รายชื่อประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน
นี่เป็นรายชื่อประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–ปัจจุบัน) ชื่อตำแหน่งประธานาธิบดีนั้นเปลี่ยนแปลงหลายครั้งดังนี้ ช่วง ค.ศ. 1912–1928 เรียก ต้าจ่งถง (大總統; "มหาประธานาธิบดี"), ช่วง ค.ศ. 1928–1947 เรียก กั่วหมินเจิ้งฝูจู่สี (國民政府主席; "ประธานสำนักรัฐกิจประชาชาติ"), และ ค.ศ. 1947–ปัจจุบัน เรียก จ่งถง (總統; "ประธานาธิบดี")
ก่อน ค.ศ. 1949 สาธารณรัฐจีนปกครองจีนแผ่นดินใหญ่และเกาะนอกฝั่ง ครั้นฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 1949 สาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าควบคุมประเทศจีน ทำให้รัฐบาลสาธารณรัฐจีนต้องหนีมาตั้งมั่นยังไต้หวัน มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ไทเป ซึ่งได้รับการรับรองจากสหประชาชาติมาจนถึง 25 ตุลาคม ค.ศ. 1971 จากสหรัฐจนถึง 1 มกราคม ค.ศ. 1979 และจากประเทศตะวันตกอื่น ๆ ภายใต้บริบทของสงครามเย็น อย่างไรก็ดี เมื่อถอยมาอยู่ไต้หวันใน ค.ศ. 1949 แล้ว สาธารณรัฐจีนมีอำนาจควบคุมไต้หวันและเกาะข้างเคียงเท่านั้น ไม่มีอำนาจไปถึงแผ่นดินใหญ่อีกต่อไป รัฐบาลสาธารณรัฐจีนยกเลิกกฎอัยการศึกทั่วไต้หวันในคริสต์ทศวรรษ 1980 และจัดให้ประชาชนเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงเป็นครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1996
รายนาม
[แก้]ประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (รัฐบาลเฉพาะกาล)
[แก้]- ระยะเวลา: 1 มกราคม 1912 – 10 ตุลาคม 1913
ลำดับ | ภาพ | รายนาม (เกิด–เสียชีวิต) |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | สังกัดพรรค | รองประธานาธิบดี | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ดร.ซุน ยัตเซ็น 孫文 Sūn Wén (1866–1925) |
1 มกราคม พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) | 1 เมษายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) | ถงเหมิงฮุ่ย | หลี ยฺเหวียนหง | |
1911 (94.11%) | ||||||
ประธานาธิบดีคนแรก (เฉพาะกาล) แห่งสาธารณรัฐจีน | ||||||
2 | ยฺเหวียน ชื่อไข่ 袁世凱 Yuán Shìkǎi (1859–1916) |
10 มีนาคม พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) | กองทัพเป่ย์หยาง | หลี ยฺเหวียนหง | |
1912 (100%) | ||||||
ประธานาธิบดีคนที่สองแห่งสาธารณรัฐจีน |
ประธานาธิบดีรัฐบาลเป่ย์หยาง
[แก้]- ระยะเวลา: 10 ตุลาคม 1913 – 2 มิถุนายน 1928
ไม่สังกัดพรรค กองทัพเป่ย์หยาง พรรคก้าวหน้า
ลำดับ | ภาพ | รายนาม (เกิด–เสียชีวิต) |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | สังกัดพรรค | รองประธานาธิบดี | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | ยฺเหวียน ชื่อไข่ 袁世凱 Yuán Shìkǎi (1859–1916) |
10 ตุลาคม พ.ศ. 2456 (ค.ศ. 1913) | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) [1] | กองทัพเป่ย์หยาง | หลี ยฺเหวียนหง | |
1913 (71.12%) | ||||||
เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง | ||||||
2 | หลี ยฺเหวียนหง 黎元洪 Lí Yuánhóng (1864–1928) |
7 มิถุนายน พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) | 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917)[2] | พรรคก้าวหน้า | เฝิง กั๋วจาง | |
หลี ยฺเหวียนหงดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีในสมัยยฺเหวียน ชื่อไข่ ต่อมาหลี ยฺเหวียนหงได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีหลังยฺเหวียน ชื่อไข่เสียชีวิต | ||||||
3 | เฝิง กั๋วจาง 馮國璋 Féng Guózhāng (1859–1919) |
6 สิงหาคม พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) | ก๊กทหารจื๋อลี่ | ว่าง | |
เนื่องจากการฟื้นคืนของแมนจู หลี ยฺเหวียนหงหลบหนีจากที่ทำการรัฐบาลและแต่งตั้งรองประธานาธิบดีเฝิง กั๋วจาง เป็นประธานาธิบดีรักษาการ | ||||||
4 | สฺวี ชื่อชาง 徐世昌 Xú Shìchāng (1855–1939) |
10 ตุลาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) | ก๊กทหารอันฮุย | ว่าง | |
