ข้ามไปเนื้อหา

พูดคุย:ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รูปแบบของรัฐ

[แก้]

ข้อมูลในวิกิพีเดียยังไม่ชัดเจนว่า "รูปแบบของรัฐ" ครอบคลุมแค่ไหน เพราะยังใช้คำนี้ในการจัดกลุ่มให้กับ "ระบอบการปกครอง" ด้วย ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า รูปแบบของรัฐ กับ ระบอบการปกครอง สามารถแยกให้ชัดเจนได้ในเบื้องต้น ส่วนประเทศใดจะมีรูปแบบของรัฐและระบอบการปกครองที่เป็นเนื้อเดียวกันก็เป็นลักษณะเฉพาะของประเทศนั้น

เกี่ยวกับชื่อของบทความ

[แก้]
ประเด็นดังกล่าวเริ่มต้นจากข่าวเว็บผู้จัดการ [1] --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Watcharakorn (พูดคุยหน้าที่เขียน) 11:11, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

นอกจากนี้ผมได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากเรื่องนี้เป็นความจงใจที่จะสร้างความเข้าใจผิด หรือ พยายามบิดเบือนข้อเท็จจริง ต้นเหตุหนึ่งก็คงเกิดจากความความไม่รู้ของชาวต่างชาติที่ไม่พยายามทำความ เข้าใจกับระบบในประเทศอื่น และ สอง คนไทยบางส่วนก็อ้างฝรั่งอย่างผิดๆ ซึ่งอาจจะเป็นคนบางส่วนที่ติดใจสถาบันฯ จากเหตุการณ์บ้านเมืองในอดีต --Pitt 16:49, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

อันนี้ผมก็ไม่มีความรู้ทางรัฐศาสตร์มากนักนะครับ แต่ผมคิดว่า ประเทศที่ปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (ซึ่งแปลตรงตัวตามภาษาอังกฤษ) ไม่จำเป็นต้องเป็นประชาธิปไตยเพียงแค่อย่างเดียวนะครับ ประเทศอื่นที่ปรากฏในบทความอาจไม่ใช่ประชาธิปไตยก็ได้ ดังนั้นผมอยากที่จะให้ใช้ชื่อเดิมมากกว่า เพราะไม่ได้กล่าวถึงประเทศไทยโดยเฉพาะ สำหรับความเข้าใจเรื่องนี้ อาจจะต้องไปอธิบายในวิกิพีเดียภาษาอื่นด้วยครับถ้าจำเป็น --Octra Dagostino 16:52, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
อยากจะให้เปลี่ยนเป็นชื่อนี้ครับ เพราะว่าตอนนี้เว็ปไซต์วิกิพีเดียกำลังถูกโจมตีอย่างหนัก อย่าลืมว่าเว็ปไซต์นี้มีอิทธิพลต่อประชาชนอันดับต้นๆ ของประเทศ --Pitt 16:56, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
หรือจะแยกบทความ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ออกไปเป็นเอกเทศเลย ออกจากเนื้อหาที่เป็น "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" ที่มีอยู่ในขณะนี้ กลายเป็นสองบทความแยกกัน ? --Octra Dagostino 17:16, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
เข้าใจว่าใช้กันมาตามศัพท์บัญญัติหมวดรัฐศาสตร์ครับ (ตรวจสอบได้ที่ http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php) คงไม่มีใครพยายามจะบิดเบือนหรอก ผมไม่ได้เรียนมาทางนี้เลยไม่ทราบว่าสองอย่างนี้ต่างกันดังที่อธิบายข้างต้น เดี๋ยวจะลองค้นคว้าเพิ่มดู เท่าที่จะหาได้นะ --Pi@k 17:34, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
คือประเด็นผมอยู่ที่ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กับ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เหมือนหรือไม่ ต่างกันอย่างไร ถ้าไม่เหมือนจะได้แยกออก ผมก็มีคำถามเพิ่มเติมว่า มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียวที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือเปล่า (เรื่องศัพท์บัญญัตินั้นผมก็ไม่เถียงหรอกครับ) --Octra Dagostino 17:46, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
(โปรดคลิกที่ภาพเพื่อดูภาพขยาย)

