การลงคะแนนระบบคู่ขนาน
ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบบการลงคะแนน |
---|
สถานีย่อยการเมือง |
การลงคะแนนระบบคู่ขนาน (อังกฤษ: parallel voting) เป็นระบบการลงคะแนนแบบผสม ซึ่งผู้ลงคะแนนทำการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาเดียวโดยใช้การลงคะแนนสองระบบ โดยผลของการเลือกตั้งในระบบหนึ่งแทบจะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อผลลัพธ์ของอีกระบบเลย[1]
โดยทั่วไปแล้วการลงคะแนนระบบคู่ขนานหมายถึง ระบบการลงคะแนนแบบกึ่งสัดส่วน (semi-proportional system) ซึ่งใช้ในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน รัสเซีย และอีกหลายประเทศในโลก โดยในบางกรณีเรียกว่า ระบบสมาชิกเสริม (supplementary member) หรือนักรัฐศาสตร์มักจะนิยามว่า ระบบเสียงข้างมากผสม (mixed member majoritarian) ซึ่งประกอบด้วยการลงคะแนนระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP) ควบคู่กับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ (PR) ระบบคู่ขนานนี้มีความแตกต่างจากระบบสัดส่วนผสม (MMP) ซึ่งในการเลือกตั้งครั้งเดียวนั้นจะได้คะแนนเสียงพรรคเพื่อนำมาคำนวนที่นั่งจากบัญชีรายชื่อซึ่งเพิ่มเติมมาจากที่นั่งจากประเภทแบ่งเขต
โดยทั่วไปในระบบคู่ขนานจะนิยมใช้ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดควบคู่กับระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อ แต่การจัดคู่แบบอื่นก็สามารถมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกันได้ ตัวอย่างเช่นในอิตาลีและฝรั่งเศส การเลือกตั้งในภูมิภาคนั้นใช้ระบบคู่ขนานทั้งหมดโดยมีผู้แทนกลุ่มหนึ่งมาจากการเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ และส่วนที่เหลือใช้ระบบแบ่งเขตยกพรรค (general ticket) เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งชนะมากกว่าครึ่งหนึ่งของสภา
วิธีการ
[แก้]ในระบบคู่ขนานอันเป็นรูปแบบนึ่งของระบบการลงคะแนนแบบกึ่งสัดส่วน จะมีที่นั่งส่วนหนึ่งในสภาที่มาจากการเลือกตั้งในระบบคะแนนนำแบบแบ่งเขตเขตละคน ส่วนที่เหลือนั้นมาจากระบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งแต่ละพรรคการเมืองจะต้องได้รับคะแนนเสียงถึงโควตาจำนวนหนึ่ง โดยปกติแล้วกำหนดเป็นจำนวนร้อยละไม่มากเพื่อที่จะได้สัดส่วนของที่นั่งจากคะแนนเสียงฝั่งบัญชีรายชื่อโดยคล้ายกับระบบสัดส่วนอื่นๆ ที่นั่งบัญชีรายชื่อของแต่ละพรรคการเมืองจะได้รับการจัดสรรให้ตามลำดับผู้สมัครในบัญชีรายชื่อ[2]
ต่างจากระบบสัดส่วนผสม ซึ่งพรรคการเมืองจะได้ที่นั่งทั้งหมดในสภาตามสัดส่วนที่ได้จากคะแนนเสียงทั้งหมดจากการลงคะแนน ส่วนในระบบคู่ขนานนั้นจะจำกัดความเป็นสัดส่วนแค่ในบัญชีรายชื่อเท่านั้น ดังนั้น พรรคการเมืองที่สามารถได้คะแนนเสียงร้อยละ 5 จะได้ที่นั่งเพียงแค่จำนวนร้อยละ 5 จากแบบบัญชีรายชื่อ แต่มิใช่ร้อยละ 5 ของที่นั่งทั้งหมดในสภาดั่งกรณีของระบบสัดส่วนผสม
