ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาซำเร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาซำเร
ภาษาซัมเร, ภาษาสำเร
ออกเสียง/samɹeː/
[samˈɹeː³³²~samˈɣeː³³²]
ประเทศที่มีการพูดไทย
ภูมิภาคจังหวัดตราด
ชาติพันธุ์ชาวซำเร
จำนวนผู้พูด20 คน  (2544)[1]
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3ไม่มี (mis)

ภาษาซำเร ภาษาซัมเร หรือ ภาษาสำเร เป็นภาษาใกล้สูญภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาปอร์ของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก งานวิจัยฉบับหนึ่งใน พ.ศ. 2544 รายงานว่ามีผู้พูดภาษานี้ประมาณ 20 คนในตำบลนนทรีย์ อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ประเทศไทย[2]

สัทวิทยา

[แก้]

ระบบเสียงภาษาซำเรมีลักษณะตามแบบฉบับของภาษากลุ่มมอญ-เขมรสมัยใหม่และแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางสัทวิทยาบางประการจากภาษาเขมรสมัยกลางในคริสต์ศตวรรษที่ 17[3] เช่นเดียวภาษากลุ่มปอร์ภาษาอื่น ๆ นอกจากนี้ระบบเสียงภาษาซำเรยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของภาษาไทยในแง่การพัฒนาระบบวรรณยุกต์ขึ้นมาใช้เพื่อจำแนกความหมายของคำ เช่นเดียวกับภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติกอื่น ๆ โดยทั่วไป และภาษากลุ่มปอร์โดยเฉพาะ ผู้พูดภาษาซำเรอาจเปล่งเสียงสระออกมาด้วยคุณภาพเสียงที่แตกต่างกันได้ ซึ่งเป็นระบบที่เรียกว่า "ลักษณะน้ำเสียง" หรือ "ลักษณะเสียงพูด" อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างเสียงพูดลมแทรกกับเสียงพูดปกตินั้นไม่มีลักษณะเปรียบต่างอีกต่อไป และมีความสำคัญรองลงมาจากเสียงวรรณยุกต์ของคำคำหนึ่ง[4]

พยัญชนะ

[แก้]
หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาซำเร[5]
ลักษณะการออกเสียง ตำแหน่งเกิดเสียง
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก m n ɲ ŋ
เสียงหยุด ก้อง b d
ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
พ่นลม
เสียงเสียดแทรก s h
เสียงเปิด w ɹ j
เสียงเปิดข้างลิ้น l
  • หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 13 หน่วยเสียง ได้แก่ /m/, /n/, /ɲ/, /ŋ/, /p/, /t/, /c/, /k/, /ʔ/, /h/, /ɹ/, /w/ และ /j/[6]
  • หน่วยเสียงพยัญชนะต้นควบมี 15 หน่วยเสียง ได้แก่ /pɹ/, /pl/, /pʰɹ/, /pʰl/, /bl/, /tɹ/, /tʰɹ/, /cɹ/, /cʰɹ/, /kɹ/, /kl/, /kʰɹ/, /kʰl/, /mɹ/ และ /sɹ/
  • หน่วยเสียง /s/ เมื่อตามด้วย /ɹ/ และสระสั้น อาจออกเสียงเป็น [s] หรือ [tʰ] เช่น /sɹàŋ/ [sɹaŋ²¹~sɣaŋ²¹~ɹaŋ²¹~ɣaŋ²¹] 'เสา'[7]
  • หน่วยเสียง /w/ เมื่อเกิดในตำแหน่งต้นพยางค์ อาจออกเสียงเป็นเสียงเปิด ริมฝีปาก-เพดานอ่อน [w] หรือเสียงเปิด ริมฝีปาก-ฟัน [ʋ] เช่น /wəj/ [wəj³³²~ʋəj³³²] 'ตี'[8]
  • หน่วยเสียง /ɹ/ เมื่อเกิดในตำแหน่งท้ายพยางค์และตามหลังสระ /a/ หรือสระ /aː/ ออกเสียงเป็นเสียงกึ่งสระตำแหน่งลิ้นอยู่ตรงกลาง [ɯ̯] เช่น /tʰaɹ/ [tʰaɯ̯³³²] 'เสื้อผ้า' แต่เมื่อเกิดในตำแหน่งอื่น ๆ อาจออกเสียงเป็นเสียงเปิด ปุ่มเหงือก [ɹ] หรือเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้อง [ɣ] เช่น /cɹam/ [cɹam³³²~cɣam³³²] 'จุ่ม, แช่'[8] ทั้งนี้ การออกเสียงเป็น [ɣ] มักได้ยินในหมู่ผู้พูดรุ่นเก่าซึ่งถือว่าการออกเสียงเช่นนี้เป็นการออกเสียงที่ "ถูกต้อง" แต่ในขณะเดียวกันยังถือว่าเป็นการออกเสียงแบบ "กระด้าง" บางครั้งพวกเขาจึงออกเสียงเป็น [ɹ] แทนเพื่อให้ฟังดู "นุ่มนวล" หรือ "รื่นหู" ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การออกเสียงเป็น [ɣ] ยังพบไม่บ่อยนักในหมู่ผู้พูดอายุน้อยหรือผู้พูดภาษาไม่คล่องซึ่งจะออกเสียงเป็น [ɹ] หรือออกเสียงเป็นเสียงลิ้นกระทบหรือเสียงรัว ปุ่มเหงือก /r/ เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยมาตรฐาน[8]