ลองเช็กจากเว็บราชบัณฑิตยสถานแล้วมีจริงๆ ครับ (ตรวจสอบเมื่อ 6 พ.ค. 52 เวลา 17.39 น.) --สุทธิพงษ์ พื้นแสน 17:49, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ข้อมูลมันไม่ถูกครับ ชื่อบทความบอก "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" แต่ในเนื้อความยังมีประเทศที่ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่เลย เห็นควรว่าควรใช้ชื่อเก่าครับ แล้วตั้งบทความ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เป็นบทความใหม่เลย ดูจากความคิดเห็นในเว็บผู้จัดการ เขาคิดกันไปไกลถึงขั้นจะแจ้งความจับคนเขียนเลยครับ --atcharakorn 20:22, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ก็น่าให้ลองฟ้องดูนะ จะได้มีเรื่องเอาไปเขียนที่บทความผู้จัดการภาษาอังกฤษว่า "กรณีขัดแย้งกับวิกิพีเดีย" คงจะสนุกพิลึก อ้าว! สรุปว่าคำนี้มีในสารบบจริงๆซะด้วย ผู้จัดการหาเรื่องรบกับวิกิฯแล้วสินะ Choosing between Truth and safety of Lies... 20:34, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ประเด็นนี้คงจะต้องหารือกันไปอีกนานครับ เพราะตอนนี้กระแสสังคมเรื่อง ประเทศไทย แรงมากๆ คนไทยอ่อนไหวและซีเรียสสุดๆ (บางคนพูดไม่เข้าหูหน่อยเดียวก็ถึงขนาดจะวางมวยกันเลย) --Pitt 20:49, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • ก็ตามสบายนะครับ แต่กรณีนี้ผมเป็นพวกถือตามตัวอักษรเป๊ะๆ ถ้ามีการแยกบทความ หัวข้อระบอบการปกครองของประเทศไทย ก็ต้องมีคำว่าราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แนบอยู่กับ ประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ล่ะครับ ก็แหล่งข้อมูลที่มีระบุไว้ทั้งสองอย่างนี่นา Choosing between Truth and safety of Lies... 20:59, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)
monarchy มีความหมายดังนี้ครับ
  • ระบอบกษัตริย์
  • ราชาธิปไตย
  • การปกครองโดยมีกษัตริย์เป็นประมุข

(อ้างอิงจากพจนานุกรม อังกฤษ-ไทย ของ ศ.ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม) --Deweyxx 21:11, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

  • สรุปว่า ชื่อเดิมก็ถูกต้องอยู่แล้วนี่คะ ตรงตัว ตามราชบัณฑิตเลย --Tinuviel | พูดคุย 22:43, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ผมก็ตรวจสอบมาแล้ว เว็บของราชบัณฑิตระบุชัดเจนครับ constitutional monarchy คือ ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และผมคิดว่าเราเขียนสิ่งที่ถูกต้องและสมควรตามหลักวิชาการก็คือว่าป็นเรื่องถูกต้องแล้ว จะไปสนใจเสียงด่าคนที่ไม่รู้เรื่องไปทำไมกันครับ ถ้าเรายอมเขา ก็เท่ากับว่าเราไม่มีจุดยืนหน่ะสิครับ (เรื่องแบบนี้ เมื่อก่อนไร้สาระนุกรมโดยบ่อยครับ ขนาดว่าร่วมถวายอาลัยพระพี่นางฯ ยังโดนหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลย แหม ทำไปได้) --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 03:44, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)

อยากให้คนที่โจมตีวิกิพีเดียมาพูดคุยกันในหน้านี้ครับ จะโด่งดังอะไรขนาดนั้น อันที่จริง การปกครองของไทยต้องเป็น "ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา" ไม่ใช่รึ --Horus 19:36, 7 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ผมว่าทุกอย่างคุยกันในวิกิพีเดียในหน้าพูดคุยเลย หน้าจะสะดวกและโปร่งใสกับทุกฝ่ายนะครับ เพราะในวิกิพีเดียมีเก็บประวัติการเขียนไว้ทั้งหมด --Manop | พูดคุย - (irc) 01:13, 13 พฤษภาคม 2552 (ICT)

สร้างบทความใหม่ หรือ รวมบทความ?

