ข้ามไปเนื้อหา

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์

พิกัด: 13°54′49″N 100°25′16″E / 13.9135°N 100.42123°E / 13.9135; 100.42123
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
แผนที่
ชื่อสามัญวัดเล่งเน่ยยี่ 2
ที่ตั้ง75 หมู่ที่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110
ประเภทวัดจีน
นิกายคณะสงฆ์จีนนิกาย (มหายาน)
พระประธานพระพุทธเจ้าสามพระองค์
พระพุทธรูปสำคัญพระกวนอิมโพธิสัตว์
ความพิเศษวัดจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
เวลาทำการทุกวัน 06.00-18.00 น.
จุดสนใจพระอุโบสถ
กิจกรรมวันตรุษจีน เทศกาลกินเจ
การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช ในถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง
icon สถานีย่อยพระพุทธศาสนา

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ (ตัวเต็ม: 普頌皇恩寺, ตัวย่อ: 普頌皇恩寺, พินอิน: Pǔ sòng huáng ēn sì ผู่ซ่งหวางเอินสื้อ, ฮกเกี้ยน: โพ้ซงอ๋องอุนซี่, สำเนียงแต้จิ๋ว: โพ้วซึงอ๊วงอึ๋นยี่ ) หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 เป็นวัดมหายานในความอุปถัมภ์ของคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 75 หมู่ที่ 4 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี บนพื้นที่ 12 ไร่เศษ จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539

ประวัติ

[แก้]

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ เดิมเป็นโรงเจขนาดเล็ก บนพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ต่อมาคณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย โดยวัดมังกรกมลาวาส (เล่งเน่ยยี่) ได้มอบหมายให้พระคณาจารย์จีนธรรมปัญญาจริยาภรณ์ (เย็นเชี้ยว) เป็นประธานดำเนินการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ และพระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (เย็นเต็ก) เป็นประธานที่ปรึกษาการจัดสร้างฝ่ายสงฆ์ โดยเปิดให้พุทธบริษัทชาวไทย-ชาวจีนได้ร่วมบุญ ในการจัดสร้าง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสดังกล่าว

โดยมีนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวัง เป็นผู้ดำเนินการขอพระบรมราชานุญาตจัดสร้างวัดฯ จากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ โดยเมื่อเวลา 15.00 น. วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เสด็จทรงเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์วัด

ปัจจุบัน วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ ได้จัดสร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการกว่า 12 ปี (2539-2551) ในบริเวณวัดประกอบด้วยวิหารต่าง ๆ ที่มีรูปแบบสถาปัตยกรรมตามแนวปรัชญาและคติธรรมทางศาสนาพุทธจีนนิกายฝ่ายมหายาน อันประกอบด้วย วิหารพระกวนอิมโพธิสัตว์, วิหารหมื่นพุทธเจ้า, วิหารบูรพาจารย์ ห้องปฏิบัติธรรม ที่พำนักสงฆ์ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร (พระอิสริยยศในขณะนั้น) เสด็จฯ แทนพระองค์ พร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีสมโภชเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2551 และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงตัดหวายลูกนิมิตพระอุโบสถ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2552

การเดินทาง

[แก้]

รถยนต์ส่วนตัว

[แก้]

รถโดยสารประจำทาง

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

สีนํ้าเงิน : เขตการเดินรถที่ 7

รถเอกชน

สีกรมท่า : เส้นทางของ บจก.ไทยสมายล์บัส (และบริษัทในเครือ)
สีนํ้าเงิน : เส้นทางของ บจก.สหบางบัวทองขนส่ง

  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2-28 (177) (3) บางบัวทอง สวนลุมพินี 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก. วิ่ง ถ.ราชพฤกษ์

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
127 (2-19) Handicapped/disabled access บางบัวทอง บางลำพู รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส (ในเครือ บจก.ไทยสมายล์บัส)
364 ลาดบัวหลวง รถสองแถวประจำทางสีน้ำเงิน-ขาว บจก.สหบางบัวทองขนส่ง
370 ปทุมธานี รถสองแถวประจำทางสีฟ้า-ขาว
1002 บางใหญ่เก่า รถสองแถวประจำทางสีน้ำเงิน-ขาว
1003 ไทรน้อย
ท่าน้ำนนทบุรี ต้นทางอยู่ฝั่งท่าบางศรีเมือง
1024 รถสองแถวประจำทางสีฟ้า-ขาว ใช้หลังคาสีน้ำเงิน
นครอินทร์ ใช้หลังคาสีขาว
  • 134 (2-20) บัวทองเคหะ - หมอชิต2 (ลงที่สี่แยกบางพลูแล้วต่อรถสองแถว 1003 หรือ 1024)
  • 337 ปทุมธานี - เดอะมอลล์งามวงศ์วาน (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ 127 (2-19))
  • 516 บัวทองเคหะ - เทเวศร์ (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ 127 (2-19))
  • 680 รังสิต - บางใหญ่ (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ 127 (2-19))
  • รถตู้ปรับอากาศ ต.8 บางบัวทอง - พระปิ่นเกล้า
  • รถตู้ปรับอากาศ ต.37 บางบัวทอง - จตุจักร
  • รถตู้ปรับอากาศ ต.77 บางใหญ่ซิตี้ - บางแค (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ 127 (2-19))
  • รถตู้ปรับอากาศ ต.78 บางบัวทอง - พงษ์เพชร
  • รถตู้ปรับอากาศ ต.78 บางบัวทอง - งามวงศ์วาน
  • รถตู้ปรับอากาศ ต.136 บางใหญ่ซิตี้ - สีลม (ลงที่บางใหญ่ซิตี้แล้วต่อรถ 127 (2-19))
  • รถตู้ปรับอากาศ บขส. 966 หมอชิต 2 - บางบัวทอง - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (กำแพงแสน)
  • 18 (2-3), 69 (2-13), 69E (2-18E), 203 (2-23), รถตู้ปรับอากาศที่มาถึงท่าอิฐ ลงที่สี่แยกท่าอิฐ แล้วต่อรถสองแถว 1024
  • รถไฟฟ้าบีทีเอส ลงที่สถานีปลายทางหมอชิต แล้วต่อรถ 134 (2-20)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°54′49″N 100°25′16″E / 13.9135°N 100.42123°E / 13.9135; 100.42123