ข้ามไปเนื้อหา

วัดสามพระยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดสามพระยา
หลวงพ่อพระพุทธเกสร พระประธานประจำอุโบสถวัดสามพระยา
แผนที่
ที่ตั้งแขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายมหานิกาย
พระประธานพระพุทธเกสร
เจ้าอาวาสพระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม)
หมายเหตุ
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนวัดสามพระยา
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร
เลขอ้างอิง0005598
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดสามพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[1] เดิมเป็นวัดราษฎร์ สถานที่ตั้งอยู่ที่แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ชาวบ้านในละแวกนั้นบ้างก็เรียกชื่อวัดว่า วัดสัก หรือ วัดบางขุนพรหม สันนิษฐานว่า สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะ มาโดยลำดับ

ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ประกอบด้วยพระยาราชสุภาวดี(ขุนทอง)พระยาเทพวรชุน (ทองห่อ) และพระยาราชวรานิกุล(ทองคำ) รวม3คนพี่น้อง ตามประวัติ บิดาท่านชื่อ มะทอเปิ้น อพยพมาจากรามัญประเทศ แต่มารดาท่านไม่ปรากฏนาม พี่น้องทั้งสามได้จัดสร้างวัดนี้ขึ้นใหม่ แล้วเสร็จจึงได้ทูลเกล้าฯ ถวายเป็นวัดหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามวัดว่า “วัดสามพระยา” และต่อมาได้นำไปตั้งเป็นชื่อแขวงในพื้นที่เขตพระนคร

รายนามเจ้าอาวาส

[แก้]
ลำดับ นามเจ้าอาวาส ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1. พระนิโรธรังษี (เรือง) ประมาณสมัย ร.3 - ร. 4
2. พระธรรมสมาจาร (ศิลา) ต้นรัชกาลที่ 5 - 2433
3. พระเทพเมธี (ครุฑ) 2436 - 2456
4. พระธรรมดิลก (ขาว เขมโก) 2459 - 2480
5. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) 2481 - 2539
6. พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม) 2539 - 2561 (วาระที่ 1)
2567 - ปัจจุบัน (วาระที่ 2)
7. พระธรรมวชิรปัญญาภรณ์ (ละเอียด กิตฺติสุขุโม) 2565 - 2567

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]