สัดส่วนของที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อเมื่อเปรียบเทียบกับที่นั่งทั้งหมดในสภานั้นขึ้นอยู่กับประเทศนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น เกาหลีใต้ ร้อยละ 18.7, ไต้หวัน ร้อยละ 37.5, ญี่ปุ่น ร้อยละ 37.5 และอาร์มีเนีย ร้อยละ 68.7[3]
ข้อดีและข้อเสีย
[แก้]ทั่วไป
[แก้]ในระบบสมาชิกเสริมนี้จะช่วยให้พรรคการเมืองขนาดเล็กที่ไม่สามารถชนะการเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งจะสามารถได้ที่นั่งตามสัดส่วนในสภาได้ อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่ใช่ระบบสัดส่วนดังนั้นจำนวนที่นั่งที่ได้รับจะได้น้อยกว่าจำนวนสัดส่วนคะแนนเสียงโดยรวม และยังไม่ทำเอื้อประโยชน์แก่พรรคการเมืองขนาดเล็กจนทำให้เกิดพรรคเล็กพรรคน้อยในสภาดั่งในกรณีของระบบสัดส่วนได้[4]
ข้อวิจารณ์ของการลงคะแนนระบบสัดส่วนนั้นคือทำให้พรรคขนาดใหญ่ที่สุดจะต้องร่วมมือกับพรรคขนาดเล็กจำนวนหลายพรรคเพื่อจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามพรรคการเมืองขนาดเล็กยังคงเสียเปรียบเนื่องจากพรรคขนาดใหญ่ยังคงมีบทบาทสำคัญ ในประเทศที่มีเพียงพรรคการเมืองใหญ่เป็นหลักเพียงพรรคเดียว และพรรคฝ่ายค้านที่แตกออกเป็นพรรคย่อยนั้น การจัดสรรที่นั่งในระบบสัดส่วนอาจจะจำเป็นในการช่วยให้พรรคฝ่ายค้านมีประสิทธิภาพมากขึ้น
และเนื่องจากการลงคะแนนนั้นแยกเป็นระหว่างแบ่งเขตเลือกตั้งกับแบบบัญชีรายชื่อ จึงมีโอกาสให้ผู้แทนทั้งสองแบบอยู่ในสภา โดยผู้แทนแบบแบ่งเขตนั้นจะยึดโยงกับเขตของตน ในขณะที่ผู้แทนแบบบัญชีรายชื่อนั้นจะยึดกับพรรคการเมืองมากกว่า
ข้อวิจารณ์สำคัญของระบบคู่ขนานคือไม่สามารถรับรองความเป็นสัดส่วนของที่นั่งและคะแนนเสียงโดยรวมได้ พรรคการเมืองใหญ่สามารถชนะขาดได้โดยมีเสียงข้างมากในสภาและได้ที่นั่งมากกว่าสัดส่วนคะแนนเสียงโดยรวม ตัวอย่างเช่น ในการเลือกตั้งทั่วไปในฮังการี ค.ศ. 2014 กลุ่มพรรคการเมืองฟิแด็ส/กาเดแอ็นเปชนะการเลือกตั้งด้วย 133 ที่นั่งจากทั้งหมด 199 ที่นั่งในสภา แต่มีคะแนนเสียงเพียงร้อยละ 44.87 จากคะแนนเสียงทั้งหมดเท่านั้น พรรคการเมืองขนาดเล็กกว่าอื่น ๆ ซึ่งกลายเป็นฝ่ายค้านเมื่อรวมกันได้คะแนนเสียงมากกว่าร้อยละ 51.7 แต่ได้ที่นั่งไปเพียง 66 ที่นั่งเท่านั้น อีกตัวอย่างหนึ่งที่เป็นกรณีกลับกัน ในการเลือกตั้งทั่วไปในญี่ปุ่น ค.ศ. 2014 ซึ่งพรรคร่วมรัฐบาลพรรคเล็กคือพรรคโคเมได้คะแนนเสียงในเขตเลือกตั้งเพียงร้อยละ 1.45 แต่ได้ที่นั่งในระบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อถึงร้อยละ 13.7 โดยคะแนนเสียงส่วนใหญ่ที่ได้รับนั้นมาจากพรรคเสรีประชาธิปไตยซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล
เปรียบเทียบกับระบบสัดส่วนผสม
[แก้]ระบบคู่ขนานนั้นมักถูกเปรียบเทียบกับระบบสัดส่วนผสมอยู่เสมอ โดยมีทั้งข้อดีและข้อเสียระหว่างทั้งสองระบบ
