ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
|
2 บางรัฐอาจมีคนนอกเรียกว่าเป็นรัฐอำนาจนิยม บทความนี้กล่าวถึงระบอบการปกครองโดยนิตินัยเท่านั้น
ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบอบการปกครอง พื้นฐาน |
---|
รายชื่อระบอบการปกครอง รายชื่อประเทศตามระบอบการปกครอง |
สถานีย่อยการเมือง |
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ[1] (อังกฤษ: constitutional monarchy) หรือ ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (อังกฤษ: limited monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร[2] ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule)[3] การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) มกุฎสาธารณรัฐ (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบรัฐสภา (parliamentary monarchy)[4][5]
นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบ็จเจิต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน
ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ
นับแต่เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2013 ประเทศล่าสุดที่เปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ ภูฏาน
ประวัติของระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (รัฐสภา)
[แก้]การปกครองระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นการปกครองที่เกิดขึ้นครั้งแรก ณ ประเทศอังกฤษ ในสมัยราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ โดยมีรอเบิร์ต วอลโพล เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผลมาจากการการช่วงชิงอำนาจระหว่างกษัตริย์กับสภาที่ประเทศอังกฤษ ประเทศอังกฤษจึงถือได้ว่าเป็นต้นแบบของรูปแบบรัฐบาลแบบนี้ รัฐสภาในประเทศอังกฤษสมัยนั้นถูกจัดตั้งขึ้นในสมัยที่พระมหากษัตริย์ยังคงอำนาจเด็ดขาดอยู่ รัฐสภาอังกฤษขณะนั้นเป็นสภาที่รวมของชนชั้นต่าง ๆ ซึ่งเปิดโอกาสให้คนธรรมดาที่เป็นสามัญชนเข้าไปนั่งในรัฐสภาด้วย รัฐสภาจึงเป็นสถาบันทางการเมืองเพียงแห่งเดียวที่คนธรรมดาจะเข้าไปมีบทบาททางการเมืองได้ รัฐสภาจึงเป็นสถาบันของประชาชน ก็คือรัฐสภาได้เข้ามามีบทบาทควบคุมการใช้อำนาจของกษัตริย์รวมทั้งการปฏิบัติงานของคณะรัฐมนตรีอีกด้วย
รายชื่อประเทศที่ปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
[แก้]ทวีปเอเชีย
[แก้]รัฐ/ประเทศ | รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) | รูปแบบของรัฐ/ประเทศ | ที่มา |
---|---|---|---|
บาห์เรน | 2002 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
ภูฏาน | 2008 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ |
กัมพูชา | 1993 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
ญี่ปุ่น | 1947 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
จอร์แดน | 1952 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
คูเวต | 1962 | เอมีเรต | การสืบพระราชบัลลังก์ โดยต้องได้รับพระราชานุมัติจากพระราชวงศ์อาลเศาะบาห์ และความยินยอมของรัฐสภา |
มาเลเซีย | 1957 | สหพันธรัฐ; ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง | เลือกตั้งจากเชื้อสายสุลต่านทั้งเก้าซึ่งเป็นผู้แทนรัฐต่าง ๆ ในมาเลเซีย |
ไทย | 2017 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด
ในประเทศไทย มีชื่อเรียกโดยอธิบายถึงระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ รวมกับระบบรัฐสภาว่า "ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"[6][7] ซึ่งเรียกรวมการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญกับประชาธิปไตยระบบรัฐสภา |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 1971 | ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง | เลือกสรรโดยสภาสูงสุดกลางจากบรรดาชนชั้นปกครองของอาบูดาบี |
ทวีปยุโรป
[แก้]รัฐ/ประเทศ | รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) | รูปแบบของรัฐ/ประเทศ | ที่มา |
---|---|---|---|
อันดอร์รา | 1993 | ราชรัฐร่วม (Co-principality) | เลือกจากมุขนายกแห่งลาแซ็วดูร์เฌ็ลย์ และการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส |
เบลเยียม | 1831 | ราชอาณาจักร; ราชาธิปไตยของปวงชน[8] | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
เดนมาร์ก | 1953 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
ลีชเทินชไตน์ | 1862 | ราชรัฐ (Principality) | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
ลักเซมเบิร์ก | 1868 | แกรนด์ดัชชี | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
โมนาโก | 1911 | ราชรัฐ | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
เนเธอร์แลนด์ | 1815 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
