโต
ชื่อภาษาจีน
อักษรจีนตัวเต็ม舞獅
อักษรจีนตัวย่อ舞狮
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ
อักษรจีนตัวเต็ม跳獅 or 弄獅
ชื่อภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนามmúa lân / sư tử
จื๋อโนม𦨂 / 獅
ชื่อภาษาเกาหลี
ฮันกึล
사자춤
ฮันจา
獅子춤
ชื่อภาษาญี่ปุ่น
คันจิ獅子舞
การถอดเสียง
โรมาจิshishimai

การเชิดสิงโต (จีนตัวย่อ: 舞狮; จีนตัวเต็ม: 舞獅; พินอิน: wǔshī) เป็นประเพณีการเต้นรำอย่างหนึ่งในวัฒนธรรมจีนและประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเชียที่ผู้แสดงเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิงโตในชุดสิงโต การเชิดสิงโตปกติจะแสดงในเทศกาลตรุษจีนและในเทศกาลทางประเพณี วัฒนธรรม และศาสนาของชาวจีนอื่น ๆ การเชิดสิงโตอาจแสดงในโอกาสสำคัญ เช่น งานเปิดตัวธุรกิจ การเฉลิมฉลองในโอกาสพิเศษ หรืองานสมรส หรืออาจใช้เชิดชูเกียรติแขกพิเศษในชุมชนของชาวจีน

การเชิดสิงโตของจีนมักมีผู้สับสนกับการเชิดมังกร ความแตกต่างคือสิงโตต้องใช้นักเต้นสองคน ในขณะที่มังกรต้องใช้คนหลายคน ในการเชิดสิงโต ใบหน้าของผู้แสดงจะแสดงให้เห็นเป็นครั้งคราว เนื่องจากพวกเขาอยู่ภายในตัวสิงโต ในการเชิดมังกร ใบหน้าของผู้แสดงจะแสดงให้เห็นได้ง่ายเนื่องจากมังกรจะยึดอยู่กับเสา การเคลื่อนไหวพื้นฐานในการเชิดสิงโตพบได้ในศิลปะการป้องกันตัวของจีนหลายแขนง

การเชิดสิงโตของจีนมีสองรูปแบบหลัก คือ สิงโตเหนือและสิงโตใต้ การแสดงทั้งสองรูปแบบพบได้ทั่วไปในประเทศจีน แต่ที่อื่นในโลกมักพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การเชิดสิงโตแบบใต้มีมากกว่าเนื่องจากได้รับการเผยแพร่โดยชุมชนจีนพลัดถิ่นซึ่งส่วนใหญ่มีต้นกำเนิดจากจีนตอนใต้ การเชิดสิงโตรูปแบบอื่น ๆ อาจพบในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ทิเบต และเวียดนาม การเชิดสิงโตอีกรูปแบบหนึ่งมีในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย แต่เป็นประเพณีที่แตกต่างไปและอาจเรียกว่าซีงาบารง