พรรคการเมืองที่สามารถใช้กลโกงในการแบ่งเขตเลือกตั้ง (gerrymader) สามารถได้จำนวนที่นั่งมากกว่าคะแนนเสียงรวม ดังนั้นในการใช้ระบบผสมจะต้องควบคู่ไปกับกลไกการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างเป็นธรรม (ภายใต้ระบบสัดส่วนผสมนั้นการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างไม่เป็นธรรมจะช่วยได้เพียงแค่ผู้สมัครในแบบแบ่งเขตเท่านั้น แต่จะไม่มีผลในการเพิ่มจำนวนที่นั่งรวมของพรรคได้)
ประเทศต่างๆ อาทิเช่น ญี่ปุ่น ไทย และรัสเซีย ล้วนเคยผ่านการใช้งานระบบผสมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองใหญ่ให้แข็งแรงมากขึ้น พรรคการเมืองจะมั่นใจได้ว่าผู้สมัครในลำดับต้นของบัญชีรายชื่อจะได้รับเลือกซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้บริหารสำคัญของพรรค ในทางกลับกันภายใต้ระบบสัดส่วนผสมนั้น พรรคการเมืองที่ได้รับที่นั่งในแบบแบ่งเขตมากจะไม่ได้รับการจัดสรรที่นั่งชดเชยเพิ่มขึ้นจึงทำให้ผู้บริหารของพรรคจะต้องลงแข่งขันในแบบแบ่งเขตเลือกตั้งแทน
ระบบคู่ขนานมีโอกาสส่งเสริมให้เกิดการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากพรรคเดียวมากการในรระบบสัดส่วนผสมซึ่งอาจมองได้ว่าเป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อนได้จากมุมมองของแต่ละฝ่ายการเมือง
การใช้งาน
[แก้]ปัจจุบัน
[แก้]การลงคะแนนระบบคู่ขนานใช้กันมากในเอเชียและบางประเทศในยุโรป[5]
ประเทศ | ที่นั่ง (แบ่งเขต) | % | ที่นั่ง (สัดส่วน) | % | ที่นั่ง (อื่น ๆ) | % |
---|---|---|---|---|---|---|
อันดอร์รา | 14 | 50% | 14 | 50% | ||
รัฐกอร์โดบา (อาร์เจนตินา) | 26 | 37% | 44 | 63% | ||
จอร์เจีย | 30 | 20% | 120 | 80% | ||
กินี | 39 | 34% | 76 | 66% | ||
ฮังการี | 106 | 53% | 93 | 47% | ||
อิตาลี | 232 | 37% | 398 (386 คนจากในอิตาลี + 12 คนจากต่างประเทศ) | 63% | ||
ญี่ปุ่น | 289 | 62% | 176 | 38% | ||
เกาหลีใต้ | 253 | 84% | 47 | 16% | ||
ลิทัวเนีย | 71 | 50% | 70 (70 คนจากในลิทัวเนีย + 1 คนจากต่างประเทศ) | 50% | ||
เม็กซิโก | 300 | 60% | 200 | 40% | ||
เนปาล | 165 | 60% | 110 | 40% | ||
รัฐปาเลสไตน์ | 132 | 50% | 132 | 50% | ||
รัสเซีย | 225 | 50% | 225[6][7] | 50% | ||
เซเนกัล | 105 | 64% | 60 | 36% | ||
เซเชลส์ | 25 | 76% | 8 | 24% | ||
ปากีสถาน | 272 | 80% | 70 (60 คนเป็นผู้หญิง + 10 คนจากชนกลุ่มน้อย) | 20% | ||
ฟิลิปปินส์ | 245 | 80% | 61 | 20% | ||
รัฐริโอเนโกร (อาร์เจนตินา) | 22 | 48% | 24 | 52% | ||
รัฐซานฆวน (อาร์เจนตินา) | 19 | 53% | 17 | 47% | ||
รัฐซานตากรุซ (อาร์เจนตินา) | 14 | 58% | 10 | 42% | ||
ไต้หวัน | 73 | 65% | 34 | 30% | 6 คนสำหรับชาวพื้นเมือง | 5% |
แทนซาเนีย[8] | 264 | 67% | 113 (เฉพาะผู้หญิง) | 29% | 5 คนจากการเลือกตั้งทางอ้อม + 1 คนจากอัยการสูงสุด + 10 คนเลือกโดยประธานาธิบดี | 4% |
ไทย | 400 | 80% | 100 | 20% | ||
ยูเครน | 225 | 50% | 225 | 50% | ||
เวเนซุเอลา[9] | 113 | 68% | 51 | 31% | 3 คนสำหรับชาวพื้นเมือง | 2% |
วอยวอดีนา (เซอร์เบีย) |
ประเทศที่เคยใช้ระบบนี้ในอดีต