นอร์เวย์ | 1814 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
สเปน | 1978 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
สวีเดน | 1974 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
สหราชอาณาจักร | 1688 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
ทวีปออสเตรเลีย
[แก้]รัฐ/ประเทศ | รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) | รูปแบบของรัฐ/ประเทศ | ที่มา |
---|---|---|---|
ตองงา | 1970 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
ชื่อเต็มของรัฐ/ประเทศต่อไปนี้ มิได้ขึ้นต้นด้วยราชอาณาจักร แต่เป็นราชาธิปไตยโดยพฤตินัย | |||
ออสเตรเลีย | 1901 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
นิวซีแลนด์ | 1907 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
ปาปัวนิวกินี | 1975 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
หมู่เกาะโซโลมอน | 1978 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
ตูวาลู | 1978 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
ทวีปอเมริกา
[แก้]รัฐ/ประเทศ | รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) | รูปแบบของรัฐ/ประเทศ | ที่มา |
---|---|---|---|
ชื่อเต็มของรัฐ/ประเทศต่อไปนี้ มิได้ขึ้นต้นด้วยราชอาณาจักร แต่เป็นราชาธิปไตยโดยพฤตินัย | |||
แอนทีกาและบาร์บิวดา | 1981 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
บาฮามาส | 1973 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
เบลีซ | 1981 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
แคนาดา | 1867 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
กรีเนดา | 1974 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
จาเมกา | 1962 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
เซนต์คิตส์และเนวิส | 1983 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
เซนต์ลูเชีย | 1979 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ | 1979 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
ทวีปแอฟริกา
[แก้]รัฐ/ประเทศ | รัฐธรรมนูญล่าสุด (ค.ศ.) | รูปแบบของรัฐ/ประเทศ | ที่มา |
---|---|---|---|
เลโซโท | 1993 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ โดยต้องได้รับความยินยอมสภาผู้นำ |
โมร็อกโก | 1962 | ราชอาณาจักร | การสืบพระราชบัลลังก์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด |
-
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งใช้ระบบรัฐสภาแบบมีผู้แทนแสดงด้วยสีเขียว ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบอื่นแสดงด้วยสีเขียวอ่อน -
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญซึ่งใช้ระบบรัฐสภาแบบมีผู้แทนแสดงด้วยสีแดง ระบบรัฐสภาอื่น (สาธารณรัฐ) แสดงด้วยสีส้มและสีเขียว
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Constitutional Monarchy",[ลิงก์เสีย] The Encyclopedia of Political Science, CQ Press (2011).
- ↑ Vernon Bogdanor (1996). "The Monarchy and the Constitution". Parliamentary Affairs. 49 (3): 407–422., excerpted from Vernon Bogdanor (1995). The Monarchy and the Constitution. Oxford University Press.
- ↑ Boyce 2008, p. 1.
- ↑ McCannon 2006, pp. 177–178.
- ↑ จินตภาพสังคมไทยและพรรคการเมืองของประชาชน เก็บถาวร 2008-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เมธา มาสขาว. ไทยเอ็นจีโอ 10 เมษายน พ.ศ. 2551, เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
- ↑ แนวทางประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม หรือ “สังคม-ประชาธิปไตย” (Social-Democracy) ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย. หน้าที่ 8. เข้าถึงเมื่อ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
- ↑ เบลเยียมเป็นประเทศเพียงแห่งเดียวที่มีราชาธิปไตยของปวงชน — เป็นระบบซึ่งบรรดาศักดิ์ของพระมหากษัตริย์ยึดโยงกับประชาชนแทนรัฐ บรรดาศักดิ์พระมหากษัตริย์ของเบลเยียมจึงไม่ใช่ พระมหากษัตริย์เบลเยียม แต่เป็น พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของระบบของเบลเยียมนี้ก็คือ พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะไม่ได้ขึ้นครองราชย์โดยอัตโนมัติหลังพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนหน้าเสด็จสวรรคตหรือสละบัลลังก์ ผู้ที่จะเป็นพระมหากษัตริย์จะเป็นได้ต่อเมื่อทรงตรัสคำสาบานต่อรัฐธรรมนูญ
ดูเพิ่ม
[แก้]- ราชาธิปไตย
- ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
- ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
- ราชาธิปไตยที่ถูกล้มล้าง
- ระบบฟิวดัล, รูปแบบการปกครองสมัยก่อนที่กษัตริย์มีสิทธิ์ขาดในที่ดิน