1918 (98.15%) | ||||||
— | โจว จื้อฉี 周自齊 Zhōu Zìqí (1871–1923) |
2 มิถุนายน พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) | กลุ่มคณะสื่อสารมวลชน (กลุ่มเจียวทง) | ว่าง | |
5 | หลี ยฺเหวียนหง 黎元洪 Lí Yuánhóng (1864–1928) |
11 มิถุนายน พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) | 13 มิถุนายน พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) | กลุ่มคณะค้นคว้าวิจัย (กลุ่มเอี๋ยนจิว) | ว่าง | |
— | เกา หลิงเว่ย์ 高凌霨 Gāo Língwèi (1868–1939) |
14 มิถุนายน พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) | ไม่สังกัดพรรค | ว่าง | |
6 | เฉา คุน 曹錕 Cáo Kūn (1862–1938) |
10 ตุลาคม พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) | 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) | ก๊กทหารจื๋อลี่ | ว่าง | |
1923 (81.36%) | ||||||
— | หฺวัง ฝู 黃郛 Huáng Fú (1883–1936) |
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) | ไม่สังกัดพรรค | ว่าง | |
7 | ตฺวั้น ฉีรุ่ย 段祺瑞 Duàn Qíruì (1865–1936) |
24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 (ค.ศ. 1924) | 20 เมษายน พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) | ก๊กทหารอันฮุย | ว่าง | |
ตฺวั้น ฉีรุ่ย ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงชั่วคราวแทนตำแหน่งประธานาธิบดี | ||||||
— | หู เหวย์เต๋อ 胡惟德 Hú Wéidé (1863–1933) |
20 เมษายน พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) | ไม่สังกัดพรรค | ว่าง | |
— | หยาน ฮุ่ยชิ่ง 顏惠慶 Yán Huìqìng (1877–1950) |
13 พฤษภาคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) | ไม่สังกัดพรรค | ว่าง | |
— | ตู้ ซีกุย 杜錫珪 Dù Xīguī (1875–1933) |
22 มิถุนายน พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) | ก๊กทหารจื๋อลี่ | ว่าง | |
— | กู้ เหวย์จฺวิน (เวลลิงตัน กู้) 顧維鈞 Gù Wéijūn (1888–1985) |
1 ตุลาคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) | ไม่สังกัดพรรค | ว่าง | |
8 | จาง จั้วหลิน 張作霖 Zhāng Zuòlín (1875–1928) |
18 มิถุนายน พ.ศ. 2470 (ค.ศ. 1927) | 2 มิถุนายน พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) | ขุนศึกเฟิ่งเทียน | ว่าง | |
จาง จั้วหลินดำรงตำแหน่งจอมทัพแห่งรัฐบาลทหารเป่ย์หยางแทนตำแหน่งประธานาธิบดี |
ผู้บริหารรัฐบาลคณะชาติ (จีนคณะชาติ)
[แก้]- ระยะเวลา: 7 กุมภาพันธ์ 1928 – 20 พฤษภาคม 1948
พรรคก๊กมินตั๋ง (จีนคณะชาติ)
ในยุคนี้ ประมุขแห่งรัฐของรัฐบาลแห่งชาติ คือ ตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหารรัฐบาลแห่งชาติ (จีน: 國民政府委員會主席 กั๋วหมิน เจิ้งฝู่เหวยเอวี๋ยนฮุ่ยจู่สี) ตั้งแต่ปี 1925 - 1948
ลำดับ | ภาพ | รายนาม (เกิด–เสียชีวิต) |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | สังกัดพรรค | |
---|---|---|---|---|---|
1 | ถาน หยานไข่ 譚延闓 Tán Yánkǎi (1880–1930) |
7 กุมภาพันธ์]] พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) | พรรคก๊กมินตั๋ง | |
2 | เจียง ไคเชก 蔣中正 Jiǎng Zhōngzhèng (1887–1975) |
10 ตุลาคม พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) | พรรคก๊กมินตั๋ง | |
3 | หลิน เซิน 林森 Lín Sēn (1868–1943) |
15 ธันวาคม พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) | พรรคก๊กมินตั๋ง | |
เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง | |||||
4 | เจียง ไคเชก 蔣中正 Jiǎng Zhōngzhèng (1887–1975) |
1 สิงหาคม พ.ศ. 2486 (ค.ศ. 1943) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) | พรรคก๊กมินตั๋ง | |
ประธานาธิบดีหลังรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1947
[แก้]ประธานาธิบดีที่ได้รับการเลือกตั้งโดยสมัชชาแห่งชาติ
[แก้]- ระยะเวลา: 20 พฤษภาคม 1948 (พ.ศ. 2491) – 20 พฤษภาคม 1996 (พ.ศ. 2539)
พรรคก๊กมินตั๋ง (จีนคณะชาติ)