[แก้]
ตามที่อภิปรายใน บทความนี้ และบทความ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังไม่พบว่าทั้ง 2 คำเหมือนกันอย่างชัดเจน ดังเหตุผลต่อไปนี้
  1. ไม่อาจพูดได้ว่ารายชื่อประเทศในบทความ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นประเทศที่เป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้ทั้งหมด
  2. ศัพท์คำ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีอยู่จริงในตำรารัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และรัฐธรรมน฿ญ เป็นที่รับรู้ในเมืองไทย วิกิไทยจะนำไปรวมกับศัพท์อีกคำ ที่ไม่มีคนคุ้นเคย และไม่ให้มีคำ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ปรากฏอยู่หรือ
  3. ศัพท์ ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (A democratic form of government with the King as head of the state) เป็น ระบอบการปกครอง แต่ ราชาธิไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นการระบุรูปแบบของรัฐ
ตัดค้านการรวมบทความ --- ~ Look-Narm ~ คุย 08:46, 9 พฤษภาคม 2552 (ICT)
ส่วนนี้ขอยกไปรวมในหน้าปลายทางนะครับ จะได้มีคำตอบอยู่รวมกันที่เดียว พูดคุย:ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข --Manop | พูดคุย - (irc) 01:13, 13 พฤษภาคม 2552 (ICT)

รวมบทความ ราชาธิปไตย เข้ากับ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

[แก้]

หากจะรวมบทความ เสนอว่าน่าจะรวม ราชาธิปไตย เข้ากับ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มากกว่านะคะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 13:51, 13 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ส่วนนี้ยกไปยังหน้า พูดคุย:ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข --Horus 20:25, 14 พฤษภาคม 2552 (ICT)

เริ่มมั่วแล้วครับ

[แก้]

ของเดิม

"กล่าวโดยสรุปคือ คำว่า "ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" ถูกประดิษฐ์ขึ้นจากความสับสน ที่แยกแยะ "รูปแบบการปกครอง" "รูปแบบแห่งรัฐ" และตัว "ประมุขแห่งรัฐ" ไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นคนละเรื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าใจเรื่องสถานะทางอำนาจของประมุขแห่งรัฐที่คลาด เคลื่อนไป"

ถูกแก้ (โดยการแทนที่คำ) เป็น

"กล่าวโดยสรุปคือ คำว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" ถูกประดิษฐ์ขึ้นจากความสับสน ที่แยกแยะ "รูปแบบการปกครอง" "รูปแบบแห่งรัฐ" และตัว "ประมุขแห่งรัฐ" ไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นคนละเรื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าใจเรื่องสถานะทางอำนาจของประมุขแห่งรัฐที่คลาด เคลื่อนไป"

เป็นอย่างนั้นทั้งบทความเลย รบกวนตรวจสอบด้วยครับ --ธวัชชัย 21:01, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

นักรัฐศาสตร์ชี้ไม่มี “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ”

[แก้]

ผมลบข้อความส่วนที่กล่าวถึง นักรัฐศาสตร์ชี้ไม่มี “ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ” ที่กล่าวถึงโดย นายปราโมทย์ นาครทรรพ นักวิชาการอาวุโสด้านรัฐศาสตร์ [2] ออกนะครับ คิดว่าส่วนนี้ไม่น่าเกี่ยวข้องกับตัวบทความ เพราะเป็นแค่การกล่าวของบุคคลหนึ่งคน ซึ่งไม่ได้อธิบายตัวบทความให้มีความหมายมากขึ้น --Manop | พูดคุย - (irc) 23:39, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบ

[แก้]

ข้อมูลส่วนนี้ ช่วยตรวจสอบด้วยครับว่าถูกต้องหรือเปล่า (ผมไม่ได้เป็นคนเขียน) อาจจะต้องมีการปรับภาษาด้วย เพื่อให้กล่าวภาพรวมนอกเหนือไปจากประเทศไทย (อ่านแล้วเหมือนบทวิจารณ์ยังไงไม่รู้) ผู้เชี่ยวชาญหายไปไหนกันหมด--Octra Dagostino 17:03, 6 พฤษภาคม 2552 (ICT)