สระ

[แก้]

สระเดี่ยว

[แก้]
หน่วยเสียงสระเดี่ยวภาษาซำเร[9]
ระดับลิ้น ตำแหน่งลิ้น
หน้า กลาง หลัง
สูง i, ɯ, ɯː u,
กลาง e, ə, əː o,
ต่ำ ɛ, ɛː a, ɔ, ɔː

สระประสม

[แก้]

ภาษาซำเรมีหน่วยเสียงสระประสม 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /iə/, /ɯə/ และ /uə/[9] ไม่มีความแตกต่างระหว่างเสียงสั้นกับเสียงยาวของสระประสมทั้งสาม

ลักษณ์เหนือหน่วยแยกส่วน

[แก้]

ในปัจจุบันระบบลักษณะน้ำเสียงของภาษาซำเรได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นระบบเสียงวรรณยุกต์ที่มีหน่วยเสียง 3 หน่วยเสียง ได้แก่

  • วรรณยุกต์กลาง เมื่อเกิดในคำเป็นจะมีระดับเสียงเป็น [³³²] เมื่อเกิดในคำตายเสียงยาว (รวมทั้งคำที่ลงท้ายด้วย /h/) จะมีระดับเสียงเป็น [³³⁴] และเมื่อเกิดในคำตายเสียงสั้น (รวมทั้งคำที่ลงท้ายด้วย /h/) จะมีระดับเสียงเป็น [³⁴⁴][10]
  • วรรณยุกต์ต่ำ เมื่อเกิดในคำเป็นจะมีระดับเสียงเป็น [²¹] และเมื่อเกิดในคำตาย (รวมทั้งคำที่ลงท้ายด้วย /h/) จะมีระดับเสียงเป็น [²²][11]
  • วรรณยุกต์กลาง-ตก เมื่อเกิดในคำเป็นจะมีระดับเสียงเป็น [⁴⁵¹] และเมื่อเกิดในคำตายเสียงยาว (รวมทั้งคำที่ลงท้ายด้วย /h/) จะมีระดับเสียงเป็น [³⁴²][11]

อย่างไรก็ตาม ยังปรากฏร่องรอยการใช้ลักษณะน้ำเสียงลมแทรกควบคู่ไปกับเสียงวรรณยุกต์อยู่บ้างในบางคำหรือบางสัทบริบท แม้ว่าจะไม่มีนัยสำคัญในการจำแนกความหมายของคำก็ตาม[12]

สถานการณ์ในปัจจุบัน

[แก้]

ภาษาซำเรเป็นภาษาหนึ่งที่อยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญ การใช้ภาษาในปัจจุบันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของภาษาไทยอย่างชัดเจน เช่น การยืมคำศัพท์พื้นฐานจำนวนมากจากภาษาไทย การใช้เสียงวรรณยุกต์ในการจำแนกความหมายของคำ เป็นต้น[13] นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้พูดภาษาซำเรได้เพียงประมาณ 20 คน ในจำนวนนี้มักใช้ภาษาซำเรสลับกับภาษาไทยแต่ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยมากกว่า ส่วนเด็กชาวซำเรเรียนภาษาไทยและใช้เพียงภาษาไทยเท่านั้น ทัศนคติต่อภาษาดั้งเดิมของกลุ่มตนเองเป็นไปในทางค่อนข้างลบ[13]

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศขึ้นทะเบียนภาษาซำเรเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติไทย สาขาภาษา เมื่อ พ.ศ. 2557[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ploykaew 2001, p. 23
  2. Ploykaew 2001, p. 19
  3. Ferlus, Michel (2011). "Toward Proto Pearic: problems and historical implications". Mon-Khmer Studies Journal. Mon-Khmer Studies Special Issue No. 2: Austroasiatic Studies - papers from ICAAL4. สืบค้นเมื่อ 30 November 2015.
  4. Ploykaew 2001, p. 62
  5. Ploykaew 2001, p. 47
  6. Ploykaew 2001, p. 46
  7. Ploykaew 2001, p. 48
  8. 8.0 8.1 8.2 Ploykaew 2001, p. 49
  9. 9.0 9.1 Ploykaew 2001, p. 54
  10. Ploykaew 2001, p. 67
  11. 11.0 11.1 Ploykaew 2001, p. 68
  12. Ploykaew 2001, p. 64
  13. 13.0 13.1 อิสระ ชูศรี และคณะ 2565, p. 24
  14. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม 2559, p. 25

บรรณานุกรม

[แก้]
  • กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2559). ภาษา: มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
  • อิสระ ชูศรี และคณะ (2565). เสียงสุดท้ายในความทรงจำ Last Speakers. นครปฐม: ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.
  • Ploykaew, Pornsawan (2001). Samre Grammar (Ph.D. thesis). Mahidol University.