หลังจากการพ่ายแพ้ในการสู้รบของรัฐบาลจีนคณะชาติกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนในสงครามกลางเมืองจีน ปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีนได้ลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันและหมู่เกาะข้างเคียงโดยรอบ เป็นผลทำให้จีนแผ่นดินใหญ่ถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนนำโดย เหมา เจ๋อตุง และได้สถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้น ส่วนรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจีนได้ย้ายเมืองหลวงไปยังกรุงไทเป มีฐานะเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นและได้มีการประกาศกฎอัยการศึกขึ้น กฎอัยการศึกได้ประกาศยุติในไต้หวันในปี ค.ศ. 1980 และได้มีกระบวนการเข้าสู่การเลือกตั้งโดยตรงในปี ค.ศ. 1996
ลำดับ | ภาพ | รายนาม (เกิด–เสียชีวิต) |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | สมัย | การเลือกตั้ง | สังกัดพรรค | รองประธานาธิบดี | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เจียง ไคเชก 蔣中正 Jiǎng Zhōngzhèng (1887–1975) |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) | 21 มกราคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) | 1 | 1948 (90.03%) | พรรคก๊กมินตั๋ง | หลี่ จงเหริน | |
เจียง ไคเชกได้ลาออกจากตำแหน่งโดยประกาศไร้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่และอำนาจบริหารในฐานะประธานาธิบดี จนกระทั่งรัฐบาลสาธารณรัฐจีนนำโดยพรรคก๊กมินตั๋งได้พ่ายแพ้ให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์จีนในสงครามกลางเมืองจีน | ||||||||
— | หลี่ จงเหริน 李宗仁 Lǐ Zōngrén (1890–1969) |
21 มกราคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) | 1 มีนาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) | 1 | — | พรรคก๊กมินตั๋ง | ว่าง | |
หลี่ จงเหริน ปฏิบัติหน้าที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีรักษาการแทน เจียง ไคเชก หลังจากที่เจียงได้ประกาศไร้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ หลี่ จงเหรินมีความสัมพันธ์เชิงปฏิปักษ์กับเจียง หลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดเมืองกวางตุ้ง หลี่ จงเหรินได้ลี้ภัยไปยังนิวยอร์ก | ||||||||
— | หยาน ซีชาน 閻錫山 Yán xíshān (1883–1960) |
20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) | 1 มีนาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) | 1 | — | พรรคก๊กมินตั๋ง | ว่าง | |
หลังจากหลี่ จงเหริน ลี้ภัยไปยังนิวยอร์ก หยาน ซีชานได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรักษาการ ตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐจีน วันที่ 1 มีนาคม 1950 เจียง ไคเชกได้ฟื้นคืนตำแหน่งประธานาธิบดีของตนอีกครั้ง แต่หลี่ จงเหริน ได้ประณามการฟื้นคืนตำแหน่งประธานาธิบดีของเจียง ไคเชก เป็นการกระทำอันขัดต่อรัฐธรรมนูญ | ||||||||
1 | เจียง ไคเชก 蔣中正 Jiǎng Zhōngzhèng (1887–1975) |
1 มีนาคม พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) | 2 | — | พรรคก๊กมินตั๋ง | หลี่ จงเหริน (1950–1954[3]) ว่าง (1954) | |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) | 3 | 1954 (96.91%) | เฉิน เฉิง | ||||
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) | 4 | 1960 (93.97%) | เฉิน เฉิง (1960–1965[4]) ว่าง (1965–1966) | ||||
20 May 1966 | 20 May 1972 | 5 | 1966 (98.60%) | หยาน เจียก้าน | ||||
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) | 5 เมษายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) | 6 | 1972 (99.39%) | หยาน เจียก้าน | ||||
พ่ายแพ้สงครามกลางเมืองในแผ่นดินใหญ่จีน เจียง ไคเชกได้ย้ายรัฐบาลไปยังเมืองไทเป และคืนสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1950 เจียงได้ประกาศกฎอัยการศึกภายใต้บทบัญญัติชั่วคราวที่มีผลในช่วงการกบฏคอมมิวนิสต์ เจียง ไคเชกได้เสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง | ||||||||
