ข้ามไปเนื้อหา

วัดเกาะ (จังหวัดสุพรรณบุรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดเกาะ
ตราวัดเกาะ
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเกาะ
ที่ตั้งเลขที่ 104 หมู่ที่ 5 ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี 72140
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
ก่อตั้งพ.ศ. 2358
พระประธานหลวงพ่อในโบสถ์
พระพุทธรูปสำคัญหลวงพ่อโต
พระพุทธเจ้า 5 พระองค์
เจ้าอาวาสพระครูปริยัติกิตติวงศ์ (ปกิตต์ ฐิตวํโส) ป.ธ.3
มหามงคลรูปเหมือนหลวงพ่อปุย
รูปเหมือนหลวงพ่อเซ้ง
จุดสนใจมณฑป
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดเกาะ ตั้งอยู่เลขที่ 104 ถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3038 (ดอนเจดีย์ - ศรีประจันต์) หมู่ที่ 5 ตำบลวังหว้า อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นวัดราษฎร์ คณะสงฆ์มหานิกาย เขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรณบุรี คณะสงฆ์ ภาค14

ประวัติ[แก้]

วัดสร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน สันนิษฐานว่าอยู่ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นอย่างน้อย เริ่มจากมีบุคคลคณะหนึ่งมาทำดินพลุตะไล ณ สถานที่แห่งนี้ แล้วพิจารณาเห็นว่ามีลำน้ำล้อมรอบ ลักษณะเป็นเกาะ เป็นจุดศูนย์กลางของชุมชน เหมาะที่จะสร้างวัด จึงชักชวนชาวบ้านในพื้นที่ให้ช่วยกันสร้างวัด[1] แล้วขนานนามตามลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งว่า “วัดเกาะ” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดเกาะแก้ว" แต่ประชาชนยังนิยมเรียกว่า "วัดเกาะ" และใช้ชื่อนี้ตลอดมา[2]

ที่ดินตั้งวัดมีพื้นที่จำนวน 23 ไร่ ได้รับอนุญาตตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2358[3] ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 8 เมตร ยาว 30 เมตร[4]

เป็นวัดซึ่งมีอดีตเจ้าอาวาส คือ พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ) เป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชน วัตถุมงคลของท่านได้รับความนิยม[5]

เป็นโบราณสถาน หมายเลขทะเบียน 0006354 ของกรมศิลปากร ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504[6]

ทำเนียบเจ้าอาวาส[แก้]

ภาพเจ้าอาวาสวัดเกาะ อดีต - ปัจจุบัน

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดเกาะ อดีต - ปัจจุบัน เท่าที่พบข้อมูล[2]

ลำดับ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ หมายเหตุ
1 หลวงพ่อพูน - -
2 หลวงพ่อคำ - -
3 หลวงพ่อขำ - -
4 หลวงพ่อยิ้ม - -
5 หลวงพ่อจันทร์ - -
6 หลวงปู่เฒ่าพลาย - พ.ศ. 2453 มรณภาพ
7 พระอาจารย์ขัน พ.ศ. 2453 พ.ศ. 2455 ลาสิกขา
8 พระอาจารย์แจ้ง พ.ศ. 2455 พ.ศ. 2458 ลาสิกขา
9 พระอาจารย์พลอย พ.ศ. 2458 พ.ศ. 2463 ลาสิกขา
10 พระอาจารย์แคล้ว พ.ศ. 2463 พ.ศ. 2466 ลาสิกขา
11 พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ) พ.ศ. 2466 พ.ศ. 2485 สมัยที่ 1, ลาออก
12 พระอาจารย์ฉ่อย อุตฺตมสาโร พ.ศ. 2485 - ลาออก
13 พระอาจารย์เกี้ยน - พ.ศ. 2489 ลาสิกขา
14 พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ) พ.ศ. 2489 พ.ศ. 2495 รักษาการ
พ.ศ. 2495 พ.ศ. 2523 สมัยที่ 2, มรณภาพ
15 พระครูสุวรรณปัญญารัต (เซ้ง, สกล ปญฺญาพโล) พ.ศ. 2523 พ.ศ. 2549 มรณภาพ
16 พระครูปริยัติกิตติวงศ์ (ปกิตต์ ฐิตวํโส) ป.ธ.3 พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน

อาคาร เสนาสนะ[แก้]

อาคาร เสนาสนะ[2]

  • มณฑป สร้างเมื่อ พ.ศ. 2458 เป็นสถานที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป และรอยพระพุทธบาท ได้รับการบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2556
  • อุโบสถ กว้าง 9.25 เมตร ยาว 31.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2533 และ พ.ศ. 2558
  • หอระฆัง สูง 20 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2497 บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2525 และ พ.ศ. 2550
  • ฌาปนสถาน (เมรุ) หลังเก่า สร้างเมื่อราว พ.ศ. 2510
  • หอสวดมนต์ กว้าง 8.50 เมตร ยาว 18 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2517 บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2552
  • ศาลาการเปรียญวรนาถรังษี กว้าง 21 เมตร ยาว 44.50 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2523
  • ฌาปนสถาน (เมรุ) หลังใหม่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2548 บูรณะเมื่อ พ.ศ.2557
  • ศาลารัชมงคลรังษี กว้าง 17 เมตร ยาว 35 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2553
  • อาคารอัศวเกียรติ กว้าง 15 เมตร ยาว 28 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2555
  • ซุ้มประตูทางเข้าวัด ริมถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3038 (ดอนเจดีย์ - ศรีประจันต์) สร้างเมื่อ พ.ศ. 2562
  • ศาลาอเนกประสงค์ (โดม) กว้าง 29 เมตร ยาว 65 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2562
  • นอกจากนี้ยังมี กุฏิสงฆ์ โรงครัว ห้องพัสดุ ห้องน้ำ - สุขา เป็นต้น

ปูชนียวัตถุ และสิ่งน่าสนใจ[แก้]

ปูชนียวัตถุ และสิ่งน่าสนใจภายในวัด[2]

การศึกษา[แก้]

เทศกาล และงานประจำปี[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 พระปลัดสกล ปญฺญาพโล. (2523). ประวัติพระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ). กรุงเทพฯ: อาทรการพิมพ์
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 พีระศักดิ์ สุนทรวิภาต. (2563). ที่ระลึก 125 ปีชาตกาล 40 ปีมรณภาพ พระครูวรนาถรังษี (ปุย ปุญฺญสิริ). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: กุศลบุญการพิมพ์
  3. กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานวิสุงคามสีมา, เล่ม 70, ตอน 54, 18 สิงหาคม 2496, หน้า 955
  5. "พระเก่งเมืองสุพรรณ "หลวงพ่อปุย ปากพระร่วง" วาจาสิทธิ์ จนเหล่านักเลง หรือแม้แต่ผี ยังเกรงกลัว เก่งอาคมตั้งแต่วัยเด็ก ฟันแทงไม่เข้า!!". tnews. 2017-07-02.
  6. ศิลปากร, กรม, กองโบราณคดี. (2533). โบราณสถานที่ยังมิได้ขึ้นทะเบียน เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด