ข้ามไปเนื้อหา

ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ในบัตรลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติ ผู้ลงคะแนนสามารถเลือกผู้สมัครได้หลายคน

ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติ (อังกฤษ: approval voting) เป็นระบบการลงคะแนนสำหรับเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนเพียงคนเดียวซึ่งผู้ลงคะแนนอาจเลือกที่จะ "อนุมัติ" (approve) ผู้สมัครกี่รายก็ได้ โดยผู้ชนะจะเป็นผู้ที่ได้รับคะแนนอนุมัติสูงสุด ระบบการลงคะแนนแบบนี้มีลักษณะของแบบคะแนนรวมอยู่โดยที่ผู้ลงคะแนนสามารถให้คะแนนได้เป็นลำดับ โดยจะเลือกผู้สมัครที่จำนวนคะแนนรวมมากที่สุดรวมกัน วิธีนี้แตกต่างกับการลงคะแนนแบบคะแนนเสียงที่เหนือกว่าซึ่งผู้ลงคะแนนเลือกลงคะแนนได้เพียงหนึ่งคนจากตัวเลือกทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งผู้ชนะการเลือกตั้งมาจากผู้ที่มีคะแนนนำโดยไม่คำนึงถึงว่าจะได้รับจำนวนเสียงข้างมากหรือไม่

ในสหรัฐอเมริกาได้เริ่มมีการเสนอให้เปลี่ยนมาใช้การลงคะแนนวิธีนี้ในการเลือกตั้งระดับเทศบาล โดยผ่านการรับรองแล้วในฟาร์โก รัฐนอร์ทดาโคตา ใน ค.ศ. 2018 และเซนต์หลุยส์ รัฐมิสซูรี ใน ค.ศ. 2020 โดยในฟาร์โกนั้นใช้คะแนนอนุมัติเมื่อ ค.ศ. 2020 ในการลงคะแนนเลือกสมาชิกสภาเมือง[1][2][3][4] และเซนต์หลุยส์ใช้ระบบนี้ในการคัดเลือกผู้สมัครเพียงสองคนที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองในการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี[5][6]

อธิบาย

[แก้]

บัตรลงคะแนนแบบคะแนนอนุมัติจะแสดงจำนวนผู้สมัครเป็นรายบุคคลในเขตเลือกตั้งนั้น ๆ โดยจะให้กาสัญลักษณ์ลงหน้าชื่อผู้สมัคร (หรือในบางกรณีให้ใส่ว่า "ใช่" หรือ "ไม่ใช่" แทน)

โดยอาจพบคำถามสำหรับผู้สมัครแต่ละรายโดยเฉพาะ เช่น "คุณอนุมัติบุคคลนี้สำหรับตำแหน่งนี้หรือไม่?" โดยให้ผู้ลงคะแนนสามารถเลือกอนุมัติผู้สมัครเพียงรายเดียว บางราย หรือทุกรายก็ได้ โดยการนับคะแนนนั้นนับเท่ากันหมด และผู้สมัครทุกรายมีคะแนนเดียวเท่ากัน ไม่ว่าจะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ โดยผลรวมคะแนนอนุมัติในแต่ละรายของผู้สมัครจะเป็นตัวกำหนดผู้ชนะซึ่งได้รับคะแนนอนุมัติสูงสุด

บัตรลงคะแนนที่ผู้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครทุกรายเท่ากันนั้นโดยปกติแล้วไม่มีผลใด ๆ กับผลการเลือกตั้ง เนื่องจากในบัตรลงคะแนนนั้นแบ่งผู้สมัครเป็นสองกลุ่มหลัก ๆ คือกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุน และกลุ่มที่ไม่ได้รับการสนับสนุน โดยในแต่ละผู้สมัครที่ได้รับการอนุมัติย่อมหมายความว่าได้รับความพึงพอใจมากกว่าผู้สมัครที่ไม่ได้รับการอนุมัติ ในขณะที่ลำดับความชอบของผู้ลงคะแนนในหมู่ผู้สมัครที่ได้รับการอนุมัติจะไม่ได้รับการเฉพาะเจาะจง เช่นเดียวกันกับกลุ่มผู้สมัครที่ไม่ได้รับการอนุมัติ

บัตรลงคะแนน

[แก้]

บัตรลงคะแนนในระบบคะแนนอนุมัตินี้สามารถมีได้สี่รูปแบบ แบบง่ายที่สุดคือช่องว่างเพื่อให้ผู้ลงคะแนนระบุชื่อผู้สมัครที่สนับสนุนด้วยลายมือ ในบัตรลงคะแนนที่ละเอียดขึ้นจะมีรายชื่อผู้สมัครทุกคน และให้ผู้ลงคะแนนทำเครื่องหมายหน้าผู้สมัครที่สนับสนุน ในบางกรณีจะมีความซับซ้อนมากขึ้นซึ่งให้ถึงสองตัวเลือกต่อผู้สมัครหนึ่งราย

ในบัตรลงคะแนนทั้งสี่แบบนี้เทียบเท่ากันในทางทฤษฎี ในบัตรที่มีโครงสร้างซับซ้อนกว่าอาจช่วยให้ผู้ลงคะแนนลงคะแนนได้ชัดเจนและรู้ถึงตัวเลือกทั้งหมดที่มี ในบัตรลงคะแนนแบบใช่/ไม่ใช่นั้นสามารถช่วยผู้สมัครในกรณีการ "ลืมลงคะแนน" โดยปล่อยช่องไว้แบบไม่ได้กาเครื่องหมายและยังช่วยให้ผู้ลงคะแนนมีโอกาสตรวจการลงคะแนนว่าถูกต้องตามต้องการแล้ว ในแบบที่มีช่องเดียวนั้นไม่สามารถจะทำให้เป็นบัตรเสียได้

ในกรณีที่ใช้บัตรลงคะแนนแบบที่สองหรือแบบที่สี่ การใส่คะแนนลับหลังลงในบัตรลงคะแนนนั้นจะไม่ทำให้บัตรเสีย (เว้นแต่จะเห็นชัดเจนว่าเป็นการโกง) ดังนั้นจึงทำให้คำถามเกี่ยวกับความปลอดภัยและความเป็นธรรมในการเก็บรักษาบัตรลงคะแนนภายหลังการเลือกตั้ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Fargo, North Dakota, Measure 1, Approval Voting Initiative (November 2018), November 7, 2018 Ballotpedia
  2. One of America’s Most Famous Towns Becomes First in the Nation to Adopt Approval Voting เก็บถาวร 2018-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, accessed November 7, 2018
  3. Moen, Mike (June 10, 2020). "Fargo Becomes First U.S. City to Try Approval Voting". Public News Service. สืบค้นเมื่อ December 3, 2020.
  4. "St. Louis Voters Approve Nonpartisan Elections". US News and World Report. November 4, 2020. สืบค้นเมื่อ December 3, 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Rakich, Nathaniel (2021-03-01). "In St. Louis, Voters Will Get To Vote For As Many Candidates As They Want". FiveThirtyEight (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.
  6. "March 2, 2021 Non-Partisan Primary Municipal Election". City of St. Louis Board of Election Commissioners (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-03-04.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

ที่มา

[แก้]