2 | หยาน เจียก้าน 嚴家淦 Yán Jiāgàn (1905–1993) |
6 เมษายน พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) | 1 | — | พรรคก๊กมินตั๋ง | ว่าง | |
หยาน เจียก้านได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี (1963–1972) ในฐานะเป็นรองประธานาธิบดีในสมัยเจียง ไคเชก หยาน เจียก้านได้ขึ้นสู่ตำแหน่งหลังเจียง ไคเชกเสียชีวิตและได้อยู่จนครบวาระตำแหน่งประธานาธิบดีของเจียง | ||||||||
3 | เจี่ยง จิงกั๋ว 蔣經國 Jiǎng Jīngguó (1910–1988) |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) | 1 | 1978 (98.34%) | พรรคก๊กมินตั๋ง | เซี่ย ตงหมิ่น | |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) | 13 มกราคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) | 2 | 1984 (95.11%) | หลี่ เติงฮุย | ||||
เจี่ยง จิงกั๋วเป็นลูกชายของเจียง ไคเชก เจี่ยง จิงกั๋วได้ดำเนินการสิบโครงการก่อสร้างสำคัญและได้พัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวันให้ทันสมัย ทำให้เป็นที่รู้จักใน (ความมหัศจรรย์ในการพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวัน) ในสมัยของเจี่ยง จิงกั๋วเป็นช่วงเวลาที่การเคลื่อนไหวของระบอบประชาธิปไตยได้เติบโตซึ่งนำไปสู่ (วิกฤตการณ์เกาชุง) ทำให้รัฐบาลต้องยกเลิกกฎอัยการศึก เจี่ยง จิงกั๋วเสียชีวิตขณะดำรงตำแหน่ง | ||||||||
4 | หลี่ เติงฮุย 李登輝 Lǐ Dēnghuī (1923–2020) |
13 มกราคม พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) | 1 | — | พรรคก๊กมินตั๋ง | ว่าง | |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) | 2 | 1990 (85.24%) | หลี่ ยฺเหวียนชู่ | ||||
หลี่ เติงฮุยได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี (1984–1988) ในสมัยเจี่ยง จิงกั๋ว หลี่ เติงฮุยได้ขึ้นสู่ตำแหน่งหลังเจี่ยง จิงกั๋วเสียชีวิตและได้อยู่จนครบวาระตำแหน่งประธานาธิบดีของเจี่ยง จิงกั๋ว หลี่ เติงฮุยได้ดำเนินการปฏิรูปประชาธิปไตยและดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีไทเป (1978–1981) ผู้ว่าราชการจังหวัดไต้หวัน (1981–1984) หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง (1988–2000) |
ประธานาธิบดีหลังกระบวนการเข้าสู่การเลือกตั้งโดยตรง
[แก้]- ระยะเวลา: 20 พฤษภาคม 1996 – ปัจจุบัน
พรรคก๊กมินตั๋ง (จีนคณะชาติ) พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า
ลำดับ | ภาพ | รายนาม (เกิด–เสียชีวิต) |
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง | สมัย | การเลือกตั้ง | สังกัดพรรค | รองประธานาธิบดี | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
4 | หลี่ เติงฮุย 李登輝 Lǐ Dēnghuī (1923–2020) |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) | 3 | 1996 5,813,699 (54.0%) | พรรคก๊กมินตั๋ง | เหลียน จ้าน | |
หลี่ เติงฮุยได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง | ||||||||
5 | เฉิน ฉุยเปี่ยน 陳水扁 Chén Shuǐbiǎn (1950–) |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) | 1 | 2000 4,977,737 (39.3%) | พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า | Annette Lu | |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) | 2 | 2004 6,446,900 (50.11%) | |||||
6 | หม่า อิงจิ่ว 馬英九 Mǎ Yīngjiǔ (1950–) |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) | 1 | 2008 7,658,724 (58.45%) | พรรคก๊กมินตั๋ง | Vincent Siew | |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) | 2 | 2012 6,891,139 (51.60%) | Wu Den-yih | ||||
7 | ไช่ อิงเหวิน 蔡英文 Cài Yīngwén (1956–) |
20 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) | อยู่ในวาระ | 1 | 2016 6,894,744 (56.1%) | พรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า | เฉิน เจี้ยนเหริน | |