[แก้]- แอลเบเนียเคยใช้ระบบคู่ขนานในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1996 และ ค.ศ. 1997 (ก่อนจะเปลี่ยนไปใช้ระบบสัดส่วนผสมตั้งแต่ ค.ศ. 2001 ถึง ค.ศ. 2005)[10][11]
- บัลแกเรีย (ค.ศ. 1990 และ ค.ศ. 2009)
- โครเอเชีย (ค.ศ. 1993–2001)
- อิตาลี (ค.ศ. 1993–2005) โดยมีการปรับเปลี่ยน ต่อมาในการเลือกตั้ง ค.ศ. 2018 ทั้งสองสภาใช้การเลือกตั้งแบบระบบคู่ขนาน โดยมีที่นั่งจำนวนร้อยละ 62.5 จัดสรรมาจากบัญชีรายชื่อ โดยบัญชีรายชื่อยังเกี่ยวพันกับผู้สมัครในเขตเลือกตั้งซึ่งมีที่นั่งอีกร้อยละ 37.5 ซึ่งมาจากการลงคะแนนระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด โดยผู้ลงคะแนนมีเพียงคะแนนเสียงเดียวซึ่งใช้เลือกทั้งสองแบบ (แบ่งเขตและบัญชีรายชื่อพร้อมกัน)
- อียิปต์ (ค.ศ. 2020)
- เกาหลีใต้ ใช้ระบบคู่ขนานในระหว่าง ค.ศ. 1988–2019 ตั้งแต่ ค.ศ. 2019 เป็นต้นมาเปลี่ยนไปใช้ระบบผสมระหว่างระบบคู่ขนานกับระบบสัดส่วนผสม โดยมีทั้งที่นั่งชดเชย (30 ที่นั่ง) และที่นั่งเสริม (17 ที่นั่ง)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เรย์โนลด์ส, แอนดรูว์, ไรลี, เบน, เอลลิส, แอนดรูว์. "การออกแบบระบบเลือกตั้ง:คู่มือเล่มใหม่ของ International IDEA" (PDF). สถาบันสิทธิ์มนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นเมื่อ 16 June 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ Royal Commission on Electoral Systems (1986), Report of the Royal Commission on the Electoral System: towards a better democracy, Wellington N.Z.: Government Printing, pg. 33.
- ↑ Reynolds et al (2008), Electoral System Design: The New International IDEA Handbook, Sweden: International Institute for Democracy and Electoral Assistance, pg. 104
- ↑ Reynolds et al (2008), Electoral System Design: The New International IDEA Handbook, Sweden: International Institute for Democracy and Electoral Assistance, pg. 112
- ↑ Reynolds et al. (2008), Electoral System Design: The New International IDEA Handbook, Sweden: International Institute for Democracy and Electoral Assistance, pg. 30–33
- ↑ "Putin Orders New System for Russian Parliamentary Elections - NYTimes.com". 2013-01-03. สืบค้นเมื่อ 2014-09-09.
- ↑ Since the 2016 election, and from 1993 to the 2003 election.
- ↑ "Art. 66, Constitution of Tanzania". Constitute Project.
- ↑ "113 diputados serán electos por voto nominal y 51 por voto lista en parlamentarias". Agencia Venezolana de Noticias. 7 May 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2015. สืบค้นเมื่อ 29 March 2019.
- ↑ Gallagher 2011, p. 185; Gallagher 2014, p. 18.
- ↑ Lublin, David. "Albania". Election Passport. American University. สืบค้นเมื่อ 24 March 2016.