ประมุขแห่งรัฐในรูปแบบนี้ กษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองแต่ประการใด เพราะการใช้พระราชอำนาจจะถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญเท่านั้น กล่าวคือ พระมหากษัตริย์จะใช้พระราชอำนาจได้ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้มีผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้ถวายคำแนะนำให้กระทำการนั้นในนามกษัตริย์เท่านั้น หากเกิดข้อสงสัยว่า รัฐธรรมนูญให้พระราชอำนาจแก่กษัตริย์กระทำได้หรือไม่ ให้วินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญมิได้ให้อำนาจนั้นแก่กษัตริย์ กล่าวคือ อำนาจที่กังขาอยู่ ให้เป็นอำนาจของปวงชน (แสดงออกผ่านรัฐสภา) ในการใช้อำนาจนั้น

ส่วนคำว่า " Constitutional monarchy" เป็นถ้อยคำที่กล่าวคลาดเคลื่อนและสับสนอย่างยิ่ง กล่าวคือ นำ ระบอบการปกครอง"ราชาธิปไตย" มาใช้กับคำว่า "ภายใต้รัฐธรรมนูญ" ซึ่งคำนี้ แสดงออกโดยความเป็น "ประชาธิปไตย" ซึ่งขัดแย้งกับคำว่า "ราชาธิปไตย" อยู่ในตัว (แม้จะมี "ภายใต้รัฐธรรมนูญ" ก็ตาม ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับตัวประมุขแห่งรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น ยังใช้สถานะของประมุข มาให้ความสำคัญกับตัว "ระบอบ" ทั้งที่โดยหลัก ต้องนำเอาระบอบเป็นตัวตั้ง แล้วพิจารณาตัวประมุขแห่งรัฐต่อไป)

หากจะกล่าวโดยอนุโลม คำว่า Constitutional monarchy จะใช้ได้ในรูปแบบประมุขแบบ Limited Monarchy ได้เท่านั้น แต่กระนั้นก็เป็นการกล่าวอย่างสับสนอยู่ดี คือ ต้องแยกระบอบการปกครอง, รูปแบบรัฐ, ประมุขแห่งรัฐ ออกจากกัน เพราะเป็นคนละเรื่อง)

คำว่าราชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ขับเคลื่อนพระราชอำนาจโดยกษัตริย์โดยทางตรง และคำว่า "ภายใต้รัฐธรรมนูญ" หมายถึง ถูกจำกัดพระราชอำนาจบางประการโดยรัฐธรรมนูญ (ซึ่งความจริงแล้วต้องไม่ใช่เช่นนั้น หากเราอ้างว่าเราเป็นประชาธิปไตย) หมายความว่า ถ้ารัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ให้ถือว่าเป็นพระราชอำนาจดั้งเดิมของกษัตริย์ ซึ่งผิดมหันต์สำหรับการปกครองประชาธิปไตย แม้แต่อังกฤษ, ญี่ปุ่น ก็ปฏิเสธรูปแบบเช่นนั้น เพราะผิดกับระบอบการปกครองประชาธิปไตยอย่างชัดแจ้ง

จริงๆ แล้วคำว่า "ประชาธิปไตย" ชัดแจ้งอยู่ในตัวว่า แม้แต่ตัวประมุขแห่งรัฐ ย่อมต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และตัวประมุขแห่งรัฐเป็นใคร ย่อมแสดงออกโดยคำว่า "ราชอาณาจักร" (ซึ่งเป็นรูปแบบแห่งรัฐ)

การกล่าวโดยเอาตัวระบอบการปกครองรัฐ โดยใช้ตัวประมุขแห่งรัฐพ่วงท้าย หรือ เป็นองค์ประกอบหลักในการประดิษฐ์ถ้อยคำ นอกจากจะสับสนโดยตัวผู้ใช้ถ้อยคำดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการให้ความสำคัญต่อตัวประมุขแห่งรัฐถึงขนาดเป็นส่วนประกอบในการเรียกระบอบการปกครอง ทั้ง ๆ ที่ตัวประมุขแห่งรัฐ (ในที่นี้คือ พระมหากษัตริย์) ก็เป็นเพียงองค์กรหนึ่ง ๆ ตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น กล่าวคือ รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ให้มีองค์กรนี้ขึ้น

ดังนั้นการใช้คำว่า "Constitutional monarchy" ในระยะหลัง ๆ จึงมักเป็นการแสดงความเห็นเพื่อเปรียบเทียบในเชิงลบในรูปแบบการปกครองของประเทศไทย คำนี้เกิดขึ้นท่ามกลาง การตรวจสอบการทำงานของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ภายหลังจากการปฏิวัติรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

กล่าวโดยสรุปคือ คำว่า "Constitutional monarchy" ถูกประดิษฐ์ขึ้นจากความสับสน ที่แยกแยะ "รูปแบบการปกครอง" "รูปแบบแห่งรัฐ" และตัว "ประมุขแห่งรัฐ" ไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เป็นคนละเรื่อง ซึ่งส่งผลให้เกิดความเข้าใจเรื่องสถานะทางอำนาจของประมุขแห่งรัฐที่คลาดเคลื่อนไป[ต้องการอ้างอิง]

วิธีรวมหน้า และตรรกะ

[แก้]
ข้อความนี้ถูกย้ายไปรวมที่ พูดคุย:ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ราชบัณฑิตยสถานกล่าวหรือเปล่า?

[แก้]

สงสัยว่าจากลิงก์ดังกล่าว ไม่ทราบว่าราชบัณฑิตยสถานได้เรียก constitutional monarchy ว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือเปล่าครับ --Horus | พูดคุย 13:11, 3 ตุลาคม 2552 (ICT)

ความหมายจากบทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ
  • จากบทคัดย่อภาษาไทย-อังกฤษแปลตัวต่อตัวเช่นนั้นค่ะ --- ~ Look-Narm ~ คุย 13:16, 3 ตุลาคม 2552 (ICT)
    • น่าจะถือเอาได้อย่างนั้นนะครับ --Horus | พูดคุย 13:20, 3 ตุลาคม 2552 (ICT)

      • จาก Link ราชบัญฑิตนี้ http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php ค้นหาคำว่า constitutional monarchy
        จะขึ้นคำว่า ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยอ้างอิงถึงหมวดหมู่ของศัพท์ รัฐศาสตร์ วันที่ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔
        ทั้งนี้จากที่เคยศึกษาเข้าใจว่าจุดแตกต่างคือ
        "ราชา(ธิปไตย)" มาจากคำว่าพระราชา+อำนาจอธิปไตย
        กับ
        "ประชา(ธิปไตย)" มาจากคำว่าประชาชน+อำนาจอธิปไตย
        จุดแตกต่างอยู่ที่ ใครที่มีอำนาจในการบริหารประเทศ ซึ่งสำหรับประเทศไทยในภาวะปกติ ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งตัวแทนบริหาร
        จึงเรียกได้ว่าในภาวะปกติ แม้พระมหากษัตริย์จะดำรงค์บทบาทในฐานะประมุข แต่อำนาจอยู่ที่ประชาชน
        จึงควรเรียกว่าระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามเดิมถูกต้องแล้วครับ --Lastifound (พูดคุย) 20:23, 5 พฤศจิกายน 2557 (ICT)
  1. ประเทศที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ถือว่าเป็น "ราชาธิปไตย" ทั้งสิ้น อีกระบบหนึ่งที่ตรงข้ามคือ สาธารณรัฐ (พระมหากษัตริย์ไม่ใช่ประมุข) เนื่องจากประเทศไทยไม่เป็นสาธารณรัฐ ฉะนั้น ประเทศไทยจึงเป็นราชาธิปไตย
  2. ที่มักสับสนคือ "ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย" ฉะนั้น ประเทศไทยจึงเป็นประชาธิปไตย อันนี้ก็ "ใช่" แต่เป็นการจำแนกตามระบอบการปกครอง ไม่ได้จำแนกตามประมุขแห่งรัฐ ฉะนั้น จะกล่าวว่า ประเทศไทยเป็นราชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยแบบรัฐสภา จึงถูกทั้งคู่ เพราะใช้เกณฑ์คนละอย่างกัน --Horus | พูดคุย 22:21, 5 พฤศจิกายน 2557 (ICT)